วิธีตรวจ โฉนดที่ดินปลอม รีบอ่านก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

ได้มีการตรวจสอบพบว่าโฉนดที่ดินปลอมมีความคล้ายคลึงกับของจริงอย่างมาก หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก็อาจจะตกเป็นเหยื่อได้

มรดกหนี้ ทายาทต้องชดใช้หนี้ทั้งหมดไหม

ใครได้ มรดก มาก็ดีใจ แต่ถ้าผู้ตายมีหนี้สินด้วย ผู้รับมรดกจำเป็นต้องชดใช้แทนผู้ตายไหม และเท่าไร มาดูข้อกฎหมายกัน โดยเริ่มจากการเข้าใจว่า มรดกคืออะไร มรดก คือ ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อน หรือขณะถึงแก่ความตาย รวมถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัว เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้าน  ห้องชุด รถยนต์ หรือเงินฝากในธนาคาร เป็นต้น สิทธิหน้าที่และความรับผิดของเจ้ามรดก ส่วนใหญ่หมายถึง หนี้ที่ผู้ตายก่อไว้ในขณะมีชีวิตอยู่ เช่น หนี้เงินกู้ หรือหนี้ทางละเมิด เป็นต้น ทั้งนี้ทายาทต้องรับไปทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ตายตามมาตรานี้ แต่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ไม่ต้องรับผิดไปเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดถึงตัวทายาทเอง (ตามมาตรา 1601) โดยเมื่อตาย มรดกตกทอดทันที ทายาทย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกตั้งแต่เจ้ามรดกตาย  แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ก็ตาม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2506 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599) ตัวอย่างคดี คำถาม : เจ้าหนี้สามารถฟ้องให้ทายาทให้ชดใช้หนี้ได้หรือไม่ คำตอบ : ฟ้องร้องได้ เช่น ก. […]

บ้านไม่ตรงปก แก้อย่างไร ใครรับผิดชอบ

” บ้านไม่ตรงปก ” จากที่เป็นข่าวกรณี โครงการบ้านมั่นคงย่านบางบัวทอง จากการดำเนินงานของสหกรณ์บริการฯ จึงทำให้เกิดคำถามต่อมาว่า หากเราได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว แต่ได้ บ้านไม่ตรงปก หรือไม่เป็นไปตามสัญญา เราในฐานะผู้ซื้อจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง หากโดนสหกรณ์เบี้ยว ใครรับผิดชอบ และแนวทางการป้องกันตัวเองไม่ให้โดนโกง บ้านไม่ตรงปก ทำอย่างไร หากได้ บ้านไม่ตรงปก อย่างแรกเลยผู้ซื้อต้องตรวจสอบจากหนังสือสัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขายหรือหนังสือจอง ใบเสนอราคา เอกสารต่างๆ หรือในกรณีผู้ขายเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ซื้อก็อาจดูไปถึงคำโฆษณาต่างๆที่ผู้ขายได้เคยโฆษณาไว้ว่าเป็นอย่างไร ในเอกสารต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้มีข้อตกลงกันไว้อย่างไร หากในเอกสารดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ของผู้ขายไว้อย่างไร เช่น ผู้ขายต้องส่งมอบบ้านพร้อมที่ดินเพื่อเข้าอยู่อาศัยให้ผู้ซื้อภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาหรือวันที่ชำระเงินครั้งแรก ครั้งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบบ้านตามแบบที่ตกลงหรือโฆษณาไว้ หรือส่งมอบอย่างชำรุดบกพร่อง หรือส่งมอบเมื่อล่วงเลยกำหนดตามสัญญา การแก้ไข : หากผู้ซื้อผ่อนชำระตามสัญญาไม่ได้ผิดสัญญา ผู้ขายก็จะเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ซื้อสามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ผู้ขายดำเนินการส่งมอบบ้านพร้อมที่ดิน หรือผู้ซื้อจะบอกเลิกสัญญาโดยให้ผู้ขายคืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อได้รับเงินไปก็ได้ แล้วแต่ว่าผู้ซื้อจะเลือกใช้สิทธิไปในใดทางหนึ่ง หากโดนสหกรณ์เบี้ยว ใครรับผิดชอบ การทำนิติกรรมอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งหากเป็นนิติบุคคลก็หมายความว่า มีสภาพบุคคลที่กฎหมายรับรองไว้ ย่อมมีสิทธิ หน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาได้เหมือนกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง เช่น สหกรณ์  ซึ่งเมื่อได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์บริการฯ […]

เลิกสัญญาก่อสร้าง / การร้องเรียน / อายุความ

เมื่อก่อสร้างบ้านแล้วมีปัญหาจะ เลิกสัญญาก่อสร้าง ฟ้องร้อง ต้องทำอย่างไร หรือหากไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือจะฟ้องร้องได้ไหม

ผู้รับเหมาส่งมอบงาน แต่บ้านยังชำรุด ทำอย่างไร

ในกรณีที่ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเวลา แต่งานที่ส่งมอบนั้นชำรุดบกพร่อง ไม่ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ต้องทำอย่างไร การรับประกันงานผู้รับเหมา เมื่อผู้รับเหมาได้ส่งมอบงานทั้งที่งานก่อสร้างดังกล่าวยังชำรุดบกพร่องอยู่ ซึ่งในระหว่างที่ก่อสร้างเจ้าของบ้าน(ผู้ว่าจ้าง)ก็ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาแก้ไขให้ถูกต้อง โดยกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม แต่ผู้รับเหมาเพิกเฉย หรือส่งมอบงานที่ชำรุด และผู้รับเหมายังเรียกร้องให้เจ้าของบ้านชำระเงินค่าจ้าง การรับประกันงานผู้รับเหมา การแก้ไข  เจ้าของบ้านมีสิทธิยึดหน่วงเงินค่าจ้าง ไม่ชำระให้จนกว่าผู้รับเหมาทำการแก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง หรือทำให้ถูกต้องตามที่ตกลงไว้ ให้ผู้รับเหมารายอื่นมาทำต่อได้ หากผู้รับเหมาไม่แก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง เจ้าของบ้านสามารถจ้างผู้รับเหมารายอื่นมาแก้ไขหรือทำต่อได้ ซึ่งผู้รับเหมาเจ้าเดิมจะต้องรับเสี่ยงความเสียหาย(เช่น ราคาวัสดุอาจจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาด) และออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ข้อกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 594 ถ้าในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่นั้นเป็นวิสัยจะคาดหมายล่วงหน้าได้แน่นอนว่า การที่ทำนั้นจะสำเร็จอย่างบกพร่อง หรือจะเป็นไปในทางอันฝ่าฝืนข้อสัญญา เพราะความผิดของผู้รับจ้างไซร้ ผู้ว่าจ้างจะบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี หรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควร ซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้ ถ้าและคาดกำหนดนั้นไป ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะเอาการนั้นให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมหรือทำต่อไปได้ ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร กฎหมายการรับประกันงาน กฎหมายได้กำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างต้องประกันผลงานไว้ว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องรับผิดชอบการชำรุดบกพร่องที่ปรากฏภายใน 1 ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏภายใน 5 ปี สำหรับสิ่งปลูกสร้างติดกับพื้นดิน ยกเว้นโรงเรือนทำด้วยไม้ เว้นแต่ผู้รับเหมาจะจงใจปิดบังความชำรุดบกพร่อง ความรับผิดชอบนั้นจะมีอยู่ตลอดไป ทั้งนี้ ระยะเวลารับประกันดังกล่าวสามารถตกลงให้เพิ่มขึ้น […]

