บ้านล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านฝรั่งหัวใจไทยที่หลงใหลในมนตร์เสน่ห์เมืองล้านนา ออกแบบบ้านโดยอิงกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บนทำเลที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งแวดล้อมด้วยทุ่งนา เจ้าของบ้านจึงทำระเบียงไว้รอบบ้านเพื่อให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิวอันงดงามราวกับสวรรค์สร้างนี้ทุกเวลา เจ้าของ : คุณจอห์น มาร์ และคุณณัฐนันท์ พัศดุธาร ออกแบบ : คุณจอห์น มาร์ บ้านล้านนาประยุกต์ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มาเห็นความอ่อนช้อยของศิลปวัฒนธรรมไทยผสานกับภูมิประเทศที่งดงามของบ้านหลังนี้จะรู้สึกหลงใหลในมนตร์เสน่ห์แห่งความเรียบง่ายนี้ และผมก็คิดว่า คุณจอห์น มาร์ เจ้าของบ้านชาวอังกฤษผู้นี้คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ทว่าเขาไม่เพียงชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น แต่ยังตกหลุมรักแม่หญิงเชียงใหม่ คุณณัฐนันท์ พัศดุธาร กระทั่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย คุณจอห์นเริ่มบทสนทนาว่า  “ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกเฟอร์นิเจอร์อยู่ที่อังกฤษ ทำให้ต้องเดินทางไปดูสินค้าตามประเทศต่างๆเป็นประจำ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนได้มาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของเพื่อนชาวไทยซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยา พอได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และงานศิลปะของชาวล้านนาก็เกิดความชื่นชอบจนถึงขั้นหลงใหล เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านที่เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งภรรยาพาไปเที่ยวคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(น้อยมหาอินทร์)ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมรู้สึกชอบรูปทรงของตัวอาคาร จึงนำมาเป็นไอเดียในการทำบ้าน โดยทำเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยเองเพียงเรือนเดียว ไหนๆก็อยู่กันแค่สองคน มีแค่ห้องนอนกับห้องรับแขกอย่างละห้องก็พอ เนื่องจากทำเลของบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ผมคิดว่าไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิว จึงทำระเบียงเสียรอบบ้านเลย” คุณณัฐนันท์เสริมว่า  “คุณจอห์นชอบธรรมชาติมากแต่เป็นฝรั่งขี้หนาว เปิดแอร์เปิดพัดลมไม่ได้เลย บ้านหลังนี้จึงไม่ได้ติดแอร์ แต่มีประตูอยู่รอบบ้านแทน ที่สำคัญคืออยากให้บ้านดูกลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด ชั้นล่างของบ้านจึงทำเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ส่วนเรือนรับรองที่สร้างแยกไปอีกหลังก็เกิดจากแนวคิดที่ว่าเวลามีญาติหรือเพื่อนฝูงมาจะไปพักที่โรงแรมก็ไม่สะดวก จึงทำไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของทั้งเราและแขกด้วย โดยเรือนรับรองได้แนวคิดมาจากเรือนไทยที่วังสวนผักกาด ลักษณะเป็นบ้านไทยในอยุธยา ใช้โทนสีดำ […]

บ้านปูน ดูทันสมัยแต่อบอุ่นด้วยงานไม้

บ้านปูน แลดูทันสมัยนี้สร้างใหม่แทนบ้านไม้หลังเก่าซึ่งอยู่กันมานาน เปลี่ยนผ่านช่วงอายุคนจากรุ่นสู่รุ่น แม้นัยหนึ่งรุ่นพ่ออาจยังมีความลังเลในความต่างจากรูปทรงและวิถีการอยู่อาศัยแบบเดิมๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านนี้ตั้งอยู่ในย่านชานเมืองเชียงใหม่ แวดล้อมด้วยบ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งเป็นบ้านไม้เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็รับได้กับสิ่งที่เปลี่ยนไปตามที่รุ่นลูกเลือกสรร เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณเฉลิมชนม์ อินตื้อ สถาปนิก : บริษัทแผลงฤทธิ์ สถาปัตย์ จำกัด บ้านปูน หลังนี้มีจุดเริ่มต้นที่คุณเฉลิมชนม์  อินตื้อ เจ้าของบ้าน ซึ่งเล่าว่า “บ้านนี้รวมคนสามรุ่นมาอยู่ร่วมกัน  คือคุณพ่อคุณแม่ของผม  ผมกับภรรยา  และลูกของผมจึงอยากทำบ้านที่รวมทุกส่วนเข้าด้วยกัน  ตัวผมเองชอบบ้านรูปยาว  มีส่วนใช้สอยที่ต่อเนื่องกัน  ไม่ต้องกั้นเป็นห้องๆ  อยากได้แบบโล่งๆ  เดิมผมอยากได้บ้านชั้นเดียว  แต่พื้นที่ใช้สอยไม่พอกับความต้องการ  จึงจำเป็นต้องทำห้องนอนของผมอยู่ชั้นบน  ของคุณพ่อคุณแม่อยู่ชั้นล่าง  (คนละด้านของตัวบ้าน)  แต่สิ่งที่ระบุกับสถาปนิกอย่างชัดเจนก็คือ  อยากได้บ้านที่มีแปลนเป็นรูปตัวยู(U)” แม้ที่ดินจะเป็นรูปสามเหลี่ยมที่แต่ละด้านไม่เท่ากัน สถาปนิกก็สามารถออกแบบและวางผังตัวบ้านได้ลงตัว กล่าวคือ ได้แปลนบ้านรูปตัวยูตามความต้องการของเจ้าของบ้าน จัดสรรพื้นที่ภายในได้โล่งเรียบ และผังของบ้านก็ยังอยู่ในทิศทางที่แสงแดดเข้ามาในตัวบ้านเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น ด้านหนึ่งของห้องชั้นล่างจึงทำผนังกระจกใสเพื่อเน้นบรรยากาศแบบเปิดโล่ง ทำให้ภายในและภายนอกบ้านดูเหมือนเป็นส่วนเดียวกันตัวบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมตรงๆ ใช้ปูนเปลือยเป็นวัสดุหลัก แต่ก็มีการเลือกใช้หลากหลายเทคนิคทั้งฉาบเรียบ ฉาบมัน ฉาบผสมสีขาวและสีเทา ในแปลนรูปตัวยูนี้ด้านหนึ่งเป็นบ้านสองชั้น พื้นที่ใช้สอยต่างๆ อยู่ในส่วนนี้เกือบทั้งหมด ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนรับแขก- นั่งเล่น […]

