Checklist ของใช้สำหรับพาน้องหมาไปเที่ยว

ช่วงวันหยุดยาวสิ้นปีนี้ สำหรับใครที่กำลังวางแผนพาน้องหมาไปเที่ยวด้วยกันแต่ยังไม่รู้ว่าควรต้องเตรียมของอะไรไปบ้าง มาดูเช็คลิสต์นี้ไว้เป็นไกด์ช่วยให้เที่ยวได้สนุก ปลอดภัยและแฮปปี้ทั้งเจ้าของและน้องหมา สายรัดอกและสายจูง ควรต้องใส่ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้น้องปลอดภัย เวลาที่พาน้องหมาไปสถานที่ใหม่ ๆ อาจเกิดเหตุทำให้ตกใจ หรือ ตื่นเต้นจนวิ่งหนีออกจากเจ้าของ สายจูงจะช่วยดึงรั้งไว้ไม่ให้น้องเตลิดหนีหายไป ปลอกคอพร้อมป้ายชื่อและเบอร์ติดต่อ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จำเป็นต้องมีเมื่อพาน้องออกนอกบ้าน ในกรณีที่เกิดการพลัดหลงกัน ผู้ที่พบจะได้ติดต่อกลับหาเจ้าของได้ทันที กระเป๋าหรือรถเข็นสำหรับน้องหมา เพราะในบางสถานที่ เช่น ในห้างหรือร้านอาหาร อาจจะไม่อนุญาตให้ปล่อยน้องออกมาเดินข้างนอก จึงควรมีอุปกรณ์เหล่านี้ติดไปด้วยเพื่อใช้บรรทุกน้องได้ สมุดตรวจสุขภาพประจำตัวน้องหมา ใบรับรองการฉีดวัคซีน ประวัติการแพ้ยา ยาประจำตัว(ถ้ามี) เบอร์โทรศัพท์ของสัตวแพทย์ประจำ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องเข้ารักษาในต่างถิ่นจะได้มีข้อมูลสุขภาพของน้องให้คุณหมอได้ดูจะช่วยให้ทำการรักษาได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ชามเปียก ชามแห้งและกระบอกน้ำแบบพกพา เวลาที่ต้องเดินทางไกลๆ น้องอาจจะหิวระหว่างทาง การเตรียมชามใส่อาหารและน้ำไปเองก็ช่วยให้เราอุ่นใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีภาชนะใส่อาหารและน้ำให้น้องเมื่ออยู่นอกบ้าน อาหารสุนัข การเตรียมอาหารไปด้วยเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยควรเตรียมอาหารที่น้องกินเป็นประจำติดตัวไปด้วยเสมอ เพราะการให้อาหารที่น้องยังไม่เคยกิน มีโอกาสที่อาหารอาจจะไม่ถูกปากน้องจนไม่ยอมกินข้าว และการเปลี่ยนอาหารกะทันหัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องเสียได้  ถุงเก็บอึ+เคส ช่วยให้พกพาง่ายสามารถคล้องติดไว้กับสายจูง ควรมีไว้ทุกครั้งที่พาน้องออกไปที่สาธารณะ หากน้องขับถ่ายข้างทางการเก็บทำความสะอาดทันทีเป็นการแสดงถึงการรับผิดชอบต่อสังคมและพื้นที่สาธารณะ  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและทิชชู่เปียก หากน้องเลอะหรือเปื้อนจากกิจกรรมต่างๆที่ทำ จะได้เช็ดทำความสะอาดได้ทันที แผ่นรองฉี่ แพมเพิส ช่วยป้องกันไม่ให้น้องขับถ่ายลงพื้นโดยตรง และควรวางแผ่นรองฉี่ไว้ในกระเป๋าหรือรถเข็นที่ใส่น้อง เผื่อน้องปวดฉี่กะทันหันจะได้ช่วยซับรักษาความสะอาดไว้ได้  ที่นอน ผ้าห่ม […]

วิธีดูแลสุขภาพสุนัขตามช่วงวัย

สุนัขในแต่ละช่วงวัยจะมีความต้องการการดูแลด้านสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการสารอาหารนั้นแตกต่างกันไปตามอายุ ขนาดตัว สายพันธุ์และกิจวัตป

เคล็ดลับการเลือก และเปลี่ยนอาหารให้น้องหมา

การเจริญเติบโตของสุนัข แบ่งกว้าง ๆได้เป็น 3 ช่วงวัย คือ ช่วงลูกสุนัข ช่วงโตเต็มวัย และช่วงสูงวัย โดยแต่ละช่วงอายุจะมีความต้องการทางโภชนาการที่แตกต่างกัน เราจึงควรเลือกอาหารให้เหมาะสม เพราะการให้อาหารไม่ตรงกับช่วยวัย เช่น ให้อาหารสำหรับลูกสุนัข กับสุนัขโต อาจจะทำให้สุนัขของคุณอ้วนได้ง่าย เพราะได้รับพลังงานและสารอาหารบางอย่างเกินความจำเป็น  โดยทั่วไปหลังลูกสุนัขอายุประมาณ 1 เดือน เจ้าของอาจสังเกตเห็นฟันน้ำนมเริ่มขึ้น เป็นสัญญานของการหย่านม เราควรเริ่มฝึกให้อาหารกับลูกสุนัขในช่วงวัยที่สำคัญนี้ โดยเจ้าของควรเลือกอาหารสำหรับลูกสุนัขที่ให้พลังงานสูง มีโภชนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยเจริญเติบโต ได้แก่ โปรตีนคุณภาพดี มีกรดไขมันจำเป็น และกลุ่มของวิตามินที่ช่วยสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดี และเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์ อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยนี้ อย่างเช่น โรยัล คานิน สูตร Starter ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกสุนัขโดยเฉพาะ ยิ่งไปกว่านั้นอาหารสูตรนี้ยังสามารถให้กับแม่สุนัข ตั้งแต่ช่วงตั้งท้องไปจนถึงช่วงให้นมได้อีกด้วย เพราะเป็นช่วงเวลาที่แม่สุนัขเองก็ต้องการสารอาหารที่เข้มข้นและพลังงานสูง เพื่อนำไปบำรุงร่างกายและใช้ผลิตน้ำนมให้กับลูกสุนัข นอกจากการเลือกอาหารให้เหมาะกับวัยเจริญเติบโตแล้ว เราควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ  เช่น ขนาด สายพันธุ์ และกิจกรรมในแต่ละวันของสุนัขก็มีผลต่อการเลือกอาหารเช่นเดียวกัน อย่างการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เล็กในบ้าน เมื่อน้องมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป เราควรเปลี่ยนอาหารให้เหมาะกับช่วงพัฒนาการ สูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยนี้คือโรยัล […]

ทำไมน้องหมาถึงไม่ควรกิน “อาหารคน”

เคยคิดไหมว่าเรากำลังทำร้ายสุขภาพของสุนัขที่เรารักโดยไม่รู้ตัวอยู่ ด้วยการตามใจให้อาหารหรือขนมของคนกับสุนัข และหลายๆคนก็เคยมีความคิดที่ว่า “อาหารที่คนกินได้ สุนัขก็ต้องกินได้เหมือนกัน” แต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะคนและสุนัขมีร่างกายและระบบการทำงานต่างๆ ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การกำจัดสารพิษ และการขับของเสีย จึงทำให้ความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับไม่เหมือนกัน  การเลี้ยงสุนัขด้วยอาหารคนอาจจะไม่ได้ส่งผลเสียให้เห็นในทันที แต่จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพของสุนัข เพราะจะทำให้สุนัขขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือได้รับสารอาหารบางชนิดมากจนเกินไป มักจะมีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าสุนัขได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม เช่น เจ็บป่วยง่าย เป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังแห้ง ขนหลุดร่วงผิดปกติ มีอาการคัน ผอมหรืออ้วนเกินไป รวมถึงปัญหาท้องเสีย อึไม่เป็นก้อน หรือท้องอืด และอาหารบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ แต่อาจไม่จำเป็นสำหรับสุนัขและบางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงไม่ให้อาหารเหล่านี้กับสุนัข  1. อาหารคน ของทอด อาหารที่มีรสเค็ม และอาหารที่มีไขมัน เจ้าของสุนัขหลายคนมักให้สุนัขกินอาหารที่ปรุงเอง เช่น ตับย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง  อาหารของคนจะถูกปรุงรสชาติด้วยเครื่องปรุงต่างๆมากมาย ทั้งโซเดียมจากเกลือและน้ำปลา ไขมันจากน้ำมันในของทอด ความหวานจากน้ำตาล และในอาหารคนยังมีส่วนผสมของวัตถุดิบที่สุนัขไม่ควรกิน เช่น หอม กระเทียม ซึ่งการปรุงรสเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อความอยากอาหารของสุนัข เนื่องจากสุนัขถูกกระตุ้นจากกลิ่นอาหารมากกว่ารสชาติ และอาหารคนยังมีสารอาหารไม่สมดุลสำหรับสุนัข หากให้กินอาหารคนเป็นประจำจะทำให้ขาดสารอาหาร ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่นโรคผิวหนัง ขนร่วง เจ็บป่วยง่ายขึ้น […]

