ซิลเวอร์สเปรเดอร์

Silver Spreader ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus virginiana L.’Silver Spreader’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ย กิ่งก้านแผ่กว้างในแนวนอนคล้ายสนเลื้อย กว้าง 2-3 เมตร ปลายกิ่งโค้งตั้งขึ้น เปลือกต้นสีสนิม ใบ: คล้ายเกล็ด สีเขียวอมฟ้า มีนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า  มักเจริญทางด้านกว้างมากกว่าสูง ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกในสวนหินหรือสวนหย่อม  

บลูสตาร์

Blue Star ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus squamata Buch.-Ham.ex D.Don ‘Blue Star’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 40-70 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มแน่นแผ่คลุมดิน กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบ: รูปเข็ม สีฟ้าเทา ใบใกล้โคนกิ่งสีเขียวอมเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้

บลูคาร์เป็ต

 Blue Carpet ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus squamata Buch.-Ham.ex D.Don ‘Blue Carpet’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 30-60 เซนติเมตร ลำต้น: ต้นเตี้ยแผ่กว้างได้ถึง 3 เมตร กิ่งทอดขนานกับพื้น ปลายกิ่งมักอ่อนโค้งลง ใบ: รูปเข็ม ใบส่วนยอดสีฟ้าอมเทา ใบใกล้โคนสีเขียวอมเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้

สปริงแบงก์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus scopulorum Sarg.’Springbank’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: ทรงต้นรูปกรวย ต้นที่อายุน้อยจะเป็นพุ่มกว้าง กิ่งก้านตั้งขึ้น ใบ: คล้ายเกล็ด สีเขียวเทา ออกเป็นช่อแบนๆ รอบกิ่ง ใบจะมีสีฟ้ามากขึ้นเมื่ออายุมาก อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้

สนซาร์เจน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus sergentii (Henry) Tak วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 80 เซนติเมตร ลำต้น: เตี้ยแผ่คลุมดิน กว้าง 2 เมตร กิ่งก้านทอดนอน กิ่งย่อยกึ่งตั้งตรง เป็นเหลี่ยม ใบ: ใบอ่อนรูปเข็ม ออกเป็นวงรอบ 3 ใบ ยาวประมาณ 5 มม. ใบคล้ายเกล็ดออกเป็นคู่เมื่อต้นมีอายุมาก สีเขียวเข้มอมน้ำเงิน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นคล้ายการบูร ต้นแยกเพศ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: มีถิ่นกำเนิดในจีนและญี่ปุ่น มีหลายพันธุ์ เช่น Virdis ใบสีเขียวอ่อน

สนสามร้อยยอด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus x media Van Melle วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1.50-3 เมตร ลำต้น: คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่าง Juniperus Sabina กับ Juniperus Chinensis ทรงพุ่มกว้าง 1-2 เมตรหรือมากกว่า กิ่งก้านแผ่ออกกว้างเป็นช่อยาว ปลายเรียวแหลมและชี้ตั้งขึ้น ใบ: พุ่มใบหนาทึบสีเขียวเข้มถึงเขียวอมเหลือง ใบแก่มีนวล ปลายกิ่งเป็นใบคล้ายเกล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: มีหลายพันธุ์ เช่น สนสามร้อยยอดทอง สนสามร้อยยอดขาว นิยมปลูกประดับเป็นแนวริมทางเดินหรือทำแนวรั้ว

สนเลื้อยใบละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus procumbens (Endl.) Miq วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 75-90 เซนติเมตร ลำต้น: เตี้ยแผ่คลุมดินกว้าง 2 เมตร กิ่งก้านทอดนอนไปกับพื้น ใบ: รูปเข็มปลายเรียวแหลม สีเขียวอ่อน ด้านบนโค้งนูน ใต้ใบเว้า มีแถบปากใบสีเขียวเทา 2 แถบ อาจมีใบแบบเกล็ดด้วย อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: มีหลายพันธุ์ เช่น Juniperus procumbens ‘Nana’ ซึ่งเป็นพันธุ์แคระ มีกิ่งย่อยสั้น ใบออกเป็นกระจุกสั้นและแน่น สีเขียวเทา

สนเลื้อยด่างขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus davurica Pall. ‘Expansa Variegata’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้คลุมดิน ความสูง: 1 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มแผ่กว้างมากกว่า 3 เมตร ใบ: มี 2 แบบคือ ใบรูปเข็มและใบคล้ายเกล็ด ออกเป็นกระจุกแน่น สีเขียวเข้ม ใบที่ปลายกิ่งด่าง สีเหลืองครีมหรือขาวกระจายทั่วต้น อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้

สนเลื้อยด่างเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus davurica Pall. ‘Expansa Aureospicata’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มแน่นและค่อนข้างกลม ใบ: มี 2 แบบคือ ใบรูปเข็มและใบคล้ายเกล็ด สีเขียวเข้ม ใบที่ปลายกิ่งด่าง สีเหลืองทอง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้

สนเลื้อยใบไหม

Shore Juniper ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus conferta ‘Blue Pacific’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ย กิ่งทอดนอนแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งตั้งขึ้น เปลือกสีน้ำตาลแดง ใบ: รูปแถบแคบ ยาว 8-15 มม. ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ใบ ปลายใบแหลมคม ผิวด้านบนโค้งนูนเป็นมัน สีเขียวอมน้ำเงิน เป็นสันตรงกลาง ใต้ใบเป็นร่อง ผิวมีนวล มีแถบปากใบ 1 แถบ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมใช้จัดสวน

สนจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus communis L. วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ความสูง: ได้ถึง 6 เมตร ลำต้น: เรือนยอดรูปกรวยหรือทรงกระบอก ใบ: รูปลิ่ม ปลายแหลมแข็งเป็นหนาม ออกเป็นวงรอบข้อ 3 ใบ สีเขียวเทา ใต้ใบมีแถบปากใบสีขาว 1 แถบ เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอก: ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างหลม เมื่อสุกแก่คล้ายผลขนาดเล็ก มีเนื้อนุ่ม สีน้ำเงินดำ ผิวมีนวล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวน

สนมังกรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus chinensis sp. วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ความสูง: 5-10 เมตร ลำต้น: คล้ายสนมังกรญี่ปุ่น แต่พุ่มแผ่กว้างกว่า ลักษณะต้นผันแปรได้ง่าย กิ่งบิดเวียนรอบต้น ใบ: คล้ายเกล็ดเรียงซ้อนกัน สีเขียวเข้มถึงเขียวอมเหลือง ดอก: เมื่อแก่คล้ายผล สีเขียวเทา อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ทนอากาศร้อน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกเลี้ยงนานแล้ว จึงไม่ทราบชื่อพันธุ์แน่ชัด นิยมใช้จัดสวน เพราะทนอากาศร้อนได้ดี แต่ไม่ทนน้ำขังแฉะ