บ้านโมเดิร์นสีขาวริมทุ่งนาที่แสนสุขสงบ

บ้านโมเดิร์นสีขาว รายล้อมด้วยทุ่งนาอันเงียบสงบ โดยใช้เส้นแนวนอนเป็นหลักในการออกแบบเพื่อสร้างมุมมองแบบแลนด์สเคป ทั้งพื้นที่ในบ้านและการเปิดรับวิวสวยๆนอกบ้าน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบ และได้บรรยากาศพักผ่อนจริงๆ บ้านเดี่ยวสไตล์โมเดิร์นสีขาว ท่ามกลางบรรยากาศที่รายล้อมด้วยทุ่งนาอันเงียบสงบในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อก้าวเข้าสู่ภายในเราก็ได้เข้าใจว่าบ้านหลังนี้ไม่ได้เป็นแค่งานออกแบบที่มีเส้นสายเรียบนิ่งเท่านั้น หากยังสามารถนำบริบทของธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้อย่างลงตัว “เราย้ายจากย่านไนท์บาซาร์ของเมืองเชียงใหม่มาอยู่ที่นี่ เพราะอยากให้ลูกได้เติบโตขึ้นท่ามกลางธรรมชาติที่แสนสงบ” คุณกานต์ – รัฐกานต์ จันทนจินดา เจ้าของบ้านและสถาปนิกผู้ออกแบบ เกริ่นถึงที่มาของบ้านหลังนี้ให้ฟัง เห็นจะจริงทีเดียว เพราะจากห้องนั่งเล่นที่เมื่อมองผ่านสนามหญ้าและรั้วบล็อกช่องลมโปร่งออกไปก็จะพบทุ่งนาและท้องฟ้ากว้างไกลสุดสายตา “แม้จะออกแบบให้หน้าบ้านอยู่อีกทางหนึ่ง แต่มุมมองทั้งหมดของบ้านจะหันไปหาทุ่งนาแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่นหรือห้องนอน จะมีก็แต่ห้องทำงานที่หันด้านข้างพอให้มองเห็นวิว เราประทับใจบริบทนี้ตั้งแต่แรกพบ ชอบอะไรที่เรียบง่าย ภายในบ้านจึงมีเฟอร์นิเจอร์เพียงน้อยชิ้นทุกชิ้นเราออกแบบและผลิตใช้เอง โดยคิดมาก่อนแล้วว่าต้องการอะไรบ้าง เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะพอดีกับตัวเรามากกว่าการไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีขายทั่วไป บางชิ้นก็ดัดแปลงจากของเก่าที่เราไปเจอ อย่างเคาน์เตอร์ที่นำลังเหล็กใส่น้ำแข็งมาผ่าครึ่ง หรือโต๊ะที่ทำจากไม้เก่าของบ้านแม่ สิ่งที่เราใส่ใจเป็นพิเศษตอนออกแบบคือ จะทำอย่างไรให้บ้านกับบริบทภายนอกมีความสอดคล้องกันให้มากที่สุด ซึ่งเราคิดว่าการทำให้ภายในบ้านเรียบโล่งและมีของน้อยชิ้นจะช่วยเปิดรับความงามของบรรยากาศภายนอกเข้ามาสู่พื้นที่ภายในได้เด่นชัดขึ้น”  ทุกพื้นที่ของบ้านหลังนี้จึงออกแบบให้มีความสูงมากกว่าบ้านทั่วไปเล็กน้อย เพื่อให้ทั้งประตูและหน้าต่างมีลักษณะเป็นกรอบรูปที่ไร้เส้นแบ่งกั้นทางมุมมอง ทำให้ผู้ที่อยู่ภายในบ้านสัมผัสความงามของวิวภายนอกได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น “เราชอบทุกสิ่งที่เลือกมาออกแบบเป็นบ้านหลังนี้ แต่ถ้าถามว่าชอบอะไรที่สุดก็ขอตอบว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้าน เพราะก่อนหน้านี้เราอยู่ในเมืองที่อึกทึก ทั้งยังมีมลภาวะมากมายซึ่งทำให้ลูกชายป่วยบ่อย เราเองก็ไม่ค่อยสบายใจ ในที่สุดก็เลยตัดสินใจหาที่อยู่ใหม่ มาเห็นที่ดินตรงนี้ประกาศขายอยู่ในเว็บไซต์ของ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) จึงตัดสินใจขับรถมาดูกัน” เมื่อพูดกันมาถึงตรงนี้  คุณฟ้า – พิชามญช์ […]

บ้านชั้นเดียวล้อมสวน พร้อมมองเห็นวิวนาข้าว

บ้านชั้นเดียวที่ผสมผสานการตกแต่งในสไตล์ล้านนา จีน และโคโลเนียล โอบล้อมด้วยไผ่ที่ปลูกเป็นแนวรั้วหนาทึบ ปิดล้อมตัวบ้านเอาไว้ ส่วนตัวบ้านสร้างแยกเป็น 3 เรือน วางผังเป็นรูปตัวยู (U) มีคอร์ตตรงกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นสวนและสนามหญ้า สร้างบรรยากาศร่มรื่นและสดชื่นให้แก่ภายในบ้าน แบบบ้านชั้นเดียวมีระเบียง สถาปนิก : คุณวรวิทย์ ภู่ประเสริฐ บ้านในจังหวัดเชียงใหม่หลังนี้มีชื่อว่า “วิลล่าโบตั๋น” รอบที่ดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวลึกโอบล้อมด้วยไผ่ที่ปลูกเป็นแนวรั้วหนาทึบ ปิดล้อมตัวบ้านเอาไว้ จนมองจากด้านนอกแทบไม่เห็นตัวบ้านเลย ให้อารมณ์เหมือนบ้านตามชนบทไทยในอดีตที่พบเห็นได้ตามท้องไร่ปลายนา      แบบบ้านชั้นเดียวมีระเบียง บริเวณด้านหน้าตัวบ้านจากประตูรั้วเว้นระยะห่างทำเป็นพื้นที่โล่งๆ พื้นโรยหินก่อสร้างเป็นลานซึ่งกว้างขวางมากพอจะจอดรถได้หลายคัน ถัดเข้าไปคือประตูทางเข้าซึ่งออกแบบเป็นซุ้มบ้านแบบโบราณ ปลูกเฮลิโคเนียล้อกันไปตลอดทั้งสองด้านของซุ้มสลับกับต้นหมากที่สูงชะลูดขึ้นไป ตัวบ้านสร้างแยกเป็น 3 เรือน วางผังเป็นรูปตัวยู (U) มีคอร์ตตรงกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นสนามหญ้ามีทางเดินหลักให้เดินตรงยาวเข้าไป และแยกทางเดินรองเข้าไปสู่ตัวบ้าน เรือนแต่ละหลังมีกลิ่นอายโคโลเนียลที่ได้รับอิทธิพลจากสไตล์ไทยและจีนอย่างเห็นได้ชัด คุณวรวิทย์ ภู่ประเสริฐ สถาปนิกของบ้านหลังนี้บอกว่า สไตล์โคโลเนียลของเชียงใหม่นั้นมีการผสมผสานหลากหลายวัฒนธรรม สไตล์จีนเองก็มีความสัมพันธ์แนบแน่นไม่ด้อยไปกว่าสไตล์พม่าซึ่งเรามักเห็นในงานสถาปัตยกรรมล้านนา สำหรับบ้านนี้การวางแปลนบ้านแบบสมมาตรก็ได้ไอเดียจากสไตล์จีน แต่ปิดล้อมให้เกิดพื้นที่ว่างตรงกลางเสมือนลานบ้านไทย รวมถึงรูปทรงอาคารก็มีลักษณะคล้ายเรือนไทย เพียงแต่ไม่มีใต้ถุน นอกจากนี้หลังคายังเป็นทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา ส่วนตามซุ้มประตูก็ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นของจีน ด้านซ้ายและขวาของซุ้มประตูเป็นเรือนนอนด้านละ 2 ห้อง บริเวณหน้าห้องมีระเบียงทางเดินซึ่งมีหลังคาคลุมต่ำลงมา ใช้เป็นส่วนนั่งเล่นได้ด้วย ทุกห้องนอนมีขนาดเท่ากัน […]

5 บ้านกลางทุ่ง อยู่สบายทั้งกายและใจ

หลายคนฝันไว้ว่าอยากมี บ้านกลางทุ่ง ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มองออกไปเป็นทุ่งนาเขียวขจี บ้านและสวนจึงได้รวบรวมบ้านสวยกลางทุ่งนา ที่ใครได้อยู่หรือแค่เพียงได้เห็นรูปก็มีความสุขแล้ว มาฝากกัน…

บ้านหลังน้อย บนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา

บ้าน 3 หลัง 3 สไตล์ของศิลปินหนุ่ม ซึ่งน่าจะเป็นบ้านในฝันของใครหลายคน ทั้ง บ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่ดัดแปลงจากเรือนยุ้งข้าวบรรยากาศน่าสบาย บ้านปูนเปลือยหลังคาสูง เเละบ้านดินสีสันสดใส มองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติได้โดยรอบ พร้อมการตกแต่งด้วยงานศิลปะสไตล์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ้านทั้ง 3 หลัง ที่ตกแต่งได้สวยน่ารักเหมือนกระท่อมกลางป่านี้  คือบ้านของ คุณซัน – ณชนก เสียมไหม ศิลปินที่ฝากฝีมือเพ้นต์รูปสวย ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ในเชียงใหม่ ที่สามารถสัมผัสกับวิวภูเขาได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา เเถมด้วยวิวสวนผลไม้และดอกไม้ที่ชาวดอยปลูกไว้สำหรับตัดขาย ในฤดูที่ดอกไม้ออกดอกพร้อมกัน บอกได้คำเดียวว่า “สวย…ลืมโลก”  บ้านไม้ใต้ถุนสูง “พี่เป็นคนใต้ แต่ที่ชอบอยู่เชียงใหม่เพราะที่นี่มีทั้งธรรมชาติและความเป็นเมืองผสมกัน เวลามาที่บ้านนี้เราจะอยู่ท่ามกลางต้นไม้ ภูเขา เหมือนโดนตัดขาดจากภายนอกเลยนะ สัญญาณโทรศัพท์ก็ไม่ดี อินเทอร์เน็ตนี่ไม่ต้องพูดถึง เพราะขนาดโทรทัศน์ยังดูได้ไม่ครบทุกช่องเลย แต่บางครั้งถ้าเกิดอยากเฮฮากับเพื่อนบ้าง ขับรถแค่ 15-20 นาที ก็สามารถไปนั่งจิบกาแฟที่ร้านสวย ๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว” คุณซันเล่าเหตุผลที่เลือกมาตั้งรกรากที่นี่ให้เราฟังอย่างอารมณ์ดี ทีมงานได้ฟังก็เห็นด้วยแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ บ้านหลังน้อย 3 หลังที่สร้างบนเนินเขาเอียง […]

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นให้เป็นบ้านอาร์ตๆ ในบรรยากาศแบบโอเรียนทัล

ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นที่รีโนเวตมาจากบาร์เก่าในย่านตัวเมืองเชียงใหม่ โดยผสมผสานอารยธรรมเอเชียทั้งไทยและญี่ปุ่นเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน การจัดวางแปลนเน้นให้เหมาะกับการใช้งานจริง พร้อมตกแต่งด้วยงานศิลปะที่มีกลิ่นอายความเป็นตะวันออก รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น เจ้าของ-ตกแต่ง : Mr. Miguel Angel Arregui Maison รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น ในย่านตัวเมืองเชียงใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยร้านอาหารและผับกึ่งบาร์ บ้านทาวน์เฮ้าส์สามชั้นหลังนี้แฝงตัวอย่างเงียบๆ แวดล้อมด้วยสวนจัดเองที่สร้างความร่มรื่น จนทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างภายในกับภายนอกบ้านได้อย่างชัดเจน Mr. Miguel Angel Arregui Maison มัณฑนากรและศิลปินชาวสเปนทำสัญญาเช่าบ้านหลังนี้นาน 5 ปี เขาตกหลุมรักเมืองเชียงใหม่ จึงตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่นี่สักระยะหนึ่ง หนุ่มคนนี้มีผลงานออกแบบโรงแรมระดับโลกหลายแห่ง ทั้งในสเปน สิงคโปร์ และอินเดีย ผลงานของเขามักผสมผสานสไตล์โอเรียนทัลด้วยแทบทุกครั้ง ยิ่งกับบ้านของเขาเองเรายิ่งได้เห็นการตกแต่งที่มีกลิ่นอายแบบตะวันออกได้อย่างชัดเจน เจ้าของบ้านเล่าให้ฟังว่าบ้านหลังนี้เคยเป็นบาร์และก็ไม่ได้มีสวน มีแต่พื้นที่จอดรถด้านหน้า เขาใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการปรับปรุงบ้านใหม่ทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสังเกตได้ตั้งแต่ประตูทางเข้าบ้านซึ่งใช้บานเลื่อนไม้ไผ่ ให้อารมณ์เรียบนิ่งแบบญี่ปุ่น ถัดเข้ามาเป็นชานไม้แบบบ้านไทย โดยปูพื้นไม้ระแนงเว้นร่องเต็มพื้นที่จอดรถเดิมในระดับเท่ากับพื้นของบ้านชั้นล่าง ขณะที่ชานหลังบ้านเองก็ปูพื้นไม้ระแนงเช่นกันทำเป็นมุมนั่งเล่นเล็กๆ และยังนำแผงรั้วไม้ไผ่กั้นพื้นที่รอบบ้าน เพื่อจัดเป็นมุมสวนย่อมๆ สร้างบรรยากาศอันสดชื่นน่าสบาย ส่วนใช้สอยภายในบ้านแต่ละชั้นจะมีพื้นที่ประมาณ 80 ตารางเมตร […]

บ้านไม้ยกพื้นสูงที่เปรียบดั่งงานศิลป์บนเนินเขา

บ้านไม้ยกพื้นสูงที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาโล่ง เปิดรับลมได้ทุกทาง ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะของเจ้าของบ้านและของเพื่อนๆซึ่งประดับประดาอยู่ทั่วบ้าน ทำให้บ้านหลังนี้เปรียบได้กับงานศิลป์ขนาดย่อมที่ตั้งอยู่บนเนินเขา เจ้าของ – ออกแบบ : รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร   มีคนเคยบอกไว้ว่าการชมงานศิลปะนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนว่าจะจินตนาการสิ่งที่ตัวเองเห็นออกมาเป็นอย่างไร เฉกเช่นประติมากรรมชิ้นใหญ่บนเนินเขาในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่หลังนี้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ด้านศิลปะของ รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร ศิลปินแนวแอ๊บสแตร็คท์และอาจารย์ของนักศึกษาสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วย “ผมได้บ้านหลังนี้มาอย่างน่าประหลาดใจ เหมือนพรหมลิขิตที่จู่ๆวันหนึ่งก็มีพ่อค้าเจ้าของเขียงหมูในตลาดเดินเข้ามาบอกขายที่ดินขนาดสามไร่ในราคาถูกมาก จึงตกลงซื้อไว้ ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร แต่ก็บังเอิญอีกที่ได้ซื้อยุ้งข้าวเก่าของชาวบ้านในเวลาต่อมา ซึ่งไม้เก่าทั้งหมดมีคุณภาพดีมากๆ เลยรื้อแล้วมาประกอบร่างใหม่เป็นบ้านหน้าตาอย่างที่เห็นครับ” นอกจากฝีแปรงที่ฝากร่องรอยบนผืนผ้าใบอย่างอิสระเสรีประกอบกับงานศิลปะจัดวางในผลงานศิลปะหลายต่อหลายชิ้นของอาจารย์เกศแล้ว บ้านหลังนี้ก็เป็นงานศิลป์อีกชิ้นหนึ่งที่ท่านลงมือออกแบบด้วยตัวเอง “ผมวาดภาพบ้านจากความรู้สึกว่าตัวเองอยากอยู่อย่างไร ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นต้นไม้และภูเขา จึงได้ภาพบ้านที่เปิดโล่ง รับลมได้ทุกทาง มีห้องนอนพอให้ซุกหัวนอนกับที่ทำงานเล็กๆน้อยๆ ส่วนครัวจะแยกออกมาจากตัวบ้าน แต่ก็มีฟังก์ชันครบถ้วน เผื่อให้ภรรยามาใช้เวลามาพักผ่อนที่นี่ โดยมีทั้งครัวฝรั่งซึ่งมีเตาอบและเตาแก๊สใช้งานได้สะดวกกับครัวไทยด้านหลังที่ทำเตาอั้งโล่ไว้นอกบ้าน เผื่อไว้สำหรับทำบาร์บีคิวปิ้งย่าง เวลามีเพื่อนๆศิลปินหรือลูกศิษย์ลูกหามาเยี่ยมเยียน แต่ตัวผมเองใช้แค่เตาไมโครเวฟสำหรับอุ่นอาหารก็พอแล้ว ชั้นบนของห้องครัวเป็นห้องน้ำ ผมทำระเบียงทางเดินเชื่อมกับห้องนอน ชอบอารมณ์ที่เดินออกมารับลมนอกบ้าน รู้สึกเหมือนบ้านไทยโบราณที่จะแยกส่วนครัวและห้องน้ำไว้ด้านนอกเป็นสัดเป็นส่วน  “สำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านก็ซื้อต่อจากชาวบ้าน เป็นของเก่าจริงๆและมีไม่มาก อย่างห้องนอนมีเพียงฟูกกับหมอนก็นอนได้แล้ว แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะของตัวเองและของเพื่อนๆซึ่งประดับประดาอยู่ทั่วบ้าน อีกสักพักผมจะทำแกลเลอรี่ในบริเวณใกล้ๆบ้านนี่แหละ ไว้สำหรับติดงานศิลปะเอาไว้ดูเองบ้างอวดเพื่อนๆบ้าง สนุกดี” น้ำเสียงเรียบๆไร้โทนสูงต่ำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอาจารย์ศิลปินท่านนี้เอ่ยจบลงพร้อมด้วยรอยยิ้มใจดี บรรยากาศน่าสบายของบ้านหลังนี้ชวนให้ปลดปล่อยพันธนาการจากภาระอันหนักอึ้ง และเปิดรับความอบอุ่นของขุนเขากับเสียงเพรียกของต้นไม้ใบหญ้าได้อย่างเต็มที่ […]

บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงที่อยู่ติดกับทุ่งนาและมีภูเขาเป็นฉากหลัง

บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ในเชียงใหม่ เด่นด้วยการใช้ไม้เก่าเป็นวัสดุหลัก เพื่อให้ตัวบ้านดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุ่งนาเเละภูเขา

บ้านชั้นเดียวกลางทุ่งที่เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มที่

บ้านชั้นเดียวที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงหมาแหงน เพื่อลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง ออกแบบบ้านให้เปิดโล่งเพื่อรับแสงแดดในตอนกลางวัน รับแสงจันทร์ในตอนกลางคืน ทำให้ได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น  บ้านชั้นเดียวกลางทุ่ง เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า คุณทวยเทพ พัฑฒนะ ตกปากรับคำเพื่อนสนิทว่าจะมาออกแบบโรงแรมขนาดเล็กๆซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่ให้ เป็นเหตุให้เขาต้องเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่บ่อยๆ และเพราะหลายครั้งที่เพื่อนคนนั้นได้เชิญให้มานอนพักที่บ้านในอำเภอแม่ออน ซึ่งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร ก็ทำให้เขาเริ่มตกหลุมรักอำเภอแห่งนี้อย่างเต็มหัวใจ “เพื่อนที่ว่านี้ก็คือ คุณสุกัญญา โชติสุกานต์ เจ้าของบ้านที่เคยลงใน ‘บ้านและสวน’ ฉบับเดือนกันยายน 2551 (คลิกชมบ้านคุณสุกัญญา) เขาชวนให้มาซื้อที่ดินติดกัน แต่ตอนนั้นไม่ได้ตัดสินใจว่าจะซื้อ เพราะว่ามีสำนักงานสถาปนิกและงานออกแบบทั้งหมดก็อยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่รู้จะซื้อไว้ทำไม แต่พอได้มาออกแบบโรงแรมที่เชียงใหม่ และมานอนพักที่บ้านของเขาก็ชักจะติดใจ เลยคิดว่าวันข้างหน้าอาจจะได้มาอยู่จริงๆก็ได้ จึงซื้อที่ดินแล้วก็สร้างบ้านเลยครับ เป็นการเตรียมตัวก่อนเกษียณ” ในระหว่างที่ก่อสร้างบ้าน คุณทวยเทพไม่ค่อยมีเวลามาดูแลเองมากนัก ตัวบ้านจึงออกแบบไว้ค่อนข้างเรียบ เป็นบ้านชั้นเดียวที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงหมาแหงน เพื่อลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง นอกจากนี้ก็ยกตัวบ้านสูงด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก คือ ระดับพื้นดินที่สร้างบ้านมีความลาดเอียงไม่เท่ากัน หากจะถมที่ก็ต้องใช้ดินมากพอสมควร อีกประการ คือ เพื่อความปลอดภัยจากปัญหาเรื่องปลวก จากโรงรถจะมีสะพานไม้ปูเป็นทางเดินไปสู่ชานไม้ขนาดปานกลางซึ่งอยู่ติดกับตัวบ้าน เมื่อเข้าไปภายในก็จะพบห้องที่ค่อนข้างโปร่ง เพราะมีเพดานสูง และด้านปลายสุดของห้องทำเป็นผนังและประตูบานเลื่อนกระจกใสเปิดมุมมองเห็นวิวภายนอกซึ่งเป็นบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมล้อรับกับตัวบ้านและผืนทุ่งนากว้างไกลไปสิ้นสุดที่แนวเทือกเขา ในห้องโล่งนี้เป็นส่วนของครัวขนาดเล็กรูปตัวแอล (L) ตั้งชิดผนังติดกับประตูทางเข้าบ้าน […]

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียวกลางหุบเขาที่ดูแลรักษาง่าย ใช้งบไม่มาก

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว กลางหุบเขาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างด้วยงบประมาณไม่มาก ดูแลรักษาง่าย แต่สามารถมองเห็นวิวผืนป่า ลำน้ำสายเล็ก และนาขั้นบันไดได้สวยงามตลอดทั้งปี เจ้าของ-ตกแต่ง : พลตำรวจโทพนมศักดิ์ ทั่งทอง บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว เสน่ห์ของพื้นที่กลางหุบเขาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่คือความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าซึ่งกลายเป็นฉากหลังอันงดงาม นอกจากนี้ก็ยังมีลำน้ำสายเล็กไหลผ่านตลอดทั้งปี รวมถึงนาขั้นบันไดและพืชผักที่ชาวบ้านในพื้นที่เพาะปลูกตามฤดูกาล ภาพเหล่านี้กลายเป็นทัศนียภาพที่น่าหลงใหลซึ่งปรากฏอยู่ตรงหน้าบ้านหลังเล็กของ พลตำรวจโทพนมศักดิ์ ทั่งทอง   ภาพของตัวบ้านภายนอกมีลักษณะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยที่ดูเรียบง่าย หากมองจากด้านหน้าก็จะคิดว่านี่เป็นบ้านยกพื้นสูง มองเห็นใต้ถุนบ้าน แต่ที่จริงแล้วเป็นบ้านชั้นเดียวตั้งอยู่บนไหล่เขาที่เอียงเกือบ 45องศา คุณพนมศักดิ์บอกว่ามาเที่ยวเชียงใหม่หลายครั้งรู้สึกชอบที่นี่ จึงบอกให้คนรู้จักช่วยหาที่ดินให้ “ผมไปดูที่มาหลายแห่ง แต่ชอบที่นี่ที่สุด เพราะค่อนข้างสงบ เป็นส่วนตัวดี และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ขับรถใช้เวลาประมาณ 30นาทีก็ถึง หลังจากซื้อที่ดินได้ไม่นานก็ปลูกบ้านเลย ผมอยากได้บ้านที่อยู่ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องใหญ่โต และดูแลรักษาง่ายด้วย “ผมเป็นคนออกแบบบ้านหลังนี้เอง โดยเขียนแบบคร่าวๆเอาพอเข้าใจ แล้วก็คุยกับช่างเลยว่าอยากได้แบบไหน บางทีก็จะถามเขาว่าอย่างนี้ทำได้ไหม “เนื่องจากตำแหน่งของบ้านสามารถมองเห็นวิวได้สวยงามมาก ผมก็ให้ไอเดียกว้างๆว่าอยากทำเป็นมุขยื่นออกมาสองข้าง บ้านนี้จึงมีส่วนชมวิวอยู่หน้าห้องนอนทั้งสองห้องซึ่งแยกอยู่คนละด้านของตัวบ้าน นอกจากนี้ก็เลือกใช้ประตูบานเลื่อนกระจกใสเกือบทั้งหลัง เพื่อทำให้บ้านดูโล่งและกว้างที่สุด” เมื่อเดินขึ้นบันไดที่อยู่ติดกับลานจอดรถซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเล็ก ก็จะพบชานพักเป็นลานกว้างพอที่จะจัดมุมนั่งเล่นได้ ประตูทางเข้าบ้านตั้งอยู่ในตำแหน่งกลางบ้านพอดี เข้าไปจะพบส่วนอเนกประสงค์ ประกอบด้วยมุมนั่งเล่นและเคาน์เตอร์ต่างระดับซึ่งเป็นทั้งส่วนเตรียมอาหารและรับประทานอาหาร ตั้งอยู่คนละด้าน โดยถัดจากมุมนั่งเล่นก็เป็นห้องนอนใหญ่ […]

บ้านชั้นเดียวบนที่ดิน 100 ตารางวาที่มีสระว่ายน้ำส่วนตัว

บ้านชั้นเดียวฟังก์ชันครบที่มีทั้งสระว่ายน้ำ ศาลา ห้องรับแขก และห้องนอนอยู่ภายในพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้นประมาณ 100 ตารางเมตร บนที่ดิน 100 ตารางวา ใช้งบประมาณค่อนข้างน้อย เพราะไม่ต้องตอกเสาเข็ม เนื่องจากพื้นดินที่ตั้งเป็นดินภูเขาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านชั้นเดียว 100 ตารางวา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณธีรพจน์ แก่นจันทน์ บ้านชั้นเดียว 100 ตารางวา “ใครจะไปคิดครับว่าบ้านอยู่เกือบกลางเมืองแท้ๆ จะได้เห็นวิวภูเขาใกล้ๆอย่างนี้” คุณธีรพจน์ แก่นจันทน์ เจ้าของบ้านหลังเล็กแต่น่ารักน่าอยู่กล่าวอย่างภาคภูมิใจกับบ้านหลังนี้ ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ จากแยกภูคำของถนนสุเทพ มุ่งหน้าสู่ถนนเลียบคลองชลประทานไปทางสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไม่ถึงครึ่งทาง แล้วลัดเข้าไปในถนนสายเล็ก ๆ ก็จะพบบรรยากาศชนบทแบบเชียงใหม่ ซึ่งนับวันจะพบเห็นได้น้อยลงทุกที เมื่อเรามาถึงหน้าบ้านก็สะดุดตากับประตูไม้ไผ่สานขัดแตะ ในรูปแบบที่ดูแข็งแรงและทันสมัยแต่มองไม่เห็นตัวบ้านเลย กระทั่งคุณธีรพจน์มาเปิดประตูรั้วให้จึงเห็นว่าบ้านสร้างอยู่ด้านขวา ปล่อยให้ส่วนหน้าเป็นสนามหญ้าโล่ง เว้นพื้นที่ตรงกลางเป็นทางเดินเข้าสู่ตัวบ้าน ขณะที่ด้านซ้ายเป็นสระว่ายน้ำขนาดพอเหมาะและเว้นช่องว่างให้มองต่อไปเห็นดอยสุเทพ ซึ่งอยู่ด้านหลังไม่ใกล้ไม่ไกล นอกเหนือจากวิวสวย ๆ ดังกล่าวแล้ว คุณธีรพจน์ยังเล่าถึงความภูมิใจอีกอย่างหนึ่งว่า “แต่ก่อนชอบอยู่บ้านที่แยกเป็นหลัง ๆ มีเรือนรับแขก เรือนรับประทานอาหาร เรือนนอน กระจายอยู่ทั่วบริเวณที่ดินเนินเขา  6 […]

บ้านชั้นเดียว แบบโมเดิร์นล้านนากลิ่นอายแบบญี่ปุ่น

บ้านชั้นเดียว แบบโมเดิร์นล้านนาที่เรียบง่ายแฝงกลิ่นอายความญี่ปุ่น ออกแบบโดยคุณปกรณ์ อยู่ดี แห่ง INLY STUDIO เด่นด้วยการเป็นบ้านชั้นเดียวที่ตั้งใจออกแบบก้อนอาคารสลับกับสวนและคอร์ตยาร์ด เพื่อเปิดให้ธรรมชาติแทรกซึมเข้าสู่ทุกส่วนของบ้าน

STUDIOK บ้านกึ่งสตูดิโอริมแม่น้ำปิงของศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย “นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล”

“สตูดิโอเค” บ้านกึ่งสตูดิโอ ที่แฝงตัวอย่างสงบอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่มริมแม่น้ำปิง ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก บนผืนดินกว่า 1 ไร่ แห่งนี้ คืออาณาจักรศิลปะของ คุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของรางวัลศิลปาธรสาขาทัศนศิลป์ปี 2553 ผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยเปี่ยมเอกลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Materior Studio เดิมอาณาจักรศิลปะแห่งนี้ มีเพียงตัวอาคารปูนเปลือยดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบโดย สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ เมื่อหลายปีก่อน เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของบริษัท นาวินโปรดักชั่น จำกัด รองรับการผลิตผลงานศิลปะของเขา แต่เมื่อโปรเจ็กต์การสร้างสรรค์มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงมาพร้อมความต้องการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนสำหรับทีมงาน คุณนาวินจึงตัดสินใจขยับขยายสร้างพื้นที่สตูดิโอขึ้นใหม่ให้เชื่อมต่อกับอาคารเดิม พร้อม ๆ กับปรับปรุงต่อเติมพื้นที่บางส่วนบนชั้นสองของอาคารเดิมให้เป็นที่พักอาศัยในคราวเดียวกัน โดยงานนี้มี คุณสุเมธ กล้าหาญ จาก Materior Studio มารับหน้าที่ช่วยดูแลด้านการออกแบบให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ แห่งนี้ “คุณนาวินตั้งใจจะขยายพื้นที่เวิร์กช็อปให้เป็นกิจลักษณะและมีที่จอดรถ โดยให้ชั้นล่างเป็นส่วนเวิร์กช็อป และชั้นบนเป็นสตูดิโอวาดภาพขนาดใหญ่ และพื้นที่จัดแสดงผลงาน เราทดลองออกแบบกับวัสดุหลายอย่างมาก ตั้งแต่อิฐดิบ ๆ ผนังปูน จนสุดท้ายมาจบที่เมทัลชีทสีดำ ผนังด้านในกรุยิปซัม และไม้อัด พร้อมกับทำช่องเปิดดูปลอดโปร่งเพราะต้องการใช้แสงธรรมชาติมากกว่าการควบคุมแสงไฟแบบในแกลเลอรี่ทั่วไป” อาคารโครงสร้างเหล็กทรงกล่องกรุเมทัลชีตสีดำจึงได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ […]

บ้าน | หลงรัก(บ้าน)เชียงใหม่

ช่วงบ้าน “ หลงรัก(บ้าน)เชียงใหม่ ” เจ้าของ คุณพอล วัลเลอร์ – คุณธัญชนก สุวรรณชัย สถาปนิก คุณมาร์คูส โรเซลีบ บริษัท Chiangmai Life Architects จำกัด ติดตามรายการ “บ้านและสวน” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 น. ทางอมรินทร์ ทีวี เอชดี ช่อง 34 ติดตามข่าวสารได้ที่ http://www.facebook.com/BaanLaeSuanTV

บ้านประหยัดพลังงานกลางสวนมะม่วง และมองเห็นวิวดอยสะเก็ดได้จากภายในบ้าน

ดึงวิวธรรมชาติสวยๆ เข้ามาสู่มุมพักผ่อนในบ้าน โดยคำนึงถึงแนวคิด บ้านประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประกอบกัน เพื่อนำพาไปสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืนต่อไป

A Place Called Forever

จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ในบรรยากาศแสนสบาย

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ที่ดัดแปลงจากหลองข้าวเก่า แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ตัวบ้านเปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