รวมไอเดียกระบะปลูกผักสวนครัวแบบต่างๆ สวยด้วยและกินได้ มีพื้นที่ไม่มากก็ปลูกได้

สวนสวยๆใครก็อยากมี แต่เราเชื่อว่ากระบะปลูกผักสวนครัวในบ้านที่สวยและกินได้ด้วยก็เป็นสวนอีกรูปแบบหนึ่งที่เจ้าของบ้าน หลายคนใฝ่ฝัน เพราะอะไรก็ตามที่เราลงมือปลูกเอง คอยเฝ้าดูการเจริญเติบโต กระทั่งเก็บมารับประทานได้ก็ถือเป็นความภูมิใจของผู้ปลูกไม่น้อย ทว่าจะทําสวนสวยด้วยกินได้ด้วยอย่างไรให้เก๋ เรามีตัวอย่างมาให้เลือก ไปทําตามกัน แต่ก่อนอื่น เรามาเตรียมพื้นที่กันคร่าวๆ เพื่อให้ปลูกได้ง่ายขึ้น ดังนี้ 1.เลือกพื้นที่ บริเวณที่จะทําแปลงผักสวนครัวควรได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวันหรืออย่างน้อย6ชั่วโมง หากเป็นบ้านจัดสรรก็ควรอยู่บริเวณทิศใต้หรือด้านที่ไม่ได้รับเงาจากตึกข้างเคียงมาบัง 2.เลือกรูปแบบสวนครัว บ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนัก สวนครัวกระถางหรือแขวนก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากมีพื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีกสักหน่อยก็สามารถทําแปลงผักได้ จะทําเป็นแปลงแบบดั้งเดิมหรือยกกระบะขึ้นมาโดยออกแบบให้สวยงามเพื่อใช้ตกแต่งสวนด้วยในตัวก็ได้ 3.เลือกชนิดพืช นอกจากพืชผักที่เราชอบและใช้งานบ่อยๆแล้ว หากเลือกชนิดที่มีรูปทรง สีสัน และเท็กซ์เจอร์แตกต่างกันก็สามารถใช้ทดแทนไม้ประดับได้ หรือจะปลูกไม้ดอกไม้ใบสวยๆแซมในแปลงผักเพื่อช่วยตกแต่งก็ไม่เลว อีกทางเลือกคือ ใช้พืชสมุนไพรกลิ่นหอมจากต่างประเทศที่มีรูปทรงสวย เช่น โรสแมรี่ มินต์ ไธม์ พาร์สลีย์ พืชเหล่านี้มีเท็กซ์เจอร์ใบสวย ทําให้สวนของคุณดูไม่เรียบเกินไป 4.เลือกขนาด ข้อกําหนดในการทําแปลงผักไม่มีขนาดตายตัว แต่ความกว้างของแปลงควรมีระยะให้มือเอื้อมถึงเพื่อจัดการได้ง่ายโดยอยู่ที่ประมาณ1.20-1.50เมตร (สําหรับแปลงผักที่เข้าได้ทั้งสองด้าน) และเว้นระยะทางเดินประมาณ75เซนติเมตร ก็จะเข้าไปใช้งานได้ง่ายขึ้น กระบะต้นไม้ + ที่นั่ง ออกแบบที่นั่งที่ต่อเชื่อมกับกระบะต้นไม้ ใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองฟังก์ชัน คือนั่งและปลูกได้ในตัว ลักษณะนี้ควรหลีกเลี่ยงพืชที่มีใบคม มีขนหรือหนามซึ่งทําให้ระคายเคือง เช่น ตะไคร้ มะเขือ มะกรูด พริกชะอม […]

ทําความรู้จัก“Permaculture” วัฒนธรรมใหม่ของโลก ที่แก้ปัญหาปากท้องและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จากปัญหาวิกฤตโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ความสวยงามและการใช้งานอาจไม่เพียงพอเสียแล้วสําหรับการออกแบบสวนในปัจจุบัน สิ่งสําคัญคือสวนนั้นต้องช่วยให้เรามีชีวิตรอดในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง คําว่า“Permaculture”จึงเริ่มเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างทั่วทั้งโลก ใครที่ยังไม่เคยรู้จักหรือรู้จักเพียงผิวเผิน เรามาเริ่มทําความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย ที่มาที่ไป เพอร์มาคัลเจอร์เกิดขึ้นเมื่อราวปีค.ศ.1978 โดยบิลมอลลิสันและ มาซาโนบุ ฟุกุโอกะ ซึ่งต้องการศึกษาหาแนวทางที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อทําการเกษตรแบบยั่งยืน(Permanent Agriculture) ต่อมาจึงได้เกิดความเข้าใจว่า การจะทําการเกษตรรูปแบบนี้จําเป็นต้องทําวิถีชีวิตในทุกด้านให้ยั่งยืนด้วย แนวคิดดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปจนเป็นที่ยอมรับและศึกษาต่อไปในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก หากจะสรุปสั้นๆ เพอร์มาคัลเจอร์คือการทําเกษตรกรรมผสมผสานรูปแบบหนึ่งที่คนไทยก็คุ้นเคย ขนานไปกับวิถีชีวิตที่เป็นการรวมศาสตร์ในด้านต่างๆมาใช้ออกแบบวัฒนธรรมในทุกด้านของการดํารงชีวิตประจําวัน เพื่อผลิตอาหารและพลังงานให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล พร้อมรับมือสู่อนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนและปัญหาพลังงานที่ลดลงไปในทุกวัน จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ของวิถีชีวิตแบบเพอร์มาคัลเจอร์ไม่มีหลักตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์หรือความเหมาะสม เราได้รวบรวมไอเดียที่น่าสนใจของวัฒนธรรมสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสวนที่บ้านคุณได้ไม่ยาก ดังนี้ ลําดับการวางผังสวน การวางผังหรือแบ่งสัดส่วนภายในสวนเป็นหัวใจสําคัญของการทําสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์รูปแบบที่นิยมทํากันจะเริ่มจากการเลือกบริเวณที่ตั้งของบ้านที่อยู่อาศัยให้อยู่ตรงกลาง มีทางเข้า-ออกที่เชื่อมกับพื้นที่สาธารณะได้สะดวก ก่อนกําหนดโซนอื่นๆให้แผ่ออกเป็นรัศมีวงล้อมขยายซ้อนออกไปเรื่อยๆ โดยแต่ละลําดับของชั้นต่างๆ ด้านที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยคือการทําเกษตรที่ต้องการการดูแลหรือนํามาใช้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ขณะที่วงนอกสุดออกแบบให้มีลักษณะเป็นสวนป่าเพื่อรักษาและสร้างความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศเดิมหรือสวนป่าที่อยู่รอบๆ ทําให้สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พื้นที่ในบริเวณนี้แบบเชื่อมถึงกันได้ การวางผังในลักษณะนี้นอกจากจะง่ายต่อการจัดการดูแลสวนที่ใช้พลังงานน้อยลงแล้ว ยังสอดคล้องกับการวางระบบอื่นๆ ทั้งการระบายน้ํา ให้แสงสว่าง และสาธารณูปโภค ซึ่งในโซนต่างๆที่มีกิจกรรมที่สามารถผลิตปัจจัย4ในการดํารงชีวิตได้ ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เพื่อใช้ทําอาหาร ต้นไม้ที่มีใยหรือสีสําหรับทําเครื่องนุ่งห่ม ไม้หรือดินสําหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสมุนไพรสําหรับเป็นยารักษาโรค สร้างวงจรทรัพยากรที่เลียนแบบธรรมชาติ เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกันในพื้นที่ ป่าอาหาร […]

คุยกับ “โครงการสวนผักคนเมือง” ที่ปรึกษาให้เราเริ่มต้นลงมือปลูกผักทานเองได้

ยุคที่มีโรคระบาดและเศรษฐกิจย่ําแย่ ผู้คนเริ่มประสบปัญหาทั้งเรื่องปากท้องและเรื่องสุขภาพ การปลูกผักรับประทานเองกลายเป็นอีกหนึ่งคําตอบที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจ แต่จะเริ่มต้นลงมือทําได้อย่างไร นั่นจึงเป็นที่มาให้เราได้พูดคุยกับกลุ่มสวนผักคนเมืองที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดกิจกรรมปลูกผักขึ้นในสังคมคนเมืองและย่านที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางให้คุณได้เริ่มต้นลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง กว่าจะเป็น โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เป็นองค์กรหนึ่งในบ้านเราที่มีวัตถุประสงค์ทําเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อเป็นทางออกของการช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้สารเคมี การทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต่อมาหลายภาคี ทั้งกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายของมูลนิธิ เล็งเห็นว่าพื้นที่เมืองซึ่งมีทางออกของปัญหาด้านอาหารการกินและสุขภาพน้อยกว่าพื้นที่ในชนบทที่เป็นแหล่งผลิต จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนให้คนในเมืองได้มีสุขภาพดีผ่านอาหารการกินและการทําเกษตร มูลนิธิจึงดําเนินการในนามของ“โครงการสวนผักคนเมือง” ต่อมาหลังวิกฤติน้ําท่วมในช่วงปี พ.ศ.2554 คนเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยิ่งตระหนักและตื่นตัวกับวิกฤติดังกล่าวมากขึ้นเพราะต้องพึ่งการนําเข้าอาหารจากการขนส่งภายนอกเพียงอย่างเดียว ยกเว้นคนเมืองที่ปลูกผักบริโภคเอง ทั้งที่ร่วมกับโครงการและยังไม่ร่วมหลายครอบครัว โดยเฉพาะสวนดาดฟ้าที่ยังคงมีวัตถุดิบทําอาหารรับประทานได้ปกติ ถ้าปลูกคนเดียวไม่ได้ก็ต้องช่วยกัน “สวนผักคนเมืองนอกจากสร้างอาหารสําหรับบริโภคได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทําให้คนมืองได้กลับมาทํางานด้วยกัน เราคิดว่าพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรกรรมหรือเพาะปลูกอาหารควรจะทําให้คนเมืองหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน สร้างการมีส่วนร่วมกันในองค์กรและชุมชนผ่านการปลูกผัก ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องทําให้คนหันกลับมาพูดคุยกัน อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเดิมอีกด้วย”คุณวรางคนางค์ นิ้มหัตถา หัวหน้าโครงการสวนผักคนเมืองมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เล่าให้เราฟัง นอกเหนือจากประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนักถึงความสําคัญของอาหารอินทรีย์แล้ว ยังทําให้คนเป็นผู้บริโภคที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์และเป็นผู้ผลิตไปด้วยในตัว จนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรร่วมกัน โดยกลุ่มคนที่จะสามารถเป็นสมาชิกของโครงการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.ต้องใช้พื้นที่ส่วนกลางของชุมชน องค์กร หรือพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลูกผักด้วยกัน ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันได้ และยังให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหาความรู้ รวมถึงเก็บผลผลิตเล็กๆน้อยๆจากแปลงไปได้ 2.ต้องรวมกลุ่มกันอย่างน้อย10ครอบครัวขึ้นไป 3.ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีใดๆ ให้ความสําคัญกับการปลูกที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น การปลูกผักลงดิน เพราะในเมืองยังมีผืนดินที่สามารถปลูกได้ดี พรรณไม้ทั่วไปสามารถงอกเงยในดินได้ไม่ยาก […]