คอนกรีตเสริมเหล็ก
ราคาวัสดุเหล็ก 2565
เหล็ก เป็นวัสดุจำเป็นในการก่อสร้างที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ใครที่กำลังจะสร้างบ้าน มาเช็กราคาเหล็กล่าสุดกัน (อัปเดต เมษายน 2565) ราคาวัสดุเหล็ก เหล็กเสริมคอนกรีต เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ SR.24 (มอก.) ยาว 10 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. ราคาตันละ 28,466.67 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มม. ราคาตันละ 27,600.00 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ราคาตันละ 27,566.67 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. ราคาตันละ 27,433.33 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 19 มม. ราคาตันละ 27,500.00 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. ราคาตันละ 27,500.00 บาท เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย SD.40 (มอก.) ยาว […]
รวมศัพท์ช่าง ที่ฟังแล้วอาจงงว่าหมายถึงอะไรนะ?
หลายคนอาจเคยได้ยิน ศัพท์ช่าง บางคำที่ฟังแล้วอาจทำให้เราต้องนึกสงสัย หนวดกุ้งคืออะไร? ท้องช้างคือส่วนไหน? ไปดูที่มาของศัพท์ช่างเหล่านี้กัน ศัพท์ช่าง ที่ช่างมักจะพูดกันนั้น บางครั้งก็มีคำที่ฟังแล้วอาจจะพานนึกไปถึงอย่างอื่นได้อยู่บ่อยครั้ง แต่ศัพท์ช่างเหล่านั้นก็เป็นคำพูดที่ใช้กันมาจนเคยชินเสียแล้ว เพื่อให้สามารถสื่อสารกับบรรดาช่างๆ ได้เข้าใจมากขึ้น วันนี้บ้านและสวนจึงขอยก 30 ศัพท์ช่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ มาเป็นตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านกัน ตีเต๊า หมายถึง การสร้างแนวเส้นบนอาคารระหว่างก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับการกำหนดระยะ วางตำแหน่งในการติดตั้งส่วนต่างๆบนอาคาร โดยใช้เครื่องมือตีเต๊า(บางคนก็เรียก เต๊า ปักเต๊า) ซึ่งจะทำให้เกิดสีเป็นแนวเส้นตามรอยของเชือกทำให้ช่างเห็นรอยในการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ การตีเต๊านั้นจะใช้กับงานประเภท วางท่อ ผนัง ติดตั้งประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น ศัพท์ช่าง ต๊าปเกลียว คือ การทำให้เกิดเกลียวบนผิววัสดุ ส่วนใหญ่ช่างจะใช้ทำบนพื้นผิวท่อเหล็กหรืออลูมิเนียมให้ท่อเกิดเป็นเกลียวไว้สำหรับไปต่อประกอบกับอีกท่อหนึงได้ ต๊าปเกลียวมีทั้งการทำเกลียวในและเกลียวนอก โดยมีเครื่องจักรในการทำจนไปถึงเครื่องมือแบบพกพาในการทำต๊าปเกลียว (แนะนำให้ใช้เครื่องจักรดีกว่าเพราะเกลียวจะคงที่กว่าการทำมือ) สลัดดอก คือ การเตรียมพื้นคอนกรีตก่อนฉาบด้วยการเอาปูนซีเมนต์ธรรมดาผสมกับน้ำ ทราย และน้ำยาเพิ่มแรงยึดเกาะ แล้วใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวมาจุ่มลงในน้ำปูน สลัดลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะฉาบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงค่อยมาฉาบทับไปอีกที ซึ่งเทคนิคสลัดดอกนี้จะช่วยให้ปูนฉาบเกาะกับผิวคอนกรีตได้ดีขึ้น ช่วยเรื่องการหลุดร่อนหรือการแตกร้าวของปูนฉาบไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต […]
ทำความรู้จัก วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส ทดแทนเหล็กเส้น
วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส หรือบ้างเรียกว่า “เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส” เป็นวัสดุทดแทนเหล็กเส้น เพื่อแก้ปัญหาเหล็กเส้นในคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดสนิม และทำให้โครงสร้างเสียการรับแรง ไปทำความรู้จักกับวัสดุชนิดนี้กัน รู้จัก GFRP หรือ Glass Fiber Reinforced Polymer วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส (GFRP Rebar) ผลิตขึ้นมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่ผ่านขบวนการดึงขึ้นรูปคล้ายการทำเชือกแล้วผสมเรซิน จึงมีการรับแรงได้ดีและน้ำหนักเบา ซึ่งแต่ละแบรนด์จะมีการผสมสีแตกต่างกัน โดย GFRP มีการใช้ในกิจการเครื่องบินและเดินเรือในอเมริกาและแคนนาดามานานแล้ว โดยปี ค.ศ.1996 มีการผลิตเป็นเหล็กเส้นสร้างสะพาน เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส ทำไมแนะนำให้ใช้ GFRP Rebar แทนเหล็กเส้น เหล็กเกิดสนิมได้แม้จะอยู่ในคอนกรีต เพราะเหล็กนั้นโดนความชื้นตั้งแต่การขนส่ง และความชื้นยังซึมผ่านเข้าไปในคอนกรีตได้ เมื่อเหล็กเกิดสนิมก็จะดันเนื้อคอนกรีตให้แตกออกมาจนโครงสร้างรับแรงได้น้อยลงและพังลงมา โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเลที่ทำให้เหล็กเกิดสนิมเร็วขึ้น อีกทั้งการผลิตเหล็กต้องใช้พลังงานสูงมาก และราคาพลังงานก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ทำให้ราคาเหล็กมีแนวโน้วราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อดีของ GFRP Rebar น้ำหนักเบา โดยมีน้ำหนัก 25% ของน้ำหนักเหล็กในขนาดที่เท่ากัน แข็งแรงกว่าเหล็ก 2 เท่า ในขนาดที่เท่ากัน ขนส่งง่าย ขนย้ายสะดวก โดยขนาด 4-12 มิลลิเมตร สามารถม้วนได้ โดยรถกระบะ 1 […]
วิธีแก้ไขปัญหาเหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม
เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม อาจดูน่ากลัวสำหรับเจ้าของบ้าน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ปัญหานี้สามารถจัดการได้ไม่ยากอย่างที่คิด เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม เกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย โดยปกติแล้ว เหล็กเส้นและเหล็กข้ออ้อยที่ใช้เสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นก็มักจะมีสนิมผิวอยู่บ้าง ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้ปูนยึดเกาะกับเหล็กเสริมโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ประเภทของสนิม สนิมผิว สนิมประเภทนี้จะเกาะตามเนื้อเหล็กกล้าที่ยังไม่ได้ถูกเคลือบหรือทำผิว สนิมเหล่านี้มักเป็นผงบางๆเกาะอยู่บนผิวสามารถใช้แปลงทองเหลืองปัดออกได้ไม่ยากนัก สนิมขุม เป็นสนิมที่เกาะกินจนลุกลามเกิดเป็นโพรงสนิมกินลึกเข้าไปในเนื้อเหล็ก สนิมแบบนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะเริ่มทำให้เหล็กเสียหายไปเยอะแล้ว แต่ในโครงสร้างเหล็กที่มีความหนาเช่นเหล็ก H Beam หรือเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อยมักจะไม่พบสนิมขุมบ่อยนัก (หากไม่ได้ปล่อยโครงสร้างเปลือยทิ้งเอาไว้เป็น 10-20 ปี แต่ในโครงสร้างเหล็กที่เป็นเหล็กกล่อง หรือเหล็กแบบ Light Guage นั้น หากเกิดสนิมแล้วก็มักจะลุกลามกัดกินจนเสียหายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเนื้อเหล็กที่บางเสียหายได้ง่ายนั่นเอง เสาคานระเบิดน่ากลัวหรือไม่? เกิดจากจากอะไร? ฟังดูแล้วเหมือนจะน่ากลัว แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยปกติแล้ว การที่เสาหรือคานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะมีอาการแตก ผุ ร่อน กระเทาะออกมา หากสังเกตแล้วไม่ใช่อาการว่าคานหัก หรือเสาหักกลางลำ และเมื่อพื้นที่ด้านบนไม่ได้มีการต่อเติม หรือ มีน้ำหนักที่ทำให้คานและเสาต้องแบกรับมากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดจากความชื้นที่เข้าไปทำให้ เหล็กเสริม เกิดสนิมจนดันปูนระเบิดออกมานั่นเอง ส่วนสาเหตที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็คือการปริร้าวของคอนกรีตอันเป็นผลให้เกิดความชื้นเข้าไประหว่างเหล็กเสริมและโครงสร้างคอนกรีตนั่นเอง นานวันไปจึงเกิดเป็นสนิม และดันจนโครงสร้างคอนกรีตแตกออกมาจากภายในในที่สุด เพราะฉะนั้นทางแก้จึงเป็นการซ่อมแซมเนื้อคอนกรีต และปิดช่องทางของความชื้นที่จะเข้าไปทำให้เกิดสนิมนั่นเอง เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม ผุ […]
เจาะคาน คอนกรีตเสริมเหล็ก ทำได้หรือไม่?
เจาะคาน คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือที่เรียกว่าการ Coring จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้านหรือไม่? เป็นคำถามที่มีท่านผู้อ่านถามกันเข้ามาอยู่เป็นระยะ ถ้าให้ตอบเร็วๆก็คงต้องตอบว่าทำได้ แต่คานและเสานั้นเป็นโครงสร้างหลักที่สำคัญของบ้านและสวนอาคาร เพราะฉะนั้นในคำว่า “ทำได้” นั้น ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องทำให้ถูกต้องอย่างรัดกุม ไม่เช่นนั้น การรีโนเวทหรือปรับปรุงอาจกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ไปในที่สุด เจาะคานไม่ดี มีปัญหายังไง? theconstructor.org เจาะคาน ผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน เพราะว่าในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะมีเหล็กอยู่ภายใน ระบบคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น ตัวปูนหรือคอนกรีตจะมีหน้าที่ในการรับแรงกดหรือน้ำหนัก และภายในนั้นจะมีเหล็กเส้นสำหรับรับแรงดึงอยู่ด้วยนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ว่าจะเสา คาน ผนังหล่อในที่ หรือแม้แต่ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หากเจาะเข้าไปโดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนจึงอาจทำให้เจาะถูกเหล็กเส้นเหล่านั้นได้ และจะทำให้โครงสร้างรับแรงดึงล้มเหลว เป็นผลกระทบไปถึงความแข็งแรงของโครงสร้างทั้งหมดในที่สุด ตรวจให้แน่ แล้วค่อยเจาะ มีวิศวกรดูแล ปลอดภัยหายห่วง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำได้ การจัดการกับโครงสร้างในงานรีโนเวทนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าจะเจาะพื้นเพื่อเดินระบบใหม่ หรือเจาะคานเพื่อเดินท่อในกรณีที่คานสูงเพดานไม่พอ แต่การจัดการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนการเจาะนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็น ในกรณีนี้จึงต้องมีการ ตรวจหาตำแหน่งเหล็กเสริมและระยะหุ้มคอนกรีต หรือที่เรียกว่า Ferro Scan Test เสียก่อน เพื่อกำหนดจุดที่จะทำการ Coring ให้ไม่เกิดปัญหาตามมา และจำเป็นที่จะต้องมีวิศวกรดูแลตั้งแต่เริ่มต้น เอาให้ชัวร์คือคือออกแบบเอาไว้ตั้งแต่แรก สุดท้ายแล้วการจัดการกับโครงสร้างในภายหลังนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าอภิรมย์นัก เพราะมักจะมีปัญหาจุกจิกตามมาไม่มากก็น้อย ในระบบงานใหญ่ๆ […]
ทำไมเวลาก่อผนังต้องมีเสาเอ็นทับหลัง (ค.ส.ล.)
การ ก่อผนัง ของบ้านในประเทศไทยนั้นคือผนังที่ใช้วัสดุเล็กๆมาก่อเป็นแผง เช่นอิฐมอญอิฐมวลเบาคอนกรีตบล็อก