แมวกินน้ำน้อย จะมีวิธีกระตุ้นให้น้องกินน้ำยังไง

แมวกินน้ำน้อย โดยธรรมชาติ เราเชื่อกันว่าเป็นพฤติกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลทราย ทำให้แมวต้องมีการปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และพฤติกรรมนี้ก็ถูกถ่ายทอดมายังปัจจุบัน ปริมาณน้ำ ที่ต้องการของร่างกายแมวเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กิโลกรัม ต่อวัน การที่ แมวกินน้ำน้อย จึงสามารถนำไปสู่ การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้เช่น โรคไต , โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น วันนี้ บ้านและสวน Pets เรามีทริปที่จะช่วยกระตุ้นให้น้องแมวกินน้ำมากขึ้น มาลองทำดูกัน   วิธีกระตุ้นแมวให้กินน้ำมากขึ้น (How to encourage your cat to drink) 1. ชนิดของภาชนะใส่น้ำ : ต้องเลือกภาชนะใส่น้ำ ที่ทำให้แมวอยากกินน้ำ ปกติแล้ว แมวจะชอบชามแก้ว โลหะ และ เซรามิก มากกว่า ชามพลาสติก (ให้ทดลองดู ว่าแมวเราชอบแบบไหน) แมวส่วนใหญ่ชอบชามน้ำที่ ตื้น กว้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอาหัวไปจุ่ม หรือ […]

มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ (Miniature Schnauzer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก พบครั้งแรกในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ที่ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นสุนัขที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ (Standard Schnauzer) กับสุนัขพันธุ์แอฟเฟนพินเชอร์ (Affenpinscher) ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขล่าหนู (Rat hunter) ในฟาร์มเยอรมัน รวมถึงนำมาใช้คุมฝูงสัตว์ในฟาร์ม มักใช้งานคู่กับสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น สุนัขพันธุ์เยอรมัน เชพเพิร์ด (German shepherd) และสุนัขพันธุ์นี้มีความสามารถในการได้ยินเสียงในระยะไกล สามารถระบุตำแหน่งของเสียงที่ได้ยินได้ ในปี ค.ศ. 1899 สุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ได้ถูกแยกออกจากกลุ่มสุนัขพันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ เนื่องจากสุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ มีหน้าตาที่เคร่งขรึม ดูไม่เป็นมิตรแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 1933 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนทั้ง 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์สุนัขมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอร์เรีย (Terrier group) และสุนัขพันธุ์พันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ […]

ชิสุ (Shih Tzu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ชิสุ จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดมาจากทิเบต และเป็นพันธุ์ที่นิยมในประเทศจีน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ชิสุ มีความหมายว่าเป็นสิงโตน้อย (Little lion) หรือสุนัขตัวเล็ก (Little dog) ในประเทศจีน สุนัขพันธุ์ชิสุ มีลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง (Pekingese) เนื่องจากได้รับการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ชนชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็นสุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 ในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในแถบทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้ได้ความนิยมมากยิ่งขึ้น โดยสมาคม English kennel clubs ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์ลาซา แอปโซ  (Lhasa Apso) และในปี ค.ศ.1935 สุนัขพันธุ์ชิสุได้มีการพัฒนาลักษณะประจำสายพันธุ์มากขึ้น ทำให้ถูกขึ้นทะเบียนอีกครั้งเป็นสุนัขพันธุ์ชิสุ แยกออกจากสุนัขพันธุ์ยุโรปอย่างชัดเจน และถูกนำต่อมายังอเมริกา โดยทหารอเมริกาที่กลับมาจากทวีปยุโรป ทำให้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ปากสั้น ตาลึกดำสนิท จมูกเล็กแบน หลังจากกินอาหาร หรือกินน้ำควรทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้ง […]

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย (American Pit bull terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อก กับ สุนัขเทอร์เรีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สุนัขที่มีความแข็งแกร่ง  และความปราดเปรียว จนได้รับรางวัลสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีความแข็งแรงและความน่าประทับใจ นอกจากนี้ อเมริกันพิทบูลยังถูกใช้ช่วงสงครามในฐานะผู้พิทักษ์ ด้วยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ที่มีความก้าวร้าว และความน่าเกรงขาม ต่อมา ในปี 1920 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการล่อกระทิง และการต่อสู้อื่น ๆ อย่าง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) การไล่ล่า และการลากน้ำหนัก จนขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัข “Fighting dog” จากนั้นในปี 1980 ในสื่อภาพยนต์ รูปภาพเริ่มมีการใช้ภาพของสุนัขสายพันธุ์นี้มากขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เริ่มมีความคุ้นชินกับมนุษย์มากขึ้น รักความสงบมากขึ้น รักธรรมชาติ มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากขึ้น และเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับสุนัขสายพันธุ์ Staffordshire terriers รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล จาก United Kennel Club (UKC) อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ อเมริกันพิทบูล […]

ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ (Yorkshire terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็กในตระกูลสายพันธุ์เทอร์เรียร์ พบถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1800 นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ยอร์กกี้ (Yorkie) โดยองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้จดทะเบียนให้อยู่ในสุนัขพันธุ์ทอย รวมถึงสมาคม Kennel Clubs ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มสุนัขคู่หู ซึ่งเป็นที่รู้จักเมื่อมีการชนะการประกวดสุนัข และได้รับความนิยมเป็นสุนัขคู่หูในเวลาต่อมา สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นความคิดที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขอื่น ๆ หลายพันธุ์รวมกัน เช่น สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียน ซิลกี้ เทอร์เรียร์ (Australian Silky Terrier) สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นที่รู้จักครั้งแรก ที่ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1872 หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี […]