รักษ์โลก ไปกับ MADMATTER STUDIO แบรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่เติบโตไปกับความยั่งยืน

คอลเล็กชั่น fall winter 2022 ที่ Madmatter ได้ปล่อยออกมาโดยต้องการให้เป็น
คอลเลคชั่น Fall Winter 2022 ที่ Madmatter Studio ได้ปล่อยออกมา โดยต้องการให้เป็นคอลชั่นที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นการร่วมกันกับแบรนด์ knit circle เพื่อทดลองด้วยการนำวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เป็น full-line fashion แบบครบจบทั้งตัวในคอลเลคชั่นเดียว จนเกิดเป็นไอเท็มใหม่ ๆ อย่างเสื้อไหมพรม เสื้อโปโล และเสื้อยืดซึ่งเป็นไอเท็มที่สามารถใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส แต่อะไรคือแก่นความคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแบรนด์ครั้งนี้ จนได้มาถึงจุดสมดุลระหว่างธุรกิจแฟชั่น และความยั่งยืนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดเป็นผลงานที่ดีไซน์มาแล้วใช้ได้จริง นี่คือบทสัมภาษณ์ผู้อยู่เบื้องหลัง Madmatter Studio ผู้สนใจธุรกิจแฟชั่นดีไซน์บนความยั่งยืน

สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่

อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]

FUROSHIKI ศิลปะการห่อผ้าแบบญี่ปุ่น

FUROSHIKI ศิลปะการห่อผ้าแบบญี่ปุ่น ฟุโรชิกิ (Furoshiki) furo แปลว่า ห้องน้ำ , shiki แปลว่า การวางแผ่ออกไป แต่เดิมนั้นเป็นวัฒนธรรมการห่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำเวลาไปอาบน้ำในห้องน้ำสาธารณะ ว่ากันว่าฟุโรชิกิเป็นสิ่งสำคัญมากในสมัยโชวะ ทุกบ้านจะต้องมีผ้าฟุโรชิกิหลายขนาดสำหรับห่อเสื้อผ้า ที่นอนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ  เรียกได้ว่าเหมือนมีกระเป๋าเดินทางพร้อมใช้งานตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ความน่าสนใจนั้นอยู่ที่ผ้าสี่เหลี่ยมผืนนี้ สามารถนำไปห่ออะไรก็ได้ รูปทรงใดก็ได้ โดยอาศัยจินตนาการและเทคนิคการผูก พับ จับ ม้วน พอถึงบ้านก็คลายผ้าออกมาพับเก็บเป็นการประหยัดพื้นที่ ใช้แล้วก็ใช้ซ้ำได้อีก เกิดประโยชน์ใช้สอยแถมประโยชน์ใช้สวยอีกด้วย อีกไม่กี่อึดใจก็ต้องอำลาปีเก่ากันแล้ว เชื่อว่าหลายคนตอนนี้กำลังมองหาของขวัญเอาไว้แลกในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึง  my home มีเคล็ดลับการห่อของขวัญง่าย ๆ ด้วย  ศิลปะการห่อผ้าแบบญี่ปุ่น  ที่ใครก็สามารถทำได้ เป็นการห่อของขวัญ DIY ในราคาถูกใจเหมาะสำหรับยุคเศรษฐกิจสมัยนี้ และยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกจากการประยุกต์ใช้สิ่งของใกล้ตัวถ้าพร้อมแล้วไปห่อผ้ารักษ์โลกกันเลย   อุปกรณ์ ศิลปะการห่อผ้าแบบญี่ปุ่น ผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส หนังยาง ขวดน้ำ ชาม กล่องพลาสติก ตะเกียบ   วิธีการห่อกล่องข้าว   1 วางกล่องตรงกลางในมุมทแยงกับผ้า   2 จับปลายผ้าทั้งสามด้านขึ้นมา   3 รวบผ้าให้แนบชิดไปกับรูปร่างของกล่อวพลาสติก   4 นำปลายผ้าด้านที่เหลือมามัด   5 ซ่อนปลายผ้าให้เรียบร้อย   6 จัดปลายผ้าส่วนที่เหลือให้สวยงาม   วิธีการห่อกล่องข้าวทรงสูง 1 วางกล่องตรงกลางในมุมทแยงกับผ้า   2 จับปลายผ้าขึ้นมาสองด้าน […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

มาทำผ้าคลุมอาหารจากไขขี้ผึ้ง ใช้แทนพลาสติกห่ออาหาร (plastic wrap) กัน

พลาสติกห่ออาหารหรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ พลาสติกแรป ผลิตภัณฑ์ที่คุ้นมือของเหล่าแม่บ้านเป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ทั้งช่วยห่ออาหารที่ทานเหลือ ช่วยยืดอายุของสดในตู้เย็น แต่พลาสติกแรปเหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในขยะพลาสติกจำนวนมหาศาล ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคของเรา ผ้าคลุมอาหาร มาช่วยกันคนละไม้คนละมือในการลดจำนวนพลากสติกแบบใช้แล้วทิ้งด้วย ผ้าคลุมอาหาร จากไขขี้ผึ้ง ที่สามารถใช้แทนพลาสติกแรปได้แบบ 100% ทั้งคุณสมบัติการห่ออาหารที่ดีพอกัน แต่แต้มต่อของผ้าคลุมอาหารจากไขขี้ผึ้งนั้นก็คือ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ อายุการใช้งานนานถึง 3 ปีเลยค่ะ วิธีทำนั้นก็ไม่ยุ่งยากตาม my home มาดูกันได้เลย อุปกรณ์ 1. ผ้าคอตตอนชนิดบาง ถ้าหากได้ผ้าที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติจะเยี่ยมมากเลยค่ะ 2. ไขผึ้งธรรมชาติ (Food Grade) 3. กระดาษไข 4. เตารีด วิธีทำ 1 . ตัดผ้าคอตตอนลวดลายที่ชอบให้มีขนาดตามที่เราต้องการ อาจจะอ้างอิงจากขนาดของภาชนะที่ต้องการจะคลุม อย่างเช่น ขนาดของถ้วยแกง หรือถ้วยแบ่งที่มักจะใช้ วางกระดาษไขลงที่โต๊ะ วางผ้าคอตตอนตามลงไป 2. โรยไขผึ้ง ( Bee wax ) ให้ทั่วทั้งผืน จากนั้นวางกระดาษไขอีกแผ่นทับลงไป 3. […]

ภาชนะทางเลือกใหม่ กิน-ดื่มได้อย่างปลอดภัยจากวัสดุธรรมชาติ

ใครจะเชื่อว่าสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นรอบตัวเรานั้นจะมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ ทั้งนำมาทำอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงภาชนะจากธรรมชาติ ที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

ไอเดีย ลดการใช้ถุงพลาสติก ด้วยบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำที่ทำเองได้

บอกลาถุงพลาสติกที่ปัจจุบันเราได้รับมามากเกินจำเป็น กลายเป็นต้องทิ้งพลาสติกเหล่านั้นให้กลายเป็นขยะ ที่รอวันย่อยสลายซึ่งให้เวลานานมาก เราสามารถหาวัสดุอื่นมาใช้แทนกันได้ โดยเฉพาะการใช้เพื่อห่อหรือบรรจุอาหารและวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกเรื่อยๆ

8 หลอดดูดน้ำ ทางเลือกใหม่เพื่อคนที่อยากหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ใครจะเชื่อว่าหลอดดูดน้ำจากพลาสติกที่มีขนาดเล็กและเบา จะเป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมมากมายขนาดนี้ จากผลสำรวจพบว่าหลอดพลาสติกอาศัยระยะเวลาถึงสองร้อยปีในการย่อยสลาย

รู้จัก สัญลักษณ์รีไซเคิล พลาสติก กันเถอะ

เราควรลดปริมาณการใช้และนำพลาสติกบางชนิดกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิลนั่นเอง ดังนั้นเราควรมารู้จัก สัญลักษณ์รีไซเคิล เพื่อบอกประเภทของพลาสติกกันค่ะ