ตี่จู่เอี้ยยุคใหม่…ไหว้เจ้าแบบโมเดิร์น

ใครเป็นลูกหลานชาวจีนคงจะคุ้นชินกับ “ตี่จู่เอี้ย” หรือศาลเจ้าที่ในบ้านเป็นอย่างดี เพราะถือเป็นของสำคัญที่จำเป็นต้องมีไว้คู่บ้านของครอบครัวชาวจีนเสมอ ตี่จู่เอี้ยแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะเหมือนศาลเจ้าขนาดจำลองและทาสีแดง ซึ่งคงจะดูเข้ากันดีกับบ้านของชาวจีนในสมัยก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งบ้านที่อยู่อาศัยของเราได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก ตี่จู่เอี้ยแบบเดิมจึงดูค่อนข้างแปลกแยก และกลายเป็นเรื่องหนักอกของชาวจีนรุ่นใหม่ที่รักการแต่งบ้านสไตล์โมเดิร์น ตี่จู่เอี้ย บ้านและสวน ขอเสนอการออกแบบ “ตี่จู่เอี้ย” ให้เข้ากับบ้านโมเดิร์น สรุปเป็นไอเดียง่ายๆ เน้นความสวยงามกลมกลืน สะดวกใช้ และไม่ผิดกฎ มาฝากกัน ไอเดียออกแบบ “ตี่จู่เอี้ย” ให้เข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์น ไอเดียที่ 1 จัดองค์ประกอบให้สวยงาม มีข้อกำหนดว่าผนังรอบๆตี่จู่เอี้ยนั้นจะต้องโล่งและไม่รกรุงรัง แต่ในทางปฏิบัติอาจจะเพิ่มเติมการตกแต่งบางส่วนเข้าไป เพื่อให้เกิดองค์ประกอบที่ดูสวยงามและช่วยเสริมสร้างความน่าเคารพของตัวศาลได้มากขึ้น เช่น เหนือศาลอาจติดกรอบรูปซึ่งเป็นรูปเทพเจ้า หรือคำอวยพรเขียนด้วยตัวหนังสือจีนสวยๆ ไอเดียที่ 2 ประโยชน์สองต่อ ออกแบบให้ก่อยื่นออกจากผนังจะมีพื้นที่ด้านบนของตัวศาลที่สามารถวางของได้ แต่ของที่จะวางควรจะเป็นรูปเคารพหรือรูปปั้นเทพเจ้าที่เป็นสิริมงคล เช่น ฮก ลก ซิ่ว ถือว่าใช้ประโยชน์ได้ถึงสองต่อ ไอเดียที่ 3 กลมกลืนกับผนัง การเลือกวัสดุและสีสันของศาลนั้น ควรเลือกจากความเหมาะสม โดยอาจคำนึงถึงสีที่ถูกโฉลกและสีที่เข้ากับการตกแต่ง การใช้สีและวัสดุของศาลให้เข้าหรือเหมือนกับผนัง จะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องกลมกลืน ดูเป็นหนึ่งเดียวกัน ไอเดียที่ 4 ฝุ่นไม่เข้า กฎข้อหนึ่งของตี่จู่เอี้ย […]

ไอเดียออกแบบ “ศาลพระภูมิ” และ “ตี่จู่เอี้ย” ให้เข้ากับดีไซน์ของบ้าน

คนไทยเราให้ความนับถือ ศาลพระภูมิ และ ตี่จู่เอี้ย กันมานาน เพราะเชื่อว่าจะช่วยคุ้มครองสมาชิกในบ้านให้พ้นภัย และยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้รับแต่ความสุขความเจริญ ทุกวันนี้เราเห็น ศาลพระภูมิ และ ตี่จู่เอี้ย ได้ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ เพียงแต่รูปแบบอาจเปลี่ยนไปบ้าง โดยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่มาผสมผสานกับศิลปะตะวันออกหรือตะวันตก จนได้ศาลที่มีรูปลักษณ์แปลกตา และดูมีดีไซน์ที่เข้ากับบ้านกันมากขึ้น ครั้งนี้เรามีตัวอย่างศาลพระภูมิและตี่จู่เอี้ยที่มีการออกแบบได้สวยงาม เข้ากับรูปลักษณ์ของบ้านมาให้ชมกันเป็นไอเดีย ศาลพระภูมิ แม้ว่าการนับถือศาลพระภูมิจะเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาของศาสนาพราหมณ์ แต่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ก็ให้ความเคารพศรัทธา เพราะเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเทพารักษ์ที่ช่วยปกปักรักษาบ้านและคนในบ้านนั่นเอง รูปแบบของศาลพระภูมิ ศาลพระภูมินั้นไม่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นสีใด (แต่บางคนชอบให้เป็นสีวันเกิดเจ้าของบ้าน) และไม่มีขนาดที่เป็นมาตรฐาน เราสามารถสั่งทำตามขนาดและสีที่ต้องการได้ เพื่อให้เข้ากับตัวบ้านหรือความเชื่อส่วนตัว โดยรูปแบบของตัวศาลสามารถสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการของบ้านและอาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น สมัยก่อนจะนิยมสร้างบ้านเป็นเรือนไม้ทรงไทย ตัวศาลก็จะมีรูปแบบเป็นทรงไทยหลังเล็กๆ ในยุคต่อมาเรามักคุ้นเคยรูปแบบศาลที่มากด้วยสีสันหรือประดับกระจกระยิบระยับ ซึ่งบางครั้งอาจดูไม่เข้ากับบ้านหรือสวนที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย ปัจจุบันเราจะเห็นรูปแบบของศาลพระภูมิที่ดูแปลกตามากขึ้น ซึ่งบางแห่งสร้างจากการย่อส่วนของสถานที่จริง เพื่อให้เข้ากับอาคารที่มีอยู่ ตำแหน่งในการจัดตั้งศาลพระภูมิ ตามปกติการตั้งศาลพระภูมิที่ถูกต้องควรตั้งอยู่ทางด้านฝั่งขวามือของพื้นที่หน้าบ้านและไม่ควรอยู่ชิดกับรั้วมากเกินไป  อาจรวมเข้าไปเป็นพื้นที่ของสวนหน้าบ้านก็ได้  ทั้งนี้การที่ศาลพระภูมิอยู่ทางมุมด้านขวาของตัวบ้าน  เพราะทางด้านซ้ายมือมักเป็นพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามความเชื่อดั้งเดิม แต่สุดท้ายแล้วจะตั้งไว้ตรงไหนก็ได้ที่สงบและไม่วุ่นวาย  เพื่อไม่ให้ขวางทางสัญจรของกิจกรรมในบ้าน  ตี่จู่เอี้ย ใครเป็นลูกหลานชาวจีนคงจะคุ้นชินกับ “ตี่จู่เอี้ย” หรือศาลเจ้าที่ในบ้านเป็นอย่างดี เพราะถือเป็นของสำคัญที่จำเป็นต้องมีไว้คู่บ้านของครอบครัวชาวจีนเสมอ รูปแบบของตี่จู่เอี้ย ตี่จู่เอี้ยแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะเหมือนศาลเจ้าขนาดจำลองและทาสีแดง ซึ่งคงจะดูเข้ากันดีกับบ้านของชาวจีนในสมัยก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งบ้านที่อยู่อาศัยของเราได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก […]