รีวิวใบกระท่อม ต้องปลูกพันธุ์ไหนดี และมีสรรพคุณอย่างไร

ตอนนี้กระท่อมถูกปลดล็อกออกจากยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือนโดยเฉพาะช่วงสถานการณ์วิกฤตโรคโควิด-19แพร่ระบาด ทำให้เราสามารถปลูก จำหน่ายและบริโภคใบกระท่อมได้อย่างเสรี แต่ยังใช้ทำอาหารหรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่มเพื่อจัดจำหน่ายไม่ได้ การแปรรูปต้องได้รับการตรวจสอบและขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน ตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 แต่ในฐานะมือใหม่หัดปลูกเราควรปลูกกระท่อมสายพันธ์ุไหนดี แล้วใบกระท่อมมีสรรพคุณดีงามอย่างไร มีวิธีบริโภคอย่างไรให้ปลอดภัย เราหาคำตอบมาให้แล้วครับ พันธุ์กระท่อม เราออกเดินทางมาหาความรู้ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หนึ่งในพื้นที่ที่มีการปลูกกระท่อมมายาวนานตั้งแต่ในอดีต ณ สวนของ คุณผดุง ช่างต่อ ผู้ที่ปลูกและสะสมต้นกระท่อมหลากหลายสายพันธุ์จากภูมิภาคต่างๆในประเทศมาเป็นระยะเวลานาน ปัจจุบันคุณผดุงกลายเป็นผู้จัดจำหน่ายกล้าพันธุ์ของต้นกระท่อมด้วยวิธีการต่อตอหลายสายพันธุ์ แต่จะมีสายพันธุ์เด่นๆ 8 สายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยม ได้แก่ แตงกวา(ก้านเขียว) ก้านแดง แมงดา ตะพาบ ยอดธง เหรียญทอง โพธิ์ทองและเหลืองทอง พันธุ์กระท่อม สรรพคุณของกระท่อมอย่างถูกวิธี กระท่อมเป็นสมุนไพรท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้กันมาอย่างยาวนาน แพทย์แผนโบราณนิยมใช้ใบกระท่อมมาปรุงเป็นยาเพื่อใช้รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ปวดเบ่ง ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเมื่อยร่างกาย และทำให้นอนหลับ ในมุมมองของแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่จะนำกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาอาการเกี่ยวกับระบบขับถ่ายเป็นหลักจำพวกยาประสะกระท่อม ยาหนุมานจองถนนปิดมหาสมุทร ยาแก้บิดลงเป็นเลือด ยาแก้บิดหัวลูก ยาประสระกาฬแดง ฯลฯ ในใบกระท่อมพบว่ามีสารสำคัญ คือ […]

เจาะลึกเรื่องราวของ “กระท่อม” ปลูกอย่างไรให้ไม่ตาย?

นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชนให้ทราบถึงข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงว่าในประเทศไทยสามารถปลูกและบริโภค กระท่อม ตามวิถีชาวบ้าน ทั้งนำใบมาเคี้ยวและต้มเป็นน้ำดื่มโดยไม่ผสมสารเสพติดอื่นใด หรือจะซื้อจะขายใบกระท่อมภายในประเทศได้โดยไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป กระท่อม จึงกลายเป็นพืชมาแรงที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เราจึงขอพาไปรู้จักต้นกระท่อมให้มากขึ้น มาดูกันว่าต้องปลูกและดูแลอย่างไรให้เจริญเติบโตได้ดี กระท่อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. วงศ์ Rubiaceae เช่นเดียวกันต้นเข็มและกาแฟ เป็นต้นไม้พื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา คนริมทะเลทางภาคใต้เรียกว่า “ท่อม” ส่วนภาคกลางบางสถานที่เรียก “อีถ่าง” ประเทศมาเลเซียเรียกว่า “เบี๊ยะ” (Biak) หรือ “เคอตุ่ม” (ketum) กระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูงประมาณ 15-30 เมตร ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงตัวเป็นคู่ตรงข้ามรูปไข่แกมขอบขนาน หูใบรูปหอกอยู่ระหว่างก้านใบ แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อย่อยรูปทรงกลมคล้ายดอกกระถินขนาด 3-5 […]

วิธีทำลูกประคบจากผักสวนครัวข้างรั้ว

วิธีทำลูกประคบ เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาด้านการรักษาจากแพทย์แผนไทย โดยการนําสมุนไพรต่าง ๆ ไปนึ่งประมาณ 15 – 20 นาที แล้วนําไปประคบตามจุด หรือ ตําแหน่งที่ต้องการรักษา มีสรรพคุณช่วยในการรักษา รวมถึงช่วยในการไหลเวียนของเลือด ลดการอุดตันของเส้นเลือด การปวดบวมเกร็งของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังได้กลิ่นที่หอมสดชื่นของสมุนไพร ทําให้ผู้ใช้รู้สึกตื่นตัวและกระปรี้กระเปร่า วิธีทำลูกประคบ 1.นําส่วนผสมทั้งหมดมาโขลกพอหยาบแล้วคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน 2.ใส่ส่วนผสมทั้งหมดในผ้าดิบแล้วห่อเป็นลูกประคบ รัดเชือกให้แน่น 3.เมื่อต้องการใช้ให้นําลูกประคบไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที จากนั้นนํามาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อย หมายเหตุ •ลูกประคบที่ไม่ร้อนให้นําไปนึ่งต่อ หรือควรมีสองลูกสําหรับสลับนึ่งและใช้งาน •ลูกประคบที่ใช้แล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็น และใช้ต่อได้อีกประมาณ 3-4 ครั้ง โดยเมื่อนํามาใช้ให้ชุบน้ําเล็กน้อยก่อนนําไปนึ่ง •สามารถปรับเปลี่ยนตัวสมุนไพรที่ช่วยแก้ปวดเมื่อยหรือมีสรรพคุณใกล้เคียงกันได้ตามสะดวกเช่นใบส้มป่อยใบพลับพลึงใบว่านน้ํา หัวเปราะหอม ขอขอบพระคุณความรู้จาก ภูมิภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพ บางเดชะ ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและพิพิธภัณฑ์หมอไทยในจังหวัดปราจีนบุรีที่ออกแบบให้อิงกับแปลนบ้านของหมื่นชํานาญแพทยา แพทย์หลวงประจําพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีกิจกรรมหลักคือจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับสมุนไพรและภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โดยใช้พื้นที่รอบเรือนจัดเป็นสวนที่รวบรวมสมุนไพรสําหรับทํายาตํารับต่างๆเพื่อง่ายต่อการเก็บมาใช้งาน ร่วมกับการตกแต่งให้มีความสวยงามและร่มรื่น เหมาะกับการเข้ามาเยี่ยมชมและพักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นคือการนําไห ภาชนะแบบไทยๆที่มีส่วนสําคัญในการพัฒนาอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลําไส้หรือโพรไบโอติกของคนสมัยก่อน นํามาเป็นภาชนะปลูกต้นไม้ ช่วยให้สวนดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เรื่อง : ปัญชัช ภาพ : […]

15 ต้นไม้ในสวนที่สามารถเป็นสมุนไพรบำรุงสุขภาพ แบบไม่ต้องง้อหมอ

ปิดปีด้วยข่าวคราวด้านสุขภาพและโรคภัยที่ดูจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราไปแล้ว ทั้งเรื่องฝุ่นPM2.5และไข้หวัดจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งนําไปสู่ความตื่นตัวของผู้คนในสังคมที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและหาทางป้องกันตัวเองจากโรคภัยมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันแล้ว ในสวนของเราเองก็คือห้องยาใกล้ตัวที่สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ โรคเรื้อรัง หรือดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยพืชสมุนไพรที่ปลูก เรามีตัวอย่างต้นไม้ในสวนที่สวยด้วยและใช้ทำสมุนไพรบำรุงสุขภาพใกล้ตัวที่ประยุกต์ใช้ในการรักษาและดูแลสุขภาพให้ลองนําไปทําตามกันได้ ดังนี้ 1.ราชพฤกษ์หรือคูน Cassiafistula L. ฝักมีสาร ออกฤทธิ์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทของแมลง ช่วยใน การขับถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ขับเสมหะได้ แก้อาการกระหายน้ํา เมล็ดมีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล 2.กุหลาบมอญ Rosa x damascena Mill. มีฤทธิ์ช่วย คลายกล้ามเนื้อเรียบและกดการทํางานของกล้ามเนื้อ ลาย กลีบดอกใช้เข้ายาหอมเป็นยาบํารุงหัวใจ น้ําดอกไม้เทศที่มีส่วนผสมของกุหลาบมอญช่วยแก้อาการอ่อนเพลียและกระวนกระวาย ดอกแห้งใช้เป็น ยาระบายอ่อนๆและแก้อาการอ่อนเพลีย 3.ว่านน้ํา Acorus calamus L. เหง้าและรากมีน้ํามัน หอมระเหยซึ่งมีกลิ่นเฉพาะที่ช่วยลดความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด อาการชัก ช่วยลดพิษของ แอมเฟตามีน มีฤทธิ์แก้ไอ ขับเสมหะ ยับยั้งอาการ หอบหืด สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ใช้ไล่ยุงและแมลง น้ํามันจากต้นว่านน้ํามีฤทธิ์ยับยั้ง การสะสมเซลล์ไขมันได้อีกด้วย 4.อังกาบหนู Barleria prionitis L. ทุกส่วนของต้น […]