บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๑

ช้าๆ แต่ว่ายั่งยืน หมายเลขสากลประจำหนังสือ 978-616-207-139-3 พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2554 นักเขียน ภัทรสิริ อภิชิต ขนาดหนังสือ 15×21 ซม. ปกอ่อน ราคา 195 บาท “บ้าน บ้าน” เดินทางออกจากกรุงเทพฯเพื่อไปเห็นวิถีชีวิตและแนวคิดที่ต่างออกไป จังหวะชีวิตของคนต่างจังหวัดนั้นเชื่องช้ากว่าในเมืองใหญ่ วิธีที่ผู้คนดื่มด่ำกับความสุขระหว่างวันจึงไม่ต้องแข่งกับเวลา เป็นความสุขที่ค่อยเป็นค่อยไป ทว่าอยู่ยืน ผู้คนที่”บ้าน บ้าน”ไปพบส่วนมากเป็นคนพลัดถิ่น ที่มาตกหลุมรักกับท้องถิ่นใหม่ ด้วยเหตุผลและแรงจูงใจต่างๆ กัน แต่ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ดำรงชีวิตอยู่โดยมีศิลปะเป็นเพื่อน “ศิลปะ” มีอยู่รอบตัว ทั้งยังเป็นสิ่งที่เราสร้างสรรค์ได้ด้วยมือของเราเองตลอดเวลา หากเราเหนี่ยวนำศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต น่าจะช่วยให้เกิดสุนทรียภาพกับตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนรอบข้างอีกด้วย สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ : https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๒

 บ้านฉันสวย ฉันแต่งเอง หมายเลขสากลประจำหนังสือ 978-616-207-492-9 พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2554 นักเขียน ภัทรสิริ อภิชิต ขนาดหนังสือ 15×21 ซม. ปกอ่อน ราคา 195 บาท “บ้าน บ้าน” ฉบับนี้พาไปรู้จักคนที่มีความมุ่งมั่นกับการตกแต่งบ้าน ที่อาจไม่ใช่ “บ้านสวย” ในสายตาทุกคน แต่ก็เต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์ เป็นบ้านของคนที่รู้จักความต้องการของตัวเองและเต็มไปด้วยความรู้สึก ซึ่งเราเชื่อว่าบ้านแบบนี้ล่ะที่จะกระตุ้น “ต่อมประดับประดา” อันน่าจะมีอยู่ในมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ให้ตื่นขึ้น เปลี่ยนมุมมอง และสร้างความภูมิใจในการได้ลงมือทำอะไรเอง นอกจากการลงมือแต่งเองแล้ว บ้านทุกหลังในเล่ม ยังมีข้อจำกัดที่ท้าทายคนรักการแต่งบ้านเหมือนๆ กันคือ ขนาดของบ้านที่ค่อนข้างเล็กถึงเล็กมาก ทว่ามีข้าวของจำนวนเยอะถึงเยอะมาก การจัดการให้บ้านดูสวยและไม่รกได้ต้องอาศัยทั้งความสามารถในการจัดระเบียบและรสนิยมที่ดี นอกจากนี้ ในเล่มยังมีเรื่องราวของ ชุมชนศิลปะที่เชียงใหม่ ศิลปะ-ศิลปิน และร้านค้าอารมณ์อุ่น ซึ่งเกิดจากคนที่ลงมือทำอะไรเอง ทำอย่างเต็มที่และภูมิใจนำเสนอสู่สายตาสาธารณะเช่นกัน สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ : https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/ 5 บ้านจัดสรร ตกแต่งให้เป็นบ้านจัดสวย

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๓

ความสุขเล็กๆ หมายเลขสากลประจำหน้งสือ 978-974-247-321-1 พิมพ์ครั้งแรก  มิถุนายน 2555 นักเขียน ภัทรสิริ อภิชิต ขนาดหนังสือ 15×21 ซม. ปกอ่อน ราคา 195 บาท เมื่อเรามีความสนใจใคร่รู้ในสิ่งใด มักจะมีแรงบางอย่างดึงดูดให้เราเข้าใกล้หรือพบกับสิ่งนั้นเสมอ ความสนใจของ “บ้าน บ้าน” หลีกไกลจากกระแสหลักไปทุกที ใช่ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดี หรือปราศจากคุณค่า เพียงแต่มันไม่สนุกที่จะทำบริโภค ชื่นชมหรือวิ่งตาม “ผู้ชี้นำ” โดยไม่ได้ถามความต้องการที่แท้จริงชองตนเอง เมื่อเราทำสิ่งใดโดยมีเดิมพันแค่ความสุขใจ เรามักจะทำได้ดีเสมอ เรื่องราวที่ “บ้าน บ้าน” ฉบับที่ ๓ นี้ต้องการนำเสนอคือ เรื่องของคนที่มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขในใจ ทำในสิ่งที่รักด้วยมือของเขาเองแทบทุกขั้นตอน เพื่อจะได้สัมผัสความสุขเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ระหว่างทาง แม้จะต้องเดินสวนทิศกับคนจำนวนมากในสังคมก็ตาม นอกจากความสุขในการลงมือทำ พื้นที่ทำงานก็เป็นส่วนหนึ่งที่แยกจากงานไม่ขาด สำหรับบางคนอาจหมายถึงบ้านหลังที่สอง ในหนังสือเล่มนี้ เราได้พบตัวอย่างของการสร้างสรรค์พื้นที่ทำงานให้สวยงามน่าอยู่และสร้างแรงบันดาลใจ ไปพร้อมๆกับได้รู้จักชีวิตและผลงานของพวกเขา สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ : https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๔

ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายเลขสากลประจำหนังสือ 978-974-289-699-7 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2556 นักเขียน ภัทรสิริ อภิชิต ขนาดหนังสือ 15×21 ซม. ปกอ่อน ราคา 195 บาท ในโลกที่คนส่วนมากมีชีวิตอยู่บนการแข่งขัน ความวุ่นวาย และการมุ่งไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย แนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จาก “ในหลวงของเรา” กลายเป็นคำตอบให้ใครหลายๆคนเลือกเดินตาม “บ้าน บ้าน” ฉบับที่ ๔ นี้ เราตั้งใจไปพูดคุยกับผู้คนที่มุ่งมั่นเดินตามเส้นทางแห่งการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเลือกทำได้หลากหลายวิถี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของชีวิตแต่ละคน มากบ้าง น้อยบ้าง มืออาชีพบ้าง มือใหม่บ้าง แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับความตั้งใจจริงของเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจและทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า การพึ่งพาตนเองนั้น ขอเพียงมีจิตใจที่มุ่งมั่น ไม่ว่าใครก็ทำได้ เมื่อเราได้ลองทำ แล้วทำได้ เราจะเกิดความเชื่อมั่น เกิดความภาคภูมิใจ มีความเคารพนับถือตัวเอง สิ่งนี้จะเป็นพลังให้เราดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน การใช้เงินซื้อทุกอย่างนั้นดูเหมือนง่าย แต่มันง่ายจริงหรือ บางทีถ้าเราพึ่งตนเองได้มากๆ ใช้จ่ายให้น้อยลง เราอาจจะสนุกกับการค้นพบคุณค่าของชีวิตมากขึ้นก็เป็นได้ สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ : https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๕

อีสานบ้านเฮา หมายเลขสากลประจำหนังสือ 978-616-387-661-4 พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2557 นักเขียน ภัทรสิริ อภิชิต ขนาดหนังสือ 15×21 ซม. ปกอ่อน ราคา 195 บาท “อีสาน” คือดินแดนที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม สีสัน และความมีชีวิตชีวา แม้จะมีภาพจำเกี่ยวกับความเป็นอยู่อันแร้นแค้น ผืนดินแห้งแล้ง ทว่า หากได้เข้ามาใกล้ๆ และสัมผัสภาคอีสานจริงๆแล้ว จะพบได้ว่า นี่คือภูมิภาคหนึ่งของไทยที่อุดมสมบูรณ์ และน่าหลงรักที่สุดแห่งหนึ่ง “บ้าน บ้าน” ขออุทิศ เรื่องราวในฉบับที่ ๕ ทั้งเล่มให้กับชีวิตของภาคอีสาน ซึ่งมีเสน่ห์หลากหลาย ทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะ หัตถกรรม วัฒนธรรม ธรรมชาติ สถาปัตยกรรม การพึ่งพาตนเอง วิถีชีวิตทางเลือก และการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำให้ผู้อ่านได้มองเห็นแง่มุมที่ช่วยให้รู้จักและเข้าใจภูมิภาพนี้ต่างไปจากเดิม เสน่ห์อย่างหนึ่งของภาคอีสานคือผู้คน นอกจากมีอารมณ์ขัน ตลกโปกฮา คนอีสานยังมีน้ำใจ ปากไม่หวานแต่จริงใจ และที่สำคัญ พวกเขารักศักดิ์ศรีและภูมิใจในความเป็นคนอีสาน จะดีเพียงใดหากคนไทยทั้งประเทศรักในความเป็นคนไทย หวงแหนวัฒนธรรมของเราและหยิ่งในศักดิ์ศรีว่าบ้านเราเมืองเราก็มีสิ่งดีๆอยู่แล้วมากมาย เช่นเดียวกับคนอีสานที่ภูมิใจในถิ่นกำเนิดและวัฒนธรรมของตน สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ […]