ข้าวโพด-ข้าวสาลี ต้นเหตุของการแพ้อาหารในน้องหมา

น้องหมาขนร่วงผิดปกติ มีอาการคันตามร่างกาย มีคราบน้ำตาแฉะๆ หรือชอบถ่ายเหลว อึไม่เป็นก้อน นั่นอาจจะแสดงถึงสัญญาณของการแพ้อาหารของน้องหมา! คุณพ่อ คุณแม่ของน้องหมาหลายๆท่าน อาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว เวลาที่ไปเลือกซื้ออาหารให้น้องหมาตามร้านต่างๆ ว่าอาหารน้องส่วนใหญ่มักมีข้าวโพด และข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบ ซึ่งตามที่เข้าใจกันนั้นว่าข้าวโพด และข้าวสาลีเป็นแหล่งของพลังงานที่สำคัญในอาหารน้องหมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้องหมาแทบจะไม่สามารถย่อย และนำพลังงานจากข้าวโพดไปใช้ได้เลย อีกทั้งน้องหมาบางตัวยังมีอาการแพ้โปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กลูเตน ซึ่งมาจากข้าวสาลี และข้าวโพดอีกด้วย กลูเตน คืออะไร กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด ซึ่งในปัจจุบันเราใช้กลูเตนในการผลิตอาหารของน้องหมา เพื่อช่วยในการจับตัวของอาหาร อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานอีกด้วย แต่มีรายงานพบว่า น้องหมามักมีการแพ้อาหาร ที่มีส่วนผสมของข้าวสาลีค่อนข้างสูง เพราะน้องหมาไม่มีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยได้มากพอ จึงทำให้เกิดอาการแพ้ในน้องหมาบางตัว อาการของน้องหมาที่แพ้กลูเตน 1. กระเพาะอาหารมีปัญหา ส่งผลให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระเหลว มีแก๊ส หรือมีเมือกในอุจจาระมากเกินไป อาจเป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าน้องหมามีอาการแพ้กลูเตน 2. สภาพผิวหนัง ผิวแห้ง เป็นขุย มีตุ่ม และผื่นขึ้น 3. คันผิดปกติ […]

ฟิล่า บราซิเลียโร (Fila brasileiro) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ฟิล่า บราซิเลียโร (Fila brasileiro) หรือที่รู้จักในชื่อ Brazilian Mastiff เป็นสุนัขในกลุ่ม Mastiffs ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ที่ขึ้นชื่อในด้านทักษะการติดตาม ไล่ล่า และความก้าวร้าว จึงนิยมฝึกให้กลายเป็นสุนัขใช้งาน อย่าง สุนัขเฝ้ายาม สุนัขเฝ้าบ้าน และสุนัขเลี้ยงแกะ แต่ถึงแม้ว่าสุนัขพันธุ์นี้จะเก่งในการทำงาน ด้วยอารมณ์และขนาดของมัน อาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับทุกคน สุนัขพันธุ์ Fila Brasileiro ถูกพัฒนามาจากสุนัขใช้งานพันธุ์ใหญ่ในประเทศบราซิล ซึ่งใช้สำหรับการติดตามและไล่ล่านักล่าขนาดใหญ่ ในช่วงที่แรงงานทาศถูกกฎหมายในประเทศบราซิล สุนัขพันธุ์นี้ถูกใช้ในการติดตามทาสที่หลบหนีและช่วยรั้งไว้จนกว่าหัวหน้าจะมา โดยสายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 15 จากสายพันธุ์ที่ลักษณะเหมือน English mastiff, bulldog, และ bloodhound ทำให้สุนัขพันธุ์นี้มีลักษณะบางอย่างเหมือนสุนัขพันธุ์ Bloodhound แม้ว่ามันจะมีความคล่องแคล่วว่องไวมากกว่าอย่างมาก สายพันธุ์ Fila Brasileiro ถูกจดทะเบียนครั้งแรกเมื่อปี 1946 แต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากสมาคม American Kennel Club หรือ United Kennel Club อีกทั้งสุนัขพันธุ์ […]

ไทยบางแก้ว (Thai Bangkaew) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ малоизвестные новые займы круглосуточно без отказаไทยบางแก้ว สุนัขพันธุ์ ไทยบางแก้ว มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีพระสงฆ์จำวัดที่วัดบางแก้ว (Bangkaew temple) ใกล้กับแม่น้ำยม (Yom river) เลี้ยงสุนัขเพศเมียกำลังตั้งท้องอยู่ภายในวัด แต่ไม่มีสุนัขเพศผู้อยู่ด้วย จึงทำให้ไม่สามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ได้ จึงสันนิษฐานว่ามีการผสมกับหมาใน (Asiatic Wild Dog) หรือ สุนัขจิ้งจอก (Jackal) ซึ่งในต่อมาได้มีการตรวจสายพันธุกรรม (DNA) จึงสรุปได้ว่าเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ไทย (Domestic dog) กับ สุนัขจิ้งจอกทอง (Golden Jackal) หลังจากนั้นไม่นาน สุนัขตัวนี้ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่นที่ไว้ใช้ต้อนแกะ (Local shepherding dog) โดยลักษณะทางกายภาพภายนอกคล้ายสุนัขพันธุ์พื้นบ้านของไทย ในปีค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ.2523 มีสัตวแพทย์ชื่อ Nisit Tangtrakarnpong เป็นสัตวแพทย์ที่ค้นพบสายพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์บางแก้วโดยเฉพาะแตกต่างกับสายพันธุ์อื่น องค์กร The Fédération […]

โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)

จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD) ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง […]

เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) เป็นสุนัขขนยาวขนาดเล็ก คาดว่าพวกมันสืบเชื้อสายมาจากเยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz) ซึ่งถูกนำเข้าในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกมันมีที่อย่างไร เนื่องจากบันทึกส่วนใหญ่ถูกทำลายในช่วงสงครามครั้งที่สอง เจแปนนิส สปิตซ์ปรากฏเป็นครั้งแรกในดินแดนญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1921 ในงานแสดงที่จัดขึ้นที่เมืองโตเกียว จากนั้นนักเพาะพันธุ์สุนัขได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อย ๆ จากนั้นช่วงปีค.ศ. 1925 ถึง 1936 มีการนำเข้าสุนัขสายพันธุ์สปิตซ์ (White Klein Wolfsspitz) จากทั้งประเทศแคนาดา สหรัฐฯ และออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาผสมข้ามสายพันธุ์จนเป็นเจแปนนิส สปิตซ์อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน พวกมันได้รับความนิยมมากขึ้นจากความน่ารัก ขนฟูสีขาวทั้งตัว ซึ่งลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนทั่วโลกจดจำ จึงไม่แปลกใจเลยที่พวกมันได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและเป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่มีการนำเข้ามาในประเทศสวีเดนและจากที่นั่นก็กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เจแปนนิส สปิตซ์มีขนสีขาวทั่วทั้งตัว มีขนาดของหัวไม่ใหญ่มาก และมีปากที่สีดำสนิท จมูกและดวงตามีสีดำ เป็นรูปทรงเมล็ดอัลมอนด์ (Almond shaped) ส่วนหูมีขนาดเล็กเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตั้งตรง หางพวกมันจะมีลักษณะเป็นพวงสีขาวม้วนขึ้นคล้ายกับขนนก และรูปร่างที่กะทัดรัด โดยมีส่วนลำตัวจะมีขนาดที่พอดีถึงแม้จะค่อนข้างบางเล็กน้อย และมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดของเจแปนนิส สปิตซ์ […]

โรคเปลือกตาม้วนเข้า และม้วนออก (Entropion & Ectropion eyelids)

โรคเปลือกตาม้วนเข้าข้างใน (Entropion Eyelids) โรคเปลือกตาม้วนเข้า หรืออาการหนังตาม้วนเข้าในนั้น เกิดจากพันธุกรรม อาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง พบได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หรือมาพบเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น และพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มสุนัขพันธุ์หน้าสั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดหนังตาม้วนเข้าหนังตาม้วนเข้า เพราะ สุนัขประเภทนี้จะมีผิวหนังขอบตาหนากว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ส่วนของเปลือกตาหดกลับ หรือพับเข้าด้านในของตา (โดนส่วนใหญ่จะเกิดที่เปลือกตาล่าง) ทําให้ขนตาแยงเข้าในลูกตา เกิดการระคายเคืองลูกตา และกระจกตาอักเสบ ประการหลังนี่มักเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แล้วมีการหนาตัวของผิวหนังบริเวณขอบตาเกิดขึ้นด้วย จึงมีโอกาสเกิดหนังตาม้วนเข้าได้ วิธีสังเกตอาการ กระจกตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติ มีเมือก หรือหนองออกมาจากตา เนื่องจากหนังตาม้วนเข้าในสุนัขและแมว จะทําให้เกิดการระคายเคืองตา ทําให้แสดงอาการน้ำตาไหลมากกว่าปกติ ตาแดง หากเกิดหนังตาม้วนเข้าเป็นเวลานาน อาจทําให้เกิดตาเปลี่ยนสี กระจกตาอักเสบ รวมถึงเมื่อเกิดหนังตาม้วนเข้าอาจพบขี้ตาสีเขียว เมือก หรือหนองออกจากดวงตา การรักษาและวิธีการป้องกัน โรคเปลือกตาม้วนเข้า สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหยอดตา หรือครีม เพื่อลดอาการระคายเคือง การผ่าตัดขลิบเอาหนังตาออกบางส่วน โรคหนังตาม้วนเข้าในเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจึงไม่สามารถป้องกันได้ สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม Bulldog, Pug, Pekinese, American […]

ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)

โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]

โรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข

โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]

ดัลเมเชียน (Dalmatian) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ดัลเมเชียน (Dalmatian) เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ที่มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนาน มีความเชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากชายฝั่ง Dalmatia ซึ่งตั้งอยู่คาบสมุทรบอลข่าน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จากสุนัขสายพันธุ์ Talbot Hound ซึ่งเป็นสุนัขที่มีขนสีขาวทั้งตัว และนิยมนำมาเป็นสุนัขอารักขาในกองคาราวาน รวมถึงคอยช่วยและทำหน้าที่ในการล่าสัตว์ ส่วนลายจุดที่เป็นจุดเด่นของพวกมันนั้น คาดว่าอาจเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง Talbot Hound และสุนัขพันธุ์ Pointer แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังคงมีอีกหนึ่งตำนานกล่าวถึงที่มาของ “ดัลเมเชียน” ซึ่งตำนานนี้ถูกเล่าขานว่า ต้นกำเนิดของพวกมันอาจจะมาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย แล้วถูกนำเข้ามายังยุโรปโดยชาวยิปซี ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในศตวรรษที่ 14 เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองที่ชื่อว่า ดัลเมเชียน ในยุคแรก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่า “ดัลเมเชียน” ในภายหลังด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว และสง่างามนี้เอง จึงเป็นที่นิยมของชนชั้นสูงในยุโรป ซึ่งชื่นชอบกีฬาการล่าสัตว์ ความนิยมนี้มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้สุนัขพันธุ์ดัลเมเชียนเป็นสัญลักษณ์ความอดทนและความกล้าหาญ เห็นได้จากในยุควิกตอเรีย พวกมันมีอีกชื่อว่าสุนัขดับเพลิง เพราะ จะเห็นจากการค้นพบภาพสุนัขพันธุ์นี้ วิ่งไปตามถนนเพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ดัลเมเชียนเป็นสุนัขขนาดกลางที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรง จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ได้รับความนิยม มีจุดเด่นที่สรีระของร่างกายที่มีความได้เปรียบกว่าสุนัขพันธุ์อื่น พวกมันขึ้นชื่อว่ามีความปราดเปรียวอย่างมาก เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว ดัลเมเชียนมีหูพับลงตามธรรมชาติ และมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม ส่วนหางนั้นจะยาวเรียว ปลายหางงอขึ้นเล็กน้อย […]

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)

หากพบสุนัขเพศผู้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย หรือเบ่งอุจจาระนานกว่าปกติ โรคสำคัญที่หมอมักจะต้องนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ “โรคต่อมลูกหมากโต” หรือ Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและสัตว์เพศผู้เมื่ออายุมาก พบได้ในคน สุนัข และมีรายงานการเกิดโรคในลิงชิมแปนซี แต่ไม่พบโรคในแมว ต่อมลูกหมากของสุนัขจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในการผสมพันธุ์ ต่อมจะมีรูปร่างกลมรีแบ่งเป็น 2 ก้อน ซ้ายและขวาอยู่ล้อมรอบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น และอยู่ใต้ลำไส้ตรง ดังนั้น หากต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำ หรือฝีหนองในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายเป็นหลัก โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในสุนัขทุกพันธุ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และอาจเรียกได้ว่าเป็นโรคของสุนัขแก่ เนื่องจากพบได้บ่อยในสุนัขเพศผู้อายุมากที่ยังไม่ได้ทำหมัน อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับคน โดยผู้ชายอายุระหว่าง 60-70 ปี จะมีภาวะต่อมลูกหมากโตได้ร้อยละ 55 ส่วนในสุนัขอายุมากกว่า 5 ปี จะพบโรคได้มากกว่าร้อยละ 80 และมากกว่าร้อยละ 95 เมื่อสุนัขอายุ 9 ปี แต่สุนัขที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต อาจจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด […]

การเลือกซื้ออาหารสุนัข ให้เหมาะกับโภชนาการและช่วงวัย

สำหรับเหล่าทาสหมาแล้ว นอกจากที่อยู่อาศัย ที่นอน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้ว การเลือกซื้ออาหารสุนัข ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของน้องหมานั้นดียิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันอาหารและขนมสำหรับสุนัขมีมากมายหลายแบบ หลายประเภท และหลากหลายยี่ห้อ การเลือกซื้ออาหารสุนัข ที่เหมาะสมกับความต้องการของสุนัขแต่ละตัวในแต่ละช่วงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สุนัขมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุที่ยืนยาว 1.ศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการสารอาหารสุนัขให้เข้าใจ สุนัขเป็นสัตว์ที่สามารถกินได้ทั้งพืชและเนื้อ (Omnivorous) จึงควรได้รับสารอาหารทุกชนิดอย่างครบถ้วน – น้ำ (Water) ในร่างกายของสุนัขประกอบด้วยน้ำประมาณ 70% ทำหน้าที่ในการขนส่งสารอาหาร ระบายความร้อน และช่วยในขบวนการทางเคมีต่าง ๆ เจ้าของจึงควรวางน้ำสะอาดไว้ให้สุนัขกินตลอดเวลา โดยปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว เฉลี่ยประมาณ 25 – 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แต่ในช่วงที่อากาศร้อนสุนัขจะต้องการน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 3-4 เท่าของปริมาณน้ำที่ดื่มปกติ – โปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารที่สามารถหาได้จากทั้งพืชและสัตว์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการพัฒนามวลกล้ามเนื้อ สร้างเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ โดยปกติแล้วอาหารสำหรับลูกสุนัขควรมีโปรตีน 22-28 เปอร์เซ็นต์ อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยควรมีโปรตีน 10-18 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะมีสัดส่วนที่มากขึ้นเมื่อเป็นอาหารบาร์ฟ […]

ข้อดีและข้อเสียของ อาหารและขนมสำหรับสุนัขแต่ละประเภท

โภชนาการด้านน้ำดื่ม อาหารและขนมสำหรับสุนัข ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรให้ความสนใจ เพราะ อาหารที่สุนัขกินในแต่ละมื้อล้วนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง ซึ่งโภชนาการที่ดีสำหรับสุนัขไม่ใช่แค่เรื่องของปริมาณอาหารเพียงเท่านั้น แต่คือการให้ อาหารและขนมสำหรับสุนัข ที่เหมาะสมกับความต้องการของสุนัขแต่ละตัวในแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้สุนัขมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุที่ยืนยาว 1. อาหารเม็ด หรืออาหารแห้ง (Kibble / Dry Dog Food) อาหารประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะ สามารถหาซื้อได้ง่าย เก็บไว้ได้นาน มีให้เลือกหลายสูตร หลากยี่ห้อ ประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อสุนัขอย่างครบถ้วน ทำให้สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อมื้อสำหรับสุนัขได้ง่าย นอกจากนี้การกินอาหารเม็ดยังเสมือนการได้ขัดฟันไปในตัว ทำให้สุนัขมีฟันแข็งแรง ช่วยลดแบคทีเรีย คราบหินปูน และช่วยลดปัญหากลิ่นปากได้อีกด้วย 2.อาหารแบบเปียก หรืออาหารกระป๋อง (Canned Dog Food / Wet Dog Food) อาหารกระป๋องส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อสัตว์ อย่าง เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อปลาเป็นส่วนประกอบหลัก และบางยี่ห้ออาจจะใส่พืชผัก อย่าง แครอท บร็อคโคลี หรือฟักทองลงไป เพื่อเพิ่มกลิ่น รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการให้แก่อาหาร จึงเหมาะสำหรับสุนัขมีปัญหาเรื่องการกิน […]

บีเกิล (Beagle) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ บีเกิล (Beagle) จัดอยู่ในจำพวกกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ (Hound) เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ และสามารถพบเจอได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศอังกฤษ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ชาวอังกฤษนิยมเพาะมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง คุณสมบัติและความสามารถพิเศษที่โดดเด่นของบีเกิลอย่างหนึ่ง คือ มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวอย่างสูงในการไล่ล่า และแกะรอยกระต่ายป่า ดังนั้น นายพรานส่วนใหญ่จึงมักพาบีเกิลออกไปเป็นฝูง ๆ แต่เช้ามืด เพื่อดมกลิ่นหาเหยื่อ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมของนายพรานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์พบหลักฐานว่า สุนัขสายพันธุ์บีเกิลถูกใช้สำหรับล่าสัตว์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ในเวลาต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกมันถูกนำเข้ามายังอเมริกาเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังได้รับความนิยมในกลุ่มนายพรานอย่างมากด้วยประสาทการดมกลิ่นอันเป็นเลิศ จนกระทั่งถึงปี 1870 จึงมีนักพัฒนาสายพันธุ์สุนัขกลุ่มหนึ่ง เริ่มหันมาสนใจพัฒนาสายพันธุ์ของบีเกิลอย่างจริงจัง ทำให้ได้บีเกิลซึ่งมีลักษณะดี และเป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามมาตรฐานในที่สุด โดย American Kennel Club ก็ได้ทำการจดทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์บีเกิลตัวแรกเมื่อปี ค.ศ.1885 และต่อมาในปี ค.ศ.1888 จึงได้มีการก่อตั้งชมรมผู้เพาะพันธุ์บีเกิลแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์บีเกิลยังคงเป็นสุนัขซึ่งมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ด้วยความน่ารัก คล่องแคล่วและเป็นมิตรกับทุกคน อย่างไรก็ตามบีเกิลอาจไม่เหมาะนักสำหรับการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะความที่เค้าต้องการสังคมสูง ชอบเล่นสนุก ชอบผูกมิตรกับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ดังนั้นหากต้องอยู่ตามลำพังเป็นเวลานานจนเกินไปอาจทำให้เกิดความเครียด และนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ ลักษณะทางกายภาพ สุนัขบีเกิลถูกจัดอยู่ในกลุ่ม สุนัขขนาดกลาง […]