บ้านไม้ชั้นเดียว
บ้านไม้ชั้นเดียว ภายใต้โรงเลี้ยงหมูเก่า กลางสวน
บ้านไม้ชั้นเดียว ที่สร้างอยู่ภายใต้โครงสร้างเก่าซึ่งเคยเป็นโรงเลี้ยงหมูมาก่อน ตัวอาคารมีลักษณะทอดยาวแบ่งฟังก์ชันให้เยื้องไม่ตรงกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากแสงและลม
รวมมิตร 80 แบบ บ้านไม้ ยอดนิยมตลอดกาลของบ้านและสวน
บ้านไม้ ถือเป็นบ้านที่มีคำค้นหามากที่สุดในเว็บไซต์บ้านและสวน เพราะด้วยเสน่ห์ของลวดลายไม้ที่เห็นคราใดก็ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นได้ทุกครั้งบ้านไม้
บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เปิดรับแสงและลมธรรมชาติ
บ้านไม้ ชั้นเดียว รูปทรงจั่วไทยๆ ที่เรียบง่าย โดยยกสูงจากพื้นดินเล็กน้อยเพื่อให้ลมหมุนเวียนช่วยคลายความร้อนของตัวบ้าน และเผื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่านได้ อีกทั้งยังใช้เป็นที่เก็บของได้ด้วย
บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนของ ป้าจิ๊ – อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน ที่ตกแต่งแบบโมเดิร์นผสมกับแบบไทย ภายในเน้นความเรียบโล่ง เพราะเจ้าของบ้านไม่ชอบของรกๆ ท่ามกลางบรรยากาศของสวนสวยที่ออกแบบได้สอดรับกันกับตัวบ้าน บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลังนี้เป็นของ ป้าจิ๊ – คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ นักแสดงมากความสามารถ ผู้มีพลังอย่างล้นเหลือ เพราะเธอเป็นทั้งครูสอนโยคะ นักวิปัสสนา และยังคอยช่วยเหลือเหล่าเด็กน้อยด้อยโอกาส ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ป้าจิ๊ทำด้วยหัวใจที่พร้อมจะเผื่อแผ่แก่คนรอบข้าง ซึ่งฉันเชื่อว่านั่นทำให้เธอมีความสุขอยู่เสมอ ป้าจิ๊พาฉันเดินดูรอบบ้าน พื้นที่หลังบ้านนั้นอยู่ติดท้องนาของชาวบ้านในละแวกนั้น บ้านบนพื้นที่กว่า 5 ไร่หลังนี้จึงมีธรรมชาติเป็นเพื่อน มีคู่หูเป็นนกน้อยนานาชนิด มีการขุดบ่อบัวไว้ 2 บ่อสำหรับพายเรือเล่น บ่อแรกอยู่หน้า เรือนหลังเก่า ส่วนอีกบ่ออยู่ในสวนกว้างบริเวณเรือนหลังใหม่ สำหรับตัวบ้านนั้นสร้างเป็นสามเรือน ได้แก่ เรือนใหญ่ เรือนหลังใหม่ และเรือนรับแขก ซึ่งป้าจิ๊บอกว่ามาเกือบทุกอาทิตย์ และได้สลับใช้งานตลอด “ชอบอยู่ที่เรือนหลังใหม่ เพราะหยิบของใช้ต่างๆได้ง่าย แต่ก็สลับไปนอนที่เรือนใหญ่บ้าง ตั้งใจจะยกหลังนี้ให้การกุศลด้วยเมื่อป้าไม่อยู่แล้ว คนที่ได้บ้านนี้ไปก็จะได้มีความสุขที่ได้อยู่ในบ้านสวยๆ” ก่อนหน้านี้ป้าจิ๊ได้ยกเรือนไทยหลังเก่าให้เป็นสถานปฏิบัติธรรม โดยยกเฉพาะตัวเรือนไป แล้วจึงสร้างเรือนหลังใหม่บนที่ดินเดียวกับเรือนไทยหลังเก่าเป็น บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน โดยตกแต่งแบบโมเดิร์นผสมกับแบบไทย และสร้างเรือนรับแขกไว้ใกล้กัน สำหรับใช้ต้อนรับเพื่อนๆหรือแขกที่มาเยี่ยมเยือน ส่วนสวนสวยที่ดูรับกับตัวบ้านนั้นก็ได้สถาปนิก คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ และคุณมณฑล จิโรภาส […]
WOMR CABIN ก่อบ้านผ่านความรู้สึกของคู่รักนักออกแบบ
บ้านชั้นเดียว ที่สะท้อนเงาอยู่บนผิวน้ำ พร้อมภาพวิวของต้นไม้สีเขียวที่เติบโตอยู่รายล้อมนี้ คือบ้านที่ทำหน้าที่เป็นโฮมสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานและพักผ่อนของคู่รักนักออกแบบ คุณบิ๊ก-สุจินดา ตุ้ยเขียว สถาปนิกแห่งใจบ้านสตูดิโอ และคุณบี๊ท-โสภิดา จิตรจำนอง ฟรีแลนซ์อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ ทั้งคู่ค่อย ๆ ช่วยกันเติมแต่งภาพบ้านในฝันหลังแรกทีละนิด ๆ แต่มากด้วยแพสชั่นให้สำเร็จเป็นจริง สำหรับการใช้ชีวิตที่แสนเรียบง่าย แต่เพียบด้วยความสุข “ทุกอย่างค่อนข้างกะทันหัน มีเวลาแค่ประมาณสามเดือนครึ่งให้ออกแบบและก่อสร้าง ก่อนที่เราจะย้ายมาอยู่ที่นี่” เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้ บอกกับเรา ก่อนที่จะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำโฮมสตูดิโอเล็ก ๆ ในเมืองเชียงใหม่ คุณบี๊ทเล่าว่า หลังจากอพาร์ตเมนต์เก่าที่เคยอาศัยอยู่หมดสัญญา และขายตึกต่อให้เจ้าของใหม่รีโนเวตเป็นคอนโดมิเนียม เธอและคุณบิ๊กได้ตัดสินใจมาเช่าที่ดินริมน้ำแปลงข้าง ๆ Sher Maker สตูดิโอออกแบบของพี่ตุ่ย รุ่นพี่จากสถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง หลังจากแอบมองที่ดินแปลงนี้จากร้านกาแฟ Asama Cafe ฝั่งตรงข้ามมานาน “ตอนแรกก็ลังเล หลายคนก็ไม่เห็นด้วย ถามว่าทำไมไม่ซื้อบ้านไปเลย แต่ด้วยความกะทันหันแบบนี้ เราก็ไม่อยากกดดันตัวเองทำสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะกับเรา บวกกับแอบมองที่ดินตรงนี้มานาน พอรู้ว่าปล่อยเช่า และพอเราลองคำนวณเรื่องงบประมาณดูแล้วว่า คุ้มกว่าการเช่าบ้านและรีโนเวตใหม่ก็ตัดสินใจเลย” ด้วยความชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ รวมถึงเงื่อนไขของงบประมาณ ทำให้บ้านหลังนี้เป็นเสมือนสนามที่ให้ทั้งคู่ได้ทดลองทั้งเรื่องของวัสดุ ดีเทลการออกแบบ […]
รวมแบบบ้านไม้ชั้นเดียวในบรรยากาศเขียวๆแสนสดชื่น
บ้านไม้กับบรรยากาศธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยต้นไม้เขียวขจี ดูจะเป็นสิ่งที่เข้ากันได้ดีเหลือเกิน ครั้งนี้เราจึงได้นำ 10 แบบบ้านไม้ชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบริบทของสวนและต้นไม้มาฝากผู้ชื่นชอบกัน แบบบ้านไม้ชั้นเดียว 1. บ้านไม้แบบไทยในอ้อมกอดธรรมชาติ สถาปนิก : รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม จัดสวน : คุณมณฑล จิโรภาส บ้านไม้หลังเล็ก รูปแบบเรียบง่ายสำหรับเป็นที่พักผ่อนอันเงียบสงบ มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน สร้างตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อนที่แยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง ซึ่งแต่ละเรือนจะมีขนาดพอประมาณ เชื่อมต่อกันด้วยชานไม้ที่มีระดับสูงต่ำต่างกัน ภายในเรือนทุกหลังสามารถเปิดโล่งได้ และมีร่มไม้แผ่คลุมให้ความร่มเย็น >> อ่านต่อ 2. บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน >> อ่านต่อ 3. บ้านไม้ชั้นเดียวที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]
บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น
บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและโดยธรรมชาติ บ้านหลังนี้ก็เช่นกัน คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ เจ้าของบ้านได้เข้ามาบุกเบิกที่ดินขนาด 30 ไร่ในจังหวัดขอนแก่นที่ คุณพ่อคุณแม่ของเธอซื้อไว้เมื่อประมาณหลายสิบปีก่อน โดยในตอนนั้นถูกทิ้งให้เป็นป่าหญ้าสูงท่วมหัว มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ไม่กี่ต้น อีกทั้งอยู่ห่างไกลความเจริญ ที่สำคัญสภาพดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชชนิดใดเลย เพราะใต้ดินส่วนใหญ่กลายเป็นจอมปลวก ทว่าด้วยความมุ่งมั่นของคุณผจงกิติ์ เพียงไม่กี่สิบปีที่ดินผืนนี้ก็กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนผืนป่าน้อยๆ พร้อมกับ บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลังเล็กที่น่าอยู่หลังนี้ คุณผจงกิติ์รักการปลูกต้นไม้มาตั้งแต่เด็กๆ จึงนำสิ่งนี้มาลองผิดลองถูกในที่ดินของเธอ แม้จะมี ธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เธอก็มักหาเวลาว่างช่วงเสาร์อาทิตย์ทยอยนำมูลวัวมาอัดให้แน่นเต็มพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน จากนั้นก็ค่อยๆ ปลูกแตงโม แคนตาลูป และขยับขยายกลายเป็นสวนหน่อไม้ฝรั่ง ดอกกุหลาบ เฮลิโคเนีย มะม่วงน้ำดอกไม้ ฯลฯ สลับสับเปลี่ยนกันไปจนกลายเป็นธุรกิจเล็กๆในเวลาต่อมา ระหว่างที่ทุ่มเทกับการทำสวน เมื่อยามที่รู้สึกเหนื่อยล้าอยากจะพักก็กลับไม่มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายเลย คุณผจงกิติ์จึงเริ่มมองหาพื้นที่นั่งเล่นและพักผ่อน ตามมาด้วยบ้านพักหลังเล็กๆ แม้เธอจะไม่ได้มีความรู้ด้านการออกแบบ แต่กับบ้านหลังนี้เธอเลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ เป็น บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เธอออกแบบด้วยตัวเอง โดยกำหนดให้ส่วนรับแขกและครัวอยู่นอกบ้าน ภายในบ้านมีพื้นที่นั่งเล่นก่อนเข้าสู่ห้องนอนและห้องน้ำ […]
บ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านไม้ชั้นเดียว ริมบึงสุดสงบ
บ้านไม้ชั้นเดียว หลังเล็กริมน้ำที่ออกแบบให้แทบจะไม่มีผนังทึบเลย เพราะต้องการให้เห็นแต่ต้นไม้และรับลม ให้ความรู้สึกเหมือนค่อยๆเดินเข้ามาในป่า
THAI HOUSE VIBE จำลองบรรยากาศบ้านไม้ไทย โซนพักผ่อนใหม่ใน THE BARISTRO ASIAN STYLE
หลังจาก The Baristro, Asian Style จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนทำให้ต้องออกแบบโซนพักผ่อนนั่งเล่นเพิ่มเติมต่อจาก Speed Bar และ Slow Bar จนกลายเป็นพื้นที่เฟสใหม่ภายใต้ธีม Thai house vibe DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ด้วยการจำลองบรรยากาศบ้านไทย เพื่อสร้างความรู้สึกสบายเป็นกันเอง โดยไม่ละทิ้งโจทย์เด่นของการออกแบบ อย่างการสอดแทรกวัฒนธรรมสไตล์เอเชียที่ทุกคนคุ้นเคย เพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมเยือนเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีประสบการณ์ร่วมไปพร้อมกัน ครั้งนี้ pommballstudio ได้ออกแบบเฟสใหม่ให้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กับการออกแบบที่ไม่ซับซ้อนได้มู้ดแบบบ้านไทย โดยจำลองบรรยากาศเหมือนเดินขึ้นมาบนบ้าน สิ่งแรกที่จะพบเห็นคือ “เติ๋น” หรือชานบ้าน (ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ) ซึ่งทำการจัดวางเบาะนั่งนุ่ม ๆ พร้อมหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ให้ลูกค้าได้นั่งผ่อนคลายอิริยบถ เหมือนมาพักผ่อนอยู่บนบ้านจริง ๆ ก่อนนำสู่ด้านในที่ออกแบบมุมด้านหนึ่งให้ยกพื้นสูง วางที่นั่งสไตล์ญี่ปุ่น และเบาะนั่งแบบไทย ซึ่งเป็นสองวัฒนธรรมที่นิยมการนั่งพื้นเหมือนกัน เหมาะกับคนที่ต้องการนั่งพักแบบสบาย ๆ ทั้งยังมีโซนที่นั่งแบบเก้าอี้ให้นั่งห้อยขา แล้วแต่ลูกค้าจะเลือกตามอัธยาศรัย นอกจากฟังก์ชันการใช้งานที่เรียบง่ายแล้ว การออกแบบของที่นี่ยังคงมีแนวคิดเชื่อมโยงกับกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ผ่านการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ ซึ่งเป็นไม้เก่าหาได้ง่ายทั้งจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน […]
บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น
บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ปนไทย โดยออกแบบให้ดูเรียบง่าย มีความสมถะ ซึ่งตรงกับความเป็นเซนที่พบในบ้านญี่ปุ่น แต่ประยุกต์ใช้วัสดุและพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะกับเมืองไทย โดยเฉพาะการเลือกใช้ไม้เก่าอย่างรู้คุณค่า พร้อมทำผนังบ้านให้โปร่งโล่งเพื่อเปิดรับธรรมชาติอันสวยงามของปากช่อง เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น หลังนี้เป็นบ้านพักหลังเล็กๆในจังหวัดนครราชสีมาของ คุณวรพจน์ ประพนธ์พันธ์ุ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการของเก่ามานาน โดยผสมผสานความเป็นบ้านไทยเข้ากับสไตล์เซนของญี่ปุ่นได้อย่างกลมกล่อม “ผมตั้งใจออกแบบบ้านหลังนี้ให้เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมหลังเล็กๆสำหรับพักผ่อนในวันหยุด อยู่ท่ามกลางทุงหญ้าป่าเขาที่ปากช่องแห่งนี้ โดยออกแบบเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว รูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่าที่จำเป็น ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นธรรมชาติโอบล้อมบ้านเอาไว้” จากแนวคิดเบื้องต้นทำให้บ้านหลังนี้ตกแต่งในรูปแบบผสมผสานระหว่างความเป็นไทยกับญี่ปุ่น โดยดึงเอางานไม้สัก หลังคาทรงปั้นหยา บานประตูหน้างต่าง บานกระทุ้งและบานเฟี้ยมของไทยมาประยุกต์ใช้ แต่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยใหม่โดยนำข้อดีของบ้านญี่ปุ่นมาประยุกต์ โดยยกพื้นขึ้นเล็กน้อยและโรยกรวดรอบบ้านกันสัตว์ร้ายปีนขึ้นบ้าน นอกจากนี้ยังใช้บานเลื่อนโชจิที่เป็นโรงไม้กรุกระดาษสา ทำให้สามารถเลื่อนปิดกันฝนหรือกันลมหนาว หากฤดูร้อนก็สามารถเปิดออกรับลมเข้าบ้านอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าบ้านนี้เกิดจากการผสมผสานข้อดีของเรือนไทยและญี่ปุ่นมาไว้ด้วยกัน เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศของปากช่อง ซึ่งมีทั้งช่วงอากาศร้อน ฝนและหนาว การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยใช้ทุกมุมเป็นมุมพักผ่อนได้ทั้งหมด เน้นพื้นที่โถงหน้าบ้านเปิดโล่งเป็นทางยาวเชื่อมต่อกับระเบียงรอบบ้านได้ทุกมุมเพื่อรับลมเย็นๆ แบ่งส่วนห้องน้ำและครัวแพนทรี่ไว้ฝั่งตะวันตกให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค และช่วยบังความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ส่วนภายในมีการยกระดับขึ้นแบ่งสัดส่วนและสามารถปิดมุมมองด้วยบานเลื่อนเพื่อความเป็นส่วนตัว กั้นห้องเท่าที่จำเป็น โดยกั้นแค่ห้องนอนเล็กๆและห้องน้ำเท่านั้น ที่เหลือสามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ “งานโครงสร้างและพื้นที่ใช้สอยนั้นผมต้องยกความดีให้เพื่อนสนิทอย่าง คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]
บ้านชั้นเดียว สไตล์มินิมัล ที่หยิบความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมมาเล่าใหม่