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๖

 ไปญี่ปุ่น หมายเลขสากลประจำหนังสือ 978-616-18-0341-4 พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2558 นักเขียน ภัทรสิริ อภิชิต ขนาดหนังสือ 15×21 ซม. ปกอ่อน ราคา 195 บาท ด้วยความเชื่อที่ว่า…เราออกเดินทางเพื่อให้รู้ว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ “บ้าน บ้าน” จึงออกเดินทางไปยังต่างแดน เพราะรู้ว่า ห่างออกไป ยังมีคนที่ดำเนินชีวิตในแบบที่เราสนใจ ในวิถีทางซึ่งบางครั้งคนใกล้ๆตัวเราเองอาจยังไม่เข้าใจหรือไม่สนใจ เราเดินทางไปเพื่อให้อุ่นใจว่า ยังมีคนอีกมากมาย ที่ให้ความสำคัญกับชีวิตในแบบเดียวกับเรา เราเลือก “ไปญี่ปุ่น” เพราะความผูกพันใกล้ชิดที่คนญี่ปุ่นกับคนไทยมีต่อกัน และเพราะวัฒนธรรมต่างๆของญี่ปุ่นนั้้นส่งอิทธิพลต่อคนไทยไม่น้อยกว่าวัฒนธรรมของชาติใดๆ ดังเช่นที่เคยเป็นตลอดมา “บ้าน บ้าน” ไม่สนใจวัฒนธรรมกระแสหลัก เราไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าตื่นใจ หรือสิ่งมหัศจรรย์ไม่ควรพลาดมานำเสนอ แต่เราออกเดินทางคราวนี้เพื่อไปพบกับคนตัวเล็กๆที่เลือกดำเนินชีวิตของเขาอย่างเรียบง่าย มั่นคง โดยมีศิลปะและธรรมชาติตั้งมั่นอยู่ในหัวใจ สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ : https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/

ไปเที่ยว “บ้านมะกอก” กันมั้ย

อากาศช่วงนี้ น่าไปเที่ยวทะเล และบ้านริมทะเลแห่งแรกที่เรานึกถึงในเวลาอย่างนี้ ก็คือ บ้านมะกอก บ้านไม้แบบชาวประมงริมคลองยายกี๋ เกาะกูด จังหวัดตราด

ไปเที่ยว “บ้านมะกอก” กันมั้ย

ไปเที่ยว “บ้านมะกอก” กันมั้ย อากาศช่วงนี้ น่าไปเที่ยวทะเล และบ้านริมทะเลแห่งแรกที่เรานึกถึงในเวลาอย่างนี้ ก็คือ บ้านมะกอก บ้านไม้แบบชาวประมงริมคลองยายกี๋ เกาะกูด จังหวัดตราด กว่าสี่ปีที่แล้วที่พวกเราทีมงาน “บ้าน บ้าน” เดินทางไปที่นั่น เราอยู่ไปทำงานไปเหมือนอยู่บ้าน พี่อู๊ด-ช่างภาพตื่นมาเก็บภาพแสงสวยๆแต่เช้า พี่แกละ-สไตลิสต์จัดโต๊ะอาหารสวยๆไว้รอท่า ตอนบ่ายที่แดดจัดเกินกว่าจะถ่ายรูปเราก็เดินไปเล่นน้ำตก ค่ำลง หลังอาหารเย็นแสนอร่อย พี่สุพัฒน์-คนขับรถที่มาด้วยกันก็ออกเรือไปตกปลากับชาวประมงเพื่อนบ้าน ชีวิตที่บ้้านมะกอกเรียบง่ายแบบนี้ สิ่งนี้ล่ะที่เราคิดถึง ชีวิตที่บ้านมะกอกเรียบง่ายแบบนี้ สิ่งนี้ล่ะที่เราคิดถึง > ดูหน้าตัวอย่างภายในเล่ม containers (pdf) > ดูหน้าตัวอย่างภายในเล่ม (flipbook) ภาพโดย อภิรักษ์ สุขสัย [real3dflipbook id=”1″]  

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๖ “ไปญี่ปุ่น”

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๖ “ไปญี่ปุ่น“ ด้วยความเชื่อที่ว่า…เราออกเดินทางเพื่อให้รู้ว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ “บ้าน บ้าน” จึงออกเดินทางไปยังต่างแดน เพราะรู้ว่า ห่างออกไป ยังมีคนที่ดำเนินชีวิตในแบบที่เราสนใจ ในวิถีทางซึ่งบางครั้งคนใกล้ๆตัวเราเองอาจยังไม่เข้าใจหรือไม่สนใจ เราเดินทางไปเพื่อให้อุ่นใจว่า ยังมีคนอีกมากมาย ที่ให้ความสำคัญกับชีวิตในแบบเดียวกับเรา เราเลือก “ไปญี่ปุ่น” เพราะความผูกพันใกล้ชิดที่คนญี่ปุ่นกับคนไทยมีต่อกัน และเพราะวัฒนธรรมต่างๆของญี่ปุ่นนั้้นส่งอิทธิพลต่อคนไทยไม่น้อยกว่าวัฒนธรรมของชาติใดๆ ดังเช่นที่เคยเป็นตลอดมา “บ้าน บ้าน” ไม่สนใจวัฒนธรรมกระแสหลัก เราไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าตื่นใจ หรือสิ่งมหัศจรรย์ไม่ควรพลาดมานำเสนอ แต่เราออกเดินทางคราวนี้เพื่อไปพบกับคนตัวเล็กๆที่เลือกดำเนินชีวิตของเขาอย่างเรียบง่าย มั่นคง โดยมีศิลปะและธรรมชาติตั้งมั่นอยู่ในหัวใจ

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๕ “อีสานบ้านเฮา”

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๕ “อีสานบ้านเฮา“ “อีสาน” คือดินแดนที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม สีสัน และความมีชีวิตชีวา แม้จะมีภาพจำเกี่ยวกับความเป็นอยู่อันแร้นแค้น ผืนดินแห้งแล้ง ทว่า หากได้เข้ามาใกล้ๆ และสัมผัสภาคอีสานจริงๆแล้ว จะพบได้ว่า นี่คือภูมิภาคหนึ่งของไทยที่อุดมสมบูรณ์ และน่าหลงรักที่สุดแห่งหนึ่ง “บ้าน บ้าน” ขออุทิศ เรื่องราวในฉบับที่ ๕ ทั้งเล่มให้กับชีวิตของภาคอีสาน ซึ่งมีเสน่ห์หลากหลาย ทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะ หัตถกรรม วัฒนธรรม ธรรมชาติ สถาปัตยกรรม การพึ่งพาตนเอง วิถีชีวิตทางเลือก และการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำให้ผู้อ่านได้มองเห็นแง่มุมที่ช่วยให้รู้จักและเข้าใจภูมิภาพนี้ต่างไปจากเดิม เสน่ห์อย่างหนึ่งของภาคอีสานคือผู้คน นอกจากมีอารมณ์ขัน ตลกโปกฮา คนอีสานยังมีน้ำใจ ปากไม่หวานแต่จริงใจ และที่สำคัญ พวกเขารักศักดิ์ศรีและภูมิใจในความเป็นคนอีสาน จะดีเพียงใดหากคนไทยทั้งประเทศรักในความเป็นคนไทย หวงแหนวัฒนธรรมของเราและหยิ่งในศักดิ์ศรีว่าบ้านเราเมืองเราก็มีสิ่งดีๆอยู่แล้วมากมาย เช่นเดียวกับคนอีสานที่ภูมิใจในถิ่นกำเนิดและวัฒนธรรมของตน

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๔ “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน”

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๔ “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน“ ในโลกที่คนส่วนมากมีชีวิตอยู่บนการแข่งขัน ความวุ่นวาย และการมุ่งไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจาก “ในหลวงของเรา” กลายเป็นคำตอบให้ใครหลายๆคนเลือกเดินตาม “บ้าน บ้าน” ฉบับที่ ๔ นี้ เราตั้งใจไปพูดคุยกับผู้คนที่มุ่งมั่นเดินตามเส้นทางแห่งการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเลือกทำได้หลากหลายวิถี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของชีวิตแต่ละคน มากบ้าง น้อยบ้าง มืออาชีพบ้าง มือใหม่บ้าง แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับความตั้งใจจริงของเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจและทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า การพึ่งพาตนเองนั้น ขอเพียงมีจิตใจที่มุ่งมั่น ไม่ว่าใครก็ทำได้ เมื่อเราได้ลองทำ แล้วทำได้ เราจะเกิดความเชื่อมั่น เกิดความภาคภูมิใจ มีความเคารพนับถือตัวเอง สิ่งนี้จะเป็นพลังให้เราดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน การใช้เงินซื้อทุกอย่างนั้นดูเหมือนง่าย แต่มันง่ายจริงหรือ บางทีถ้าเราพึ่งตนเองได้มากๆ ใช้จ่ายให้น้อยลง เราอาจจะสนุกกับการค้นพบคุณค่าของชีวิตมากขึ้นก็เป็นได้

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๒ “บ้านฉันสวย ฉันแต่งเอง”

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๒ “บ้านฉันสวย ฉันแต่งเอง“ “บ้าน บ้าน” ฉบับนี้พาไปรู้จักคนที่มีความมุ่งมั่นกับการแต่งบ้านอย่างเต็มที่ แม้บ้านเหล่านี้อาจไม่ใช่ “บ้านสวย” ในสายตาทุกคน แต่่เต็มไปด้วยพลังของการรักจะแต่ง เป็นบ้านของคนที่รู้จักความต้องการของตัวเองดีที่สุด และเต็มไปด้วยความรู้สึก “ภูมิใจนำเสนอ” ซึ่ง “บ้าน บ้าน” เชื่อว่าบ้านแบบนี้ล่ะที่จะกระตุ้น “ต่อมประดับประดา” อันน่าจะมีอยู่ในมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ให้ตื่นขึ้น และเปลี่ยนมุมมองให้เราเกิดความภูมิใจในการได้ลงมือทำอะไรเอง นอกจากการลงมือแต่งเองแล้ว บ้านทุกหลังในเล่ม ยังมีข้อจำกัดที่ท้าทายคนรักการแต่งบ้านเหมือนๆกันคือ ขนาดของบ้านที่ค่อนข้างเล็กถึงเล็กมาก ทว่ามีข้าวของจำนวนเยอะถึงเยอะมาก การจัดการให้บ้านดูสวยและไม่รกได้ต้องอาศัยทั้งความสามารถในการจัดระเบียบและรสนิยมที่ดี นอกจากบ้านห้าหลัง ในเล่มยังมีเรื่องราวของ ชุมชนศิลปะที่เชียงใหม่ ศิลปะ–ศิลปิน และร้านค้าอารมณ์อุ่น ซึ่งเกิดจากคนที่ลงมือทำอะไรเอง ทำอย่างเต็มที่และภูมิใจนำเสนอสู่สายตาสาธารณะเช่นกัน

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๑ “ช้าๆแต่ว่ายั่งยืน”

บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๑ “ช้าๆแต่ว่ายั่งยืน“ “บ้าน บ้าน” เดินทางออกจากกรุงเทพฯเพื่อไปเห็นวิถีชีวิตและแนวคิดที่ต่างออกไป จังหวะชีวิตของคนต่างจังหวัดนั้นเชื่องช้ากว่าในเมืองใหญ่ วิธีที่ผู้คนดื่มด่ำกับความสุขระหว่างวันจึงไม่ต้องแข่งกับเวลา เป็นความสุขที่ค่อยเป็นค่อยไป ทว่าอยู่ยืน ผู้คนที่”บ้าน บ้าน”ไปพบเจอมานั้น ส่วนมากเป็นคนพลัดถิ่น ที่มาตกหลุมรักกับท้องถิ่นใหม่ ด้วยเหตุผลและแรงจูงใจต่างๆกัน แต่ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ดำรงชีวิตอยู่โดยมีศิลปะเป็นเพื่อน “ศิลปะ” นั้นมีอยู่รอบตัว ทั้งยังเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์ได้ด้วยมือของเราเองตลอดเวลา หากเราเหนี่ยวนำศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต น่าจะช่วยให้เกิดสุนทรียภาพกับตัวเอง และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนรอบข้างอีกด้วยอย่างเป็นอัตโนมัติ ลองมาดูตัวอย่างจากเรื่องราวและผู้คนใน “บ้าน บ้าน” เล่มนี้ แล้วจะพบว่า เมื่อเรามอบศิลปะและเวลาให้กับตัวเองแล้ว ผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร