โครงสร้างบ้าน
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่?
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]
รวม 24 ปัญหารอยร้าว รู้ไว้ป้องกันบ้านพัง
รอยร้าวผนัง ใครเจอก็ต้องเป็นกังวล คราวนี้เราจึงขอรวบรวมรอยร้าวที่พบบ่อยทั้ง 24 แบบพร้อมสาเหตุ ข้อควรระวัง และวิธีแก้ไขมาให้ดูกัน รอยร้าวที่พบได้บ่อยในบ้าน ทั้ง รอยร้าวผนัง หรือรอยร้าวบนโครงสร้างส่วนอื่นๆ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ รอยร้าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง และ รอยร้าวที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง รอยร้าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง“อาจไม่น่ากลัว แต่ก็ไม่ควรปล่อยไว้” รอยร้าวแตกลายงา สาเหตุ – เกิดจากงานฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อผนังผ่านความชื้นและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินานวันเข้า จึงเกิดการยืดหดขยายและกลายเป็น รอยร้าวผนัง ในที่สุด สามารถเกิดได้ทั้งที่พื้นและผนัง วิธีแก้ – สามารถฉาบปิดลงไปให้เสมอกันได้ โดยการกรีดบริเวณรอยร้าวให้เป็นปากฉลาม กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร แล้วใช้ปูนกาวโป๊เก็บตรงบริเวณรอยต่อ ขัดให้เรียบ และทาสีชนิดปกปิดรอยร้าว ข้อควรระวัง – ควรจัดการรอยร้าวประเภทนี้เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันความชื้นทำให้รอยร้าวของปูนฉาบลุกลามไปมากกว่านี้ รอยร้าวเล็กๆที่มุมวงกบประตูหน้าต่าง สาเหตุ – มักเกิดกับวงกบไม้ที่มีการยืดหดตัวสูง ทำให้เกิดรอยร้าวที่ปูนฉาบรอบๆวงกบ และอาจเกิดจากการก่อสร้างผนังที่ขาดเสาเอ็น-ทับหลัง หรือไม่ได้ใส่ลวดกรงไก่ที่ขอบซึ่งปูนชนกับวงกบเพื่อกันปูนแตก วิธีแก้ – ขัดแต่ง รอยร้าวผนัง ให้เรียบร้อย จากนั้นจึงฉาบปิดลงไปให้เสมอกัน ข้อควรระวัง – หากรอยแตกลามยาวไปถึงขอบผนัง อาจต้องพิจารณาการล้มออกจากแนวดิ่งของโครงสร้าง ทำให้การรับน้ำหนักเยื้องออกจากแนวเสาและอาจทำให้บ้านล้มได้ในที่สุด […]