YOMOGIDAI HOUSE บ้านชั้นเดียว หน้าตาเรียบง่าย ดูคล้ายศาลเจ้าญี่ปุ่นโบราณ เหลือเชื่อกับการก่อสร้างขึ้นจากไม้สนทั้งหลัง ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอตหรือตะปูใด ๆ บ้านชั้นเดียว ที่กำลังกล่าวถึงนี้ ตั้งอยู่ในเมืองนาโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผลงานการออกแบบโดย Tomoaki Uno Architects จากเหตุผลด้านข้อจำกัดของที่ตั้ง ซึ่งมีขนาดความกว้างเพียง 8 เมตร และยาว 28 เมตร ได้กลายเป็นโจทย์ให้ทีมสถาปนิกเลือกออกเเบบตัวบ้านให้ยาวตามเเนวที่ดิน ก่อนจะบรรจุฟังก์ชันการใช้งานไว้อย่างครบถ้วน ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 82.80 ตารางเมตร ตัวบ้านออกแบบให้ตั้งอยู่บนเนินดินที่ทำสโลปไล่ระดับลงมายังลานจอดรถหน้าบ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้บ้านชั้นเดียวนี้ดูโดดเด่นเเตกต่างจากบ้านละเเวกใกล้เคียง นอกจากนั้นยังได้ยกใต้ถุนให้สูงเล็กน้อย เเละทำหลังคาเป็นเเบบทรงจั่วที่มีชายคายื่นยาว ซึ่งอ้างอิงมาจากสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายบ้านหรือศาลเจ้าญี่ปุ่นโบราณ โดยก่อสร้างขึ้นจากไม้สนที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั้งภายนอกเเละภายใน ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือตะปูใด ๆ ด้านหน้าบ้านที่หันออกสู่ถนน สถาปนิกตั้งใจออกแบบผนังด้านนี้ให้เป็นผนังโชว์ลายไม้สวย ๆ โดยไม่มีช่องเปิดใด ๆ เลย ทั้งนี้ก็เพื่อความสวยงามเเละความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน เเต่ใช่ว่าบรรยากาศภายในบ้านจะทึบตันอย่างที่คิด เพราะสถาปนิกได้ออกแบบผนังกระจกใสสูงจากพื้นจรดเพดาน เพื่อเปิดรับเเสงธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ จากทางด้านหลังของบ้านเเทน ในส่วนของเเผนผังการใช้งานภายใน ได้กำหนดให้ห้องนอนอยู่ที่บริเวณด้านหน้าบ้าน ขนาบข้างด้วยห้องน้ำเเละห้องซักรีด โดยมีช่องทางเดินอยู่ตรงกลางพุ่งยาวไปยังพื้นที่อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ด้านหลัง สำหรับใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นเเละรับประทานอาหารไปในตัว ซึ่งสามารถเปิดรับเเสงเเละวิวสวนได้เต็มที่จากมุมนี้ เป็นความอบอุ่นเรียบง่ายด้วยองค์ประกอบเเละเฟอร์นิเจอร์จากงานไม้ […]
บ้านไม้สักชั้นเดียว อบอุ่น โปร่งสบาย
บ้านไม้ถอดประกอบที่คิดต่อยอดจากภูมิปัญญาของคนที่อยู่กับแหล่งไม้สัก ผสานเทคนิคงานไม้เข้ากับการรู้จักธรรมชาติของไม้สักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แต่ละส่วนของ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว มีความสวยงามและใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PREBUILT ASIA บ้านไม้ถอดประกอบอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งจากเรือนไทยโบราณและบ้านน็อกดาวน์ในสมัยนี้ แต่บ้านหลังนี้ซึ่งออกแบบโดย คุณปอย - ปวีณา ถือคำ แห่ง PREBUILT ASIA สถาปนิกสาวที่คิดต่อยอดภูมิปัญญางานไม้ที่มาจากกิจการโรงไม้ของครอบครัวในจังหวัดแพร่ มาสู่การออกแบบ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว ที่เริ่มคิดจากธรรมชาติของไม้สัก ตั้งแต่การเลือกแหล่งปลูก อายุ ขนาด และวิธีการประกอบ เพื่อให้ใช้ไม้ประกอบเป็นแต่ละส่วนของบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบันยังรับออกแบบและสร้างบ้านสำเร็จรูปและออกแบบตามบ้านตามความต้องการ โดยใช้ระบบคำนวณแบบ BOQ ด้วยภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ที่เป็นภูเขาและมีป่าสักมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งไม้สักคุณภาพดีของประเทศ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวกับไม้สัก และการได้คลุกคลีกับวัตถุดิบมานานจากรุ่นสู่รุ่น จึงเข้าใจธรรมชาติของไม้ในแต่ละช่วงอายุว่าเหมาะกับการนำมาใช้งานอย่างไร อีกทั้งยังรู้จักการเลือกไม้คุณภาพดี การเตรียมไม้ก่อนนำมาใช้ และมีช่างที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณปอยเรียนจบจึงคิดออกแบบบ้านไม้สักระบบกึ่งสำเร็จรูปให้เป็นบ้านไม้สไตล์เอเชียร่วมสมัย ซึ่งมีจุดเด่นตรงการใช้พื้นที่ต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ ขาดจากกัน นอกจากจะมีพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม มีพื้นที่ภายนอกและภายในแล้ว ยังมีพื้นที่ก้ำกึ่ง (Semi Space) ที่ใช้เชื่อมพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ชาน เฉลียง และทางเดิน อย่างบ้านนี้มีพื้นที่เฉลียงและชาน 18 ตารางเมตร และภายในบ้าน 36 ตารางเมตร จึงออกแบบให้เดินเข้ามาเจอชานที่เปิดโล่งก่อน แล้วจึงเดินขึ้นมาบนเฉลียงที่มีหลังคาคลุม เป็นการค่อยๆปรับความรู้สึกจากพื้นที่โล่งไปยังพื้นที่ปิดล้อม จากนั้นจึงค่อยขึ้นไปบนบ้านซึ่งเป็นห้องมีผนังปิดล้อมโดยออกแบบเป็นโถงโล่ง มีระยะระหว่างเสา 3 x 3 เมตร ซึ่งคิดจากการใช้พื้นที่ที่เมื่อยืนอยู่แล้วพอจะเอื้อมไปรอบๆได้ง่าย และสัมพันธ์กับความยาวไม้มาตรฐานที่ยาว 3 - 4 เมตร โดยคิดเป็นยูนิต และนำแต่ละยูนิตมาต่อกัน แม้อยู่เฉลียงภายนอกบ้านก็ยังมองเห็นหรือพูดคุยกับคนในบ้านได้เพราะพื้นที่ภายในกับภายนอกต่อเนื่องกัน การก่อสร้างบ้านให้ทำฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ แล้วยกส่วนประกอบบ้านเป็นชิ้นๆ หรือเป็นแผงมาประกอบกันที่หน้างาน เลือกใช้ไม้สักป่าปลูกอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นอายุที่คุ้มค่าที่สุด คือเนื้อไม้มีความแข็งแรงพอ สามารถปลูกทดแทนได้เร็ว และเลือกแปรรูปไม้จากส่วนต่างๆ แล้วนำไปใช้งานให้เหมาะกับความแข็งแรง อย่างแก่นไม้ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดจะนำมาทำโครงสร้าง ส่วนที่ไม่ได้รับน้ำหนักใช้ไม้ที่แข็งแรงน้อยกว่า หรือใช้ไม้อายุน้อยกว่าได้ อีกทั้งออกแบบโครงสร้างประหยัดไม้ โดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หน้าตัด 3 x 3 นิ้ว 4 ท่อนมาประกอบเป็นเสาบ้านให้มีช่องว่างห่างกันแล้วดามจุดต่อ 3 จุด คือตรงหัวเสา ฐานเสา และกลางเสา เพื่อช่วยรับแรง อีกทั้งยังมีข้อดีที่สามารถนำคานมาเสียบเข้าช่องว่างระหว่างเสาได้เลย และยังสามารถซ่อนไฟไว้ในเสาแทนการใช้โคมไฟได้ด้วย ที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากร เพราะการใช้เสาต้นใหญ่จะต้องใช้ไม้ที่มีอายุมากขึ้น หากพินิจดูแต่หน้าตาของบ้าน อาจจะดูพิเศษกว่าบ้านไม้อื่นๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่เมื่อได้รู้แนวความคิดที่เริ่มจากต้นทางของไม้ นำมาสู่การออกแบบที่พอดี ก็ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านสวยที่ไม่ธรรมดาเลย เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ ภาพ : ธนาวุฒิ โชติประดิษฐ สไตล์ : ธัญญานันท์ ศรีชัยวรรณ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น