บ้านนอกในฝัน
“บ้านสวนอธิษฐาน” บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย
บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย ซึ่งออกแบบให้มีสัดส่วนรูปทรงที่สอดคล้องกับการวางฟังก์ชันภายใน ดูกลมกลืนไปกับบ้านไม้ของชุมชนโดยรอบ
100 แบบบ้านต่างจังหวัด แสนน่าอยู่
แบบบ้านต่างจังหวัดสวยๆ อยู่สบาย ทั้ง 100 หลังนี้ น่าจะเป็นบ้านในฝันของใครหลายคน โดยเฉพาะคนที่อยากใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ
ชวนคนกรุงฯ มาเป็นคนชนบทที่ “ข้ามันบ้านนอก”
“ข้ามันบ้านนอก” ฟาร์มคาเฟ่ ใจกลางกรุงเทพฯ บนถนนรามคำแหง 125/1 พื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เสมือนว่าหนีความวุ่นวายมาอยู่ชนบท
10 แบบบ้านต่างจังหวัด ในฝัน น่าอยู่มาก
นี่คือ แบบบ้านต่างจังหวัด น่าอยู่ ที่หากได้เห็นก็จะตกหลุมรักทันที ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติ
บ้านชั้นเดียวสีขาว ที่อยู่สบายกับธรรมชาติ
บ้านชั้นเดียวสีขาว ที่วางผังเรียบง่ายในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อเปิดมุมมองของทุกห้องให้เชื่อมต่อออกไปสู่วิวธรรมชาติโดยรอบ และยกใต้ถุนเพื่อให้ลมพัดผ่านสบาย
บ้านปูนผสมไม้ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้น ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านกลางสวนป่าของสถาปนิก Geoffrey Bawa ที่ศรีลังกา โดยอาศัยความร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่รอบบริเวณ
บ้านไม้หลังเล็ก ในฟาร์มเกษตร สะดวกกับการทำงานในไร่
บ้านไม้หลังเล็ก แบบชั้นเดียวขนาด 4×4 เมตรที่สร้างไว้แค่พออยู่เพื่อให้สะดวกกับการทำงานภายในไร่ โดยใกล้ๆ กันยังมีบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงอีกหลังไว้สำหรับใช้งานอเนกประสงค์
บ้านปูนเรียบง่ายที่ออกแบบมาเพื่อชมดอย ชมดาว
บ้านปูนเรียบง่ายที่ดูไม่แปลกแยกจากบ้านของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง บนทำเลที่อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียง เป็นบ้านธรรมดาๆที่อยู่สบาย แต่ได้วิวดีสุดๆ ทั้งวิวดอยสุดลูกหูลูกตาในตอนกลางวัน และดวงดาวนับล้านในยามค่ำคืน สมกับชื่อของบ้านหลังนี้ที่ตั้งว่า “บ้านล้านดาว” สถาปนิก : คุณสะเทื้อม กะดีแดง / เจ้าของ : คุณธิดา สิริสิงห บ้านปูนต่างจังหวัด “บ้านล้านดาว” เป็นชื่อน่ารักๆที่ คุณธิดา สิริสิงห ตั้งให้บ้านหลังนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่าในคืนเดือนมืดหากได้ออกมานั่งที่ระเบียงบ้านก็จะมองเห็นดวงดาวมากมายเหลือคณานับ ที่ตั้งของบ้านหลังนี้อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียงในอาณาบริเวณประมาณสองไร่ครึ่งแถบอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าของบ้านคือเวิ้งหุบเขาอันแสนกว้างใหญ่ที่ค่อยๆลดระดับลงไปเป็นแอ่งกระทะก่อนจะไปบรรจบกับแนวเทือกเขาด้านหลังของดอยสุเทพโดยปราศจากสิ่งใดๆขวางกั้น บ้านปูนต่างจังหวัด มองผิวเผินบ้านหลังนี้ดูคล้ายบ้านเดี่ยวที่มีระดับหลังคาต่างกัน แต่ที่จริงแล้วเป็นการสร้างบ้านแบบเรือนกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกันโดยแยกเป็น 3 หลังหลักๆ ผนังภายนอกเป็นคอนกรีตเปลือย เรือนกลางหรือห้องอเนกประสงค์เป็นหลังใหญ่สุดใช้งานเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ตั้งอยู่ตรงกับทางเข้าบ้านพอดี ลักษณะเป็นห้องโปร่งไม่มีฝ้าเพดาน ปล่อยให้เห็นโครงสร้างของหลังคา ภายในห้องจัดมุมหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับประตูทางเข้าเป็นแพนทรี่ขนาดพอเหมาะ ส่วนพื้นที่ที่เหลือใช้เป็นส่วนนั่งเล่นแบบสบายๆ หน้าห้องนี้เป็นระเบียงกว้างที่จะได้เห็นภาพทิวทัศน์สวยๆดังที่กล่าวไปตอนต้น ส่วนห้องนอนสร้างแยกกันคนละด้านของเรือนกลาง ด้านหนึ่งเป็นห้องนอนใหญ่ ส่วนอีกด้านเป็นห้องนอนเล็กซึ่งเพิ่มมาในภายหลัง เพราะเจ้าของบ้านเห็นว่าเรือนกลางใช้เสาค่อนข้างสูง (เนื่องจากสร้างบนพื้นที่ลาดเอียง) ดูแล้วไม่ค่อยสวยงาม จึงสร้างห้องนี้โดยใช้โครงสร้างเดิม โดยห้องนอนแต่ละห้องเน้นความเรียบและโปร่ง ผนังด้านระเบียงทั้งสองห้องเป็นบานเลื่อนกระจกใสเพื่อเปิดมุมมองอันสวยงาม เฟอร์นิเจอร์ในห้องก็เลือกที่ดูเข้ากับบรรยากาศของการพักผ่อน เช่น เตียงหรือเก้าอี้หวายสีธรรมชาติ บ้านปูนต่างจังหวัด คุณธิดาพูดถึง “บ้านล้านดาว” ในตอนท้ายด้วยสีหน้าเปี่ยมสุขว่า […]
บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น
บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและโดยธรรมชาติ บ้านหลังนี้ก็เช่นกัน คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ เจ้าของบ้านได้เข้ามาบุกเบิกที่ดินขนาด 30 ไร่ในจังหวัดขอนแก่นที่ คุณพ่อคุณแม่ของเธอซื้อไว้เมื่อประมาณหลายสิบปีก่อน โดยในตอนนั้นถูกทิ้งให้เป็นป่าหญ้าสูงท่วมหัว มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ไม่กี่ต้น อีกทั้งอยู่ห่างไกลความเจริญ ที่สำคัญสภาพดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชชนิดใดเลย เพราะใต้ดินส่วนใหญ่กลายเป็นจอมปลวก ทว่าด้วยความมุ่งมั่นของคุณผจงกิติ์ เพียงไม่กี่สิบปีที่ดินผืนนี้ก็กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนผืนป่าน้อยๆ พร้อมกับ บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลังเล็กที่น่าอยู่หลังนี้ คุณผจงกิติ์รักการปลูกต้นไม้มาตั้งแต่เด็กๆ จึงนำสิ่งนี้มาลองผิดลองถูกในที่ดินของเธอ แม้จะมี ธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เธอก็มักหาเวลาว่างช่วงเสาร์อาทิตย์ทยอยนำมูลวัวมาอัดให้แน่นเต็มพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน จากนั้นก็ค่อยๆ ปลูกแตงโม แคนตาลูป และขยับขยายกลายเป็นสวนหน่อไม้ฝรั่ง ดอกกุหลาบ เฮลิโคเนีย มะม่วงน้ำดอกไม้ ฯลฯ สลับสับเปลี่ยนกันไปจนกลายเป็นธุรกิจเล็กๆในเวลาต่อมา ระหว่างที่ทุ่มเทกับการทำสวน เมื่อยามที่รู้สึกเหนื่อยล้าอยากจะพักก็กลับไม่มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายเลย คุณผจงกิติ์จึงเริ่มมองหาพื้นที่นั่งเล่นและพักผ่อน ตามมาด้วยบ้านพักหลังเล็กๆ แม้เธอจะไม่ได้มีความรู้ด้านการออกแบบ แต่กับบ้านหลังนี้เธอเลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ เป็น บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เธอออกแบบด้วยตัวเอง โดยกำหนดให้ส่วนรับแขกและครัวอยู่นอกบ้าน ภายในบ้านมีพื้นที่นั่งเล่นก่อนเข้าสู่ห้องนอนและห้องน้ำ […]
บ้านไม้ไผ่ ในวิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม
เพราะไม้ไผ่ถือเป็นวัตถุดิบสารพัดประโยชน์ เจ้าของบ้านจึงนำมาเป็นวัสดุหลักของ บ้านไม้ไผ่ หลังเล็ก โดยนำรูปเเบบการวางผังเเละหน้าตาของเรือนเครื่องผูกของชาวเขามาปรับใช้ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิมจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นชายคาที่ยื่นยาว หลังคายกสูงทำให้พื้นที่ภายในโปร่ง อากาศถ่ายเท บ้านจึงไม่ร้อน พร้อมๆไปกับการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง เจ้าของ – ออกแบบ : คุณชัชชัย นนทะเปารยะ บ้านไม้ไผ่หลังเล็ก รถสองแถวคันใหญ่แล่นมาจอดข้างดงไม้ เสียงเบรกดังตามด้วยฝุ่นแดงๆ คลุ้ง ป้ายไม้ข้างทางบอกว่าถึง“สถานีบางไผ่” ผมกระโดดลงจากรถ เเบกของพะรุงพะรังข้ามฝั่งถนนมานั่งพักอยู่ที่เพิงสังกะสีหน้าร้านขายของชำเเละอุปกรณ์การเกษตร เหลือบมองนาฬิกาตอนนี้บ่ายสองโมงสามสิบห้า ไม่เป็นไร…ผมเลยเวลานัดมานิดเดียว (เนื่องจากการซ่อมถนนแถวแก่งคอยทำเอารถติดยาวเหยียดร่วมชั่วโมง) บ้านไม้ไผ่ หลังเล็ก ได้ยินเสียงรถเครื่องมาจอดเทียบข้างๆ ร้านพอดี คุณอ๊อด – ชัชชัย นนทะเปารยะ บุรุษหนวดงามร่างสันทัดวัยห้าสิบกว่าๆ ยิ้มทักทาย แล้วชวนผมซ้อนมอเตอร์ไซค์คู่ใจขับไต่เนินทางลูกรังและทุ่งมันสำปะหลังเข้าไปเยี่ยม “บ้าน” ของเขาที่เชิงเขา ระหว่างทางยังถามอย่างห่วงใยว่า “โน้ตบุ๊กชาร์จแบตแป๊บเดียวจะใช้พอเหรอ ที่บ้านผมไม่ใช้ไฟฟ้านะเต้” ผมเดินสำรวจรอบๆ บ้านบนเนินดินลาดกว้าง มีพื้นหลังเป็นภูเขาหัวตัดลูกโตเขียวชอุ่มกับท้องฟ้าใส ทั้งตัวบ้านทั้งของใช้ในบ้าน เเทบจะทำจากวัสดุชนิดเดียว คือ “ไม้ไผ่” เป็น บ้านไม้ไผ่หลังเล็ก ที่ดูเรียบง่ายและพอเพียง “การออกเเบบเเละการใช้งานต่างๆ ในบ้านหลังนี้ส่วนใหญ่มีที่มาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ทั้งนั้น […]
รวมบ้านที่ตื่นมาก็เจอวิวทุ่งนา ใช้ชีวิตเหมือนอยู่สวรรค์บนดิน
หากลืมตาตื่นขึ้นมาทุกเช้าก็ได้เห็นวิวทุ่งนาในยามยืนต้นเขียวขจีไปจนถึงสีทองอร่ามตา ก็มีคนจำนวนไม่น้อยฝันอยากมี บ้านกลางทุ่งนา แบบนี้บ้างล่ะ
บ้านล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดธรรมชาติ
บ้านฝรั่งหัวใจไทยที่หลงใหลในมนตร์เสน่ห์เมืองล้านนา ออกแบบบ้านโดยอิงกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บนทำเลที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งแวดล้อมด้วยทุ่งนา เจ้าของบ้านจึงทำระเบียงไว้รอบบ้านเพื่อให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิวอันงดงามราวกับสวรรค์สร้างนี้ทุกเวลา เจ้าของ : คุณจอห์น มาร์ และคุณณัฐนันท์ พัศดุธาร ออกแบบ : คุณจอห์น มาร์ บ้านล้านนาประยุกต์ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มาเห็นความอ่อนช้อยของศิลปวัฒนธรรมไทยผสานกับภูมิประเทศที่งดงามของบ้านหลังนี้จะรู้สึกหลงใหลในมนตร์เสน่ห์แห่งความเรียบง่ายนี้ และผมก็คิดว่า คุณจอห์น มาร์ เจ้าของบ้านชาวอังกฤษผู้นี้คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ทว่าเขาไม่เพียงชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น แต่ยังตกหลุมรักแม่หญิงเชียงใหม่ คุณณัฐนันท์ พัศดุธาร กระทั่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย คุณจอห์นเริ่มบทสนทนาว่า “ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกเฟอร์นิเจอร์อยู่ที่อังกฤษ ทำให้ต้องเดินทางไปดูสินค้าตามประเทศต่างๆเป็นประจำ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนได้มาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของเพื่อนชาวไทยซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยา พอได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และงานศิลปะของชาวล้านนาก็เกิดความชื่นชอบจนถึงขั้นหลงใหล เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านที่เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งภรรยาพาไปเที่ยวคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(น้อยมหาอินทร์)ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมรู้สึกชอบรูปทรงของตัวอาคาร จึงนำมาเป็นไอเดียในการทำบ้าน โดยทำเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยเองเพียงเรือนเดียว ไหนๆก็อยู่กันแค่สองคน มีแค่ห้องนอนกับห้องรับแขกอย่างละห้องก็พอ เนื่องจากทำเลของบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ผมคิดว่าไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิว จึงทำระเบียงเสียรอบบ้านเลย” คุณณัฐนันท์เสริมว่า “คุณจอห์นชอบธรรมชาติมากแต่เป็นฝรั่งขี้หนาว เปิดแอร์เปิดพัดลมไม่ได้เลย บ้านหลังนี้จึงไม่ได้ติดแอร์ แต่มีประตูอยู่รอบบ้านแทน ที่สำคัญคืออยากให้บ้านดูกลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด ชั้นล่างของบ้านจึงทำเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ส่วนเรือนรับรองที่สร้างแยกไปอีกหลังก็เกิดจากแนวคิดที่ว่าเวลามีญาติหรือเพื่อนฝูงมาจะไปพักที่โรงแรมก็ไม่สะดวก จึงทำไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของทั้งเราและแขกด้วย โดยเรือนรับรองได้แนวคิดมาจากเรือนไทยที่วังสวนผักกาด ลักษณะเป็นบ้านไทยในอยุธยา ใช้โทนสีดำ […]