ว่านดอกทอง

ว่านดอกทองแท้/ว่านดินสอฤษี
ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma cf. pierreana Gagnep.
วงศ์: Zingiberaceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี
ความสูง: 25 – 30 เซนติเมตร
ลำต้น: มีเหง้าทอดเลื้อยใต้ดิน รูปกลม แตกแขนงเป็นไหลยาวเล็ก ๆ ข้อถี่ เนื้อในหัวสีเหลือง (เพศผู้) และสีขาว (เพศเมีย) มีกลิ่นคาว
ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม สีเขียว เส้นกลางใบและโคนกาบใบมีสีแดงเรื่อ
ดอก: ช่อดอกออกก่อนผลิใบ ใบประดับปลายแหลม สีขาว มีเส้นสีแดง ดอกสีขาว กลีบปากสีขาว มีแถบกลางสีเหลืองเข้ม
ดิน: ดินร่วน
น้ำ: ปานกลาง ในฤดูหนาวควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันหัวเน่า
แสงแดด: รำไร
ขยายพันธุ์: แยกเหง้า
การใช้งานและอื่นๆ :  เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม กล่าวกันว่าทั้งราก หัว ต้น ใบ และดอก ถ้าใครสัมผัส สูดกลิ่นของดอกหรือแม้แต่น้ำที่รดต้น จะเกิดอาการทางเพศรุนแรงมาก โดยเฉพาะเพศหญิง หากปลูกไว้ตามร้านค้าจะมีคนอุดหนุนคับคั่ง และควรปลูกคู่กันทั้งต้นเพศผู้และเพศเมีย โบราณว่าผู้ชายควรปลูกต้นเพศเมีย ผู้หญิงให้ปลูกต้นเพศผู้ ว่านชนิดนี้มีอีกชื่อว่า ว่านดินสอฤษี แต่เหง้ามีกลิ่นหอมเย็นกว่า ไม่มีเส้นกลางใบสีแดง มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน