บ้านโมเดิร์นรีโนเวต ในสเปซแห่งความทรงจำ

บ้านโมเดิร์นรีโนเวต เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป พร้อมระบบสมาร์ทโฮมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายและปลอดภัยขึ้น Design Directory : Day Develop Co.,Ltd. ความห่วงใยคุณแม่ คือจุดเริ่มต้นของ บ้านโมเดิร์นรีโนเวต หลังนี้ คุณจั๊ก – กรกนก เชาว์ปรีชา และ คุณโอ๊ต-วุฒิชัย นันทิวาวัฒน์ ต้องการทำสระว่ายน้ำให้คุณแม่ออกกำลังกายเพื่อกายภาพตามที่คุณหมอแนะนำ และนำมาสู่การรีโนเวตบ้านทั้งหลังที่แทบทำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตของสมาชิกทั้ง 6 คนในครอบครัว โดยเฉพาะลูกชาย 2 คน คุณตฤณ – คุณกฤษฏิ์ นันทิวาวัฒน์ ที่เติบโตสู่วัยรุ่น และ คุณพ่อสุวัฒน์ – คุณแม่รัตนา เชาว์ปรีชา ที่เข้าสู่วัยเกษียณ จึงมีความต้องการใช้พื้นที่เปลี่ยนไป เรือนหอเก่าที่ปรับเป็นบ้านเพื่อคนทุกวัย บ้านเดิมเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น อายุประมาณ 17 ปี เป็นเรือนหอและมีบ้านคุณพ่อคุณแม่ของคุณจั๊กอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แปลนบ้านแรกเริ่มเป็นตัวแอล (L) แล้วมีการซื้อที่ดินด้านข้างเพิ่มจึงสร้างบ้านรูปตัวไอ (I) ต่อขยายออกไป ทำให้แปลนบ้านรวมกลายเป็นรูปตัวยู […]

รวม แบบบ้านคอร์ต ที่มีสวนเขียวสร้างบรรยากาศน่าอยู่อย่างมีเสน่ห์

แบบบ้านคอร์ต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ที่มีร่วมกันระหว่างบ้าน ธรรมชาติ และการใช้ชีวิตอยู่กับแสงแดดและสายลม

บ้านล้อมสวน ในบรรยากาศสงบและสบาย

บ้านล้อมสวน ที่เว้นพื้นที่ตรงกลางไว้เปิดเป็นที่โล่งมองเห็นต้นไม้ ท้องฟ้า แสงแดด ได้รับรู้การเปลี่ยนผ่านของช่วงเวลาในแต่ละวัน

บ้านโมเดิร์น ที่มีคอร์ตยาร์ด และมีรั้วเป็นอาร์ตแกลเลอรี่

บ้านโมเดิร์น มีคอร์ตยาร์ด หลังนี้มีส่วนผสม 3 อย่าง ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย คอร์ตยาร์ดกลางบ้าน และอาร์ตแกลเลอรี่ในบ้าน

บ้านกล่องหลังคาทรงจั่ว ที่เปิดคอร์ตกลางรับพื้นที่สีเขียว

บ้านกล่องหลังคาทรงจั่ว ที่มีข้อจำกัดของรูปทรงที่ดิน จึงเลือกสร้างบ้านให้เต็มพื้นที่ แล้วเปิดคอร์ตกลางบ้านทำหน้าที่เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่

ดูแลกันใน บ้านครอบครัว 3 เจเนอเรชั่น

จากพื้นที่บ้านเดิมของสองครอบครัวพี่น้องที่มีบ้านหันหลังชนกัน กลายมาเป็นการเชื่อมที่ดินแคบยาวเพื่อสร้าง บ้านครอบครัว 3 เจเนอเรชั่น ที่ต่างก็ช่วยดูแลซึ่งและกัน พร้อมพื้นที่ส่วนกลางและสวนภายในบ้านที่ใช้งานได้จริง

บ้านโมเดิร์นมีคอร์ตกลาง เป็นพระเอก แก้ปัญหาสภาพแวดล้อมรอบบ้านไม่สวยงาม

ชม บ้านโมเดิร์นมีคอร์ตยาร์ด เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมรอบบ้านที่ไม่เจริญหูเจิญตานัก และยังช่วยให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเวลาภายนอก

บ้านทึบนอกแต่โปร่งในด้วยพื้นที่สีเขียวใจกลางบ้าน

บ้านโมเดิร์นสีขาวมีคอร์ต ที่สร้างกรอบผนังโดยรอบ แล้วเปิดสเปซภายในให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่กลายเป็นหัวใจของบ้าน เมื่อบ้านคือนิยามของพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด การออกแบบโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวจึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับ คุณปาล์ม – ทวิชากร เหล่าไชยยงค์ สถาปนิกแห่ง S.Pace.Studio ผู้ออกแบบหลังนี้และตั้งชื่อว่า “บ้านกรอบนอก” เนื่องจากบ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับโรงงานหรือมีเเนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นโรงงานในอนาคต การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงสิ่งรบกวนที่อาจตามมา เช่น การมองเห็น เเละเสียงรบกวนจากภายนอก จนกลายเป็นที่มาของการออกแบบให้ตัวบ้านดูปิดกั้นจากบริบท โดยสร้างกรอบของตัวเองขึ้นมา แต่ก็ไม่ลืมที่จะสร้างสภาวะน่าสบายภายในบ้านให้มีพื้นที่สีเขียวส่วนตัว ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของบ้านหลังนี้ บ้านโมเดิร์นสีขาวมีคอร์ต  ฟังก์ชันที่จัดเรียงอย่างตั้งใจ เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้อาศัย เมื่อโจทย์หลักในการออกแบบบ้านหลังนี้คือการสร้างความเป็นส่วนตัวให้ผู้อยู่อาศัย สถาปนิกจึงออกแบบให้ผนังปิดล้อมโดยรอบบ้าน เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้พื้นที่ห้องนั่งเล่นบริเวณชั้น 1 โดยเลือกใช้เป็นผนังอิฐช่องลมที่มีขนาดช่องค่อนข้างเล็ก เพื่อช่วยบดบังสายตาจากภายนอกให้มากที่สุด แต่อากาศยังคงสามารถไหลเวียนเข้ามาภายในบ้านได้ ผ่านพื้นที่ศาลาพักผ่อนในสวนที่เป็นพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน เเละเป็นที่พักผ่อนให้สมาชิกครอบครัวสามารถมาทำกิจกรรมได้อย่างสบายตลอดทั้งวัน “ตัวบ้านเเบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ศาลานั่งเล่นภายนอก เเละอาคารอยู่อาศัยซึ่งออกแบบเป็นบ้านสามชั้นเเทนการเป็นบ้านสองชั้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนของพื้นที่ว่าง อาคารทั้งสองพื้นที่นี้เชื่อมต่อกันด้วยคอร์ตยาร์ตกลางบ้าน เเม้บ้านจะดูปิดกั้นจากภายนอก เเต่ภายในยังคงโปร่งโล่งเเละไม่ทึบตันเหมือนกับภายนอก” สำหรับห้องนอนซึ่งต้องการความเป็นส่วนตัวมากที่สุด ออกแบบให้อยู่ชั้น 2-3 เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นเป็นผนังทึบบริเวณห้องนอนเกือบทั้งหมด เพื่อปิดกั้นมุมมองเเละเสียงรบกวน แต่ออกแบบให้มีเเสงธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่โถงทางเดิน ซึ่งเปิดมุมมองไปยังคอร์ตยาร์ตเเละนำแสงธรรมชาติให้เข้ามาภายในห้องนอน ที่ให้ความรู้สึกสบายในการพักผ่อน บ้านที่ปลอดโปร่งจากภายในด้วยพื้นที่สวนใจกลางบ้าน เเม้บ้านจะดูปิดล้อมจากภายนอกด้วยภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างชัดเจน เเต่ภายในกลับดูปลอดโปร่ง โล่งสบาย ด้วยพื้นที่สวนหรือคอร์ตยาร์ตกลางบ้าน […]

“บ้านกงสี” จุดบรรจบของธรรมชาติและวัฒนธรรม

แบบบ้านคอร์ตสไตล์จีน ในจังหวัดตรัง ที่นำภูมิปัญญาของสถาปัตยกรรมแบบจีนมาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ และการวางผังที่ให้อารมณ์เหมือนบ้านไทย

บ้านโมเดิร์น Timeless House สเปซแห่งความงามไร้กาลเวลา

แบบ บ้านโมเดิร์น ริมน้ำ ที่สวยด้วยสเปซและโครงสร้าง เรียบหรูอยู่สบายยิ่งกว่าโรงแรม ประดับงานศิลปะที่เห็นแล้วต้อง Wow!

O House เปิดคอร์ตให้เป็นหัวใจของบ้าน

บ้านที่ทำคอร์ตเพื่อเชื่อมมุมมอง แก้ปัญหาบ้านอับทึบเพราะมีห้องจำนวนมาก โดยนำแสงธรรมชาติและลมให้เข้าถึงได้ทุกห้อง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poetic space studio จากที่เคยใช้ชีวิตในตึกแถวย่านสีลมมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกนั้นหมดสัญญา ของ ครอบครัวตั้งฐานะตระกูล จึงต้องมองหาบ้านหลังใหม่ กอปรกับลูกทั้ง 5 ก็เติบโตเข้าวัยทำงานและต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ซึ่งถ้าซื้อบ้านใหม่ในย่านเดิมก็จะได้เพียงตึกแถว จึงหาที่ดินชานเมืองใกล้รถไฟฟ้า จนได้ที่ดินย่านตลิ่งชันสำหรับบ้านหลังใหม่ของครอบครัว โดยติดต่อให้ Poetic space studio โดย คุณณัฐ-ณัฐศาส จีนพันธ์ และคุณยุพ-ยุพยงค์ ชัยขจรภัทร์ เป็นผู้ออกแบบ จากตึกแถวสู่บ้านแนวราบ คุณอุ๊-สุนิสาและคุณอุ๋ม-ณัฐธิดา ตั้งฐานะตระกูล พี่คนโตและคนรองเล่าย้อนไปยังวันที่วางแผนสำหรับบ้านใหม่ “แต่เดิมอยู่ตึกแถวย่านสีลม ชั้นล่างเปิดเป็นออฟฟิศจิเวลรี ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยที่เราใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกหมดสัญญา คุณแม่ก็ได้ที่ดินย่านตลิ่งชันมา 500 ตารางวา ซึ่งก็ใหญ่เกินไปสำหรับเรา จึงแบ่งกับเพื่อนคนละครึ่งแปลงเพื่อสร้างบ้านคนละหลังจะได้เป็นเพื่อนบ้านกัน โดยปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และทำประตูหลังบ้านเชื่อมถึงกันได้”    การแชร์พื้นที่ร่วมกัน เพราะเคยอยู่ตึกแถวมาตลอด ไม่มีประสบการณ์การอยู่บ้านที่มีบริเวณ สถาปนิกจึงเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุด “เราบอกความต้องการให้สถาปนิกค่อนข้างกว้างคือ เป็นบ้านสำหรับพี่น้อง 5 คน คุณแม่ และในอนาคตจะมีคุณยายมาอยู่ด้วย ใจจริงอยากได้บ้านชั้นเดียว […]

บ้าน ภ บ้านสถาปนิกที่ออกแบบให้ดูแลง่าย

บ้านโมเดิร์นที่ออกแบบให้ดูแลรักษาง่าย อยู่สบาย เพื่อรองรับครอบครัวใหญ่ที่มีคนหลายวัยอยู่ด้วยกัน เน้นฟาซาดเรียบง่าย ตรงไปตรงมาและปิดทึบ แล้วเปิดคอร์ตยาร์ดด้านใน แต่ในความเรียบง่ายนี้ได้ซ่อนความพิเศษที่มีเพียง 8 คนบนโลกนี้จะรู้ซึ้งได้ ออกแบบ Atelier of Architects Co.,Ltd. โดย คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ เจ้าของ คุณศัลยเวทย์ – คุณปิยะสุดา ประเสริฐวิทยาการ เมื่อคุณเหลียง – ศัลยเวทย์ และคุณมิ้ม – ปิยะสุดา ประเสริฐวิทยาการ เปลี่ยนจากการอยู่คอนโดมิเนียมกว่า 20 ปี มาสร้างบ้านใหม่บนที่ดิน 130 ตารางวา เพื่อรองรับการเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีคนหลายวัยอยู่ร่วมกัน 8 คน จึงต้องคิดกันอย่างรอบคอบ แล้วยังเป็นการออกแบบบ้านตัวเองของคุณเหลียง – ศัลยเวทย์ สถาปนิกแห่ง Atelier of Architects Co.,Ltd. จึงอยากให้เป็นบ้านที่รองรับอนาคต ทั้งด้านฟังก์ชัน การดูแลรักษา และสร้างความหมายชีวิตให้กับครอบครัว บ้านคอร์ตโมเดิร์น   ที่มาของชื่อ “บ้าน […]

ข้อควรรู้การออกแบบคอร์ตในบ้าน

คอร์ต ภายในบ้าน ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับบ้านที่ตั้งอยู่ในเมืองและอาจต้องเจอปัญหาเพื่อนบ้านไม่น่ารัก ถนนเสียงดัง ไม่เป็นส่วนตัว หรือวิวรอบข้างไม่สวยงาม มาดูไอเดียออกแบบบ้านพร้อมคอร์ตกัน ที่มาของคอร์ตยาร์ต คอร์ตยาร์ด (Courtyard) หรือ คอร์ต (Court) คือ ลานหรือพื้นที่ไม่มีหลังคาคลุม และมีผนังหรืออาคารโอบล้อมทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในการออกแบบบ้านสมัยใหม่ เนื่องจากไม่อาจพึ่งพาสภาพแวดล้อมรอบบ้านได้ เช่น ข้างบ้านไม่น่ารัก ติดทางด่วนมีเสียงดัง อยู่ใกล้ตึกสูงทำให้รู้สึกมีคนมองตลอดเวลา หรืออยากได้พื้นที่เปิดโล่งที่เป็นส่วนตัว มาดูวิธีการออกแบบและข้อพิจารณาของการทำคอร์ตในบ้านกัน เริ่มปรากฏการทำ คอร์ต สำหรับเป็นลานเลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้านเมื่อหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช อยู่ในช่วงยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) ซึ่งอยู่ระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะ เป็นยุคที่เปลี่ยนจากสังคมล่าสัตว์เป็นสังคมเกษตรกรรม โดยอาศัยรวมกันเป็นหมู่บ้าน เริ่มทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและสร้างที่พักอาศัยถาวร ทั้งยังพบการทำคอร์ตในหลายประเทศทั่วโลก อย่างซากเมืองโบราณแถบเมโสโปเตเมีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมถึงหลายประเทศในเอเชียอย่างไทยและจีนก็มีการทำพื้นที่เปิดโล่งในบ้านเช่นกัน การทำที่ว่างในคอร์ตกับที่ว่างรอบบ้านต่างกันอย่างไร พื้นที่ คอร์ต เป็นการสร้างมุมมองและพื้นที่ใช้งานร่วมกัน จึงเหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการให้เกิดกิจกรรม และสร้างการรับรู้หรือให้มองเห็นกันได้ และเป็นวิธีเพิ่มพื้นผิวอาคารเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติและเพิ่มการระบายอากาศ แต่เมื่อมีคอร์ตมาคั่นพื้นที่ใช้งานในบ้านแล้ว มักจะทำให้ระยะการเดินในบ้านไกลขึ้น การสร้างบ้านโดยเว้นพื้นที่ว่างไว้รอบบ้านจะทำให้แต่ละห้องได้ทัศนียภาพต่างกัน พื้นที่ภายในบ้านกระชับทำให้ระยะการเดินไม่ไกลกันและดูแลภายในบ้านได้ง่าย แต่ถ้าที่ดินมีขนาดเล็ก […]

บ้านไม้มินิมัล สเปซโปร่งๆ ที่อบอุ่นด้วยงานไม้

บ้านไม้มินิมัล เน้นเส้นสายของอาคารที่เฉียบคมดูเรียบง่ายแต่แฝงด้วยรายละเอียดของเทคนิคงานช่างมากฝีมือ ตลอดเวลา 30 ปีที่สวมหมวกนายช่างใหญ่เพื่อควบคุมการสร้างบ้านและอาคารให้สถาปนิกชั้นนำของไทยมาหลายต่อหลายหลัง นอกจากจะได้สร้างผลงานคุณภาพที่ทั้งสถาปนิกและเจ้าของบ้านไว้ใจแล้ว คุณขจี เกศจุมพล ยังบอกด้วยว่าเขาเองก็ได้เรียนรู้ภาษาของสถาปัตยกรรมนอกห้องเรียนอยู่มากมาย และสะสมเป็นประสบการณ์อันมีคุณค่ามาจนถึงวันที่เขาตัดสินใจนำมาใช้กับการรีโนเวตบ้านหลังเดิมของตัวเองให้ตอบรับการใช้งานได้มากขึ้น และกลายเป็น บ้านไม้มินิมัล ที่สวยเท่จนสถาปนิกเองยังเอ่ยชม “ผมซื้อบ้านนี้มาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซื้อเพราะชอบต้นแก้วที่อยู่หน้าบ้านนี่แหละ ส่วนอื่นๆ คิดว่าน่าจะรีโนเวตเองได้ ซึ่งตอนนั้นก็ทำไปหลายอย่างก่อนจะมาปรับอีกครั้งในรอบนี้ เพื่อให้รับกับความต้องการและยุคสมัยมากขึ้นก็เลยเพิ่มพื้นที่ชั้น 3 ขึ้นมา แล้วตกแต่งให้เป็นเหมือนเพ้นต์เฮ้าส์ที่ผมกับภรรยาอยู่ด้วยกัน ยกพื้นที่ชั้น 2 ให้ลูกสาว ชั้นล่างก็เป็นพื้นที่ส่วนกลางและที่อยู่ของน้องหมา 3 ตัว ส่วนลูกชายอยู่บ้านอีกหลังหนึ่งใกล้ๆ กัน” แนวทางการออกแบบตัวบ้านหลักๆ เน้นให้สอดคล้องกับบริบทของธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพราะคุณขจีต้องการเก็บร่มเงาและความสดชื่นทุกอย่างไว้ ระยะต่างๆ ของบ้านจึงกำหนดขึ้นมาจากการหลบเลี่ยงต้นไม้ทุกต้นที่มีอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการเจาะช่อง ร่นระยะผนัง และเปิดคอร์ตให้ต้นไม้เหล่านี้ยังชูกิ่งก้านใบได้สวยงามเหมือนเดิม แถมยังใช้เป็นช่องแสงธรรมชาติเพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้เอง อีกทั้งเพิ่มความปลอดโปร่งให้ผู้อาศัยภายในบ้านไปในตัว “ผมชอบต้นไม้มาก เพราะให้ร่มเงา ให้ออกซิเจน กรองฝุ่นกรองแดด และช่วยให้บ้านเย็นสบาย ส่วนภายในก็ปล่อยให้เรียบโล่งแบบมินิมัล เพราะอยู่แล้วสบายตาสบายใจ ดูแลง่าย ถึงจะมีของเยอะแต่ก็ทำช่องเก็บของบิลท์อินซ่อนไปกับผืนผนังให้หมด เวลาอยากได้ของอะไรใหม่ ก็ต้องหาทางปล่อยของเดิมไป ไม่ว่าจะยกให้ลูกน้องหรือขายก็ตาม มันทำให้เรามีชาเลนจ์และสนุกกับข้าวของใหม่ๆ […]

LUANQING HUTONG รีโนเวตบ้านจีนเก่าให้สวยปังด้วยคอร์ตไม้ไผ่

บ้านจีน เก่าที่มีความทรุดโทรมมากถูกนำท่รีโนเวตใหม่โดยยังคงเก็บคอร์ตยาร์ดกลางบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านจีนโบราณ “หูตง” ไว้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างไม้ไผ้แบบโค้ง

“บ้านอากาศเย็น” บ้านเลขที่ 1 ณ เย็นอากาศ

บ้านอากาศเย็น เป็นชื่อบ้านที่เจ้าของตั้งขึ้นล้อกับชื่อถนนเย็นอากาศ แต่เมื่อเข้ามาในบ้านก็รู้สึกเย็นสมชื่อ เพราะแม้จะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยสุดเท่ แต่ออกแบบให้มีคอร์ตในบ้านหลายจุด ทั้งเพื่อระบายอากาศ รับแสงธรรมชาติ และสร้างมิติให้สเปซของบ้านสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างงดงาม DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Krubka ทุกความสัมพันธ์เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อสองสิ่งอยู่ร่วมกัน เกิดระยะ “ระหว่าง” ที่บางครั้งเป็นเพียงมวลอากาศ บ้างเป็นการเว้นว่างเพื่อก่อสัมพันธ์ในความเงียบงัน หรือเกิดแรงดึงดูดให้โคจรเคียงกัน เช่นเดียวกับพื้นที่กว่า 1 ไร่ ณ บ้านเลขที่ 1 ของถนนเย็นอากาศซึ่ง คุณหมง – อรรณพ ชั้นไพบูลย์ และ คุณส้ม – สุชีรา นิมิตราภรณ์ คู่ชีวิตเจ้าของโปรดักชั่นเฮ้าส์ บริษัทหมงราม่า จำกัด ที่เคยขับรถผ่านบ่อยครั้ง จนได้มาเป็นเจ้าของและสร้าง บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สะท้อนตัวตนของทั้งคู่ในแบบไม่เหมือนใคร “บ้านอากาศเย็น” ชื่อที่มาก่อนตัวบ้าน กว่าจะเป็น บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ไม่ง่ายเลย เวลาร่วม 7 ปีที่เจ้าของบ้านและสถาปนิก คุณแจ็ก – ดนัย สุราสา แห่ง […]

บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัลพร้อมคอร์ตโปร่งกลางบ้าน

บนพื้นที่ขนาด 45 ตารางวา แม้จะไม่ได้กว้างขวางใหญ่โต แต่เมื่ออยู่กลางเมืองที่เอื้อต่อการเดินทางได้สะดวกสบายก็นับว่าเป็นทำเลดีๆ สำหรับการมีบ้านอยู่อาศัยสักหลัง และนั่นเป็นเหตุผลเริ่มต้นที่ นายแพทย์ชวรัฐ จรุงวิทยากร และแพทย์หญิงปภัสรินทร์ เกิดสิริโรจน์กุล เลือกซื้อบ้านตรงนี้เพื่อสร้างเป็น บ้านทรงจั่วมินิมัล ของครอบครัว บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัล เจ้าของ : นายแพทย์ชวรัฐ จรุงวิทยากร และแพทย์หญิงปภัสรินทร์ เกิดสิริโรจน์กุล บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัล สถาปนิก : Greenbox Design โดยคุณสุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์ “เดิมทีเป็นบ้านแฝดที่เก่ามากราว 30 ปีแล้ว เราปรึกษาสถาปนิกแล้วก็ตัดสินใจกันว่าทุบทิ้งสร้างใหม่เลยดีกว่า เพราะโครงสร้างเดิมก็เก่าไปตามอายุการใช้งาน และเราอยากได้บ้านที่อยู่สบายไปได้อีกนานๆ ตอนนั้นไม่มีไอเดียอะไรเลยนอกจากภาพบ้านโปร่งๆ มีช่องแสง มี Volume และก็บ่อปลา เพราะผมชอบเลี้ยงปลา ส่วนภรรยาก็ขอแค่มีที่ดูซีรี่ส์สบายๆ เท่านั้นเอง” คุณหมอฝ่ายชายย้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นของบ้าน เมื่อโจทย์ที่ได้เป็นภาพกว้างๆ คุณจิ๊ฟ–สุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์ สถาปนิกแห่ง Greenbox Design จึงใช้แนวทางการออกแบบโดยวิเคราะห์และศึกษาจากพฤติกรรมประจำวันของผู้อยู่อาศัย เพื่อกำหนดฟังก์ชันและผังห้องต่างๆ ของบ้านขึ้นมา รวมไปถึงยังมองภาพระยะยาวเรื่องการเติบโตของครอบครัวในอนาคต จากพื้นที่สำหรับดูแลลูกชายคนแรกที่เพิ่งคลอด ไปจนถึงพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมระหว่างลูกชายที่กำลังโตกับคุณพ่อ […]

บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ของพี่น้องที่แชร์คอร์ตเพื่อขยายความสุข

บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง สองหลังของพี่น้องที่ออกแบบให้แชร์พื้นที่คอร์ตเพื่อใช้งานร่วมกัน เป็นบ้านพักผ่อนสำหรับให้ทุกคนในครอบครัวได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ออกแบบสเปซภายนอกและภายในต่อเนื่องสัมพันธ์กัน มีพื้นที่โล่งและการเว้นระยะห่างที่พอดีเพื่อสอดแทรกธรรมชาติ เกิดเป็นสเปซให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ก่อบทสนทนาระหว่างกัน DESIGNER DIRECTORY: สถาปัตยกรรม : GREYSPACE Co.,Ltd. โดยคุณอัศจร์กร ธันยเกียรติ์ คุณพิชัย กาวิแหง คุณธีรสิทธิ์ ป้องจีนาเพศ  โทรศัพท์ 0-2007-5856  บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ตกแต่งภายในและภูมิสถาปัตยกรรม: Phiil design studio co., ltd.  โทรศัพท์ 08-1929-2979 เจ้าของ : ครอบครัวธันยเกียรติ์ เมื่อความทรงจำวัยเยาว์หวนคืนมาให้คิดถึงการได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา วิ่งเล่นหยอกล้อกันอย่างสนิทสนม แต่เมื่อทุกคนต่างเติบโตและแยกไปมีครอบครัวของตัวเอง พร้อมกับเก็บความทรงจำสีจางไว้ในลิ้นชักที่รอการเปิดอีกครั้ง ครั้นเมื่อความคิดถึงเร่งเร้า สามพี่น้องของ ครอบครัวธันยเกียรติ์ จึงร่วมกันคิดและตกลงกันสร้างบ้านหลังใหม่ในย่านพระรามที่ 2 ซึ่งทุกคนสามารถเดินทางมาได้สะดวก เพื่อกลับมารวมตัวกันเหมือนครั้งวัยเยาว์ แต่อยู่ในสถานะใหม่ที่เป็นพ่อแม่และปู่ย่าตายายที่มีหลานๆ วิ่งเล่นหยอกล้อกัน เสมือนเป็นภาพสะท้อนย้ำความทรงจำสีจางให้ปรากฏชัดขึ้น คุณจิ๋ว – อัศจร์กร ธันยเกียรติ์ สถาปนิกแห่ง GREYSPACE Co.,Ltd. และคุณต่าย – สาธิมน […]