บ้านภูมิปัญญาไทย ออกแบบด้วยแนวคิด Low Cost Solution

บ้านไทยสมัยใหม่ บ้านไม้ครึ่งปูนใต้ถุนสูง สะท้อนภูมิปัญญาไทยและวิถีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติอย่างพึ่งพา ออกแบบด้วยแนวคิด Low Cost Solution บ้านไม้ครึ่งปูนใต้ถุนสูง วิถีชีวิตความเป็นไทยที่อยู่กับธรรมชาติยังคงเป็นตัวตนที่ฝังรากลึกอยู่ในใจทุกคนเช่นเดียวกับ คุณภาณุ โชคอภิรัตน์ ที่มาซื้อที่ดินกว่า 3 ไร่แถวปทุมธานี เพื่อสร้างบ้านสำหรับครอบครัวมาพักผ่อนในวันหยุด ซึ่งออกแบบโดย ผศ.ดร.เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และทีมสถาปนิก คุณพรสิทธิ์ รัตนศรีทัย และ คุณหัสพร พุ่มขำ โดยได้รับรางวัล The Winners WA Awards (WORLD ARCHITECTURE Awards), Sixth Cycle March 2010 บ้านไม้ครึ่งปูนใต้ถุนสูง Low Cost Solution อาจารย์เขียนศักดิ์ได้อธิบายถึงการออกแบบว่า “พื้นที่เดิมเป็นที่ชุ่มน้ำซึ่งชาวบ้านใช้ปลูกหญ้าเลี้ยงวัว ความน่าสนใจของที่นี่คือ บริบทซึ่งเป็นทุ่งนามีความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์ ฉะนั้นสถาปัตยกรรมที่ไปอยู่ตรงนั้นควรมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และเป็นการใช้งานวิจัยเรื่อง Low Cost Solution และลักษณะไทยสมัยใหม่มาใช้ในการออกแบบนี้ คือเป็นบ้านไทยอยู่บนพื้นฐานการใช้ของเรียบง่าย […]

บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]

เรือนไทยประยุกต์ริมคุ้งน้ำอยุธยา

เรือนไทยประยุกต์ ริมคุ้งน้ำที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนอยุธยา ออกแบบให้ดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติ

บ้านปูนผสมไม้เก่า เฮือนพื้นถิ่นร่วมสมัย

บ้านพื้นถิ่นร่วมสมัย รองรับวัยเกษียณ ที่เตรียมชั้นล่างเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้ ออกแบบให้มีกลิ่นอาย “เฮือนแป” แบบดั้งเดิมในย่านวัดเกต เชียงใหม่ ผสานคุณค่าความงามทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอย่าง ‘เฮือนแป’ เข้ากับพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของวัยเกษียณ จนเกิดเป็น “วิลล่าสันลมจอย” บ้านพื้นถิ่นร่วมสมัย ที่ดึงเสน่ห์ทั้งของงานออกแบบและวัสดุท้องถิ่น ตลอดจนภูมิปัญญาช่างมาใช้ได้อย่างลงลึกซึ้งและลงตัว หลังจากตกหลุมรักธรรมชาติและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ คุณอรุณวรรณ ชำนาญไพร ตัดสินใจซื้อที่ดินและปลูกบ้าน เพื่อเป็นบ้านพักสำหรับช่วงวัยเกษียณ โดยวางใจให้ทาง ยางนา สตูดิโอ มารับหน้าที่ในการออกแบบและก่อสร้าง พร้อมกับมอบโจทย์ในการออกแบบที่ท้าทายให้กับสถาปนิกได้ทำการบ้านกันอย่างสนุกสนาน “วิลล่าสันลมจอย” เป็นชื่อของบ้านที่มาจากทำเลที่ตั้ง ซึ่งคนในพื้นที่จะเรียกย่านดังกล่าวว่า “สันลมจอย” โดยตั้งอยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตัวที่ดินนั้นเป็นที่ดินเปล่าและได้ปลูกต้นสักไว้ ตัวบ้านสูงสองชั้นดูเรียบง่ายและถ่อมตนเข้ากับบริบทไม่ขาดไปเกิน ความสวยงามเบื้องหน้านี้ ย่อมต้องมีเบื้องหลังการออกแบบนั้นน่าสนใจไม่น้อย เริ่มจากการวางตำแหน่งและรูปแบบของบ้าน ซึ่งลักษณะของที่ดินที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวยาว ได้กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้บ้านมีลักษณะยาวขนานไปกับที่ดิน และยังเพื่อให้พื้นที่ใช้สอยบ้านเพียงพอตามความต้องการของเจ้าของบ้านให้ได้มากที่สุด สำหรับชั้น 1 จัดวางพื้นที่ใช้สอยสำหรับการเป็นคาเฟ่ในอนาคต มีจุดเด่นด้วยวางคอร์ตยาร์ดไว้กลางบ้าน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวจากบริบทให้เป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้อย่างกลมกลืน ส่วนชั้น 2 เป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว ประกอบด้วยห้องนอนพร้อมห้องน้ำในตัว 2 ห้อง โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหลัง 280 […]

เรือนหมู่อยู่เย็น ไทยโมเดิร์นอยู่สบาย บรรยากาศกลางไร่และภูเขา

บ้านไทยโมเดิร์นที่เชื่อมทุกส่วนด้วยทางลาดรองรับผู้สูงอายุ อยู่สบายและประหยัดพลังงาน ทำหลังคาโปร่งแสงทั้งหลังเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ เมื่อแรงบันดาลใจและความฝันได้นำพาคุณหมอผู้หลงรักภูเขา การเดินป่า และกลิ่นหอมดินหลังฝนตก มาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวในดินแดนแห่งขุนเขา จึงได้ซื้อที่ดินในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สร้าง บ้านไทย โมเดิร์นยกพื้นสูงมีใต้ถุน ให้กลมกลืนกับวิถีชีวิต บริบท และธรรมชาติที่มีฉากหลังเป็นวิวภูเขา โดยเชื่อมแต่ละเรือนด้วยชานโล่งซึ่งทำหน้าที่เป็นทางลาดขนาดใหญ่ เชื่อมการใช้งานตั้งแต่พื้นดินจนถึงห้องนอนโดยไม่มีบันได ด้วยวางแผนให้เป็นบ้านที่จะสร้างครอบครัวและรองรับวัยเกษียณในอนาคต บ้านใหม่ที่บ้านเกิด เมื่อจุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านสำหรับครอบครัวได้รวมการมีวิวสวยๆ และอยู่กับธรรมชาติไว้ด้วย บ้านของสองคุณหมอ คุณต้อม-วงศกร เจริญไทย คุณมิ้นท์-อภิรดา ถนอมวงศ์ทัย และ น้องต้นไม้ – เด็กชายธราดล เจริญไทย จึงมีผืนดิน ต้นไม้ สายลม แสงแดด และทิวเขารวมอยู่ด้วย ผ่านมุมมองและการออกแบบจาก คุณแชมป์-สณทรรศ ศรีสังข์ และคุณแตน-วรัญญู มกราภิรมย์ สถาปนิกแห่ง TA-CHA Design คุณต้อมเล่าย้อนกลับไปว่า “ผมชอบธรรมชาติ ชอบเดินป่าและทำกิจกรรมกลางแจ้ง เลยอยากได้บ้านที่มีพื้นที่เปิดโล่ง มีต้นไม้ เห็นวิวสวยๆ ผมเป็นคนเชียงใหม่ ส่วนภรรยาเป็นคนหล่มสัก ด้วยเรามีแนวคิดคล้ายกัน เมื่อ 6 ปีก่อนจึงมาหาที่ดินสำหรับสร้างบ้าน […]

รวมบ้านสวย 4 ภาค ที่ออกแบบในสไตล์ไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย

เพราะประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เราได้รวบรวม บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย  บ้านที่มีต้นไม้เป็นศูนย์กลาง เจ้าของ : คุณสิทธิชัย บูรณะกิจไพบูลย์สถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน : TA-CHA Designผู้รับเหมา : บริษัททวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด แม้หน้าตาของบ้านหลังนี้จะมีรูปแบบร่วมสมัย แต่ผู้ออกแบบได้หยิบสาระสำคัญของบ้านเรือนไทยภาคกลางมาใช้ มีการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชานนอกบ้านใหญ่พอๆกับพื้นที่ใช้งานภายใน และให้ต้นไม้เป็นเหมือนศูนย์กลางที่รวมทุกส่วนไว้ด้วยกัน ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร แต่ละห้องจะเปิดให้ดูโล่งและโปร่ง ส่วนตู้เก็บของทำเป็นงานบิลท์อิน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์อื่นๆเลือกใช้แบบลอยตัว ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน และพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมครอบครัวใหญ่เข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ บ้านสวนริมคลองเจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษาออกแบบ: คุณพงศกร ตุ้มปรึกษา บ้านริมคลองบางมดที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลางมาปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้ชีวิตของครอบครัว เราจึงได้เห็นการยกใต้ถุนสูงหนีน้ำท่วม หนีปลวก การทำหลังคาทรงสูงให้อากาศไหลเวียน ชายคายื่นยาว มีช่องหน้าต่างและช่องคอสองช่วยระบายความร้อน […]

บ้านเหล็กยกใต้ถุนที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไทยเดิม

บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไม้ไทยเดิม แต่ดูสวยเรียบแบบโมเดิร์นทรอปิคัลหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 1 งานในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งออกแบบตอบรับกับภูมิอากาศอย่างไทยในแบบเชียงใหม่ เปิดรับวิวดอยด้วยระเบียงขนาดใหญ่ พร้อมตกแต่งภายในในสัดส่วนที่พอดีกับการใช้ชีวิต ใต้ถุนสูงมากประโยชน์ ปลอดภัย ใช้ดี บ้านโครงสร้างเหล็ก หลังนี้มีการออกแบบคล้ายบ้านไม้ใต้ถุนสูงแต่ดั้งเดิม ผนวกกับความต้องการของเจ้าของบ้าน(ผู้ออกแบบ) ที่ต้องการให้ห้องนั่งเล่นสามารถชมวิวดอยได้สะดวก จึงเป็นผลพลอยได้ในแง่ความปลอดภัย และการใช้งานพื้นที่ใต้ถุนเป็นที่จอดรถกับห้องเก็บของไปในตัว จัดสรรพื้นที่ต่อเนื่องลงตัว พื้นที่ภายในออกแบบให้แต่ละชั้นคร่อมเหลื่อมกันเพื่อการใช้งานที่ต่อเนื่อง สามารถเดินขึ้นบันไดที่ไม่ยาวจนเกินไป โดยบริเวณชั้น 2 เป็นส่วนนั่งเล่นที่เป็นพื้นที่ต่อเนื่องไปยังห้องครัวในด้านหนึ่ง และระเบียงขนาดใหญ่ในอีกด้านหนึ่ง จากห้องนั่งเล่นเดินขึ้นบันไดอีกเล็กน้อยก็จะเป็นทางเข้าสู่ห้องนอนและห้องทำงาน (อเนกประสงค์) ด้วยการออกแบบที่เหลื่อมความสูงของแต่ละชั้น ทำให้แม้จะเป็นบ้านใต้ถุนสูงชั้นครึ่ง แต่ก็สามารถมองเห็นวิวดอยสุเทพได้จากทุกส่วนของบ้าน วางบ้านถูกตำแหน่ง พื้นที่ไม่มากก็กว้างได้ ด้วยพื้นที่ขนาด 1 งานที่ไม่ได้ใหญ่นัก จึงตั้งใจวางตัวบ้านให้อยู่ชิดด้านหนึ่งของที่ดิน และวางตัวในแนวสูงแทนที่จะแผ่ออกในทางกว้าง นอกจากนี้การเลือกจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในทุกๆ ส่วนยังออกแบบให้ใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัด ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการการดูแลที่ง่ายของตัวเจ้าของเอง บ้านโครงสร้างเหล็ก หลังนี้จึงเป็นบ้านขนาดกำลังดีที่ออกแบบให้สอดรับกับภูมิอากาศได้อย่างลงตัวด้วยวัสดุสมัยใหม่ในรูปแบบที่น่าสนใจ คล้ายมิติใหม่ของรูปแบบบ้านไม้ที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่งานก่อสร้างในอนาคตไปด้วยกัน สถาปนิก : Materior Studio โทรศัพท์ 08-8261-0900 เรื่อง : Wuthikorn Sut ภาพ : […]

รวมบ้านไทยร่วมสมัยที่อยู่สบายทั้งกายและใจ

รวม บ้านไทยร่วมสมัยอยู่สบาย ที่นำภูมิปัญญาของบ้านเรือนไทยมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าชื่นชม นอกจากดีไซน์ของตัวบ้านที่ดูสวยงามแล้ว ฟังก์ชันการใช้งานยังแฝงด้วยความสบาย ช่วยทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขทั้งกายและใจ บ้านไทยร่วมสมัยอยู่สบาย บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ที่ดูอบอุ่นด้วยชานนั่งเล่นแบบไทยหลังนี้อยู่ในจังหวัดราชบุรี มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีต ส่วนเสาและพื้นไม้บางส่วนเป็นไม้เก่า มุงหลังคาด้วยแป้นเกล็ดเปลือยฝ้า ในบ้านปูด้วยพื้นกระเบื้องที่เลือกจากเอ๊าต์เล็ต เพราะเจ้าของบ้านเน้นการมองหาวัสดุในราคาที่สมเหตุสมผลและให้ความคุ้มค่า ที่สำคัญคือเมื่อนำมาใช้งานก็พยายามให้พอดีแบบไม่มีเศษเหลือ ทำให้ทุกองค์ประกอบของการสร้างบ้านไทยร่วมสมัยหลังนี้เน้นย้ำถึงความคุ้มค่าทั้งในเรื่องการก่อสร้างและการใช้งานของคนในครอบครัว >> อ่านต่อ บ้านไทยร่วมสมัย อยู่สบ๊ายสบาย เจ้าของ : คุณภาณุพงศ์ – คุณบุษกร หริรักษ์ สถาปัตยกรรม : คุณบัณฑิต กนิษฐคนธ์ และคุณนที ศุภวิไล  ตกแต่งภายใน : คุณศิริรัตน์ เกตุพล บ้านไทยร่วมสมัยอยู่สบาย ที่ใช้งบประมาณไม่มาก ออกแบบไปแบบซื่อ ๆ ตรงไปตรงมา ดูทิศทางลม แดด สังเกตระดับน้ำที่เคยท่วมแล้วนำมาเป็นข้อมูลเพื่อให้ได้บ้านที่เรียบง่าย อยู่แล้วสบายจริง ๆ อีกทั้งดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก เพราะเลือกใช้วัสดุที่คงทน […]

บ้านเรือนหมู่แบบไทยที่สร้างจากดินและไม้

บ้านดินหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและวัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย ออกแบบ : Chiangmai Life Architects (CLA)  โดยคุณมาร์คูส โรเซลีบ  /  เจ้าของ : คุณพอล วัลเลอร์ และคุณธัญชนก สุวรรณชัย /  ผลิตภัณฑ์ไม้ : Thaweephan Wood Products บ้านดิน แม้ว่า “เชียงใหม่” จะเปลี่ยนแปลงไปหลาย ๆ ด้านด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีเสน่ห์ ในแบบเฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนได้ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ที่นี่ก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เสื่อมคลาย รวมไปถึงการเป็นจุดหมายของการมาพักอาศัยสร้างบ้านที่อบอุ่นสำหรับครอบครัวท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความเรียบง่าย เงียบสงบ ห่างไกลจากเมืองที่พลุกพล่าน แต่ไม่ทิ้งความสะดวกสบายไปเสียทีเดียว จากองค์ประกอบที่ครบถ้วนนี้ ทำให้ คุณพอล วัลเลอร์  และ คุณธัญชนก สุวรรณชัย ตัดสินใจเลือกอำเภอหางดง ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง […]

บ้านไม้ไทย เปิดโปร่ง ใต้ถุนโล่ง

บ้านไม้ไทย ริมน้ำที่จังหวัดลำพูนหลังนี้ดูลึกลับเมื่อซ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ใบหนา จนแทบมองไม่เห็นในครั้งแรก แต่เมื่อก้าวผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าเข้าไป จึงรู้สึกได้ถึงความสดชื่นร่มเย็นของบ้านซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สร้างความอบอุ่นสบายใจแก่ผู้มาเยือนได้ทันที เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสาธิต กาลวันตวานิช สถาปัตยกรรม : อาจารย์จุลพร นันทพานิช เจ้าของ บ้านไม้ไทย หลังนี้คือ คุณสาธิต กาลวันตวานิช CreativeDirector ของ Propaganda บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลงานชุด Mr. P และผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาแห่ง Phenomena เขาเริ่มต้นเล่าว่า “ที่ดินเดิมมีขนาดประมาณครึ่งไร่ ภายหลังผมซื้อเพิ่มเติมและมีที่งอกตรงชายตลิ่งบ้าง ปัจจุบันจึงกลายเป็นเกือบหนึ่งไร่ต้นไม้เดิมมีแค่ลำไยแก่ๆ 6 ต้น หลายปีก่อนตอนปลูกบ้านต้องตัดทิ้งไป 2 ต้น เพื่อการใช้พื้นที่ได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็หาไม้พื้นบ้านและไม้ผลมาปลูกโดยได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเน้นการสอนแนวทางส่งเสริมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ท่านบอกว่า ให้ลงไม้ที่เกิดจากเมล็ดและเป็นไม้พื้นบ้านซึ่งเหมาะกับระดับทะเลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ให้ถมดิน เพราะดินเดิมเป็นดินชายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยตะกอนของหน้าดินที่พัดมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับพืชปรากฏว่า แค่ปีเดียวต้นไม้โตท่วมศีรษะ สองปีสูงเกินสะพานที่เชื่อมตัวบ้านกับศาลาชายน้ำ สามปีก็แผ่กิ่งคลุมตัวบ้านและศาลา […]

เสียงไล่งู ภูมิปัญญาไทยแบบดั้งเดิม

รู้หรือไหม เสียงไล่งู มีจริง วิถีชีวิตดั้งเดิมของไทยมีภูมิปัญญาที่ซ่อนไว้ ช่วยให้งูไม่ค่อยกล้าที่จะมารบกวนพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่ออกแบบด้วยแนวคิด “เรือนหมู่”

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นสำหรับครอบครัวขยายที่รีโนเวตและสร้างบ้านใหม่ต่อจากบ้านเดิม โดยออกแบบเผื่อลูกหลานมีครอบครัวของตัวเอง และอยู่ร่วมบ้านเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับ “เรือนหมู่” ของคนไทยโบราณ แต่ซ่อนรูปอยู่ในบ้านร่วมสมัยที่ออกแบบด้วยดีเทลและวัสดุสมัยใหม่ ออกแบบ : Space Story Studio โดยคุณพิพล ลิขนะไพศาล, คุณอภิชาติ โรจน์ธรณิน โทรศัพท์ 08-5930-7500 ครอบครัวขยายเป็นวิถีของคนไทยในทุกยุคสมัย แต่กาลก่อนเมื่อลูกสาวมีครอบครัว ฝ่ายชายจะย้ายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง โดยปลูกเรือนเชื่อมต่อกับชานเรือนพ่อแม่ หรือปลูกเรือนอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีลักษณะแบบ “เรือนหมู่” ที่เดินไปมาหาสู่และพึ่งพากันได้สะดวก เช่นเดียวกับ บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น หลังนี้ ที่ดูภายนอกไม่ต่างจากบ้านทั่วไป แต่ภายในกลับซ่อนสเปซแบบเรือนหมู่ ซึ่งออกแบบเผื่อการมีครอบครัวของลูกหลานและรองรับการรวมญาติในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างสะดวกสบาย จากครอบครัวเดี่ยวสู่ครอบครัวขยาย ภายในพื้นที่ 200 ตารางวานี้ เดิมมีบ้านสองชั้นอายุประมาณ 20 ปีซึ่งโครงสร้างหลักยังแข็งแรงดี แต่เมื่อครอบครัวที่มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย และลูก 3 คน ที่เติบโตจนสำเร็จการศึกษาและพร้อมสร้างครอบครัวของตนเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำบ้านแบบครอบครัวขยาย โดยมีโจทย์สำหรับสถาปนิกคือ เป็นบ้านที่ทุกคนยังสามารถอยู่รวมกันได้ในบริเวณเดียวกัน โดยยังพื้นที่ส่วนตัวและดูแลบุคคลที่อยู่ร่วมกันภายในบ้านได้ทั่วถึง รวมทั้งรองรับญาติมิตรที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงเวลา การแยกเพื่อรวมกัน บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น รูปตัวแอล […]

พักผ่อนตลอด 365 วัน ในบ้านชั้นเดียวกลิ่นอายชนบท อยู่สบาย ผ่อนคลายทุกเวลา

บ้านไทยสไตล์รีสอร์ทที่บริเวณรอบๆเป็นทุ่งนาโล่งเปิดรับลมได้เต็มที่ เหมาะกับการออกแบบเป็นบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากสังคมที่วุ่นวาย  ดังที่เจ้าของบ้านต้องการ บ้านชั้นเดียวบรรยากาศรีสอร์ท สถาปนิก : คุณคเณศวร์ ไชยนาพงษ์ / ตกแต่ง : คุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย / เจ้าของ : คุณเศรษฐพล ไกรคุณาศัย – คุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย หลังจากต้องเจอกับงานหนักมาตลอดทั้งวัน การได้กลับมาพักผ่อนในบ้านที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ น่าจะเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนเรา หลายคนจึงพยายามหาโอกาสสร้างบ้านบนทำเลที่ตัวเองชื่นชอบ เพื่อให้ทุกนาทีที่อยู่บ้านเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข คุณเศรษฐพล ไกรคุณาศัย และคุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย  ก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยมีบ้านอยู่ในสถานที่ทำงาน จึงทำให้ทั้งคู่รู้สึกเหมือนต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสสร้างบ้านใหม่ สิ่งแรกที่เจ้าของบ้านทั้งสองทำก็คือ ตระเวนหาทำเลบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากสังคมที่วุ่นวาย  จนพบที่ดินที่ถูกใจแถบชนบทของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ และแวดล้อมด้วยทุ่งนาอันเงียบสงบ เพื่อสามารถสูดกลิ่นอายแห่งพืชพรรณของรวงข้าวที่ตนเองชอบได้อย่างเต็มที่ จากความตั้งใจที่จะให้บ้านหลังใหม่แตกต่างจากบ้านตึกหลังเดิมที่เคยอยู่ ทั้งสองจึงตัดสินใจสร้างบ้านไทยสไตล์รีสอร์ทตรงตามความต้องการ คุณคเณศวร์ ไชยนาพงษ์ สถาปนิกผู้รับหน้าที่ออกแบบบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟังว่า “ครั้งแรกที่มาดูที่ดินกับเจ้าของบ้าน ก็คิดว่าที่นี่เป็นทำเลสร้างบ้านที่ดีมากครับ เพราะบริเวณรอบๆเป็นทุ่งนาโล่งเปิดรับลมธรรมชาติได้เต็มที่ เหมาะกับการออกแบบบ้านสไตล์รีสอร์ทอย่างที่เจ้าของบ้านต้องการ อีกทั้งยังมีต้นไม้ใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ไม่ต้องซื้อต้นไม้ใหม่มาปลูก […]

