ความสำคัญของการให้อาหารสุนัขที่เหมาะสมตามช่วงวัย

สุนัขในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการและความต้องการด้านโภชนาการที่แตกต่างกัน เพราะในแต่ละช่วงวัยนั้นจะต้องคำนึงถึง อายุ ขนาดตัว สายพันธุ์ กิจกรรมในแต่ละวัน และพฤติกรรมต่าง ๆ ของสุนัข รวมถึงเงื่อนไขด้านสุขภาพของสุนัขด้วย ดังนั้นการเลือกอาหารให้กับสุนัขในแต่ละช่วงวัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะช่วยดูแลให้สุนัขของเรามีสุขภาพที่ดี และเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง ช่วงแรกเกิด – ลูกสุนัขวัยเด็ก ในช่วงแรกเกิดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขในวัยแรกเกิดถึง  2 เดือนจะต้องการนมจากแม่สุนัข โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรกที่คลอดแม่สุนัขจะผลิต “น้ำนมเหลือง” หรือ Colostrum (โคลอสตรุ้ม) เป็นน้ำนมที่มีโปรตีนสูงกว่าน้ำนมปกติมีวิตามินต่าง ๆ มีสารอาหารครบถ้วนช่วยเสริมสร้างร่างกายลูกสุนัขให้แข็งแรงเป็นแหล่งภูมิคุ้มกันหลักของลูกสุนัข และเมื่อเข้าช่วงอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ หรือ เดือนครึ่งถึง 2 เดือนลูกสุนัขจะเริ่มหย่านม ในช่วงนี้สามารถปรับมาให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกได้แล้ว สุนัขแต่ละสายพันธุ์จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยที่อายุต่างกัน สำหรับลูกสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, เยอรมัน เชฟเพิร์ด สามารถให้ทาน Royal Canin สูตร MAXI PUPPY อาหารสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ อายุ 2-15 เดือน ในอาหารสูตรลูกจะให้พลังงานสูงเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เติบโตแข็งแรง และมีสารอาหารจำเป็นต่างๆ […]

โรคนิ่วในแมว ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้กับแมวทุกตัว

โรคนิ่วในแมว เป็นหนึ่งในโรคที่ทาสแมวอาจมองข้าม หรือไม่ทันได้สังเกต และหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลอันตรายถึงสุขภาพโดยรวมได้ โรคนิ่วในแมว หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เกี่ยวข้องกับระบบการขับถ่ายของเสียในแมว อาการที่แสดงออกเบื้องต้นสามารถเกิดได้หลายอาการ เช่น เดินเข้าและออกกระบะทรายบ่อยกว่าปกติ ใช้เวลาในกระบะทรายนานเกินไป มีเลือดปนออกมากับน้ำปัสสาวะ มีอาการซึม และเบื่ออาหาร เป็นต้น โดยอาการทั้งหมดที่กล่าวมาอาจทำให้ทาสแมวเข้าใจผิดว่า เป็นปัญหาเรื่องพฤติกรรมส่วนตัวของแมว จึงส่งผลให้แมวได้รับการรักษาที่ล่าช้า ในทางการสัตวแพทย์ โรคนิ่วไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแมวเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นกับสุนัขได้เช่นกัน ที่ผ่านมา การเกิดก้อนนิ่วสามารถพบได้ทั้งในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต ท่อไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ และก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นมีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น เกิดจากโรคหรือความเจ็บป่วย เช่น โรคไทรอยด์ โรคทางระบบประสาททำให้ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ โรคมะเร็งบางชนิด ความผิดปกติทางร่างกาย และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดจากพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมไม่ค่อยกินน้ำ และไม่ค่อยเคลื่อนไหวออกกำลังกาย การอั้นปัสสาวะ ส่งผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้น เกิดจากเพศ อายุ และสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่ โรคนิ่วมักจะพบในแมวเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เพราะแมวเพศผู้มีท่อปัสสาวะเล็กแคบและยาวกว่า นอกจากนี้ ความเสื่อมของร่างกายเมื่อแมวอายุมากขึ้น และปัญหาน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้ เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือความเครียด เช่น […]

จากคนที่ไม่รู้จัก บูลล์เทอร์เรีย สู่เจ้าของฟาร์มระดับแชมป์

“พี่เข้าวงการนี้เพราะผู้ชาย ถึงวันนี้ ผู้ชายไม่อยู่แล้ว แต่ บูลล์เทอร์เรีย ยังอยู่กับพี่ และพี่มีความสุขมาก” คุณฟ้า กล่าวกับบ้านและสวน Pets ระหว่างการสัมภาษณ์ พร้อมใบหน้า และแววตาที่มีความสุข และมีบูลล์เทอร์เรียวิ่งป่วนอยู่เป็นระยะ คุณฟ้า – สถิดาพร สุคนธมัต เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ บูลล์เทอร์เรีย มานานกว่า 18 ปีแล้ว และปัจจุบันเป็นเจ้าของ บูลบัสเตอร์ ฟาร์มเพาะพันธุ์บูลล์เทอร์เรียระดับแชมป์ของประเทศไทย แต่ก่อนหน้านี้ คุณฟ้าเคยเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เยอรมันเชเพิร์ด และสุนัขบางแก้ว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีพลังล้นเหลือเช่นกัน “พี่คิดว่า สุนัขที่เราเลี้ยงสะท้อนตัวตนบางอย่างของผู้เลี้ยงได้ อย่างพี่เป็นคนที่มีพลังขับเคลื่อนตลอดเวลา สุนัขที่พี่เลือกเลี้ยงก็เลยเป็นพันธุ์ที่มีพลังเล่นกับเราได้ทั้งวัน” หลังจากที่มีผู้แนะนำให้รู้จักกับสุนัขบูลล์เทอร์เรีย “ตอนนั้น เราไม่รู้จักบูลล์เทอร์เรีย แต่คิดว่าน่าจะรับมาเลี้ยงได้ เพราะเคยมีประสบการณ์เลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญมาก่อน” คุณฟ้ากล่าว และเสริมว่า “แต่พอรับมาจริง ๆ แล้วคนละเรื่องเลย เราไปรับมาถึงบ้านวันแรก น้องไม่ฟัง และวิ่งไปทั่วตลอดเวลา” หลังจากเห็นพฤติกรรมของบูลล์เทอร์เรียแล้ว คุณฟ้าเครียดมาก และกังวลว่า จะจัดการเรื่องการดูแลน้องอย่างไร จึงจำเป็นต้องมานั่งพิจารณาใหม่ เพราะการรับน้องเข้ามาในบ้านแล้ว นั่นหมายความว่า เขาคือหนึ่งชีวิตที่ผู้เลี้ยงต้องรับผิดชอบ […]

การตรวจสุขภาพประจำปีในสัตว์เลี้ยง มีความสำคัญอย่างไร

สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญทั้งในมนุษย์และสัตว์เลี้ยง การดูแลสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันเป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนเริ่มตระหนักมากขึ้น

ทำอย่างไร ไม่ให้ลูกรักสัตว์เลี้ยงเครียด เมื่อต้องพาน้องหมาน้องแมวไปหาหมอ

เมื่อถึงเวลาต้องพาน้องหมาน้องแมวไปหาหมอ คุณพ่อคุณแม่สัตว์เลี้ยงมักเกิดปัญหาหนักใจ เพราะประสบการณ์การไปหาหมอครั้งแรก จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของน้องหมาน้องแมวในครั้งถัดไป หลายครั้งสัตว์เลี้ยงได้รับประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างการรักษา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมฝังใจ และต่อต้านการไปพบสัตวแพทย์ในครั้งต่อไป หรือทำให้เกิดความเครียดทุกครั้งเมื่อต้องไปพบสัตวแพทย์  ความเครียดในสัตว์เลี้ยงส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยงในหลายรูปแบบ ทำให้พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเปลี่ยนไป หรืออาจเจ็บป่วยมากขึ้นได้ ดังนั้น การช่วยฝึกน้องหมาน้องแมวก่อนการไปพบสัตวแพทย์ จะช่วยลดความเครียด และผ่อนคลายมากขึ้น ส่งเสริมให้พฤติกรรมของลูกรักสัตว์เลี้ยง เอื้อประโยชน์ต่อการรักษาของสัตวแพทย์มากขึ้น 1. ฝึกใส่สายจูง หรือฝึกให้อยู่ในกระเป๋า หรือตะกร้า สำหรับการเดินทาง สำหรับน้องแมว ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายน้องไว้ล่วงหน้า 2 – 3 วัน ก่อนไปพบสัตวแพทย์ โดยวางตะกร้า หรือกระเป๋าไว้บริเวณจุดที่แมวชอบนอนประจำ เหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน พร้อมกับเปิดฝาทิ้งไว้ และใช้ผ้าห่มหรือของเล่นที่มีกลิ่นแมววางไว้ด้านใน เพื่อให้แมวค่อย ๆ ทำความคุ้นเคย เมื่อแมวคุ้นเคยกับตะกร้า หรือกระเป๋าแมวจะรู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์ และช่วยสร้างความอบอุ่นใจเมื่อต้องเดินทางไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย  เลือกขนาดของตะกร้า และกระเป๋าให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวแมวเล็กน้อย และควรมีฝาเปิดด้านบน เพื่อสร้างความสบายตัว และนำตัวแมวออกมาได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจปูแผ่นรองซับไว้เสมอ ในกรณีที่แมวอาจขับถ่ายหรืออาเจียน  สำหรับน้องหมา การฝึกใส่สายจูงตั้งแต่อายุยังน้อยคือกุญแจสำคัญ ในช่วงแรก น้องหมาอาจมีพฤติกรรมต่อต้านให้ค่อย ๆ ฝึกด้วยการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก อย่างการให้รางวัลเมื่อน้องหมาสามารถอยู่ในสายจูงได้ และไม่ให้รางวัลเมื่อน้องหมาเกิดพฤติกรรมต่อต้านเมื่ออยู่ในสายจูง […]

วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว ความจำเป็นพื้นฐานสำหรับสุขภาพที่ดีของสัตว์เลี้ยง

วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว เป็นหนึ่งในกระบวนการดูแลสัตว์เลี้ยงที่สำคัญและจำเป็น ดังนั้น เมื่อครบกำหนดอายุ คุณพ่อคุณแม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือคลินิกใกล้บ้าน เพื่อให้น้องสุนัขน้องแมวมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรง ความสำคัญของ วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว ในช่วงแรกเกิด สุนัขและแมวต้องอาศัยแหล่งอาหารโดยกินน้ำนมจากแม่เท่านั้น ซึ่งในน้ำนมของแม่มีภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยงตามธรรมชาติ แต่หลังจากนั้น เมื่อลูกสุนัขและแมวเริ่มหย่านม ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 8 – 12 สัปดาห์ ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะพาน้องแมวน้องหมาไปรับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากโรคในสัตว์เลี้ยงหลายโรครักษาได้ยาก หรือเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง เช่น โรคไข้หัด โรคลำไส้อักเสบในสุนัข และโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น ดังนั้นการทำวัคซีนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ควรมองข้าม เพราะการทำวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคชนิดต่างๆ และช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเรากลายเป็นพาหะนำโรคติดต่อบางชนิดที่ติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรงจะทำหน้าที่ช่วยลดการติดเชื้อ ลดโอกาสป่วยเป็นโรคน้อยลง และช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อได้ วัคซีนของสุนัขและแมว สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัคซีนหลัก (Core vaccine) เป็นกลุ่มของวัคซีนที่น้องสุนัขและน้องแมวทุกตัวจำเป็นต้องได้รับ โดยวัคซีนหลักช่วยป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก ประกอบด้วย วัคซีนหลักของสุนัข ประกอบด้วย วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) […]

รู้หรือไม่ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป อาจทำให้สุขภาพลูกรักแย่ลงโดยไม่รู้ตัว

คุณกำลังเลี้ยงน้องในพื้นที่จำกัด แบบหอพัก คอนโด ใช่ไหม ? คุณกำลังเลี้ยงน้องในระบบปิด หรือเปล่า ? คุณเลี้ยงน้องในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ ใช่หรือไม่ ? คุณพาน้องไปอาบน้ำ เข้า grooming เสริมหล่อ เสริมสวยกันบ่อย ๆ ใช่ไหม ? ทุกสิ่งที่ทำไป เพราะอยากให้น้อง ๆ สบายตัว สุขภาพดี แต่รู้ไหมว่า อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาโดยไม่รู้ตัว… การเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันได้รับความนิยมจากผู้คนมากขึ้นจนกลายเป็นกระแส Pet Humanization หรือการเลี้ยงสัตว์ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ประกอบกับพฤติกรรมของประชากรในสังคมเมืองที่มีแนวโน้มครองสถานะโสดมากขึ้น และคู่แต่งงานที่ไม่อยากมีบุตร จึงตัดสินใจรับสัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว เมื่อเหตุผลการเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไป รูปแบบการเลี้ยงก็เปลี่ยนตาม เมื่อเจ้าของหันมาดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างประคบประหงมมากขึ้น ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงไม่สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างได้ตามธรรมชาติ เช่น การออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน การล่าเหยื่อ และการออกกำลังกาย  โดยสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในบ้านตลอดเวลา อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพได้ในอนาคต เช่น โรคอ้วน โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคผิวหนัง เป็นต้น ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงบางรายจึงเล็งเห็นความสำคัญของรูปแบบการเลี้ยงที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง และได้พัฒนาสูตรอาหารให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โภชนาการที่เหมาะสมคือจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี สัตว์เลี้ยงมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างจากมนุษย์ […]

สุนัขเดินยกขา หรือท่าทางการเดินผิดปกติ อาจกำลังมีปัญหาสะบ้าเคลื่อน

สุนัขเดินยกขา หรือร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม สัญญาณเบื้องต้นของโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข ในระหว่างการเจริญเติบโตทางร่างกายของสุนัข ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่สามารถพบเจอได้คือ การเจริญของกระดูกโครงร่างผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patella luxation) โดยอาการที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น สุนัขเดินยกขา ท่าทางการเดินผิดจากปกติ หรือส่งเสียงร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม “ส่วนใหญ่ โรคสะบ้าเคลื่อนมักเกิดในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ปอมเมอเรเนียน มอลทีส และชิวาวา เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็พบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ได้เช่นกัน” น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ สัตวแพทย์ แผนกระบบกระดูกและข้อต่อ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน กล่าวและเสริมว่า “ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ โรคนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น การเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกไม่สัมพันธ์กัน” ดังนั้น ในการวินิจฉัยจึงเรียกรวมๆ ว่า ความผิดปกติทางโครงสร้างในระหว่างสุนัขกำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ น.สพ.บูรพงษ์ กล่าวว่า สะบ้าเคลื่อนอาจเกิดได้จากการกระทบ กระแทก การถูกรถชน หรือการถูกตี ก็อาจทำให้แนวการเจริญเติบโตที่ขาของสุนัขเสียหายได้ ส่งผลให้ขาของสุนัขคดงอ และบิดเบี้ยว เมื่อสุนัขต้องเผชิญโรคสะบ้าเคลื่อน  น.สพ.บูรพงษ์ อธิบายว่า “โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นความผิดปกติของตำแหน่งลูกสะบ้าในท่าที่สุนัขอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้ สะบ้าที่ผิดจากตำแหน่งปกติสามารถหลุดไปอยู่ได้ทั้งด้านนอกและด้านในของข้อเข่า ซึ่งร้อยละ 80 – […]

สา- มาริสา อานิต้า กับบทบาทของ ครูฝึกสุนัข

มาริสา อนิต้า กับการเป็น ครูฝึกสุนัข ที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบในฐานะ เจ้าของสุนัขหนึ่งตัว

เตรียมพื้นที่เลี้ยงหมาแมวในบ้านอย่างปลอดภัย

ป้องกันปัญหา เลี้ยงแมวเลี้ยงหมา ที่เรารักไม่ให้ป่วย บาดเจ็บ และลดอันตรายทั้งคนและสัตว์เลี้ยง มาดู 8 Do & Don’t ในการเตรียมพื้นที่กัน

จัดการปัญหาสารพัดสัตว์ไม่พึงประสงค์ในบ้าน

ปัญหาสารพัดสัตว์กวนใจ ทั้งที่เลี้ยงไว้ในบ้านอย่าหมาแมว และสัตว์ไม่ได้รับเชิญอย่างงู หนู จิ้งจก ฯลฯ ล้วนสร้างความปวดหัวชวนให้หัวเสียไปจนถึงขวัญผวา ไล่สัตว์ไม่พึงประสงค์ สามารถทำได้ เราได้หยิบยกเอาคำแนะนำอ่านสนุกจากในคอลัมน์ฮิตของนิตยสารบ้านและสวนอย่าง “รู้เหนือรู้ใต้” ที่มีสโลแกนว่า “อยากรู้แต่ไม่รู้จะค้นที่ไหน อยากถามแต่ไม่รู้จะถามใคร สงสัยแต่เกรงใจ อย่าลืมว่าคุณมีเพื่อนชื่อ ‘บ้านและสวน’ เราคงไม่รู้ไปทุกเรื่อง แต่ที่แน่ๆคือเราชอบหาคำตอบ ถึงไม่มีคำถามเราก็จะบอก” เอาล่ะ…ไปอ่านวิธีจัดการปัญหากันเลยเถอะ 1.”หนอนปลอก” ดัชนีวัดความสกปรกภายในบ้าน เจอแมลงประหลาดอยู่ที่พื้นและกำแพงบ้าน เหมือนหนอนที่มีกระดองเป็นของตัวเอง ด้านนอกเป็นสีเทาๆ น้ำตาลๆ รูปทรงหมือนใบไม้อ้วนๆ ข้างในเป็นหนอนยืดๆ หดๆ เข้าออกจากปลอกได้ มีขนาดตั้งแต่ 2-3 มิลลิเมตรไปจนถึงประมาณ 1 เซนติเมตร มันคือตัวอะไรเนี่ย ไปสืบค้นมาจึงรู้ว่าเป็น “หนอนปลอก” ชนิดหนึ่ง เมื่อโตเต็มที่จะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน ซึ่งไม่ได้สร้างอันตรายอะไรกับเรา เพียงหยิบไปทิ้งหรือกวาดออกไปก็พอแล้ว (ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงให้เกิดสารตกค้างในบ้าน) แต่ถ้าอยากกำจัดหนอนเหล่านี้ที่ต้นตอ ก็ต้องหมั่นหันมาทำความสะอาดบ้านกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาหารโปรดของหนอนเหล่านี้คือฝุ่นทั้งหลายในบ้านนั่นเอง ถ้ามีหนอนเหล่านี้มากๆก็แสดงว่าบ้านเรามีฝุ่นมาก เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของเจ้าน้องหนอน แต่ถ้ามีน้อยแสดงว่าฝุ่นขาดแคลน ดังนั้นถ้าเริ่มเห็นเจ้าตัวเหล่านี้หนาตาขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าถึงเวลาต้องเก็บกวาดบ้านกันแล้วล่ะ 2. วิธีกำจัดแมงมุม ที่บ้านมีใยแมงมุมและหยากไย่เต็มไปหมด จิ้งจกก็มีเยอะนะ […]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]

โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)

โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]

เรื่องต้องรู้ก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด

ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทุกภาคส่วนพยายามหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืนร่วมกัน แน่นอนว่าทางแก้ปัญหาที่ง่ายทางหนึ่งคือการลดจำนวนสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ การลดจำนวนประชากรทำได้หลายวิธีและหนึ่งในวิธีที่ดีก็คือการเปลี่ยนจากสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของให้มีเจ้าของ หรือพูดให้ง่ายก็คือการหาบ้านให้สัตว์เหล่านี้นั่นเองค่ะ หลายท่านที่อยากจะเลี้ยงสุนัขหรือแมวสักตัวคงมีตัวเลือกของการรับอุปการะสัตว์เหล่านี้อยู่ในใจ เพราะนอกจากเราจะได้เพื่อนซี้สี่ขาเพิ่ม หมาแมวเหล่านี้ได้บ้านใหม่แล้ว ยังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในสังคมอีกด้วย แต่การจะรับสุนัขหรือแมวสักตัวมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จรจัดมาก่อนหรือไม่สิ่งที่เราควรจะคิดก่อนเป็นอันดับแรกคือ ตัวเรามีความพร้อมจะเลี้ยงพวกเขาเหล่านี้แล้วหรือยัง เพราะถ้าตัวเราไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านสถานที่ เหตุผลของเวลา หรือเหตุผลจากปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินก็ดีแล้วล่ะก็ เราอาจจะกำลังเป็นสาเหตุของปัญหาสุนัขและแมวจรจัดแทนที่จะเป็นคนช่วยแก้ปัญหานี้ก็ได้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งจริงๆ ก็มีพื้นฐานเหมือนการเตรียมตัว เพื่อจะเลี้ยงสุนัขและแมวทั่วไป แต่อาจจะมีรายละเอียด ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขบ้างอย่างที่เราควรต้องรู้ก่อนรับสัตว์เหล่านี้มาเลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบ้านของสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ได้อย่างถาวร   การเตรียมตัวรับสมาชิกใหม่    1.เตรียมความรู้และความเข้าใจ ความรู้และความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากสำหรับการรับสัตว์สักตัวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน ความเข้าใจนี้ครอบคลุมทั้งความเข้าใจ ”เขา” และความเข้าใจ ”เรา” ซึ่ง “เขา” ที่ว่าคือน้องหมาหรือน้องแมวที่เรากำลังจะรับมาเลี้ยง หากเป็นไปได้เราควรจะเล็งไว้บ้างว่าน้องหมาหรือน้องแมวตัวไหนที่เราจะรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ เพื่อจะได้รู้ข้อมูลพื้นฐานของเขา เช่น เป็นสุนัขหรือเป็นแมว สายพันธุ์อะไร ตัวใหญ่แค่ไหน ขนสั้นหรือขนยาว ตัวเมียหรือตัวผู้ อายุเท่าไหร่ มีประวัติมาอย่างไรบ้าง เพราะประวัติสามารถบอกนิสัยคร่าวๆ และเงื่อนไขของสัตว์แต่ละตัวได้ เช่น สุนัขหรือแมวบางตัวมีประวัติเรื่องการทำร้ายร่างกาย อาจทำให้สัตว์เหล่านั้นมีนิสัยหวาดระแวงคนแปลกหน้าหรือสัตว์ตัวอื่นมากกว่าปกติ บางตัวเป็นสัตว์เลี้ยงพิการที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสัตว์เหล่านี้จะทำให้เราสามารถนำมาเตรียมอุปกรณ์สถานที่ต่างๆ […]

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)  หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์​ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น  เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]

ความสำคัญและความจำเป็นของชั้นเรียน Puppy Class

ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เลี้ยงสุนัข มักไม่สนใจในเรื่องของการฝึก หรือศึกษาในแนวทางการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข เพื่อให้โตขึ้นไปเป็นสุนัขโตที่ดี หรือมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ มักมองแค่ว่าสุนัขก็คือสุนัข เลี้ยง ๆ ไว้ในบ้านมีอาหารให้กิน มีที่นอน มีของเล่นให้เล่น ก็เพียงพอแล้ว หรือบางท่านก็เน้นแต่การตามใจโดยไม่ได้คำนึงถึงการฝึกหรือปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข แต่เกือบทุกท่านจะกลับมาคำนึงหรือรู้สึกถึงความสำคัญของการฝึกหรือศึกษาวิธีการเลี้ยงดู เมื่อสุนัขของตัวเองเริ่มมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเช่น ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง เห่าหอน ขี้กลัว ดุ ก้าวร้าว ฯลฯ บางตัวแสดงอาการตั้งแต่ยังเล็ก (ก่อน 4 เดือน) ก็ยังพอจะกลับมาปรับปรุงให้เข้ารูปเข้ารอยได้เร็ว แต่หลายตัวกว่าเจ้าของจะสังเกตเห็นก็คือตอนหลังจากเป็นวัยรุ่นแล้ว (ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) แบบนี้ก็จะลำบากทั้งเจ้าของและคนฝึกครับ ทั้งที่เรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันได้ถ้าเลี้ยงถูกวิธีหรือปูพื้นฐานที่ดีตั้งแต่ตอนเป็นลูกสุนัข ด้วยเหตุนี้ การฝึกและการสอนตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขจึงเป็นวิ่งจำเป็นและสำคัญมากครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า 1. ระบบการเรียนรู้ของสุนัข แม้จะเรียนรู้ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต แต่ช่วงสำคัญของสุนัขที่จะเปิดรับเพื่อดูดซับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อการปรับตัวให้มีพื้นฐานทางนิสัยที่ดี จะอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนครับ ช่วงนี้ลูกสุนัขจะเปิดรับและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งที่เราป้อนให้เขาได้อย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นประตูที่เปิดบานนี้จะค่อย ๆ ปิด ซึ่งพอปิดแล้ว ปัญหาคือการภายหลังจากการปิดแล้ว การจะปูพื้นพฤติกรรมใหม่มันจะเริ่มอยู่ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมใหม่ ซึ่งถ้ามาปรับแก้ไขหลังจากประตูปิดไม่นานเร็วก็จะยังแก้ไขได้เร็ว แต่ถ้าปล่อยไว้นาน […]

7 วิธีเล่นกับสุนัข ทั้งสนุกและสร้างสรรค์

การเล่นกับสุนัขมีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว หากเล่นได้ถูกต้องและสร้างสรรค์ยังช่วยฝึกฝน พัฒนาสมองและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับสุนัขอีกด้วย ที่สำคัญที่สุดเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น วันนี้บ้านและสวน Pets จึงมีเคล็ดลับและ วิธีเล่นกับสุนัข แบบสร้างสรรค์มาฝากค่ะ การเล่นสนุกกับสุนัขมีหลายวิธี ที่ได้ทั้งความสนุกเพลิดเพลิน มีทั้งรูปแบบที่วางขายอยูู่ หรือจะ DIY จากของเหลือใช้หรือของใกล้ตัวก็เล่นได้ง่าย ๆ ลองเลือกดูจาก 7 วิธีเล่นกับสุนัข ที่ บ้านและสวน Pets นำมาฝากได้เลยค่ะ เล่นซ่อนแอบ – การเล่นแบบนี้คือให้สุนัขนั่งรอและคอย คุณไปแอบแล้วส่งเสียงให้สุนัขตามหาคุณให้เจอ หรือ เอาของเล่นหรือขนมไปซ่อน แล้วกระตุ้นให้สุนัขไปหา การเล่นแบบนี้เป็นเกมที่ดีมากในการฝึกประสาทสัมผัสเรื่องการดมกลิ่น เมื่อน้องเจอเราก็ให้ชมหรือให้ขนมเป็นรางวัล   อยู่มือไหนนะ? – การเล่นแบบนี้เป็นเกมลับสมองที่ง่ายมาก เพียงแค่คุณหยิบขนมสุนัขซ่อนไว้ในมือ ปล่อยให้สุนัขดมมือของคุณแล้วถามเขาว่าขนมอยู่มือไหนนะ? สุนัขจะใช้จมูกดมกลิ่น ตอนแรกอาจจะเป็นการเดา แต่เมื่อประสาทสัมผัสถึงกลิ่นขนมที่ชัดเจน เขาจะใช้จมูกดันมือที่มีขนมอยู่อย่างเต็มที่ เราก็ค่อยหงายมือออกและยื่นขนมให้เป็นรางวัล   ไปเก็บมาซิ! – คุณนำลูกบอลมาแล้วชักชวนให้สุนัขเล่น โดยเริ่มจากให้สุนัขทำตามลำดับคำสั่งคือ นั่ง-คอย-ไปเก็บมาและปล่อย โดยคุณเป็นผู้เก็บบอลไว้ จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป ซึ่งการเล่นแบบนี้สอนให้สุนัขรู้จักกติกาว่าเมื่อไรจะต้องทำอะไร […]

น้ำมันตับปลา vs น้ำมันปลา เหมือนกันหรือไม่ ?

จากประสบการณ์การทำงานหลายปีของผู้เขียน พบว่ามีความสับสนของเจ้าของเกิดขึ้นบ่อยมาก ระหว่างน้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลา บางครั้งบอกให้ไปซื้อน้ำมันปลากิน สุดท้ายได้น้ำมันตับปลามากินเฉยเลย ทั้งนี้อาจเป็นความคุ้นเคยแต่เด็กของเราด้วย เราอาจจะรู้สึกคุ้นเคยกับน้ำมันตับปลามากกว่า ทั้งที่จริง ๆ แล้ว น้ำมันตับปลา และ น้ำมันปลา แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งส่วนประกอบ สรรพคุณ และข้อบ่งใช้ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาทำความรู้จักน้ำมันทั้งสองชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ซื้อให้สัตว์เลี้ยงของเรากินได้อย่างถูกต้องตามประโยชน์ที่เราต้องการค่ะ น้ำมันตับปลา (cod liver oil) มาเริ่มกันที่น้ำมันตับปลาก่อนนะคะ น้ำมันตับปลา คือน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล เช่น ปลาค็อด ภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า cod liver oil น้ำมันตับปลาเต็มไปด้วยวิตามินเอ และดีสูง ซึ่งวิตามินเอจะช่วยสร้างเยื่อบุผิวหนัง และกระดูก สร้างภูมิต้านทานโรค และช่วยบำรุงสายตาให้สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืด หรือในที่ที่มีแสงสลัว ส่วนวิตามินดีจะสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากอาหารค่ะ แต่ถึงแม้ว่าน้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ และดีสูง แต่ตับก็เป็นแหล่งอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการทานน้ำมันตับปลามากเกินความจำเป็น ก็อาจทำให้ร่างกายประสบปัญหาคลอเลสเตอรอลสูงเกินตามไปด้วย นอกจากนี้วิตามินเอ และดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน หากทานน้ำมันตับปลามาก […]