การทำสวนดาดฟ้าและระบบกันซึม

อยากทำสวนดาดฟ้า ต้องทำระบบกันซึมอย่างไร คอลัมน์ Home Expert ชวนมาดูดีเทลจากนักออกแบบสวนชั้นนำ บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด ในการทำสวนดาดฟ้าสวยๆแห่งนี้ ทั้งการทำพื้นไม้ กระบะต้นไม้ พร้อมวิธีการทำกันซึมดาดฟ้า และแก้ปัญหารอยร้าวกัน แนะนำว่าอย่าปล่อยให้พื้นดาดฟ้ามีน้ำขังหรือรั่วซึมเป็นเวลานาน หากพบปัญหาควรรีบแก้ไข เพื่อป้องกันการลุกลามจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้ Detail A กระบะปลูกและระบบกันซึม 1. ดินปลูกผสมหินภูเขาไฟ กันซึมดาดฟ้า 2. ทรายรองพื้นหนา 5 เซนติเมตร 3. กระบะก่ออิฐ 4. แผ่นจีโอเท็กซ์ไทล์ 5. แผ่น Grain Grid 6. วัสดุกันซึม 7. ช่องระบายน้ำขนาด 5 x 20 เซนติเมตร 8. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง 9. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ 38 x 75 x 2.3 มิลลิเมตร 10.ฐานเหล็กชุบกัลวาไนซ์หุ้มคอนกรีต […]

พิสูจน์! วัสดุทากันซึม แก้ปัญหาดาดฟ้า หลังคารั่วซึมได้จริงไหม

หลังคารั่ว ดาดฟ้ามีน้ำซึม ผนังมีรอยร้าวแก้ปัญหาได้ด้วยวัสดุกันซึม แล้วจะมั่นใจได้แค่ไหนว่าจะกันรั่วกันซึมได้จริงไหม มาพิสูจน์กับ ช่างประจำบ้าน กัน วัสดุทากันซึมชนิดอะคริลิก หลังคารั่ว ดาดฟ้ามีน้ำซึม ผนังมีรอยแตกร้าว แก้ไขได้ด้วยการทาวัสดุกันซึมชนิดอะคริลิก เน้นย้ำว่าใช้สำหรับพื้นที่ที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขัง สามารถยึดเกาะได้หลายพื้นผิว เช่น กระเบื้อง เมทัลชีท คอนกรีต มีความยืดหยุ่นสูง 500% ปิดรอยแตกกว้างไม่เกิน 2 มิลลิเมตร และยังสะท้อนรังสีความร้อน 50-80% แต่จะไปทาหลังคาดาดฟ้ากันตอนนี้ก็จะพิสูจน์เห็นผลไม่ชัดเจน มาลงมือทดสอบโดยการทากับหวดนึ่งข้าวเหนียวที่มีรูพรุนกันไปเลย กันซึม หลังคารั่ว 1.วัสดุทากันซึมชนิดอะคริลิกเปิดใช้ได้ทันที ไม่ต้องผสม ทาง่ายคล้ายการทาสี แต่ถ้าพื้นผิวมีความขรุขระมากสามารถผสมน้ำ 5-10%ทาเป็นรองพื้นได้ 2.ทารอบแรกให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอก ปล่อยให้แห้ง 4 ชั่วโมง จากนั้นทารอบสองทั้งด้านในและด้านนอก ปล่อยให้แห้งอย่างน้อย 48 ชั่วโมง 3.ทดสอบเทน้ำลงไป ไม่รั่วแม้แต่หยดเดียว กันซึม หลังคารั่ว ชัวร์สบายใจได้ 4.เมื่อแห้งแล้ว ยืดหยุ่นได้สูง 500% ปิดรอยแตกกว้างไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ทดสอบโดยทาบนฟองน้ำ ทั้งบิด […]

สวนครัวดาดฟ้า และวิธีการเตรียมพื้นที่สำหรับทำสวนครัวดาดฟ้า

สวนครัวดาดฟ้า และการทำเกษตรในเมืองเป็นทั้งงานอดิเรกและเป็นแหล่งอาหารที่สะอาดปลอดภัย โดยพื้นที่ที่เหมาะสำหรับทำเกษตรในเมืองหรือบ้านที่มีพื้นดินจำกัด คือ ดาดฟ้าหรือระเบียงที่ได้รับแสงแดดตลอดวัน มาดูวิธีการเตรียมพื้นที่สำหรับทำสวนครัวดาดฟ้ากัน สวนครัวดาดฟ้า และรูปแบบการปลูกผักสวนครัว แปลงผักที่ดีควรวางในแนวเหนือใต้ พืชจะได้รับแสงแดดมากกว่าการปลูกในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งสามารถปลูกได้หลายรูปแบบตามลักษณะพื้นที่และประเภทของพืช เช่น สวนครัวแบบแปลงผัก สวนครัวเลื้อย สวนครัวแนวตั้ง สวนครัวแบบโรงเรือน สวนครัวดาดฟ้า ดูบ้านมีสวนดาดฟ้าสวยๆ : บ้านเวียดนามที่มุงหลังคาบ้านด้วยแปลงผักสวนครัว วางแผนแบ่งโซน ตำแหน่งที่แข็งแรงที่สุดของพื้นดาดฟ้าคือ ตรงตำแหน่งเสาอาคาร รองลงมาคือแนวคานโครงสร้าง ดังนี้ถ้าจะวางวัตถุที่มีน้ำหนักมากและไม้พุ่มสูงควรวางตามแนวเสาและคาน บริเวณใกล้แนวคานเหมาะกับการรับน้ำหนักปานกลาง เช่น ไม้พุ่มเตี้ยที่ใช้ดินลึก 30-50 เซนติเมตร ส่วนบริเวณพื้นดาดฟ้าควรวางวัตถุที่มีน้ำหนักน้อย ทำเป็นทางเดินหรือปูวัสดุปูพื้นเป็นพื้นที่พักผ่อน ตรวจสอบสภาพอาคาร หากวางแผนจัดสวนและปลูกผักสวนครัวเป็นพื้นที่กว้างซึ่งมีการเพิ่มน้ำหนักให้อาคารเดิมมาก ควรให้วิศวกรมาตรวจสอบสภาพและการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร รวมถึงตรวจสภาพการแตกร้าวและการรั่วซึม โดยมี 2 จุดที่มักพบ คือ รอยต่อผนัง พื้นดาดฟ้ากับผนังมักจะทำแยกชิ้นกัน ทำให้เนื้อคอนกรีตพื้นและผนังไม่ผสานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเกิดการแตกร้าวบริเวณรอยต่อนี้ได้ง่าย พื้นดาดฟ้า การใช้วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทหรือการบ่มคอนกรีตไม่ดี และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกร้าวเป็นเส้นตรงและรูปตีนกา ซึ่งมีทั้งร้าวที่ผิวและร้าวลึกลงในเนื้อคอนกรีต การซ่อมแซมรอยแตก สามารถซ่อมแซมรอยแตกหรือรอยต่อด้วยซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้างด้วยวิธีการดังนี้ ทำความสะอาดพื้นผิว สกัดพื้นผิวที่หลุดล่อนออกจนถึงผิวที่แน่น ถ้าเสียหายจนถึงเหล็กเสริม ให้ทำความสะอาดเหล็กเสริม […]

7 วิธีป้องกันบ้านพังจาก ความร้อนและความชื้น

ความร้อนและความชื้น ทำให้บ้านพังได้! เช่น ผนังแตก ขึ้นรา อยู่อาศัยไม่สบายและสิ้นเปลืองพลังงาน มาดูวิธี กันร้อน กันชื้น ให้บ้านกัน    1. ใส่ฉนวนกันความร้อนที่หลังคา สามารถติดตั้งได้ 3 ตำแหน่ง คือ บนพื้นผิวหลังคา ใต้วัสดุมุงหลังคา และบนฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น กันร้อน กันชื้น 2. ป้องกันแดดและฝน หลังคาบ้านควรทำชายคายื่น 1-1.5 เมตร เพื่อป้องกัน ความร้อนและความชื้น จากแดดและฝน หากหลังคาไม่มีชายคา จะทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เช่น ผนังแตก สีลอก ขึ้นรา น้ำซึม 3. ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนและคราบน้ำ ลดความเสียหายจากน้ำฝนได้ด้วยการทำขอบคานเอียงเข้าจะช่วยลดการเกิดคราบน้ำที่ผนังได้ ยกระดับฝ้าชายคาให้สูงกว่าขอบคานป้องกันฝ้าเสียหายจากน้ำฝน และทำ “บัวหยดน้ำ” ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนเข้าบ้าน 4. ป้องกันความชื้นจากดิน ถ้าจำเป็นต้องทำพื้นบ้านเตี้ยหรือติดดิน ควรปูแผ่นพลาสติกหรือวัสดุกันซึม หรือเทคอนกรีตรองพื้นก่อนทำพื้นบ้าน พร้อมทำระดับท้องรางระบายน้ำให้ต่ำเพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้เร็ว (แต่ต้องไม่ต่ำกว่าทางระบายน้ำสาธารณะ) […]

ระบบกันซึม น้ำยากันซึม เลือกใช้อย่างไรดี

ระบบกันซึม เป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการก่อสร้างบ้าน โดยเฉพาะส่วนห้องน้ำและพื้นดาดฟ้า แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เราควรเลือกใช้แบบไหน ไปดูกัน ระบบกันซึม แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ น้ำยากันซึมแบบผสมในคอนกรีต น้ำยากันซึมแบบเหลวใช้ทา และ ระบบกันซึมแบบแผ่น ไปดูกันว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร น้ำยากันซึม แบบผสมในคอนกรีต ใช้เทเป็นโครงสร้างหรือเอามาฉาบผิวเพื่อกันซึม แต่สำหรับที่มักพูดกันหรือเขียนในแบบก่อสร้างว่า “คอนกรีตผสม น้ำยากันซึม ” ตัวนั้นเป็นแค่เคมีที่ช่วยลดน้ำในคอนกรีตเพื่อหวังผลให้น้ำในคอนกรีตน้อยลงจนทำให้คอนกรีตหนาแน่นมากขึ้น แล้วจะกันน้ำได้มากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงใช้งานไม่ได้เพราะป้องกันน้ำซึมไม่ได้เลย จึงไม่แนะนำให้ใช้ระบบนี้ ส่วนที่ใช้งานได้ดีคือการใช้สารประเภท Crystalline ที่เมื่อผสมในคอนกรีตแล้วจะทำให้คอนกรีตทำปฏิกิริยากับน้ำจนก่อเป็นผลึกขนาดจิ๋ว อุดตามช่องว่างภายในคอนกรีตจนสนิท ทำให้คอนกรีตทึบน้ำจนกันน้ำกันซึมได้ดี ระบบนี้ใช้ได้ทั้งแบบใช้ผสมในคอนกรีตก่อนเทหรือพ่นที่ผิวคอนกรีตก็ได้ ข้อดี ทำงานง่าย ราคาถูก ข้อจำกัด ควบคุมคุณภาพยาก เพราะสารเคมีนี้ใสมากและไม่มีสี ทำให้ยากที่จะตรวจสอบว่าพ่นหรือผสมในคอนกรีตแล้วหรือไม่ และผสมในปริมาณที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ยังใช้ได้กับคอนกรีตเท่านั้น ใช้กับวัสดุอื่น เช่น โลหะ กระเบื้อง ปูนฉาบ ไม่ได้เลย น้ำยากันซึม แบบเหลวใช้ทา (Liquid Applied) มีลักษณะเป็นของเหลวใช้ทาหรือพ่นที่ผิวที่ต้องการใช้กันซึม จะป้องกันคอนกรีตไม่ให้โดนความชื้นหรือสารเคมีจากด้านนอก สมัยก่อนนิยมใช้เป็นสารพวกยางมะตอย […]