บ้านไม่ตรงปก แก้อย่างไร ใครรับผิดชอบ

” บ้านไม่ตรงปก ” จากที่เป็นข่าวกรณี โครงการบ้านมั่นคงย่านบางบัวทอง จากการดำเนินงานของสหกรณ์บริการฯ จึงทำให้เกิดคำถามต่อมาว่า หากเราได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว แต่ได้ บ้านไม่ตรงปก หรือไม่เป็นไปตามสัญญา เราในฐานะผู้ซื้อจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง หากโดนสหกรณ์เบี้ยว ใครรับผิดชอบ และแนวทางการป้องกันตัวเองไม่ให้โดนโกง บ้านไม่ตรงปก ทำอย่างไร หากได้ บ้านไม่ตรงปก อย่างแรกเลยผู้ซื้อต้องตรวจสอบจากหนังสือสัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขายหรือหนังสือจอง ใบเสนอราคา เอกสารต่างๆ หรือในกรณีผู้ขายเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ซื้อก็อาจดูไปถึงคำโฆษณาต่างๆที่ผู้ขายได้เคยโฆษณาไว้ว่าเป็นอย่างไร ในเอกสารต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้มีข้อตกลงกันไว้อย่างไร หากในเอกสารดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ของผู้ขายไว้อย่างไร เช่น ผู้ขายต้องส่งมอบบ้านพร้อมที่ดินเพื่อเข้าอยู่อาศัยให้ผู้ซื้อภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาหรือวันที่ชำระเงินครั้งแรก ครั้งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบบ้านตามแบบที่ตกลงหรือโฆษณาไว้ หรือส่งมอบอย่างชำรุดบกพร่อง หรือส่งมอบเมื่อล่วงเลยกำหนดตามสัญญา การแก้ไข : หากผู้ซื้อผ่อนชำระตามสัญญาไม่ได้ผิดสัญญา ผู้ขายก็จะเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ซื้อสามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ผู้ขายดำเนินการส่งมอบบ้านพร้อมที่ดิน หรือผู้ซื้อจะบอกเลิกสัญญาโดยให้ผู้ขายคืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อได้รับเงินไปก็ได้ แล้วแต่ว่าผู้ซื้อจะเลือกใช้สิทธิไปในใดทางหนึ่ง หากโดนสหกรณ์เบี้ยว ใครรับผิดชอบ การทำนิติกรรมอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งหากเป็นนิติบุคคลก็หมายความว่า มีสภาพบุคคลที่กฎหมายรับรองไว้ ย่อมมีสิทธิ หน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาได้เหมือนกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง เช่น สหกรณ์  ซึ่งเมื่อได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์บริการฯ […]

เลิกสัญญาก่อสร้าง / การร้องเรียน / อายุความ

เมื่อก่อสร้างบ้านแล้วมีปัญหาจะ เลิกสัญญาก่อสร้าง ฟ้องร้อง ต้องทำอย่างไร หรือหากไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือจะฟ้องร้องได้ไหม

ผู้รับเหมาส่งมอบงาน แต่บ้านยังชำรุด ทำอย่างไร

ในกรณีที่ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเวลา แต่งานที่ส่งมอบนั้นชำรุดบกพร่อง ไม่ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ต้องทำอย่างไร การรับประกันงานผู้รับเหมา เมื่อผู้รับเหมาได้ส่งมอบงานทั้งที่งานก่อสร้างดังกล่าวยังชำรุดบกพร่องอยู่ ซึ่งในระหว่างที่ก่อสร้างเจ้าของบ้าน(ผู้ว่าจ้าง)ก็ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาแก้ไขให้ถูกต้อง โดยกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม แต่ผู้รับเหมาเพิกเฉย หรือส่งมอบงานที่ชำรุด และผู้รับเหมายังเรียกร้องให้เจ้าของบ้านชำระเงินค่าจ้าง การรับประกันงานผู้รับเหมา การแก้ไข  เจ้าของบ้านมีสิทธิยึดหน่วงเงินค่าจ้าง ไม่ชำระให้จนกว่าผู้รับเหมาทำการแก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง หรือทำให้ถูกต้องตามที่ตกลงไว้ ให้ผู้รับเหมารายอื่นมาทำต่อได้ หากผู้รับเหมาไม่แก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง เจ้าของบ้านสามารถจ้างผู้รับเหมารายอื่นมาแก้ไขหรือทำต่อได้ ซึ่งผู้รับเหมาเจ้าเดิมจะต้องรับเสี่ยงความเสียหาย(เช่น ราคาวัสดุอาจจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาด) และออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ข้อกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 594 ถ้าในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่นั้นเป็นวิสัยจะคาดหมายล่วงหน้าได้แน่นอนว่า การที่ทำนั้นจะสำเร็จอย่างบกพร่อง หรือจะเป็นไปในทางอันฝ่าฝืนข้อสัญญา เพราะความผิดของผู้รับจ้างไซร้ ผู้ว่าจ้างจะบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี หรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควร ซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้ ถ้าและคาดกำหนดนั้นไป ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะเอาการนั้นให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมหรือทำต่อไปได้ ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร กฎหมายการรับประกันงาน กฎหมายได้กำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างต้องประกันผลงานไว้ว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องรับผิดชอบการชำรุดบกพร่องที่ปรากฏภายใน 1 ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏภายใน 5 ปี สำหรับสิ่งปลูกสร้างติดกับพื้นดิน ยกเว้นโรงเรือนทำด้วยไม้ เว้นแต่ผู้รับเหมาจะจงใจปิดบังความชำรุดบกพร่อง ความรับผิดชอบนั้นจะมีอยู่ตลอดไป ทั้งนี้ ระยะเวลารับประกันดังกล่าวสามารถตกลงให้เพิ่มขึ้น […]

กฎหมายรับมือ ผู้รับเหมาเบี้ยวส่งมอบงาน – งานมีปัญหา

หาก ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน เลยกำหนดสัญญาแล้วแต่งานก่อสร้างมีปัญหาต้องแก้ไข ทนายความจะมาตอบให้ว่า เจ้าของบ้านจะทำอะไรได้บ้างตามข้อกฎหมาย พร้อมมีคดีตัวอย่างมาให้ศึกษากัน เมื่อมีการตกลงว่าจ้างให้ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านแล้ว ระยะเวลาในการก่อสร้างให้เสร็จสำหรับเจ้าของบ้าน(ผู้ว่าจ้าง) ย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นหากผู้รับเหมา(ผู้รับจ้าง)ไม่เริ่มทำงาน ทั้งที่เจ้าของบ้านได้ส่งมอบพื้นที่ให้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว มีการทำงานล่าช้า หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยตกลงไว้ ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน ตามกำหนด สามารถทำอย่างไรได้บ้าง การแก้ไข ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน หากเจ้าของบ้านสามารถคาดหมายได้ว่างานนั้นจะไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ เจ้าของบ้านสามารถยกเลิกสัญญากับผู้รับเหมา โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาตามสัญญาก็ได้ ทั้งนี้การที่ผู้รับเหมาทำงานล่าช้าหรือไม่ได้เริ่มทำงานนั้น ต้องไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากเจ้าของบ้าน กรณีที่ผู้รับเหมาส่งมอบงานเกินกำหนดเวลาในสัญญา และงานที่ส่งมอบปรากฎว่ายังมีข้อบกพร่อง เจ้าของบ้านก็สามารถชะลอการจ่ายค่าจ้างไว้ได้ จนกว่าผู้รับเหมาจะซ่อมแซมเสร็จ ถ้าเจ้าของบ้านค้างชำระค่าจ้าง ผู้รับเหมาก็มีสิทธิหยุดงานที่รับจ้างไว้จนกว่าเจ้าของบ้านจะได้ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจนครบทุกงวดได้ ถ้าในสัญญาจ้างก่อสร้างที่มีกำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวดๆ และมีการเขียนระบุไว้ว่า “ถ้าผู้ว่าจ้างค้างชำระค่าจ้างงวดใดงวดหนึ่งให้ผู้รับจ้างมีสิทธิหยุดงานที่รับจ้างไว้ จนกว่าผู้ว่าจ้างจะได้ชำระค่าจ้างครบตามงวดชำระ และการหยุดงานในกรณีดังกล่าวมิให้นับระยะเวลาตามสัญญา” ข้อกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 593 ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร หรือทำการชักช้า ฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้ มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร       กรณีคดีตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงมีอยู่ว่า เจ้าของบ้านว่าจ้างผู้รับเหมาให้ก่อสร้างบ้านพักอาศัยของตัวเอง ซึ่งได้มีการตกลงชำระค่าจ้างก่อสร้างกันเป็นงวดๆ จำนวน […]

10 จุดยอมรับไม่ได้ในงานก่อสร้าง

เป็นที่ทราบกันดีว่าในงานก่อสร้างนั้นมีปัญหามากมายสารพัด รายละเอียดในหลาย ๆ จุดก็เป็นเรื่องค่อนข้างร้ายแรง หากทำไม่ดีแล้วปล่อยให้ผ่านไป ก็จะแก้ไขยากในอนาคต ลองมาดูไอเดียการ ตรวจงานก่อสร้าง ที่เจ้าของบ้านสามารถสังเกตและตรวจเช็กงานได้ด้วยตนเอง มีอะไรบ้างนั้นมาดูกันครับ ตรวจงานก่อสร้าง  1. เสาและคานโครงสร้างคอนกรีตไม่ได้ผ่านการบ่ม ถือเป็นเรื่องร้ายแรงในลำดับต้นๆเลยทีเดียว เพราะเสาและคาน ค.ส.ล.ถือเป็นหัวใจของโครงสร้าง เมื่อคอนกรีตทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำและจับตัวกันจนแข็ง ถ้าถอดแบบแล้วทิ้งไว้โดยไม่ได้บ่ม น้ำจะระเหยออกทำให้คอนกรีตแห้งเร็วเกินไป ดังนั้นจึงต้องบ่มคอนกรีตด้วยการหุ้มกระสอบป่านราดน้ำให้ชุ่ม หรือหุ้มพลาสติกกันน้ำระเหย อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 7 วัน หรือหากถึง 14 วันก็จะยิ่งดี 2. การเปลี่ยนพื้นสำเร็จรูปเป็นพื้นเทคอนกรีต พื้นสำเร็จรูปจะใช้การวางพาดบนคานหัวท้ายที่ออกแบบให้รับน้ำหนักพื้นชนิดนี้โดยเฉพาะ ส่วนคานด้านข้างทำหน้าที่รัดโครงสร้างเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาให้รับน้ำหนัก หากผู้รับเหมาเปลี่ยนสเป็กจากพื้นสำเร็จรูปเป็นพื้นเทคอนกรีตในบางจุด เพราะอาจสั่งของแล้วขาดนิดหน่อย น้ำหนักก็จะถูกถ่ายเทลงคานทั้งสี่ด้าน ซึ่งอันตรายมาก หรือในทางกลับกัน หากเปลี่ยนสเป็กจากพื้นเทคอนกรีตเป็นพื้นสำเร็จรูปก็อันตรายเช่นกัน 3. วงกบประตูหน้าต่างที่ผนังก่อไม่มีเสาหรือคานเอ็นยึด เสาหรือคานเอ็นทับหลังนอกจากทำหน้าที่เป็นกรอบสำหรับยึดวงกบประตูหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรงแล้ว คานเอ็นทับหลังที่อยู่เหนือวงกบบนของประตูหน้าต่างยังทำหน้าที่รับและถ่ายเทน้ำหนักของผนังก่อที่อยู่เหนือขึ้นไปไม่ให้ตกบนวงกบโดยตรง ซึ่งจะทำให้วงกบแอ่นหรือบิดโก่ง ใช้การไม่ได้ หากผู้รับเหมาลักไก่ไม่ทำ ต้องสั่งให้รื้ออก ! ทำใหม่ด้วย 4. การเจาะพื้นห้องน้ำเพื่อวางระบบท่อ ตามปกติการสร้างห้องน้ำซึ่งเป็นพื้นเทคอนกรีต มักจะฝังท่อระบบน้ำไว้ตั้งแต่ตอนเทพื้นแล้ว หากมาเจาะเพื่อฝังภายหลัง อาจเกิดปัญหารั่วซึมบริเวณรอบรอยต่อของท่อได้ ซึ่งการแก้ไขในภายหลังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก […]

ข้อควรคิดวิธีเลือกผู้รับเหมา ไม่ให้โดนหลอก

ได้เห็นข่าว ผู้รับเหมาสร้างบ้าน ทิ้งงานอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่ผู้ว่าจ้างนั่นเป็นดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ก็ยังไม่วายต้องเจอปัญหานี้ เห็นทีว่าควรบรรจุเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านเลยก็ว่าได้ ด้วยการประกอบอาชีพ ผู้รับเหมาสร้างบ้าน นั้น ไม่ได้มีใบรับรองหรือใบอนุญาตใดๆ เป็นเครื่องหมายการันตีในความสามารถ ความรับผิดชอบ และที่สำคัญคือความซื่อสัตย์ นอกเสียจากจะเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนนิติบุคคลและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร •รู้ไว้..ก่อนผิด กฎหมายบ้าน •ก่อสร้างบ้าน แล้วเดือดร้อนข้างบ้าน ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับเหมา ต้องรับผิดชอบ บางครั้งการคัดเลือกผู้เหมารายย่อยสำหรับสร้างบ้านที่นับว่าเป็นโปรเจ็คขนาดเล็ก หรือบางทีเจ้าของบ้านก็มีแบบบ้านที่ได้รับการรับรองโดยสถาปนิกที่มีใบอนุญาตแล้วนั้น เจ้าของบ้านอาจจะใช้วิจารณญาณของตัวเองในการคัดกรองคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน แต่ก่อนจะเลือกผู้รับเหมาลองมาพิจารณาเป็นข้อๆ ป้องกันปัญหาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ 1 มีคนใกล้ตัวไว้ใจได้แนะนำให้ ว่ากันว่าการตลาดที่ดีที่สุดคือการบอกต่อ คนในยุค4.0 ต่างให้ความเชื่อใจสินค้าที่ผ่านการรีวิวของคนมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่การบอกต่อหรือแนะนำผู้รับเหมานั้นไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างการรีวิวสินค้าทั่วไป เพราะต้องผ่านด่านหินสร้างผลงานที่น่าเชื่อถือมีคุณภาพอย่างแท้จริง การคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน คงไม่ต้องถึงขั้นให้คนมีชื่อเสียงมารีวิวในสิ่งที่สร้างมา แต่หากผลงานการสร้างบ้านที่ผ่านมาได้รับการยอมรับจากลูกค้าเดิมที่เป็นบุคคลที่เราน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ ก็สมควรรับพิจารณาไว้เพราะการเข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าจนกล้าบอกต่อนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว 2 มีที่ตั้งเป็นหลักแหล่งแน่นอน แน่นอนว่าจะให้ใครมาสร้างบ้านให้เรานั้น เขาต้องมีที่อยู่ที่แน่นอนหรือมีสำนักงานที่ตั้งที่ชัดเจน ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งข้อพิจารณาสำคัญ การจัดตั้งสำนักงานรับเหมาก่อสร้างอาจจะทำให้เรารู้สึกเชื่อมั่นเชื่อถือได้มากกว่าผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่มีอยู่ชัดเจน แต่ก็ต้องพิจารณาในตัวที่ตั้งสำนักงานด้วยว่าสภาวะแวดล้อมนั้นมีความมั่นคงในแง่ธุรกิจมากแค่ไหน หรือเป็นสำนักงานรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนพานิชย์ถูกต้องตามกฎหมายเป็นบริษัทจำกัด หรือเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือไม่ 3 ผลงานดีมีจริงโชว์ได้ หากไม่มีคนรู้จักแนะนำให้ ผู้รับเหมาที่ซื่อสัตย์งานดีต้องรีวิวผลงานตัวเองได้ ซึ่งไม่มีเวทีหรือช่องทางไหนจะบอกเล่าได้ดีเท่ากับสถานที่จริง ฉะนั้น […]

10 จุดจับไต๋ผู้รับเหมาหมกเม็ด

คงเป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับเจ้าของบ้านผู้โชคร้ายที่ไปพบ ผู้รับเหมา ที่ไม่ซื่อตรง และไม่มีความรับผิดชอบ ผู้รับเหมาเหล่านี้นอกจากจะสร้างความเสียหายให้วงการงานรับเหมาก่อสร้างแล้ว