RISC X บ้านและสวน ร่วมเผยแพร่ความรู้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)

RISC และ บ้านและสวน ได้จับมือกันเผยแพร่ความรู้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) มาตลอดปี 2564 และในปี 2565 จึงได้สานต่อโครงการ โดยนำองค์ความรู้จาก 10 งานวิจัยและนวัตกรรมของ RISC มาต่อยอดเป็นคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่รักบ้าน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ระบุว่า ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำกลยุทธ์การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ทุกชีวิต หรือ ‘For All Well-Being ’ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ลูกบ้าน แต่รวมถึงสังคมโดยรวม จึงร่วมกับ ‘บ้านและสวน’ ผู้นำคอนเทนต์ด้านการออกแบบและที่อยู่อาศัย นำองค์ความรู้จาก 10 งานวิจัยและนวัตกรรมของ RISC ต่อยอดเป็นคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตในบ้าน ความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนสู่สาธารณชน และให้แฟนคลับของบ้านและสวน ได้ติดตามเดือนละ 1 คอนเทนต์ เริ่มต้นเดือนมกราคม 2565 […]

10 เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านให้ผลิตไฟฟ้าได้ แต่ก็ยังไม่กล้าลงทุน กลัวทำให้บ้านหมดสวยดูเหมือนโรงงานไฟฟ้า ไม่รู้จะถามใคร หรือกำลังหาข้อมูลอยู่ คอลัมน์ Home Expert จึงชวนมาคุยกับ The expert ด้านระบบโซลาร์เซลล์ คุณเบนซ์ – สัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Solar D เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์ แน่นอนว่าเขาไม่ใช่แค่นักบริหาร แต่มีแบล็กกราวน์ด้านวิศวกรรมพ่วงด้วยเศรษฐศาสตร์ และเป็นคนคุ้นเคยที่มาร่วมงานบ้านและสวนแฟร์บ่อยๆ ครั้งนี้คุณเบนซ์จะมาให้ความรู้และตอบคำถามแบบไม่มีกั๊ก ใครสนใจเรื่องโซลาร์เซลล์ตามมาอ่าน 10 เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์กัน เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์ 01 ควรลงทุนกับระบบโซล่าเซลล์เท่าไร และคืนทุนนานไหม คำถามนี้คุณเบนซ์บอกว่าเป็นคำถามยอดฮิตและเป็นเรื่องที่ตอบโดยตรงยาก เพราะขึ้นอยู่กับการใช้งาน อย่างถ้าใช้ไฟกลางวันเยอะ ผลิตมาแล้วใช้หมดก็ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าผลิตมาแล้วเหลือทิ้ง หรือขายคืนการไฟฟ้าฯ ก็จะได้มูลค่าแค่ครึ่งเดียว และขึ้นอยู่กับขนาดด้วยว่าใหญ่หรือเล็ก สมมุติบ้านที่ใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 3,000 บาท แนะนำให้ติดตั้งที่ 5 กิโลวัตต์ ก็ประมาณ 2-3 แสนบาท โดยไม่มี Storage หรือแบตเตอรี่เก็บไฟ ก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 1,000-2,000 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันด้วย […]

การทำสวนดาดฟ้าและระบบกันซึม

อยากทำสวนดาดฟ้า ต้องทำระบบกันซึมอย่างไร คอลัมน์ Home Expert ชวนมาดูดีเทลจากนักออกแบบสวนชั้นนำ บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด ในการทำสวนดาดฟ้าสวยๆแห่งนี้ ทั้งการทำพื้นไม้ กระบะต้นไม้ พร้อมวิธีการทำกันซึมดาดฟ้า และแก้ปัญหารอยร้าวกัน แนะนำว่าอย่าปล่อยให้พื้นดาดฟ้ามีน้ำขังหรือรั่วซึมเป็นเวลานาน หากพบปัญหาควรรีบแก้ไข เพื่อป้องกันการลุกลามจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้ Detail A กระบะปลูกและระบบกันซึม 1. ดินปลูกผสมหินภูเขาไฟ กันซึมดาดฟ้า 2. ทรายรองพื้นหนา 5 เซนติเมตร 3. กระบะก่ออิฐ 4. แผ่นจีโอเท็กซ์ไทล์ 5. แผ่น Grain Grid 6. วัสดุกันซึม 7. ช่องระบายน้ำขนาด 5 x 20 เซนติเมตร 8. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง 9. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ 38 x 75 x 2.3 มิลลิเมตร 10.ฐานเหล็กชุบกัลวาไนซ์หุ้มคอนกรีต […]

การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี ตามหลัก WELL Building Standard

สุขภาวะในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น หลังทุกคนเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ฝุ่น PM 2.5 และสภาวะโลกร้อน บ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แล้วเราจะปรับบ้านเดิมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ มาดูวิธีปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี และการทำบ้านให้อยู่เย็น เป็นสุขกัน การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี บ้านที่มี สุขภาวะที่ดี ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต หรือกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดี รวมถึงไม่เป็นก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) โดย ดร. สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ ได้ให้ข้อมูลที่รวบรวมจากการศึกษาและวิจัยของ RISC ด้านสุขภาวะในการอยู่อาศัย และนำเกณฑ์ WELL Building Standard ที่สำนักงาน RISC ได้รับรองมาตรฐาน WELL Version […]

ผนังก่ออิฐโชว์แนว การออกแบบและดูแลรักษา

ใครเลิฟผนังก่ออิฐ แต่กลัวฝุ่น กลัวตะไคร่น้ำ หรืออยากรู้วิธีการเจาะช่องสวยๆแบบนี้ ตามมาดูคอลัมน์ บ้านและสวน Home Expert จะมาแนะนำวิธีออกแบบช่องโล่ง ช่องกระจก ช่องหน้าต่างร่วมกับผนังก่ออิฐโชว์แนวให้ดูโมเดิร์น และวิธีการดูแลรักษาผนังให้อยู่สวยทนนานจากผู้เชี่ยวชาญ การติดตั้งกรอบเหล็ก พร้อมกับการก่อผนัง 1.กรอบเหล็กหนา 4 มิลลิเมตร ตัดและดัดตามแบบ 2.พ่นอบสี Power Coating 3.เชื่อมเหล็กเส้นกับกรอบ สำหรับยึดเกาะกับผนัง อิฐโชว์แนว 4.อิฐขนาด 10 x 20 x 4 เซนติเมตร ก่อ 2 ชั้นคละลาย (random) 5.เคลือบน้ำยากันซึมชนิดใส ป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำและฝุ่นผง ออกแบบ : PO-D Architects การติดตั้งกรอบเหล็ก โดยก่อผนังแล้วเจาะช่องภายหลัง 1.ก่อผนังเสร็จก่อน แล้วจึงเจาะช่องให้พอดีกับกรอบเหล็ก เสริมปูนให้ได้ระดับ 2.ใส่กรอบเหล็ก ยาแนวด้วยซิลิโคน ออกแบบ : PO-D Architects การก่อผนังอิฐตัน เป็นการก่อเพื่อเป็นผนังอาคารและผนังกั้นห้อง นิยมก่อ 2 วิธี […]

การรีโนเวต ซ่อมแซม และปรับปรุงโครงสร้าง ค.ส.ล.

โครงสร้างเป็นสิ่งแรกที่ต้องตรวจสอบก่อนการรีโนเวต เพราะหากเสียหายมาก จำเป็นต้องรีบซ่อมแซมก่อนทำอย่างอื่น มาดูแนวทางการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างบ้านคอนกรีตเสริมเหล็กฉบับเบื้องต้น ซึ่งเจ้าของบ้านควรรู้ให้ลึก เพื่อเข้าใจขั้นตอนการรีโนเวตอย่างรอบด้าน เข้าใจงานรีโนเวต การรีโนเวตบ้าน (House Renovation) เป็นการปรับปรุงบ้านเดิมให้กลับมาดีอีกครั้ง อาจมีทั้งการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้กลับมาดีเหมือนเดิม ปรับปรุงส่วนต่างๆให้ดีขึ้น ปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ใหม่ และเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์บ้าน โดยใช้โครงสร้างบ้านเดิม ทั้งนี้อาจมีการต่อเติมเพิ่มพื้นที่ไปพร้อมกัน จึงเป็นการทำงานภายใต้เงื่อนไขของโครงสร้างและข้อจำกัดของอาคารเดิม จึงควรเข้าใจการรีโนเวตเบื้องต้นกันก่อน แต่ขอย้ำว่าการซ่อมแซมและปรับปรุงงานโครงสร้างอาคาร ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้รับเหมาทำเองแม้จะมีประสบการณ์ก็ตาม รีโนเวท ซ่อมโครงสร้าง คอนกรีต การรีโนเวตไม่มีสูตรตายตัว เป็นการปรับและแก้ไขไปตามปัญหาและความต้องการของแต่ละบ้าน และมักมีข้อจำกัดในพื้นที่ก่อสร้างแตกต่างกันไป จึงไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่ตายตัว ต้องอาศัยหลักการและประสบการณ์จากผู้ออกแบบและผู้รับเหมา ทำให้ไม่สามารถนำวิธีการรีโนเวตของบ้านหนึ่งไปใช้กับอีกบ้านได้เสมอไป แต่ต้องวิเคราะห์ปัญหาและบริบทของบ้านแต่ละหลังเป็นกรณีไป การเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคารอาจสร้างปัญหาใหม่ ต้องยอมรับว่าทั้งการต่อเติม การเปลี่ยนการใช้งานอย่าง การเพิ่มห้องน้ำ เปลี่ยนตำแหน่งครัว เป็นสิ่งที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับอาคารนั้นแต่แรก จึงอาจทำให้เกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขตามมาได้ และแน่นอนว่าการแก้ไขย่อมไม่แนบเนียนเสมอไปและมักมีราคาสูงกว่า การซ่อมแซมต้องหาต้นเหตุ หากการซ่อมแซมไม่ได้วิเคราะห์หาต้นเหตุที่แท้จริง ก็อาจทำให้ต้องกลับมาทุบรื้อเพื่อซ่อมแซมซ้ำ หรือทำให้บ้านเสียหายมากขึ้น และการรื้อค้นหาต้นเหตุย่อมมีค่าใช้จ่ายตามมาอีก และอาจเจอต้นเหตุที่ไม่คาดคิดอื่นๆ หากใครเจอผู้รับเหมาที่ไม่มีวิศวกรมาเป็นที่ปรึกษา อาจเลือกการเก็บงานเฉพาะหน้าให้เรียบร้อย แต่ทิ้งปัญหาไว้กับเจ้าของบ้าน เตรียมเงินและเตรียมใจ เจ้าของบ้านควรเข้าใจว่าบ้านเก่าจะมีปัญหาที่ไม่คาดคิดซึ่งอาจพบระหว่างการรื้อ และมักมีปัญหาหน้างานจุกจิกมากกว่าการสร้างบ้านใหม่ จึงควรเผื่อระยะเวลาก่อสร้างและเตรียมงบเพิ่มเติม โดยเผื่อไว้อย่างน้อยอีก 10 […]

จัดการปัญหาสารพัดสัตว์ไม่พึงประสงค์ในบ้าน

ปัญหาสารพัดสัตว์กวนใจ ทั้งที่เลี้ยงไว้ในบ้านอย่าหมาแมว และสัตว์ไม่ได้รับเชิญอย่างงู หนู จิ้งจก ฯลