ความสุขในสวนที่สวยเรียบ ดูแลง่าย นั่งรับลมเย็นได้ตลอดทั้งวัน

ภายในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งย่านราชพฤกษ์ บ้านหลังหนึ่งโดดเด่นกว่าหลังอื่นๆในโครงการ เพราะเลือกที่จะซื้อที่ดินเปล่าและสร้างบ้านเอง ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบๆที่เป็นบ้านของเครือญาติกัน ทำให้ คุณปรีดา พิทักษ์ธีระธรรม เจ้าของบ้าน สามารถออกไอเดียทำบ้านให้ตรงตามใจได้เต็มที่ บ้านที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่นอกบ้านซึ่งเป็นสวนดูแลง่ายขนาดกะทัดรัด แต่เต็มไปด้วยความร่มรื่นและสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เจ้าของสวน : คุณปรีดา พิทักษ์ธีระธรรม ออกแบบ : บริษัทเพอโกล่าร์ จํากัด โดยคุณปณัฐ สุมาลย์โรจน์ โทรศัพท์ 0-2441 – 9983 จากถนนเข้าบ้านปูกระเบื้องหินที่เชื่อมระหว่างบ้านกับลานจอดรถขนาดใหญ่ อีกฟากหนึ่งเป็นสวนขนาดกว้างประมาณ 300 ตารางเมตร ซึ่งตอนแรกที่บ้านสร้างเสร็จใหม่มีเพียงต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวที่ล้อมรอบด้วยสนามหญ้าโล่ง ซึ่งไม่ตรงตามความต้องการของคุณปรีดา เพราะดูแลยากและต้องหมั่นตัดแต่งเสมอ ประกอบกับตัวบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ซึ่งรับแสงแดดเต็มที่กว่าทิศอื่น ทำให้บ้านที่โปร่งด้วยกระจกขนาดใหญ่มีอุณหภูมิภายในสูง จำเป็นต้องปลูกต้นไม้ใหญ่ โดยคุณปรีชาเองก็ชอบบ้านที่มีร่มไม้บังให้ร่มเงากับตัวบ้านเป็นทุนเดิม จึงลงตัวที่สวนแบบนี้ซึ่งจัดออกมาแล้วดูสวยงามจนหลายคนที่มาเยือนต่างชื่นชอบ ซึ่งเป็นผลงานออกแบบของ คุณดอส-ปณัฐ สุมาลย์โรจน์ แห่งบริษัทเพอโกล่าร์ จํากัด “จุดเริ่มต้นมาจากบ้านและสวนนี่แหละครับ ผมเลือกคนออกแบบจากสวนที่ผมชอบในนิตยสาร พอได้ดูงานออกแบบของเพอโกล่าร์แล้ว รู้สึกว่าแตกต่างกว่าสวนของที่อื่น เขาสามารถทำได้หลายแบบ ผมจึงโทร.หาคุณดอส แล้วบอกโจทย์ที่อยากได้ความร่มรื่น เมื่ออยู่ภายในบ้านมองมาจากห้องนอนหรือทุกมุมต้องเห็นสวนทั้งหมด ส่วนลูกสาวชอบสไตล์ที่เรียบเท่ และภรรยาของผมต้องการสวนที่ดูแลง่าย ก็เลยออกมาเป็นสวนอย่างที่เห็น เน้นงานฮาร์ดสเคปและเส้นสายที่ดูนิ่งสบายตา” คุณปรีดาเล่า […]

EI TERRENO COMMUNAL GARDEN ศาลาในสวน ดอกไม้ แหล่งเรียนรู้ของเด็กในชุมชนเมือง

ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน   ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]

รวมทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานฮาร์ดสเคป หรือ งานก่อสร้างในสวน

นอกจากการปลูกต้นไม้ในสวนแล้ว งานฮาร์ดสเคป หรือการก่อสร้างองค์ประกอบภายในสวนที่ต้องใช้โครงสร้างถาวรหรือกึ่งถาวรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนควรรู้ เพื่อนำไปใช้ในการลงมือก่อสร้างด้วยตัวเอง หรือนำไปคุยกับช่างก่อสร้าง เพื่อให้ก่อสร้างส่วนต่าง ๆ ในสวนได้อย่างถูกต้อง งานฮาร์ดสเคป หรืองานก่อสร้างในสวน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนทางเดิน ศาลา บ่อปลา หรือระบบให้แสงสว่าง บ้านและสวน มีเรื่องที่ต้องรู้มาแนะนำดังนี้ การปรับระดับพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญ การปรับระดับพื้นที่ควรเป็นสิ่งแรกที่ทำหลังจากการออกแบบสวนและเริ่มจัดสว นเพื่อให้ได้ระดับความสูงต่ำ เนินดิน ตลิ่งริมน้ำ หรือทางระบายน้ำ ไม่ควรออกแบบให้ทางลาดสูงชันมาก โดยเฉพาะพื้นที่แคบ ๆ เพราะ เสี่ยงต่อดินพังทลายจากการกัดเซาะของน้ำฝน และไม่สะดวกต่อการตัดแต่งดูแล สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ต่ำมีน้ำท่วมถึง อาจไม่จำเป็นต้องเลือกแนวทางการถมดินให้มีระดับสูงกว่าระดับน้ำท่วมเสมอไป อาจใช้การปรับระดับโดยการขุดดินในบริเวณหนึ่งให้สามารถรับน้ำเพิ่มและรองรับน้ำที่ระบายไป แล้วนำดินที่ขุดได้ไปถมในบริเวณที่จำเป็นสำหรับใช้งาน โดยไม่ต้องเสียค่าดินในการถมและช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ หลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่ดีต่อพื้นที่ใกล้เคียงและรบกวนสิ่งแวดล้อมเดิมให้มากที่สุด การกำหนดระยะงานฮาร์ดสเคป ต้องเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของมนุษย์ เช่น ทางเดินในสวนควรมีขนาดพื้นให้คนปกติและรถเข็นสามารถผ่านได้ โดยทั่วไปควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร ถ้าเล็กกว่านี้คนจะเดินทางผ่านกันลำบาก และยังเบียดทำลายต้นไม้ข้างทางเดินได้ และควรมีระยะทางไม่ยาวเกินไป รวมถึงต้องมองเห็นได้ชัดเจน มุมที่นั่งบนขอบกระบะปลูกต้นไม้ควรออกแบบให้มีระยะความสูง 45-50 เซนติเมตร ลึก 40-60 เซนติเมตร หากต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนที่เดินผ่านหรือให้คนที่อยู่ใกล้กันหันหน้าเข้าหากัน แต่หากต้องการความเป็นส่วนตัว เพียงเว้นที่นั่งไว้ในระยะคนนั่งหนึ่งคนและหันหน้ามองไปทางเดียวกันก็ทำให้รู้สึกแบ่งแยกออกจากกัน […]

สวนมินิมัลที่ดูแลง่ายและสบายตา ในพื้นที่สวนประมาณ 60 ตารางเมตร

“Less is more น้อยแต่มาก” ดูจะเป็นวลีอมตะไปเสียแล้วสำหรับการออกแบบ ไม่เว้นแม้กระทั่งการจัดสวนภายในหมู่บ้านจัดสรรย่านบางบัวทองของ คุณธัญดา หะยีวัฒน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สุดถนน โดดเด่นด้วยต้นไม้สูงดูสบายตารับกับตัวบ้านขนาดกะทัดรัด ภายในจัดเป็นสวนสไตล์มินิมัลที่ดูแลง่าย เรียบร้อย โล่ง และสบายตา จากฝีมือการออกแบบของ คุณยุ้ย-ศิรเมศร์ จิรโพธิสิทธิ์ แห่งบริษัทดีไซน์สวนสบาย จํากัด เจ้าของ : คุณธัญดา หะยีวัฒน์ ออกแบบ : บริษัทดีไซน์สวนสบาย จํากัด โดยคุณศิรเมศร์ จิรโพธิสิทธิ์ “เจ้าของบ้านกำหนดไอเดียให้คร่าวๆว่าอยากมีองค์ประกอบอะไรตรงไหนบ้าง ตามความต้องการด้านฟังก์ชัน คุณธัญดาพาเดินชี้เลยว่าภาพสวนในจินตนาการเป็นอย่างไรบ้าง เช่น อยากมีศาลาอยู่บริเวณหน้าบ้าน อยากมีเฉลียงที่เชื่อมทุกจุดไว้ด้วยกัน ส่วนหลังบ้านอยากมีครัวขนาดเล็กสำหรับทำเบเกอรี่และมีพื้นที่อเนกประสงค์ด้านหลัง” คุณยุ้ยเล่า ขั้นตอนแรกของการออกแบบคือการหาตำแหน่งของศาลา จนมาลงตัวที่รูปแบบศาลาหันหน้าเข้าหาตัวบ้าน ด้วยขนาดพื้นที่ซึ่งไม่ใหญ่มากจึงต้องดันศาลาให้ชิดขอบรั้วริมสุด ก็จะเหลือพื้นที่สำหรับออกแบบกระบะปลูกต้นไม้ ม้านั่ง และฉากผนังไว้ที่บริเวณขอบมุมรอบๆศาลา โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตมาซ้อนๆ ให้ลดหลั่นกันไปจนเกิดรูปทรงเฉพาะตัว พยายามเชื่อมโยงฟังก์ชันทุกอย่างเข้าหากัน มีสนามหญ้าอยู่ตรงกลาง อีกทั้งยังใช้วัสดุปูพื้นต่างผิวสัมผัสร่วมกัน ขณะที่ยังคุมโทนสีธรรมชาติที่ดูอบอุ่น “เราพยายามออกแบบทุกสวนให้มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมได้ แม้จะไม่ได้ใช้งานบ่อย แต่พื้นที่ดังกล่าวจะทำให้เกิดมุมมองที่โล่งตรงกลาง เมื่อทุกอย่างชิดรอบรั้วและปล่อยที่ว่างตรงกลาง ก็ทำให้สวนดูโล่งสบายตาทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน” คุณยุ้ยเล่า […]

Daddy’s Patio ต่อเติมศาลาในสวนให้คุณพ่อ

อยากมีมุมพักผ่อน ในช่วงระหว่างวันให้คุณพ่อ ที่ไม่ค่อยชอบอยู่ในห้องแอร์ แต่ชอบนั่งเล่น รับลมนอกบ้านมากกว่า จึงลองปรับพื้นที่ข้างบ้านเพิ่ม ศาลานั่งเล่น ให้พ่อได้นั่งพักผ่อน รับลมชมสวนได้ตลอดทั้งวัน เมื่อคุณพ่ออายุมากขึ้น เริ่มเดินเหินได้ไม่คล่องแคล่ว อย่างที่เคย จะให้เดินขึ้นบันไดหลายๆ ขั้นในทุกๆวัน ก็ดูอันตราย จึงปรับห้องชั้นล่าง ให้เป็นห้องนอนของคุณพ่อ ซึ่งมีลานกว้างหน้าห้อง ที่สามารถใช้เป็นมุมพักผ่อนได้ แต่พื้นที่หน้าห้อง ดูทรุดโทรม ไม่สวยงาม และ อาจเกิดอันตราย จากพื้นผิวที่เรียบลื่น อย่างกระเบื้อง และ ทางเดินต่างระดับที่ดูแคบ จึงต้องลงมือปรับปรุง พื้นที่หน้าห้องใหม่ ให้ดูสวยงาม ปรับทางเดินให้กว้างขวาง ปลอดภัย และ ต่อเติมมุมพักผ่อนอย่าง ศาลานั่งเล่น ที่แข็งแรง เรียบง่าย เหมาะแก่การทำกิจกรรมยามว่าง ของผู้สูงอายุ และ เติมความสดชื่นของต้นไม้ ให้อยู่ใกล้ๆ ตัวอีกด้วย ศาลารูปทรงสี่เหลี่ยม อยู่ทางติดตะวันออกของบ้าน จึงโดนแดดเฉพาะครึ่งวันเช้า เป็นมุมที่เหมาะแก่การนั่งเล่นได้ทั้งวัน กรุไม้ระแนงด้านหลัง เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวก และ ด้านบนเป็นหลังคา เพื่อช่วยกรองแสง แต่ลมยังพัดผ่านได้สะดวก ติดพัดลมเพดาน […]