โรคต้นไม้
โรคและแมลงศัตรู เพลี้ยต่างๆ ที่พบในฤดูร้อน
เพลี้ย ศัตรูพืชที่ระบาดหนักในช่วงฤดูร้อน ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงฤดูร้อนของเมืองไทย โดยจะมีอุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ต้นไม้และพืชผักที่ปลูกต้องเผชิญกับโรคพืชและศัตรูพืชต่าง ๆ ที่มักเข้าทำลายพืชในสภาพแวดล้อมแบบนี้ เพลี้ย แมลงศัตรูที่ชอบเข้าทำลายพืชปลูกในฤดูนี้ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่อากาศมีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ แมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็กจะชอบเข้าทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ส่วนเจริญใหม่ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน หรืออยู่ใต้ใบพืช ตัวอย่างแมลงศัตรู ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไรต่างๆ เป็นต้น การป้องกันกำจัด -ให้น้ำพืชปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการพ่นน้ำเป็นละอองฝอยให้ชุ่มผิวพืชจะช่วยลดการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟและไรได้ดี -หมั่นสำรวจการระบาดและกำจัดมด ซึ่งจะนำเพลี้ยแป้งหรือเพลี้ยหอยมาสู่ต้นไม้ที่ปลูก -แมลงศัตรูที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ถ้ามีการระบาดรุนแรงให้ทำการตัดแต่งส่วนที่ถูกเข้าทำลายออก การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย สารป้องกันกำจัดแมลงที่แนะนำ คือ ฟิโปรนิล อิมิคาคลอพริด ไทอะเมโทแซมโคลไทอะนิดิน ไดโนทีฟูแรน ไวท์ออยล์ และปิโตรเลียมออยล์ เป็นต้น ไร สารป้องกันกำจัดแมลงที่แนะนำ คือ โพรพาไกต์ […]
ทำอย่างไรถึงเกิดต้นไม้ใบด่าง? พร้อมวิธีการปลูกดูแล รวมถึงขยายพันธุ์เพื่อสร้างรายได้
รู้ไหมทำไมต้นไม้ถึงใบด่าง? ต้นไม้ใบด่าง บางต้นก็มีปัจจัยให้เกิดใบด่างตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการกลายพันธุ์ เช่น มอนสเตอร่าด่าง ฟิโลเดนดรอนด่าง พลูด่าง ไทรด่าง หรือชบาด่าง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุ และวิธีการดูแลที่ต่างจากต้นไม้ทั่วไป มาค้นพบความลับของต้นไม้ใบด่างกัน ทำไมไม้ด่างถึงราคาแพง? เพราะในธรรมชาติต้นไม้ส่วนใหญ่จะมีใบสีเขียว การที่ต้นไม้มีใบด่างจะได้จากเม็ดสีบริเวณใบทั้งสีขาว ครีม เหลือง ชมพู แดง ทำให้สวนมีสีสันสดใสมากยิ่งขึ้น แต่ประเด็นหลักคือ ต้นไม้ด่างนั้นเกิดขึ้นยากในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้แต่การตัดแต่งพันธุกรรมก็ถือว่าทำได้ยาก เฉลี่ยได้พันธุ์ไม้ด่างที่สวยแค่ 5% เท่านั้น อีกทั้งยังโตช้าและขยายพันธุ์ยาก ส่วนต้นไม้ด่างบางต้นจะเป็นยีนเด่นที่ขยายพันธุ์ง่ายและโตเร็วก็จะราคาไม่แพง เนื่องจากต้นที่เกิดใหม่ก็จะด่างเหมือนพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์แบบไม่ต้องลุ้น นั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คนรักสวนได้นำไปใช้ปลูกเพื่อสร้างสีสันได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมต้นไม้ เช่น เงินไหลมา ออมเพชร พลูด่าง ชบาด่าง บาหยาด่าง หนวดปลาหมึกแคระด่าง เป็นต้น แต่ควรระวังในปัจจุบันในวงการต้นไม้มีการปั่นราคาต้นไม้เหล่านี้ให้มีราคาสูงเกินความเป็นจริงๆ ทำใหบางคนซื้อในราคาที่แพงทั้งที่ในความจริงต้นไม้ชนิดนั้นราคาไม่แพงจริง ส่วนต้นไม้ด่างที่มีราคาแพงคือต้นที่เกิดได้ยากในธรรมชาติ เกิดจากต้นไม้ใบเขียวที่กลายพันธุ์เป็นใบด่างด้วยวิธีการต่างๆ นอกจากนั้นยังโตช้า เกิดการลุ้นให้แต่ละใบจะด่างหรือไม่ หรือมีลักาณะและสีสันของการด่างเป็นแบบใดบ้าง ต้นไม้ใบด่าง สาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ใบด่าง 1.ขาดแสงสว่าง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตคลอโรฟิลล์ที่ทำให้ต้นไม้มีใบสีเขียว สังเกตได้จากการนำต้นไม้ปกติไปวางในที่มืด ผ่านไปไม่กี่วันใบก็จะเป็นสีขาวซีดและอ่อนแอ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการเพาะถั่วงอกหรือกุยช่ายให้มีใบสีขาวหรือเขียวอ่อน โดยหากนำมาออกแดดก็จะให้ใบสีเขียวตามเดิม […]
กำราบเพลี้ยแป้งในสวนให้สิ้นฤทธิ์ ด้วยสูตรปลอดภัยไม่ต้องใช้สารเคมี
เจ้าของสวนร้อยทั้งร้อยต่างเฝ้าคอยดูพรรณไม้ที่สรรหามาปลูกให้ออกดอกออกผลสวยงาม ชวนให้ชื่นใจ แต่ไม่วายมีโรคและแมลง อย่าง เพลี้ยแป้ง เข้ามาเบียดเบียนให้ต้องปวดหัวปวดใจ เพลี้ยแป้ง หนึ่งในขาประจำที่ยกพลมาเป็นโขยงและยังชวนมิตรคู่ใจมาด้วย เจ้าแมลงตัวขาว ๆ ฟู ๆ แลดูอ่อนโยนแต่อันตรายน่าดู เพลี้ยแป้ง สังเกตได้ง่าย ด้วยเครื่องแต่งตัวที่ขาวราวหิมะ พวกมันดูจะมีนิสัยรักพวกพ้อง เพราะ พากันมาเป็นกลุ่มราวกับทัวร์ลง แต่ก็ออกจะขี้เกียจสักหน่อย ชอบเกาะอยู่นิ่ง ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ ตั้งแต่ใบ กิ่งก้าน ลำต้น ไปจนถึงดอก เจ้าพวกนี้เห็นต้นไม้เป็นขวดน้ำหวาน จึงพากันมาดูดกินน้ำเลี้ยงโดยเฉพาะส่วนเจริญใหม่ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน หรืออยู่ใต้ใบพืช จนต้นไม้ขาดอาหาร ทรุดโทรมลง และทำให้การเจริญเติบโตของต้นต้องหยุดชะงักลงไป เจ้าแมลงตัวน้อยสีขาว ๆ นี้มักระบาดหนักในช่วงที่อากาศร้อนและชื้น เราอาจเห็นเป็นราดำตามมา เพราะ น้ำหวานที่เพลี้ยแป้งผลิตออกมามากจะกลายเป็นรา ซึ่งจะลุกลามจนทำให้ต้นไม้ตายได้ เจ้าของสวนอย่าได้นิ่งนอนใจปล่อยไว้เชียวครับ วิธีแก้ไขเบื้องต้นแบบง่าย ๆ ก็คือ ถ้าพบเพลี้ยแป้งเป็นจำนวนน้อยเกาะอยู่ตามใบ หรือส่วนที่ตัดทิ้งได้ให้ตัดทิ้งไปก่อน และต้องท่องให้ขึ้นใจว่า เพลี้ยแป้งมี “มดจอมขยัน” เป็นมิตรรักผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ […]