อินทนิลน้ำ

อินทนิลน้ำ, ซอง, ตะแบกดำ, อินทนิล

  • ชื่อสามัญ :  Jarul,  Pride of India, Queens Flower, Queen’s Crape Myrtle
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
  • วงศ์ :  Lythraceae 
  • ถิ่นกำเนิด : อินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นที่ชุ่มชื้น ใกล้น้ำ
  • สัญลักษณ์ : เรือนยอดทรงร่ม   ระยะปลูก 5-8 เมตร
  • ไม้ต้นผลัดใบ : ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระเป็นปุ่ม   
  • ใบ : เดี่ยวออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียว หรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ใบแก่เปลี่ยนเป็นสีส้มก่อนร่วง 
  • ดอก : แบบช่อกระจะ ออกตามปลายกิ่ง ช่อยาว 40 เซนติเมตร ดอกจนำวนมาก ด้านนอกกลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำ กลีบดอกสีม่วง หลุดร่วงง่าย  ดอกบานขนาด 5-7.5 เซนติเมตร ออกดอกช่วงปลายฤดูร้อนเข้าฤดูฝน 
  • ผล : แห้ง ทรงกลม ผิวเรียบแข็ง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออกภายในมีเมล็ดมีปีกบาง

เกร็ดความรู้ 

พรรณไม้ประจำจังหวัดสกลนคร ชื่อระบุชนิดมาจากภาษาละติน แปลว่า เท่ ภูมิฐาน  สื่อถึงลักษณะทรงต้นของพืชชนิดนี้  เหมาะปลูกในพื้นที่กว้าง ให้ร่มเงาได้ดี โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มชื้น ด้านสมุนไพร ใบชงน้ำดื่มแก้เบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ เปลื้อกแก้ไข้ แก้ท้องเสีย รากใช้รักษาแผลในปาก เนื้อไม้ใช้ทำเสา และด้ามอุปกรณ์การเกษตร มีอีกชนิดหนึ่งชื่ออินทนิลบก ลักษณะคล้ายกันแต่ทรงต้น  ใบและดอกมีขนาดใหญ่มาก และพบมากทางภาคเหนือ 

การปลูก : ดินร่วนหรือดินปนทราย  น้ำปานกลางถึงน้ำมาก แสงแดดตลอดวัน โตช้า ทนน้ำท่วมขัง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด