ปรับระดับพื้น ด้วยแผ่นโฟม EPS ขั้นตอนและข้อควรรู้

ปรับระดับพื้น แก้ปัญหาพื้นทรุด หรือเทพื้นบ้านใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักของอาคาร โฟม EPS จึงเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการปรับระดับพื้นก่อนเทปูน เพราะติดตั้งได้สะดวกรวดเร็วและน้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระต่อโครงสร้าง คำถามพบบ่อย โฟม EPS คืออะไร?   แผ่นโฟม EPS ย่อมาจาก Expanded Polystyrene Foam เป็นโฟมแผ่นที่มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นต่ำ รับน้ำหนักได้มาก (ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น) โดยทั่วไปนิยมนำมาใช้แทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย คอนกรีต ในการถมพื้นที่ และใช้เป็นไส้ผนังแทนวัสดุก่อ  รับน้ำหนักรถยนตร์ได้หรือไม่? โดยทั่วไป แผ่นโฟม EPS จะสามารถรับน้ำหนักเฉลี่ยได้ถึง 6.4 – 12.23 ตันต่อตร.ม. จึงสามารถรับน้ำหนักรถยนตร์ใช้ปรับระดับพื้นทางสัญจรหรือโรงจอดรถได้อย่างสบายๆ ใช้ปรับระดับพื้นห้องน้ำได้หรือไม่?  โฟม EPS ไม่ซึมน้ำ สามารถใช้ในการปรับระดับพื้นห้องน้ำได้โดยต้องเลือกใช้ปูเทพื้นที่มีกันซึมร่วมด้วย  เมื่อเวลาผ่านไป พื้นจะแตกร้าวหรือไม่?  แผ่นโฟม EPS ทำหน้าที่เป็นวัสดุถมปรับระดับ ปัจจัยที่จะทำให้พื้นไม่แตกร้าวนั้นอยู่ที่กางวางเหล็กตะแกรงก่อนการเทปูนพื้นและการตัดช่วงหรือ Cut Joint แผ่นพื้นเพื่อให้การแตกร้าวไม่ลามต่อเนื่องกัน หากเข้าใจปัจจัยทั้งสองอย่างแล้วการแตกร้าวลามต่อเนื่องก็จะสามารถควบคุมได้  ขั้นตอนการ ปรับระดับพื้น ด้วยแผ่นโฟม EPS 1. วางแผ่นโฟมตามระดับความสูงและขนาดที่ต้องการถมปรับระดับพื้นที่  2. แผ่นพื้นที่ออกเป็นช่วงๆหากเป็นพื้นที่กว้างโดยอาจใช้อิฐมวลเบา หรือกั้นไม้แบบเพื่อตัดช่วงหรือCut Joint ปูนสำหรับป้องกันการแตกร้าวเป็นแนวยาว  3. […]

ปัญหาบ้านทรุด ของส่วนต่อเติม สามารถป้องกันได้ ด้วยเข็มเหล็ก และไมโครไพล์

หนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับบ้านที่ถามเข้ามามากในเฟซบุ๊คบ้านและสวนของเราก็คือ “ปัญหาส่วนต่อเติมของ บ้านทรุด และฉีกออกจากตัวบ้าน…แก้ไขได้อย่างไร?”

แก้ปัญหา ส่วนต่อเติมบ้านทรุด กำแพงแยก

บ้านและสวนตอบกระทู้สัปดาห์นี้ เรามีข้อสงสัย จากกระทู้พันทิปที่หลายคนยังข้องใจเกี่ยวกับเรื่องบ้าน เรื่องสวน กับคำถามยอดนิยม ปัญหา ส่วนต่อเติมบ้านทรุด

ต้องทำอย่างไรเมื่อบ้านจัดสรรทรุดตัว

บ้านทรุดตัว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย วันนี้บ้านและสวนจึงหาคำแนะนำในการแก้ไขปัญหามาฝากกัน

บ้านจะพังไหม…ถ้าดินรอบบ้านทรุดตัวจนเห็นเสาบ้านลอยโผล่พ้นดินออกมา

ผู้เขียนมักเจอคำถามทำนองนี้เสมอว่า “ดินรอบ บ้านทรุดตัว จนเห็นเสาบ้านลอย
โผล่พ้นดินออกมา แล้วบ้านจะพังไหมทำอย่างไรดี

บ้านทรุด บ้านร้าว เกิดได้อย่างไร

บ้านทรุด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะจากก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งตรงชั้นดิน ฐานราก เสาเข็ม และจากการต่อเติม การก่อสร้างอาคารมีปัจจัยอีกมากมายที่ทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้หากการก่อสร้างเหล่านั้นทำไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเราควรรู้ถึงปัจจัยต่างๆที่ทำให้บ้าน ทรุด แตก ร้าว จากสาเหตุในเรื่องชั้นดินและฐานรากซึ่งในบทความ “ บ้านทรุด บ้านร้าว บ้านล้ม : จน รวย ไม่เกี่ยว ” โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ พอจะสรุปความได้ดังนี้ ปัญหาจากเสาเข็ม บ่อยครั้งที่ปัญหาบ้านแตก ร้าว และ บ้านทรุด เกิดขึ้นจากเสาเข็มที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การถ่ายเทน้ำหนักของโครงสร้างไม่เท่ากัน เป็นผลให้แรงดึงฉีกบ้านจนแตกร้าว โดยปัญหาที่มักพบกับเสาเข็มก็คือ เสาเข็มสั้นเกินไป การที่เสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรงพอทำให้เมื่อผ่านเวลาไปบ้านจึงทรุดลงไปจนกว่าจะถึงชั้นดินที่แข็งแรง หากทรุดไม่เท่ากันก็จะเกิดการแตกร้าวในที่สุดป้องกันได้โดยการตรวจสอบชั้นดินให้ดีเสียก่อน เสาเข็มวิบัติ การที่เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารได้ เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอายุของเสาเข็ม หรือวิธีการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาด รวมทั้งการต่อเสาเข็มที่ไม่ได้ศูนย์ก็จะทำให้เกิดความเสียหายในภายหลังได้ ป้องกันได้โดยตรวจสอบวิธีการก่อสร้างให้ถูกมาตรฐานไม่ลัดหรือดัดแปลงขั้นตอนจนเกิดความเสียหาย ปัญหาจากตอม่อ ตอม่อวิบัติ มักเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานมีน้ำหรือดินท่วมในแบบหล่อหรือตอม่อแช่อยู่ในน้ำ นานวันเข้าจึงผุกร่อนเสื่อมสภาพเร็วก่อนเวลาอันควร อีกทั้งเหล็กที่เป็นสนิมยังบวมและดันให้คอนกรีตแตกออกได้ ตอม่อเยื้องศูนย์ เป็นการวางตำแหน่งเสาเข็มตอม่อ และฐานรากที่ผิดพลาด ทำให้ตอม่อถูกบิดและวิบัติจากการที่รับแรงซึ่งผิดไปจากการคำนวณ เป็นผลให้บ้านเกิดอาการทรุดในทางที่ตอม่อเยื้อง ปัญหาจากการถมดิน การเร่งถมดิน การถมดินจำเป็นจะต้องมีการรอให้ดินที่ถมมีการยุบตัว หากตอกเสาเข็มทันทีที่ถมเสร็จ […]