รีโนเวตตึกแถวสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ให้เป็นบ้านและแกลเลอรี่แสนสวย

รีโนเวตตึกเเถวจากบ้านเก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เจ้าของบ้านได้ชุบชีวิตใหม่ให้เป็นบ้านโมเดิร์นร่วมสมัยที่สง่างาม และสร้างเสน่ห์ให้ชุมชนเก่าในเมืองสงขลาได้อย่างน่าทึ่ง เจ้าของ-ตกแต่ง : คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย และคุณนพดล ขาวสำอางค์ ในวันที่มาเยี่ยมชมบ้านหลังนี้ แม้จะไม่ได้พบเจ้าของบ้าน แต่เรากลับไม่รู้สึกว่าบ้านดูเหงา เพราะทุกอย่างในบ้านดูสวยงามและมีชีวิต ซึ่งมาจากมุมมองทางศิลปะที่ยอดเยี่ยมของเจ้าของบ้าน คุณนพดล ขาวสำอางค์ ช่างภาพมืออาชีพ และ คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย ศิลปินเจ้าของบ้านหลังนี้ที่ รีโนเวตตึกแถว เก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส กลางย่านถนนนครใน ให้เป็นบ้านโมเดิร์นร่วมสมัยที่สง่างามและสร้างเสน่ห์ให้ชุมชนเก่าในเมืองสงขลา มองจากภายนอกอาจเห็นเพียงโครงตึกเก่าสองชั้นที่ใช้โทนสีเทาเข้ม ทว่าก็สร้างความรู้สึกประทับใจได้ตั้งแต่แรกเห็น บริเวณหน้าบ้านวางกระถางต้นไม้เป็นแนว ช่วยให้บ้านตึกแถวริมถนนดูน่าอยู่และกลมกลืนไปกับชุมชนรอบ ๆ ทั้งยังรักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้านไว้ด้วย รีโนเวตตึกเเถว  ภายในบ้านเน้นการตกแต่งแบบเรียบง่ายและใช้ข้าวของน้อยชิ้น มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนเล็กๆเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เมื่อเดินมาถึงกลางบ้านจะเห็นคอร์ตยาร์ดที่เปิดโล่งรับแสงธรรมชาติ ทำให้ลืมภาพบ้านตึกแถวที่แคบและมีแสงสลัวๆไปเลย บริเวณนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่งมักเปิดโล่งและทำเป็นบ่อน้ำ ทว่าก่อนการปรับปรุงเจ้าของเดิมมุงหลังคากระเบื้องเพื่อป้องกันลมฝน คุณนพดลและคุณเกล้ามาศจึงออกแบบให้เปิดหลังคาออก เพื่อรับแสงแดดและลมได้เต็มที่  แต่เก็บบ่อน้ำของเดิมเอาไว้ เจ้าของบ้านทั้งสองพยายามคงเสน่ห์ของของเดิมในบ้านนี้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคารเดิม ระดับของฝ้าเพดานที่สูงโปร่ง บันไดไม้เดิมทาสี  พื้นไม้เก่าที่ทำความสะอาดใหม่และรักษาพื้นผิวขรุขระตามธรรมชาติของไม้ไว้ โดยไม่มีการขัดมันลงแวกซ์ ส่วนที่ต่อเติมใหม่คือบริเวณดาดฟ้าที่ออกแบบเป็นห้องพักแขก มีการกรุหน้าต่างกระจกใสรอบห้องนี้ เพื่อให้มองเห็นความสวยงามของบรรยากาศเมืองเก่าริมทะเลสาบสงขลา ทั้งยังให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพราะส่วนต่อเติมนี้ไม่บดบังหรือรบกวนสายตาบ้านเรือนข้างเคียง บรรยากาศที่สวยงามของบ้านหลังนี้ยังเกิดจากการจัดวางเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น ทว่าแต่ละชิ้นให้ความรู้สึกเหมือนงานศิลปะ […]

Ode to Two Little Love เพื่อสองหัวใจดวงน้อย

เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม อ้อมกอด และความห่วงใย สามารถถ่ายทอดเป็นบทกวีที่บอกเล่าถึงความสุขและคำว่า “ครอบครัว” ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์หากมีการบ่มเพาะด้วยความรัก เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ จากที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวที่เจ้าของบ้าน คุณก้อย – อาชวี ณ นคร อยู่มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเวลาผ่าน สถานะเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อเธอและสามี คุณแดง – ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้เหมาะสมกับครอบครัวและการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น บ้านนี้อยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคุณแม่ (คุณรุ่งรังษี ณ นคร) น้องสาว 2 คน (ดร.ปิยพร – คุณณิชา ณ นคร) น้องนอต – กวิณ และ น้องนน – นวิน เหลืองนฤมิตชัย ลูกชายวัยกำลังซนซึ่งทำให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ การออกแบบพื้นที่จึงเน้นให้เชื่อมโยงกับหัวใจสองดวงน้อยๆ นี้มากยิ่งขึ้น คุณก้อยเล่าให้ฟังว่า “คุยกับมัณฑนากรว่าเราอยากมีพื้นที่เผื่อไว้สำหรับให้ลูกๆ ได้ทำกิจกรรมในแบบของพวกเขาเอง เช่น เวลาที่มีเพื่อนๆ […]

บ้านสวย เพราะต้นไม้ผสมผสาน

อยากมี บ้านสวย ๆ ดูดีไปได้นานๆ ต้องออกแบบ ต้องแต่งบ้านอย่างไร เริ่มต้นจากอะไร

Chiang Mai City วิถีชน (ใน) เมือง

แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]