12 แมลงศัตรูพืช จอมป่วนในแปลงผัก

เรามักพบแมลงศัตรูพืชในแปลงผัก มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป เบื้องต้นมาดูกันว่าแมลงศัตรูพืชที่พบเห็นได้ทั่วไปในแปลงผักมีอะไรบ้าง เพื่อจะได้เลือกใช้วิธีการป้องกันและกำจัดแมลงร้ายจอมป่วนเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ แมลงปากดูด (Sucking) ที่พบบ่อยในแปลงผัก ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว เป็นต้น แมลงเหล่านี้มักอาศัยตามใบอ่อน ใต้ใบ ซอกใบ ซอกกลีบดอก โดยมีปากยาวแหลมคล้ายงวงหรือเข็ม คอยดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ใบเหี่ยว ม้วน หงิกงอ มีรอยไหม้ ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต และไม่สวยงาม แถมยังทำให้เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคพืชแพร่กระจายได้อีกด้วย แมลงปากกัด (Chewing) ที่พบบ่อยในแปลงผัก ได้แก่ หนอนคืบ หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ ด้วงหมัดผัก ด้วงเต่าแตงแดง ตั๊กแตนหนวดสั้น เป็นต้น แมลงเหล่านี้จะกัดกินยอดใบจนกุด หรือทำให้แผ่นใบเป็นรูพรุน บางชนิดกัดกินผิวใบและชอนไปตามเนื้อใบ ทำให้ใบเป็นลาย หงิกงอเสียหาย ต้นพืชหยุดเจริญเติบโต ถ้าระบาดในช่วงกำลังให้ผล จะทำให้ดอกร่วง ติดผลได้น้อยหรือไม่ติดผลเลย การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชเหล่านี้มีหลายวิธีให้เลือกปฏิบัติ สำหรับวิธีที่แนะนำในหนังสือเล่มนี้ เน้นให้รู้จักและใช้สารธรรมชาติจากพืชเป็นหลัก โดยนำสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสรรพคุณในการป้องกันกำจัดแมลงมาใช้ให้เหมาะสม ทำใช้เองได้ง่าย ๆ […]

ต้นกุหลาบ กับโรคและแมลงศัตรูตัวร้าย

ต้นกุหลาบ เป็นไม้ดอกที่มีศัตรูมาก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนชื้น ทั้งแมลงและโรคจะทำความเสียหายให้กับใบจนร่วงไป หรือทำให้ใบมีพื้นที่สังเคราะห์แสงลดลง กุหลาบจะขาดอาหารและเริ่มอ่อนแอ

เจาะลึกช่องทางรายได้จากสมุนไพรไล่แมลง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมสูตรการทำ

ปัญหาแมลงศัตรูพืชบุกรบกวนต้นไม้ในสวนเป็นเรื่องน่ากังวลใจไม่น้อย จะใช้สารเคมีก็อาจเกิดการตกค้างและเป็นอันตรายได้ ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราได้มาพูดคุยกับ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ อาจารย์ประจําสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ศึกษาและวิจัยพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่แมลง ซึ่งถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยและได้ผลดี โดยเฉพาะกับแปลงผักสวนครัวรั้วกินได้ในสวนของเรา จากแปลงปลูกสู่มือประชาชน ภายในแปลงเพาะชําของคณะผลิตกรรมการเกษตรแห่งนี้เป็นที่ปลูกพืชซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทําสมุนไพรไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ไพล กระชายดํา โดยที่นี่เป็นทั้งที่เพาะขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงทดลองแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ํามันหอมระเหย พร้อมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจมาศึกษาจนสามารถนําไปเพาะปลูกเองได้ต่อไป หลายคนอาจสงสัยว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อสร้างพันธุ์ใหม่หรือเพื่อให้พืชกลายพันธุ์นั้นมีจุดประสงค์เพื่ออะไร อาจารย์เทิดศักดิ์ขยายความให้ฟังว่า เพื่อให้พืชมีสารที่เราต้องการใช้มากขึ้นกว่าเดิม โดยจะใช้รังสีแกมมาทําให้เกิดการตกค้างที่ทําให้เซลล์หรือสารพันธุกรรมพวกดีเอ็นเอหรือโครโมโซมของพืชเสื่อมสภาพและแตกหัก พอต้นไม้เครียดก็จะสร้างสารออกมาในปริมาณที่มากขึ้นจนกลายพันธุ์ไปเอง จากนั้นจึงต้องคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อนําไปแจกจ่ายให้เกษตรกรหรือหน่วยงานที่ต้องการใช้ต่อไป ตะไคร้หอม  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle ตะไคร้หอมเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน พืชชนิดนี้กําลังเป็นที่สนใจเนื่องจากใบมีสารซิโทรเนลลา(Citronella) ซึ่งมีฤทธิ์ทําให้ยุงและแมลงศัตรูพืชเบื่ออาหารหรือตายภายใน 3–4 วัน อีกทั้งยังทนแล้งได้ดี และลงทุนไม่สูงนัก หลังจากปลูกเพียง 6 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้ โดยการตัดใบประมาณ 1/3 จากนั้นต้นจะแตกใบใหม่และพร้อมให้ตัดใหม่ทุก 3 เดือน โดยพื้นที่ปลูกขนาด 1×5 […]

ภาษาต้นไม้ ep.2 : ใบเป็นแบบนี้ โดนศัตรูตัวไหนเล่นงาน

วิธีสังเกตลักษณะใบไม้ที่ถูกแมลงศัตรูพืช เล่นงาน พร้อมกับวิธีป้องกัน และกำจัดแมลงเหล่านั้น ทั้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน และหนอน ชนิดต่างๆ