รวมบ้านอิฐแสนน่าอยู่

อิฐเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในบ้านเรา สามารถนำมาตกแต่งให้เกิดลวดลาย ทำให้บ้านดูน่าสนใจได้ไม่ยาก ดังเช่น บ้านอิฐ ที่เรารวบรวมมาให้ชมกันเป็นไอเดีย

TB HOUSE บ้านที่มองออกไปมุมไหนก็เจอความเขียวชอุ่ม

บ้านชั้นเดียว ที่เลือกทำเลที่มีพื้นที่สีเขียวหลังบ้านให้นึกถึงบ้านต่างจังหวัดในวัยเด็ก พร้อมกับออกแบบตัวบ้านให้สามารถมองเห็นต้นไม้ได้ทุกมุม

FOREST HOUSE บ้านอิฐกลางป่าสน ที่ออกแบบเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้เดิม

บ้านอิฐ ที่ออกแบบกำแพงแบบฟรีฟอร์ม เพื่อหลบหลีกต้นไม้เดิมในพื้นที่ทั้งหมด โดยตัวบ้านใช้วัสดุอิฐ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาเป็นวัสดุหลัก

โอเอซิสส่วนตัวในบ้านโมเดิร์นของกราฟิกดีไซเนอร์ผู้รักธรรมชาติ

บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]

WHITE SKUBE HOUSE พื้นที่น้อย ฟังก์ชันเยอะ แต่ลงตัวด้วยการแบ่งสัดส่วนพื้นที่

แบบบ้านโมเดิร์น ตัวอาคารถูกทาทับด้วยสีขาวอย่างประณีตเพื่อให้ความรู้สึกสงบ เรียบง่าย ท่ามกลางบริบทโดยรอบที่มีความสับสบวุ่นวายและกลบความไม่สมบูรณ์ที่เกิดขึ้น

P HOUSE บ้านอิฐดินเผา ที่เย็นสบายด้วยวัสดุและแนวคิดแบบยั่งยืน

โปรเจ็กต์การออกแบบ บ้านอิฐดินเผา ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม พร้อมโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ผ่านการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับการออกแบบพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต P House หรือ บ้านอิฐดินเผา หลังนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ T H I A architecture ซึ่งมาพร้อมกับโจทย์ที่สร้างความท้าทายให้แก่สถาปนิกไม่น้อย เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีความกว้างแค่เพียง 4.3 x 15 เมตร แถมยังถูกขนาบข้างด้วยอาคารเพื่อนบ้านและโรงงานเก่าทั้งสองด้าน ทำให้มีช่องเปิดมีอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น การออกแบบจึงต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดโปร่งและแสงสว่างเป็นสำคัญ สถาปนิกจึงได้จัดการแก้ปัญหาทางกายภาพของที่ตั้ง ไปพร้อมกับการเน้นใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน โดยส่วนใหญ่เป็นวัสดุทำมาจากธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เช่น อิฐ ไม้ และคอนกรีต ซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้บ้านมีทั้งความสวยงามและอยู่สบาย รูปลักษณ์ของอาคารมีจุดโดดเด่นคือ เปลือกอาคารอิฐดินเผาสีส้ม ที่ออกแบบให้มีระยะยื่นออกจากตัวบ้าน เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้ามาถึงภายในบ้านโดยตรง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นราวระเบียงและแผงกันแดดที่มีการจัดเรียงอิฐเป็นแพตเทิร์นง่าย ๆ โดยในวันอากาศดีสามารถเปิดผนังกระจกบานเลื่อนที่ซ้อนอยู่หลังระเบียงของแต่ละชั้นออกได้จนสุด เพื่อให้ลมพัดพานำความเย็นสบายและถ่ายเทความร้อน ขณะที่สีส้มของอิฐดูตัดกับใบไม้สีเขียวของพรรณไม้เลื้อยที่ห้อยระย้าลงมาจากระเบียงหลังคาเหนือพื้นที่จอดรถ ช่วยให้เกิดมุมมองที่สดชื่นสบายตา ลดความแข็งกระด้างจากวัสดุและอาคารทรงเหลี่ยมได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้ามาภายในตัวบ้าน ชั้น 1 จะพบกับลานโล่งที่เชื่อมต่อกับคอร์ตสวนหลังบ้าน ก่อนจะขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้ประกอบด้วยมุมโซฟาสำหรับพักผ่อน โต๊ะรับประทานอาหาร […]

LAYERS HOUSE ถอดรหัสบ้านตึกแถวสู่บ้านเดี่ยวโมเดิร์น

แบบบ้านอิฐ ที่จำลองรูปแบบการใช้ชีวิตแบบอาคารพาณิชย์ที่ครอบครัวคุ้นเคย มาสู่บ้านเดี่ยวที่ยังคงความเคยชินเหล่านั้นไว้ แต่เพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

บ้านอิฐบล็อกที่อยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

k59 atelier นี่คือบ้านตึกแถวของสถาปนิกชาวเวียดนาม ที่เลือกปรับตัวเองเข้าหาสภาพแวดล้อม (โดยไม่รอให้สภาพแวดล้อมปรับตัวเข้าหา)

บ้านตีนดอย ความพอดีระหว่าง”บ้านไทย”กับ”บริติชสไตล์”

บ้านอิฐ ลูกผสมระหว่างความเป็น “บริติชสไตล์” กับ “บ้านเรือนไทย” โดยมีจุดร่วมอยู่ที่หลังคาหน้าจั่วทรงสูง การใช้วัสดุอิฐมาเป็นวัสดุหลัก