เรือนกระจก
BOTANIST ACTIVITY SPACE & CAFE ชื่นชมพรรณไม้หายาก ในคาเฟ่กลางสวนพฤกษศาสตร์
Botanist Activity Space & Cafe คาเฟ่มีนบุรี ในรูปแบบของกล่องกระจกท่ามกลางสวน 4 รูปแบบ ทั้ง Desert Garden, Jurassic Garden, Bromeliads Garden และ Tropical Garden
10 เรื่องต้องรู้ ก่อนทำโรงเรือนข้างบ้าน
อยากมี โรงเรือนข้างบ้าน สักหลัง จะเริ่มออกแบบอย่างไร? เลือกใช้วัสดุแบบไหนดี? มีข้อควรรู้อะไรบ้าง? เชื่อว่าหลายคนที่ชื่นชอบการจัดสวน คงเคยนึกอยากทำโรงเรือนสวยๆ ไว้ในสวนข้างบ้านของตัวเองสักหลัง ไว้เป็นเรือนเพาะชำไม้ประดับยามว่าง ปลูกผักกินเองในบ้าน หรือเป็นมุมพักผ่อนส่วนตัว แต่อาจยังลังเลว่าหากตัดสินใจทำแล้ว ควรเริ่มออกแบบอย่างไร บ้านและสวน จึงขอนำเอา 10 เรื่องต้องรู้ก่อนทำ โรงเรือนข้างบ้าน มาฝากกัน 1 | “โรงเรือน” คืออะไร โรงเรือน เป็นอาคารที่มุงด้วยวัสดุโปร่งแสง พื้นที่ภายในใช้สำหรับปลูกพืช เพื่อปกป้องและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกได้ โดยในยุคแรกๆ จะใช้กระจกเป็นวัสดุกรุผิว เมื่อมองจากด้านนอกจะเห็นพืชสีเขียวอยู่ภายใน จึงทำให้มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Greenhouse หรือ Glasshouse นั่นเอง ปัจจุบัน โรงเรือนถูกพัฒนาไปจนมีลักษณะรวมถึงการใช้วัสดุหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน ทั้งเพื่อผลิตในเชิงการค้า การเพาะปลูกภายในครัวเรือน หรือการใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจในสวนข้างบ้าน 2 | โรงเรือนดีอย่างไร ทำไมต้องมี ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ การเพาะปลูกพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของโรงเรือน ทั้งความเข้มและระยะเวลาของแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีความแปรปรวน ทำให้สามารถปลูกพืชนอกฤดูได้ตลอดทั้งปี เหมาะสำหรับทำงานเพาะปลูก ภายในโรงเรือนสามารถจัดสรรพื้นที่ได้อย่างเป็นสัดส่วน […]
สวนป่าแบบโปร่ง ขนาด 300 ตารางเมตร พร้อมเรือนกระจกเลี้ยงแคคตัส
ภาพคุ้นตาของ “สวนป่า“ ส่วนใหญ่ที่เห็น คือ สวนที่มีน้ำตก ลำธาร รายล้อมด้วยพรรณไม้มากมาย แต่สวนป่าที่จะพาคุณผู้อ่านไปชมในครั้งนี้กลับต่างออกไป ด้วยแนวคิดที่ว่า “สวนป่าแบบโปร่ง” “ได้รับการติดต่อจาก คุณคมสัน อากาศวิภาต ผ่านทางเพจของ Ayothaya Landscape ตั้งแต่ปีที่แล้วครับ เขาได้เห็นผลงานผมจากสวนคาเฟ่ ก้านทอง ติ่มซำ (นิตยสารบ้านและสวน ฉบับกุมภาพันธ์ 2565) บอกมาว่าอยากปรับปรุงสวนเพิ่มเติม อยากได้น้ำตกเล็ก ๆ ” คุณต้อง – ทิวา อ่อนสุวรรณ นักจัดสวน เล่าถึงที่มาของ สวนป่าแบบโปร่ง แห่งนี้ให้ฟัง “โจทย์ที่ได้รับมามีแค่อยากได้ต้นไม้ที่ไม่ต้องดูแลมาก และอยากมีน้ำในสวนเท่านั้นครับ พื้นที่เดิมเป็นที่โล่ง ๆ ปลูกต้นไม้อยู่บ้างแล้ว มีเรือนกระจกเลี้ยงแคคตัส ซึ่งผมมองว่า ทั้งเรือนกระจกและตัวบ้านเท่มากครับ คิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ทุกอย่างเชื่อมต่อเป็นพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านของบ้านมีบ่อบัวขนาดใหญ่ มีสนามหญ้ากว้าง มีทางเดินไม้ และปลูกต้นไม้อยู่บ้างแล้ว ซึ่งเป็นฝีมือออกแบบของเจ้าของบ้าน เท่าที่เห็นก็รู้เลยครับว่าเป็นคนรักต้นไม้ และมีความรู้ความสนใจเรื่องสวนเรื่องต้นไม้อยู่ประมาณหนึ่งเลยทีเดียวครับ” พื้นที่สวนขนาด 300 ตารางเมตร มีลักษณะเป็นรูปตัวยู […]
