ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา

บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]

บ้านปูนทรงกล่อง โปร่งด้วยอิฐช่องลม และซ่อนผาจำลองไว้ภายใน

บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเรียบที่นิ่งจนเกือบจะดุดัน แต่มีเสน่ห์ด้วยช่องเปิดกว้างๆ พร้อมกับแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่มีความหลากหลายตั้งแต่แนวรั้วหน้าบ้านร้อยเรียงต่อเนื่องไปทั่วผนังอาคาร นั่นเพราะว่า บ้านหลังนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อเน้นฟังก์ชันการใช้งานภายในตามความต้องการของคุณหนู–มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทรและคุณโป้ง-วิบูลย์ศิริ วิบูลย์มา ผู้เป็นเจ้าของ ที่อยากได้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยถึง 3 ครอบครัว บนที่ดินเดิมซึ่งมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดราว 200 ตารางวา ฟังก์ชันภายในจึงเป็นตัวกำหนดผังพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตรใน บ้านปูนทรงกล่อง ขนาด 4 ชั้น ซึ่งเน้นมุมที่มองจากภายในออกมามากกว่าสร้างรูปทรงของบ้านให้โดดเด่นแล้วค่อยใส่ฟังก์ชันเข้าไป “เราเคยลองไปหาทำเลอื่นดูเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะรื้อบ้านหลังเดิมที่เก่ามากแล้วออก เพื่อสร้างหลังใหม่ให้ใหญ่พอสำหรับการใช้งาน โดยรวมครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ของเราสองคนมาอยู่ด้วยกัน และยังมีห้องเผื่อสำหรับน้าและน้องสาวไว้ด้วย“คุณโป้งเล่าถึงโจทย์เริ่มต้น และเสริมด้วยว่าเขาเองก็ทำงานด้านรับเหมาตกแต่งภายในอยู่แล้ว อีกทั้งชอบในผลงานการออกแบบบ้านที่มีเส้นสายเรียบนิ่งของทีมสถาปนิก Anonym จึงน่าจะร่วมกันสร้างบ้านหลังนี้ได้ดี สถาปัตยกรรมที่เปิดให้สายลมพัดผ่าน สิ่งแรกที่คุณบอย–พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ สถาปนิกผู้ออกแบบสัมผัสได้เมื่อมาดูพื้นที่คือสายลมเย็นที่ปะทะผ่าน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และเป็นแนวช่องลมที่ดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้านที่เน้นการเปิดช่องลมควบคู่ไปกับคว้านสเปซภายในให้เกิดเป็นคอร์ตหน้าบ้านและตรงกลาง โดยคอร์ตหน้าบ้านออกแบบให้เป็นหน้าผาจำลองเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลงใหลการปีนผาของคุณโป้ง และคอร์ตตรงกลางเป็นแกนเชื่อมต่อมุมมองของทุกพื้นที่ในบ้าน รวมถึงเป็นช่องรับแสงธรรมชาติซึ่งส่องผ่านจากช่องหลังคากระจกใสด้านบนลงมา “เราออกแบบภายในให้เหมือนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่แยกพื้นที่ของครอบครัวไว้ในแต่ละชั้น โดยมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แล้วเปิดสเปซให้ลมหมุนเวียนได้ตั้งแต่คอร์ตปีนผาด้านหน้าเข้ามาถึงโถงนั่งเล่นด้านในซึ่งเป็นอีกคอร์ตหนึ่งที่มองเห็นทางเดินของแต่ละชั้นวางสลับเยื้องกัน และเติมแลนด์สเคปแทรกไปกับตัวบ้านด้วยการออกแบบกระบะปลูกต้นไม้เพื่อให้ทุกชั้นมีพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เวลาใช้พื้นที่ทางเดินก็จะไม่รู้สึกเวิ้งว้างเพราะยังมองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นได้ ส่วนหลังคากลางคอร์ตนี้เป็นกระจกใสติดฟิล์มกันร้อนและยกผนังก่อนถึงหลังคาไว้เกือบเมตรเพื่อเจาะเป็นช่องให้ลมถ่ายเทได้ ตามไดอะแกรมแล้วจึงมีช่องทางให้ลมเข้าออกในแต่ละชั้นได้ไปจนถึงชั้นบนสุดของบ้าน ในขณะที่การวางผังห้องจะยังมีความเป็นส่วนตัวอยู่“ ผนังคอนกรีตกับการเปิดของอิฐช่องลม ต่อเนื่องจากแนวคิดการเปิดช่องให้สายลมพัดผ่าน สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐช่องลมโอบล้อมเป็นผนังส่วนใหญ่ของบ้าน ยกเว้นส่วนทิศตะวันตกที่เน้นการปิดทึบและกำหนดให้เป็นพื้นที่ของห้องน้ำไว้เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแสงแดดเข้าถึงในทุกๆ ชั้น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจด้วยการผสมผสานแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่หลากหลาย และไล่เรียงช่องเปิดมากขึ้นตามระดับการเข้าถึงในแต่ละชั้นจากชั้นล่างที่มีช่องเปิดน้อยเพื่อคงความเป็นส่วนตัวจากภายนอก […]

บ้านเล็กแต่อยู่เย็นสบาย กันร้อนด้วยบล็อกช่องลม

บ้านขนาดเล็กพื้นที่ 180 ตารางเมตร แต่อยู่สบายด้วยหลักการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบาย (Comfort zone) ที่เน้นการป้องกันความร้อน การระบายอากาศตามธรรมชาติ แถมยังมีเทคนิคการออกแบบบ้านพื้นที่เล็กไม่ให้อึดอัด ซึ่งความสบายไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ใหญ่โต แต่กลับซ่อนอยู่หลังผนังบล็อกช่องลมสีเทาเข้มแบบกึ่งทึบกึ่งโปร่งของบ้านหลังนี้ ออกแบบ : Eco Architect Co.,Ltd. โดยคุณคำรน สุทธิ โทรศัพท์ 08-1270-3450   เจ้าของ : คุณอธิคม พรสัมฤทธิ์ – คุณปณิชา ปาลวัฒน์ บ้านขนาดเล็ก 3 ชั้นที่ออกแบบผนังบล็อกช่องลมรูปสามเหลี่ยมล้อมกรอบรอบตัวบ้าน เสมือนเป็นหินผาแข็งแกร่งปกป้องภายในบ้านที่ดีไซน์ให้บางเบาตามชื่อบ้าน “Star & Stone” บทสรุปในใจเมื่อได้คุยกับ คุณโอ๊ต-อธิคม พรสัมฤทธิ์ และคุณดาว-ปณิชา ปาลวัฒน์ เจ้าของบ้าน คือ ไม่มีอะไรมาจำกัดความสุขได้ เมื่อเรามีแสงสว่างในตัวเองและเห็นคุณค่ากันและกันจากภายใน จึงไม่แปลกที่แสงแห่งความสุขจะส่องไปทั่วบ้าน 3 ชั้นขนาดย่อมที่มีพื้นที่เพียง 180 ตารางเมตร บนที่ดิน 75 ตารางวา ซึ่งเป็นเรือนหอของทั้งสองคนที่บอกกับเราว่า “แม้บ้านจะขนาดไม่ใหญ่ แต่เป็นสเปซที่ออกแบบสำหรับเรา ทุกพื้นที่จึงทำให้เรามีความสุข” แนวคิดแบบครอบครัวขยาย […]

บ้านโมเดิร์นหน้าแคบ แต่อยู่สบายสไตล์ไทยๆ

บ้านรูปทรงเรียบง่ายแต่โดดเด่นหลังนี้ เป็น บ้านโมเดิร์นหน้าแคบ แม้ภายนอกจะดูทันสมัย แต่ภายในกลับมีความเป็นไทยที่เผยตัวตนของผู้อาศัยได้อย่างลงตัว

THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง

ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]