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่เรืองแสงได้ดั่งหิ่งห้อย

“บ้านหิ่งห้อย” เป็นชื่อที่สถาปนิกตั้งให้บ้านหลังคาทรงจั่วสีขาวที่ผสมผสานความเป็นไทยและโมเดิร์นหลังนี้ ซึ่งโดดเด่นด้วยหลังคาอะลูมิเนียมเจาะรูให้โปร่ง แล้วออกแบบไฟแสงสว่างไว้ภายในหลังคาให้เรืองแสงในยามค่ำคืน แต่ภายใต้รูปทรงที่ดูเรียบง่ายนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้บ้านอยู่สบาย บ้านไทย Designer directory : ออกแบบ EAST architect  www.eastarchitects.com  บ้านไทย เจ้าของ คุณธนวัสส์ ยงค์สงวนชัย จุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เมื่อความ “ต่างขั้ว” ถูกตีความให้เป็นทั้งความย้อนแย้ง การผสมผสาน และความงาม โดยเผยตัวตนและแฝงความนัยอยู่ภายใต้บ้านรูปทรงจั่วสีขาวโมเดิร์นและไทยเดิมสองหลังที่วางแนวแกนตัดกันอยู่กลางที่ดิน โดยไม่อิงกับแนวถนนหรือแนวขอบเขตที่ดิน แต่อิงกับทิศทางแสงแดดและลมเพื่อให้บ้านอยู่สบายตามธรรมชาติ เป็นหลักการออกแบบพื้นฐานของสถาปนิกที่ให้คำจำกัดความตัวเองว่า “สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ แห่ง EAST architect ที่ออกแบบบ้านทรอปิคัลโมเดิร์นหลังนี้ให้เป็นจุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ในมิติของภูมิปัญญาดั้งเดิมและความโมเดิร์น บ้านหลังใหม่ที่แยกจากครอบครัวใหญ่ ก่อนจะสร้างบ้านนี้เจ้าของบ้านอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อพื้นที่บ้านเดิมเริ่มไม่เพียงพอกับสมาชิก คุณแม่จึงยกที่ดิน 2 ไร่แปลงนี้สำหรับปลูกบ้านใหม่ และด้วยเจ้าของบ้านเป็นแฟนนิตยสาร บ้านและสวน จึงได้พบและชื่นชอบบ้านของอาจารย์พิรัสที่ลงในนิตยสาร อาจารย์พิรัสได้เล่าย้อนไปเมื่อเริ่มออกแบบบ้านว่า “เจ้าของบ้านได้บอกเล่าความต้องการเป็นจดหมายเล่าเรื่องว่า เมื่อเข้ามาในบ้านแล้วอยากพบเจออะไร ชอบอยู่แบบใกล้ชิดธรรมชาติ มีความโปร่งสบายเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ […]

รวมแบบบ้านที่ได้รับรางวัล “10 บ้านน่าอยู่” ประจำปี พ.ศ. 2563

ปีนี้เป็นปีที่ 15 แล้วที่นิตยสาร “บ้านและสวน” จัดทำโครงการ “10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย” ประจำปีขึ้นมา โดยคัดเลือกจาก นิตยสารบ้านและสวน room และ สำนักพิมพ์บ้านและสวน มุ่งเน้นถึงความหมายของคำว่า “น่าอยู่” ควบคู่ไปกับ “สวย” ที่คัดสรรผ่านมุมมองของกองบรรณาธิการ  ไปชมกันว่า ปีพ.ศ.2563 นี้เราได้ รวมแบบบ้าน น่าอยู่ 10 หลังจะเป็นบ้านหลังไหนกันบ้าง รวมแบบบ้าน น่าอยู่ประจำปีพ.ศ.2563 บ้านดาดฟ้า ชั้นเดียว บนลานดาดฟ้าอพาร์ตเมนต์ชั้น 5 โดดเด่นด้วยดีไซน์ทรงกล่องแบบโมเดิร์น เเละใช้ไม้เต็งสำหรับต่อทำลังซึ่งมีตำหนิตามธรรมชาติมาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบ พร้อมเติมพื้นที่สีเขียวได้อย่างร่มรื่นและอยู่อาศัยได้จริง เจ้าของ : คุณขจี เกศจุมพล ออกแบบ : WARchitect โดย คุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2T8R2me บ้านรีโนเวตใหม่ของคู่หูนักออกแบบเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า With it ให้กลายเป็นบ้านเเบบ มัลติฟังก์ชัน เน้นโทนสีขาวและความอบอุ่นของไม้ ผสมด้วยมุมอเนกประสงค์ใช้เป็นทั้งมุมรับประทานอาหาร ห้องประชุม […]

อวลกลิ่นความรักและความอบอุ่นในบ้านไม้ใต้ถุนสูงริมน้ำ

จะมีสักกี่คนที่ช่วงชีวิตบั้นปลายได้อยู่กับคนที่รักในสถานที่ที่รัก เหมือนกับ บ้านไม้ ไทยโมเดิร์น บ้านพักริมน้ำที่รวมความทรงจำของ คุณบีม – ชัยภัทร์  ปิยะดำรง อดีตข้าราชการ ที่หันคืนสู่บ้านเกิด พร้อมกับสร้างบ้านพักสไตล์ไทยโมเดิร์นตามความชอบ บนพื้นที่แสนสงบ รายล้อมไปด้วยต้นไม้ แม่น้ำ อบอวลไปด้วยกลิ่นอ่อน ๆ ของความรักและความอบอุ่น ที่แฝงอยู่ในทุกอณูของ บ้านไม้ ไทยโมเดิร์น ก็ว่าได้ หากจะบอกว่าบ้านหลังนี้คือโลกส่วนตัวของเจ้าของบ้านก็คงไม่ผิดนัก เพราะด้วยเนื้อที่ที่กว้างขวาง บวกกับการเลือกปลูกต้นไม้ ดอกไม้ รวมทั้งต้นชงโคที่ปลูกกระจายอยู่ทุกมุมของบ้าน เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยอย่างเงียบสงบ “ เดิมเป็นพื้นที่โล่งอยู่ติดกับบ้านเก่าของคุณปู่คุณย่า ที่มาลงหลักปักฐานอยู่ตรงนี้นานนับร้อยปี โดยใช้พื้นที่ตรงนี้ทำการเพาะปลูกไม้ผลมะม่วง , มะขามเทศ , มะพร้าว ไว้สำหรับเก็บกิน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำขนาดใหญ่ และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก  ไปไหนมาไหนก็สะดวก ” ไม่มีใครที่จะสร้างบ้านได้ถูกใจเราเท่าตัวของเราเองผมจึงค่อย ๆ ศึกษา  ค่อย ๆ สะสมจากความชอบพอถึงวันหนึ่งที่พร้อม  เราก็จะมีบ้านตรงกับที่ใจเราต้องการ มุมรับประทานอาหารและแพนทรี่ จัดวางเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งหลากสีหลากดีไซน์ในสไตล์ Mid-century Modern ได้กลิ่นอายของความร่วมสมัยย้อนยุค “ จากเดิมที่ต้องเดินทางไปมาปทุมฯ […]

รวมแบบบ้านกลางสวน บ้านที่ล้อมหน้า ล้อมหลัง ด้วยธรรมชาติ

เชื่อว่าบรรยากาศรอบบ้านที่ดี เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่มาเติมเต็มคำว่าบ้านได้อย่างสมบูรณ์แบบ บางคนชอบบ้านที่เดินทางไปไหน มาไหนได้อย่างสะดวกสบาย บางคนชอบบ้านที่มีวิวภูเขาสูง บางคนก็ชอบบ้านที่มีความคล้ายคลึงกับบ้านของญาติผู้ใหญ่ ที่เลี้ยงดูมาเมื่อตอนเด็ก ๆ บ้านในสวน My Little Home Vol.2 บ้านเล็กอยู่สบายในต่างจังหวัด บรรยากาศรอบ ๆ บ้านจึงเป็นอีกเครื่องปรุงรสกลมกล่อมชั้นดี ที่จะทำให้บ้าน เป็นบ้านได้อย่างแท้จริง วันนี้ my home ได้รวบรวมเอาแบบ บ้านในสวน ที่มีบรรยากาศรอบบ้านคุ้นตา เป็นลักษณะบ้านที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน และนับว่าเป็นเสน่ห์ที่เข้มข้น  ยากที่จะปฏิเสธความน่าอยู่ ที่สอดผสานไปด้วยวิถีชีวิตแบบเก่า ๆ ไว้อย่างเหนียวแน่น 1 . Surround me with everything I love บ้านในสวน ที่แวดล้อมด้วย (ของ) รัก “ เคยคิดเล่น ๆ ว่าถ้ามีบ้านอยากจะอยู่ในสวนในซอยที่ไม่วุ่นวาย เคยไปดูตามหมู่บ้านจัดสรรก็ไม่ชอบ รู้สึกว่าไม่ค่อยเป็นส่วนตัว อีกอย่างงานที่ทําก็ต้องใช้เสียง บางทีก็เกรงใจคนอื่นเขาด้วย อย่างที่ตรงนี่เพื่อนรี่พามาดูชอบเลยแต่สภาพไม่เหมือนตอนนี้เลยนะ เป็นป่ารก ๆ สูง […]

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY :สถาปนิก : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น รวมทั้งยังได้มีการร่างแบบของ […]