CAMINE CUISINE & CAFÉ รีโนเวตบ้านยุค70’s ให้กลายเป็นร้านอาหารปักษ์ใต้ในเรือนกระจกกลางสวนสวย
Camin Cuisine & Café เปลี่ยนบ้านเก่าในอดีตให้กลับมามีตัวตนใหม่ในฐานะร้านอาหารใต้มีดีไซน์ ใช้สีสันและองค์ประกอบกลิ่นอายที่ชวนให้นึกถึงวิถีชีวิตคนใต้ ร่มรื่นด้วยแมกไม้สีเขียว ไม่ต่างจากโอเอซิสที่แสนสดชื่นกลางย่านเกษตร-นวมินทร์ จากบ้านเก่า 2 หลังบนที่ดินโล่งกว้างขนาด 1 ไร่ ในใจกลางเมืองกรุงเทพฯ สู่ร้านอาหารและคาเฟ่ Camin Cuisine & Café กลางสวนเขียวแสนชุ่มฉ่ำ ตามคอนเซ็ปต์การรีโนเวตบ้านให้กลายเป็นร้านอาหารใต้แบบถึงเครื่อง และสถานที่แฮงค์เอาท์แห่งใหม่ ที่เอื้อให้คนมาพักผ่อนหย่อนใจในสวนอันร่มรื่นได้ทั้งวัน займы на карту без отказа срочно ในด้านการออกแบบ ผู้ออกแบบต้องการแสดงภาพลักษณ์ของความเป็นบ้านเก่าอายุมากกว่า 30 ปี ที่มีเสน่ห์ ไว้ควบคู่กับการสร้างสวนป่าที่ชุ่มชื้นเพื่อจำลองสภาพสวนป่าจากภาคใต้มาไว้ในใจกลางเมืองหลวง เพื่อเติมเต็มบรรยากาศความเป็นร้านอาหารใต้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น บ้านทั้ง 2 หลัง ได้รับการรีโนเวตภายใต้คอนเซ็ปต์ที่คล้ายกัน นั่นคือการรักษากรอบอาคารภายนอกไว้ให้มากที่สุด แล้วรื้อการใช้งานภายในออกเพื่อปรับเปลี่ยนฟังก์ชันไปสู่ร้านอาหารและคาเฟ่ได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากการรื้อพื้นชั้น 2 ออกเพื่อสร้างสเปซแบบฝ้าสูง ด้านของบ้านทั้ง 2 หลัง ที่หันไปทางสวน ก็ได้ต่อเติมส่วนใช้งานเป็นห้องกระจกยื่นออกไป ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กว้างขวางขึ้น ได้รับแสงและบรรยากาศ และลดความปิดทึบของตัวบ้านเดิม การตกแต่งภายในทั้งหมดใช้ธีม Mid-Century […]
รวมแบบโรงเรือน หลากดีไซน์ เพื่อการดูแลต้นไม้ที่แตกต่างกัน
Greenhouse (โรงเรือนทั่วไป) คือ โรงเรือนที่มุงด้วยวัสดุโปร่งแสง ทำให้สามารถมองเห็นพืชสีเขียวที่ปลูกอยู่ด้านในได้ ส่วน Glasshouse (โรงเรือนกระจก) คือ โรงเรือนที่ใช้กระจกเป็นวัสดุกรุ ซึ่งเป็นรูป แบบโรงเรือน ที่สร้างในยุคแรก ๆ ซึ่งการสร้างโรงเรือนทั้ง 2 รูปแบบต่างมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกในเขตภูมิอากาศหนาวเย็นสามารถอยู่ได้ โดยไม่ต้องเผชิญอากาศหนาว แต่ในประเทศไทยอาจใช้โรงเรือนเป็นที่กันฝน ที่พักต้นไม้ หรือปลูกพืชที่การเอาใจใส่เป็นพิเศษ อีกทั้งยังสามารถปรับรูป แบบโรงเรือน ให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และพืชพรรณที่ปลูกได้ วันนี้ my home จึงมี 10 แบบโรงเรือน เพื่อการดูแลต้นไม้ที่แตกต่างกันมาฝากค่ะ 1.โรงเรือนในสวนของมือใหม่ โรงเรือนขนาด 2 x 3 เมตร ขึ้นโครงสร้างด้วยเหล็กกล่อง (Steel Tube) อย่างง่าย กรุด้วยแผ่นกระจกใสโดยรอบ ส่วนบนหลังคาติดตั้งด้วยแผ่นพอร์ลิคาร์บอเนต ตกแต่งให้มีมุมต่าง ๆ ภายในอย่างสวยงาม ด้วยชั้นวางของบันไดไม้ และชั้นวางของเหล็กกรงไก่สีดำ สำหรับวางกระถางต้นไม้ อุปกรณ์-เครื่องมือทำสวน ของเก่า […]
บันทึกขั้นตอนการสร้าง โรงเรือนขนาด 2 x 3 เมตร ใน 22 วัน
สำหรับคนรักสวน รักต้นไม้ คงจะมีความฝัน และจินตนาการเล็ก ๆ ถึงพื้นที่สวนรอบบ้านที่กว้างขวางรายล้อมไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ซึ่งไม่ว่าจะมองไปมุมไหนก็จะเห็นบรรยากาศสีเขียวแลดูสดชื่นอยู่เสมอ รวมถึงภายในขอบเขตรั้วบ้านยังอาจมีมุม ไว้สำหรับนั่งพักผ่อน ทำงาน ชมสวน หรือ เพาะต้นไม้โดยเฉพาะ อย่างโรงเรือนกระจกสวย ๆ ตามแบบฉบับของบ้านแถบยุโรป หรือภาพสวย ๆ จากหลากหลายแหล่ง วันนี้ my home จึงมีตัวอย่าง ขั้นตอนการสร้าง โรงเรือนขนาดเล็ก ของ พี่ฮอลล์ – ลีฬภัทร กสานติกุล ขนาด 2 x 3 เมตร ภายในเวลา 22 วัน ในงบไม่เกิน 200,000 บาท มาฝากกันค่ะ *** ราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอัตราค่าแรง และค่าวัสดุ รวมถึงราคาพรรณไม้ด้วยนะคะ *** เตรียมตัวก่อนสร้างโรงเรือน 1 . สำรวจพื้นที่และความต้องการ ควรเลือกตำแหน่งที่ตั้งให้เหมาะกับชนิดต้นไม้ที่ปลูก โดยพรรณไม้ที่ชอบร่มอาจจะสร้างโรงเรือนไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือของบ้าน แต่หากเป็นพรรณไม้ที่ชอบแดดให้เลือกสร้างทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ และควรตั้งโรงเรือนแบบขวางตะวันหรือแนวเหนือ – […]
รวมไอเดียโรงเรือนขนาดกำลังดี ที่ใครๆก็ต้องหลงรัก
สภาพอากาศสมัยนี้เดาใจไม่ถูก ให้ยกต้นไม้ของเราหาแดดหลบฝนบ่อยๆก็ไม่ค่อยจะไหว อยากจะมี สร้างโรงเรือน ไว้ให้ต้นไม้ แต่พื้นที่ก็ไม่เอื้ออำนวย ทำอย่างไรดีน๊า
[ DIY] Build Your Own Mini Greenhouse ก่อร่าง สร้างให้เป็นบ้านของต้นไม้
สร้าง เรือนกระจก ไซส์มินิที่ทั้งน่ารักและอบอุ่นในสไตล์ my home สำหรับเป็นบ้านให้กับต้นไม้เล็กๆ รวมไปถึงเลี้ยงแคคตัส และเหล่าไม้อวบน้ำ
The Arbor day ร้านต้นไม้เย็นใจ ใต้ร่มเงาแห่งความสุข
ร้านขายต้นไม้ ใครว่าจะต้องร้อนอบอ้าว สู้แดด สู้ฝนเสมอไป ร้านต้นไม้สวยๆ ติดแอร์เย็นฉ่ำ ให้เราได้เดินเลือกหาต้นไม้ที่ถูกใจกันอย่างสดชื่นก็มีนะขอบอก
นำแสงเข้าบ้านด้วยหลังคารับแสง
การทำ หลังคารับแสง หรือสกายไลท์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนำแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน ช่วยให้ภายในบ้านสว่างไสว ประหยัดค่าไฟฟ้า ทั้งความร้อนจากแสงแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ไล่ความชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้บ้านสะอาด ปลอดเชื้อโรคไม่อับชื้น แต่เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน การทำหลังคารับแสงจึงต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ คือ 1.ขนาดของหลังคารับแสง ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง โดยทั่วไปกำหนดขนาดหลังคารับแสงไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง ส่วนห้องที่มีหน้าต่างหรือช่องแสงอยู่บ้าง ก็ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมากเกินไป 2.ทิศทางและปริมาณแสง ที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาที่ต้องใช้งานพื้นที่นั้นๆ ทิศเหนือ เป็นแสงที่ดีที่สุด เพราะแสงแดดไม่ร้อนแรง เนื่องจากไม่ใช่ทางโคจรของดวงอาทิตย์ เหมาะกับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ระเบียง/เฉลียง ทิศใต้ ให้แสงเต็มที่ในฤดูหนาว เนื่องจากโลกจะหันแกนด้านทิศใต้รับแสงอาทิตย์ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ควรเป็นโถงบันได ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องครัวก็ยังพอได้ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น บริเวณที่หันเข้าสู่ทิศนี้จะได้รับแสงในตอนเช้า อาจเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ให้แสงสว่างมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงบ่าย อาจเป็นโถงบันได ห้องน้ำ 3.รูปแบบของหลังคารับแสงหรือสกายไลท์ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูปและสั่งทำ โดยแบบสั่งทำมักใช้วัสดุโปร่งแสงประเภทพอลิคาร์บอเนต มีรูปทรงหลากหลาย เช่น ทรงโดม พีระมิด ครึ่งวงกลม เป็นต้น วัสดุอะไรบ้างที่ยอมให้แสงผ่านได้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส เป็นวัสดุที่ผลิตจากการผสมใยแก้วชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์กลาส) […]
นำแสงเข้าบ้านด้วยหลังคารับแสง
การทำ หลังคารับแสง หรือสกายไลท์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนำแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน ช่วยให้ภายในบ้านสว่างไสว ประหยัดค่าไฟฟ้า ทั้งความร้อนจากแสงแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ไล่ความชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้บ้านสะอาด ปลอดเชื้อโรคไม่อับชื้น แต่เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน การทำหลังคารับแสงจึงต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ คือ 1.ขนาดของหลังคารับแสง ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง โดยทั่วไปกำหนดขนาดหลังคารับแสงไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง ส่วนห้องที่มีหน้าต่างหรือช่องแสงอยู่บ้าง ก็ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมากเกินไป 2.ทิศทางและปริมาณแสง ที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาที่ต้องใช้งานพื้นที่นั้นๆ ทิศเหนือ เป็นแสงที่ดีที่สุด เพราะแสงแดดไม่ร้อนแรง เนื่องจากไม่ใช่ทางโคจรของดวงอาทิตย์ เหมาะกับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ระเบียง/เฉลียง ทิศใต้ ให้แสงเต็มที่ในฤดูหนาว เนื่องจากโลกจะหันแกนด้านทิศใต้รับแสงอาทิตย์ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ควรเป็นโถงบันได ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องครัวก็ยังพอได้ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น บริเวณที่หันเข้าสู่ทิศนี้จะได้รับแสงในตอนเช้า อาจเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ให้แสงสว่างมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงบ่าย อาจเป็นโถงบันได ห้องน้ำ 3.รูปแบบของหลังคารับแสงหรือสกายไลท์ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูปและสั่งทำ โดยแบบสั่งทำมักใช้วัสดุโปร่งแสงประเภทพอลิคาร์บอเนต มีรูปทรงหลากหลาย เช่น ทรงโดม พีระมิด ครึ่งวงกลม เป็นต้น วัสดุอะไรบ้างที่ยอมให้แสงผ่านได้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส เป็นวัสดุที่ผลิตจากการผสมใยแก้วชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์กลาส) […]
ห้องแสนหวานกลาง สวนยุโรป
เรือนกระจกสีขาวสไตล์โมเดิร์นคลาสสิกแวดล้อมด้วยต้นไม้ตัดพุ่มเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านหลังนี้ชวนให้นึกถึงบรรยากาศจิบน้ำยามบ่ายภายใน สวนยุโรป
Get Inside the Greenhouse รู้เรื่อง เรือนกระจก [EP.2]
ในยุโรปกรีนเฮ้าส์หรือ เรือนกระจก เป็นสิ่งจำเป็น เพราะต้องควบคุมอุณหภูมิและมีระบบพิเศษเพื่อช่วยให้ต้นไม้สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเผชิญอากาศหนาว แต่ในประเทศไทย
มาทำความรู้จักเรือนกระจก
ในยุโรปกรีนเฮ้าส์หรือ เรือนกระจก เป็นสิ่งจำเป็น เพราะต้องควบคุมอุณหภูมิและมีระบบพิเศษเพื่อช่วยให้ต้นไม้สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเผชิญอากาศหนาว แต่ในประเทศไทย