รีโนเวตมุมบ้าน ให้น่าอยู่ขึ้นด้วยเทคนิคที่สามารถทำได้เอง

การสร้างบรรยากาศใหม่ด้วยการ รีโนเวตมุมบ้าน สามารถทำได้โดยไม่ต้องเก็บเงินก้อนรอให้บ้านเก่าคร่ำ เพียงจัดระเบียบให้ใช้งานง่าย เลือกซ่อมให้ถูกชิ้น เติมแต่งให้ถูกจุด  ก็สามารถสร้างชีวิตชีวาให้เหมือน อยู่บ้านใหม่ได้ตลอดเวลา เทคนิคการสร้างบรรยากาศใหม่ การ รีโนเวตมุมบ้าน สามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเก็บเงินก้อนรอให้บ้านเก่าคร่ำแล้วค่อยรีโนเวตใหญ่ในครั้งเดียว เพียงหมั่นปรับปรุงให้ดีขึ้นทีละมุม บ้านก็จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นที่ทุกคนชื่นชอบได้ ซึ่งหากเราเข้าใจและมีเป้าหมายในการตกแต่งที่ชัดเจน แม้จะไม่ชำนาญด้านเทคนิค ก็สามารถคุยกับช่างให้ทำได้ตามที่ต้องการ หรืออาจทำด้วยตัวเองในบางจุดที่ไม่ยุ่งยากนัก โดยมีวิธีการหลักๆ ดังนี้ จัดระเบียบบ้านให้ใช้งานสะดวกขึ้น จัดการสิ่งรกหูรกตา และจัดหมวดหมู่การใช้งานให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของเราเองมากขึ้น เพียงเท่านี้ ก็เพิ่มความน่าอยู่ให้บ้าน และใช้ชีวิตในห้องต่างๆ  ได้อย่างสบายตาสบายใจโดยที่ยังไม่เติมการตกแต่ง อะไรเลย หรือลองจัดผังเฟอร์นิเจอร์ให้เกิดการใช้งานใหม่ๆ ก็สร้างความรู้สึกน่าตื่นเต้นให้บ้านหลังเดิมได้ รีโนเวตมุมบ้าน ด้วยการชุบชีวิตเฟอร์นิเจอร์ ซ่อมแซมและตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ให้สดใสขึ้น โดยนำมาแปลงโฉมด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การทำสี สร้างลวดลาย เปลี่ยนวัสดุปิดผิว หรือดัดแปลงให้น่าใช้งาน ก็สามารถเพิ่มความน่าสนใจให้ห้องได้ ซึ่งอาจ ซ่อมแซมยกชุดให้เป็นธีมเดียวกันทั้งหมด หรือเลือกเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักของห้องที่อาจดูหลุดยุคหลุดสมัย มาตกแต่งใหม่ เมื่อนำมาวางคู่กับชิ้นเดิมที่ยังใช้งานได้ดี ก็เพิ่มความเก๋ให้ห้องได้ไม่น้อย บ้านชุมดวง ปรับปรุงใหม่จากบ้านไม้โบราณโดยคุณโสภณ ปลูกสร้าง ที่บูรณะบ้านไม้สักเก่าอายุร่วม 100 ปี ให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง >> อ่านต่อ […]

สารพัดปัญหาก่อสร้าง-ต่อเติมบ้าน การแก้ไขและป้องกัน

การสร้าง-ซ่อม-ต่อเติมบ้านมักเกิดสารพัด ปัญหาบ้าน ซึ่งหากรู้วิธีป้องกันและแก้ไข ก็ช่วยลดความเสียหายได้อย่างมาก เราจึงรวม 20 ปัญหาที่มักเจอ พร้อมการแก้ไข ปัญหาบ้าน มาฝากกัน 1.ลดปัญหาผนังฉาบปูนแตกลายงา การแตกลายงามักเกิดจากปูนฉาบแห้งเร็วเกินไป เพราะน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปูนเซ็ตตัวจนแข็งแรง ระเหยเร็วเกินไป หรือน้ำถูกอิฐดูดไปในระหว่างฉาบ จึงเกิดการแตกลายงาได้ โดยวิธีฉาบปูนบนผนังก่ออิฐมอญที่ลดการแตกลายงา คือ ปัญหาบ้าน นำอิฐแช่น้ำก่อน 1 ชั่วโมง หรือใช้สายยางฉีดน้ำให้อิฐชุ่ม เพื่อช่วยให้อิฐอิ่มน้ำ จะได้ไม่มีการแย่งน้ำจากเนื้อปูนก่อ หลังจากก่อเสร็จแล้ว ควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่ออยู่ตัว ก่อนทำการฉาบต่อไป ซึ่งก่อนฉาบ 1 วัน ควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ก่อน และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันฉาบ ทำการบ่มผนัง โดยรดน้ำผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อเนื่อง 3-7 วัน อย่างน้อยวันละ1 ครั้ง ป้องกันผนังที่ฉาบแล้วไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้น้ำระเหยเร็วเกินไป ส่วนที่โดนความร้อนมาก มีการกรีดผนัง หรือจุดที่เสี่ยงกับการแตกร้าว ควรกรตะแกรงกรงไก่ก่อนฉาบปูน 2.ป้องกันมุมผนังช่องประตู-หน้าต่างร้าวได้อย่างไร ถ้าเป็นรอยร้าวเล็กๆ มักเกิดกับวงกบไม้ที่มีการยืดหดตัวสูง หรือไม่ได้ใส่ตะแกรงลวดกรงไก่บริเวณรอยต่อขอบปูนกับวงกบ ซึ่งไม่มีอันตรายเพราะเป็นเฉพาะผิวปูน แต่ถ้ารอยร้าวค่อนข้างใหญ่และลาม อาจเกิดจากการก่อสร้างผนังช่องเปิดไม่ได้ทำเสาเอ็น-คานทับหลัง หรือทำไม่ถูกต้อง โดยเสาเอ็น-คานทับหลังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงเหล็กที่ถูกต้องจะต้องทำไว้โดยรอบช่องเปิด […]

ทำระบบสูบน้ำ ป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้าน

วิธีป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน เมื่อเจอปัญหาน้ำท่วมถนน หรือบ้านอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าถนน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีต่างๆ หรือเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนก่อสร้าง

100 เรื่องต้องรู้เมื่อมีบ้าน

เป็นหนังสือเล่มต่อจากหนังสือ 99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน คือให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง การบำรุงรักษาบ้านพักอาศัย เพื่อให้คนทั่วไปที่สนใจเรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคาร หรือกำลังจะสร้างบ้าน หรือกำลังสร้างบ้าน หรือแม้แต่คนที่มีบ้านอยู่แล้ว สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการดูแลและปรับปรุงบ้าน และมีความรู้สำหรับตรวจสอบการทำงานของช่างได้ถูกต้อง โดยในเล่ม 100 เรื่องฯ จะนำเสนอเป็นหัวข้อคำถามซึ่งมักมีคนถามอยู่บ่อยๆ พร้อมคำตอบที่อธิบายให้เข้าใจง่ายและไม่ยาวเกินไป ซึ่งทุกเรื่องไม่ซ้ำกับในเล่ม 99 เรื่องฯ   ผู้เขียน : วิญญู วานิชศิริโรจน์,ศักดา ประสานไทย บาร์โค้ด : 9786161826772 ราคา : 265.00 บาท  

วางแผนซ่อมบ้านอย่างมืออาชีพ เรื่องง่ายๆ ที่คุณก็ทำเองได้

ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนโดยไม่ถูกกาลเวลาทำลาย เช่นเดียวกันกับ ‘บ้าน’ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย จนเกิดการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านแบบเราจึงอยากซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาใหม่และน่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร วันนี้เราจึงมีแนวทางมาฝาก! 1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น […]

ทาวน์เฮ้าส์รีโนเวท “ปรับให้เรียบ เปิดให้โล่ง โปร่งสบาย”

บ้านเก่ารีโนเวท หลังที่ 2 ครั้งนี้จะพาไปชม ทาวน์เฮ้าส์รีโนเวท ทาวน์เฮ้าส์ที่มีอายุเกือบ 20 ปี กับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นออฟฟิศเล็กๆในคราวเดียวกัน

ปั๊มน้ำมีเสียงดังแปลกๆ แก้ยังไง

ที่ด้านหลังมอเตอร์ปั๊มน้ำ มีใบพัดเพื่อช่วยระบายความร้อนจากมอเตอร์ปั๊มน้ำ เป็นจุดที่จิ้งจกหรือแมลงต่างๆสามารถมุดเข้าไปได้ หรือถ้าวางปั๊มน้ำอยู่ใกล้พื้นสนามหญ้า หอยทากก็สามารถเข้าไปได้เช่นกัน ทำให้ ปั๊มน้ำเสียงดัง

ก่อนจะซ่อมบ้าน…ต้องวางแผน!

การซ่อมแซมบ้านมีหลายเรื่องให้คิด ถึงแม้จะเป็นแค่ส่วนเล็กๆ แต่ถ้าไม่วางแผนให้ดีแล้ว อาจทำให้งบประมาณบานปลายได้ เราขอแนะนำการวางแผนซ่อมบ้านแบบง่ายๆ ดังนี้

คู่มือคู่บ้าน : INTERIOR SURFACE พื้นผิวภายในบ้าน

ซ่อมแซมพื้นผิวภายในบ้านที่สึกหรอเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตัวเองกับคู่มือคู่บ้านจาก room

TIME TO CHECK UP !

อยู่ด้วยกันมาตั้งนานแล้ว อย่าลืมเช็กสุขภาพบ้านกันด้วย เพื่อจะได้ซ่อมแซมแก้ไขได้ทันเวลา