กฎหมายรับมือ ผู้รับเหมาเบี้ยวส่งมอบงาน – งานมีปัญหา

หาก ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน เลยกำหนดสัญญาแล้วแต่งานก่อสร้างมีปัญหาต้องแก้ไข ทนายความจะมาตอบให้ว่า เจ้าของบ้านจะทำอะไรได้บ้างตามข้อกฎหมาย พร้อมมีคดีตัวอย่างมาให้ศึกษากัน เมื่อมีการตกลงว่าจ้างให้ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านแล้ว ระยะเวลาในการก่อสร้างให้เสร็จสำหรับเจ้าของบ้าน(ผู้ว่าจ้าง) ย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นหากผู้รับเหมา(ผู้รับจ้าง)ไม่เริ่มทำงาน ทั้งที่เจ้าของบ้านได้ส่งมอบพื้นที่ให้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว มีการทำงานล่าช้า หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยตกลงไว้ ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน ตามกำหนด สามารถทำอย่างไรได้บ้าง การแก้ไข ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน หากเจ้าของบ้านสามารถคาดหมายได้ว่างานนั้นจะไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ เจ้าของบ้านสามารถยกเลิกสัญญากับผู้รับเหมา โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาตามสัญญาก็ได้ ทั้งนี้การที่ผู้รับเหมาทำงานล่าช้าหรือไม่ได้เริ่มทำงานนั้น ต้องไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากเจ้าของบ้าน กรณีที่ผู้รับเหมาส่งมอบงานเกินกำหนดเวลาในสัญญา และงานที่ส่งมอบปรากฎว่ายังมีข้อบกพร่อง เจ้าของบ้านก็สามารถชะลอการจ่ายค่าจ้างไว้ได้ จนกว่าผู้รับเหมาจะซ่อมแซมเสร็จ ถ้าเจ้าของบ้านค้างชำระค่าจ้าง ผู้รับเหมาก็มีสิทธิหยุดงานที่รับจ้างไว้จนกว่าเจ้าของบ้านจะได้ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจนครบทุกงวดได้ ถ้าในสัญญาจ้างก่อสร้างที่มีกำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวดๆ และมีการเขียนระบุไว้ว่า “ถ้าผู้ว่าจ้างค้างชำระค่าจ้างงวดใดงวดหนึ่งให้ผู้รับจ้างมีสิทธิหยุดงานที่รับจ้างไว้ จนกว่าผู้ว่าจ้างจะได้ชำระค่าจ้างครบตามงวดชำระ และการหยุดงานในกรณีดังกล่าวมิให้นับระยะเวลาตามสัญญา” ข้อกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 593 ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร หรือทำการชักช้า ฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้ มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร       กรณีคดีตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงมีอยู่ว่า เจ้าของบ้านว่าจ้างผู้รับเหมาให้ก่อสร้างบ้านพักอาศัยของตัวเอง ซึ่งได้มีการตกลงชำระค่าจ้างก่อสร้างกันเป็นงวดๆ จำนวน […]

10 ปัญหาเพื่อนบ้าน พร้อมวิธีแก้

ปัญหาเพื่อนบ้านจอดรถขวางหน้าบ้าน ส่งเสียงดัง ต่อเติมกำแพง กิ่งไม้ยื่น หรือลมร้อนจากคอมแอร์เป่าใส่บ้านเรา แก้ยังไง ใช้ดีไซน์อะไรช่วยได้บ้าง บ้านและสวนมีคำตอบ

5 ข้อควรเช็ก ก่อนซื้อคอนโดมิเนียม

จากกรณีมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต​ก่อสร้างของโครงการอาคารคอนโดขนาดใหญ่​กลางเมืองโดยศาลปกครองสูงสุด​ เนื่องจากเป็นการก่อสร้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งๆที่อาคารนั้นได้สร้างเสร็จ​ไปแล้ว​ และมีลูกบ้าน 668 ยูนิตอยู่อาศัยแล้วนาน 4 ปี เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก และเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้ที่จะซื้อคอนโดมิเนียมในอนาคตควรรู้ไว้ และควรเช็กอะไรบ้างก่อนซื้อห้องคอนโด กรณีศึกษาคอนโด “แอชตัน อโศก” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศก (Ashton Asoke) ซึ่งเป็นอาคารสูง 51 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน ในพื้นที่ขนาด 2.3 ไร่ ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 หรือละแวกถนนอโศกมนตรีต้นซอย ข้อที่เป็นปัญหา​หลัก คือ เรื่องถนนทางเข้า-ออกของโครงการ ​ซึ่งศาลปกครองได้ตีความว่าขัดต่อข้อกฎหมาย​ควบคุมอาคาร (กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535)​ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อใช้กำกับอาคารสูง(อาคารที่สูงกว่า 23.00 เมตร) ​และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ​(อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยเกิน 10,000 ตารางเมตร) เพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้อาคารและผลกระทบต่อชุมชน (เช่น การดับเพลิง การหนีไฟ) แน่นอนว่า​ คอนโดขนาดใหญ่​ๆใจกลางเมืองนั้นส่วนมาก​จะเป็น​อาคาร​ขนาดใหญ่​พิเศษ​แทบ​ทั้งสิ้น​ […]

ระวังเสียที่ดิน! จากการ ครอบครองปรปักษ์ เกิน 10 ปี

ครอบครองปรปักษ์ ใครที่สนใจในแวดวงอสังหาริมทรัพย์และมีที่ดินที่ต้องดูแลอยู่บ้างน่าจะต้องผ่านหูกันมาบ้าง อันที่จริงแล้วการครอบครองปรปักษ์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์

กฎหมายอาคาร บล็อกแก้ว=ผนังทึบ / แนวอาคาร / การดัดแปลงตึกแถวเก่า

กฎหมายอาคาร ปรับปรุงเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 68 (พ.ศ.2563) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีสาระสำคัญที่มีผลกับการออกแบบและก่อสร้าง 6 หัวข้อ โดยสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ 1.กำหนดให้การวัด “แนวอาคาร” คือ วัดที่ขอบนอกสุดของอาคาร กฎหมายอาคาร มีการให้คำจำกัดความของ “แนวอาคาร” ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่ก่อนไม่มีการระบุ จึงเกิดการตีความแตกต่างกัน (เราใช้แนวอาคารอ้างอิงในการขออนุญาตก่อสร้างหลายจุด เช่น ระยะถอยร่นของตัวอาคารกับเขตที่ดิน) โดยระบุไว้ว่า “แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” 2.บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้ เป็นการผ่อนปรนให้กับตึกแถวและบ้านที่ทำผนังใกล้เขตที่ดิน จึงกำหนดให้บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้เมื่อมีลักษณะตามที่กำหนด โดยระบุไว้ว่า “ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วหนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้วต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ทั้งนี้ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนังแต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ” 3.การวัดความสูงอาคาร ไม่คิดรวมสิ่งที่ตั้งอยู่บนอาคาร […]

สร้างและต่อเติมบ้านอย่างรู้กฎหมาย

นำเสนอเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านและต่อเติมบ้าน โดยอธิบายเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกว่าต้องทำอะไร ดูกฎหมายข้อไหน มีความหมายว่าอย่างไร หลังจากข้อนี้แล้วต่อด้วยข้อไหน จึงไม่ต้องไปเปิดกฎหมายอ่านอีก ทำให้อ่านเข้าใจง่ายแม้คนไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีส่วน Do&Don’t แนะนำเรื่องที่ทำได้และทำไม่ได้ซึ่งรวบรวมจากปัญหาที่พบบ่อยๆทั้งในบ้านและกับบ้านข้างเคียง เพื่อให้การออกแบบ สร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้าน ไม่ขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐ และเพื่อนบ้าน ผู้เขียน : ศุภชัย ทรงแสงธรรม บาร์โค้ด : 9786161830564 ราคา : 285.00 บาท Preview

กฎหมายอาคาร(แบบเข้าใจง่าย) สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน

ใครว่าเรื่อง กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องยากเกินเข้าใจ และไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของบ้านที่ต้องรู้เพราะมีสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบบ้านและคำนึงถึงข้อกฎหมายต่างๆ ให้แล้ว ความคิดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง หนังสือ สร้างและต่อเติมบ้านอย่างรู้กฎหมาย เหตุที่บอกว่าการรู้ กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องจำเป็นนั้น เมื่อเราได้แบบบ้านจากสถาปนิก ขั้นตอนต่อมาคือการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเขต เมื่อผ่านการอนุญาตก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาสร้างบ้านที่จะต้องก่อสร้างตามแบบที่สถาปนิกออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะมีความผิดเพี้ยนจากที่ออกแบบไว้ ทั้งมาจากการพยายามลดต้นทุนก่อสร้างของผู้รับเหมา ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ตัวเจ้าของบ้านเองต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและควรรู้ข้อกฎหมายก่อสร้างหากมีกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างบ้านไม่ตรงแบบที่วางไว้ ซึ่งหากบ้านที่กำลังสร้างอยู่นี้กลายเป็นบ้านที่ผิดกฎหมายอาคาร จะเกิดปัญหายืดยาวตามมาอย่างแน่นอน 10 ข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านต้องรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน •ดาวน์โหลดกฎหมายควบคุมอาคารฉบับเต็มได้ที่นี้ •กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร 1 | สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้แต่ผนังบ้านรั้วต้องปิดทึบ กรณีแรกที่เหมือนจะเป็นปัญหากับเพื่อนบ้านอยู่เสมอคือการที่มีบ้านอีกหลังใดหลังนึงต่อเติมหรือสร้างบ้านจนมาชิดรั้วบ้านเรา ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่จะสร้างบ้านแบบนี้ เจ้าของบ้านต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เป็นเด็ดขาด แน่นอนว่ากรณีนี้ย่อมเกิดปัญหาวุ่นวายทีหลังเพราะเป็นธรรมดาว่าเพื่อนบ้านย่อมไม่ปรารถนาเช่นนั้น ซึ่งหากไม่อยากให้เรื่องยืดยาว ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรแต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม และอย่าลืมติดตั้งรางน้ำฝนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านที่จะเป็นเหตุให้วิวาทกันภายหลังหลังด้วย 2 | ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร ในกรณีที่ผนังบ้านมีประตูหน้าต่าง ให้รู้ไว้เลยว่าตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 […]

ก่อสร้างบ้าน แล้ว ข้างบ้านเดือดร้อน ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับเหมา ต้องรับผิดชอบ

ในขณะการ ก่อสร้างบ้าน เศษอิฐ หิน ปูน กระเด็นไป ทำให้ข้างบ้านได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ว่าจ้างหรือผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย ?

รวม 10 กลยุทธ์ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ให้เป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนานๆ

เพื่อให้การ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนาน ๆ การเอาใจเขามาใส่ใจเราน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ด้วย 10 วิธีที่เรานำมาฝาก

รู้ข้อกฎหมาย เคลียร์! ปัญหาการ จอดรถขวาง

ปัญหาโลกแตกกับการหาที่จอดรถไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นทางสาธารณะ เพราะเหลียวซ้ายแลขวาก็เจอกรวย แผงเหล็ก ไม่ก็เก้าอี้ พร้อมป้ายประกาศ “กรุณาอย่าจอดรถขวางประตู”

เพื่อนบ้านต่อเติมโรงรถทาวน์เฮ้าส์มาจนชิดรั้วบ้านของเรา ผิดหรือไม่

ปัญหาเพื่อนบ้านต่อเติมจนชิด เป็นปัญหาที่เรามักพบได้บ่อย แบบไหนถูก-ผิดกฎหมาย หาคำตอบพร้อมๆกัน

“เพื่อนบ้าน” ก่อความเดือดร้อนรำคาญ แก้ไขอย่างไร ในทางกฎหมาย

เห็นข่าวทะเลาะกันของ เพื่อนบ้าน นับวันตามเนื้อข่าวยิ่งทวีความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าในทางปฏิบัติใช้ไม่ได้ผล ต้องแก้ปัญหาทางกฎหมายกันค่ะ

ที่ดินตาบอด คืออะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

ที่ดินตาบอด ใครมีที่ดินที่ไม่มีทางออกไปสู่เส้นทางสาธารณะ หรือที่เรียกว่า ที่ดินตาบอด ต้องอ่านค่ะ เพราะจริงๆ แล้วมีกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ไปดูกัน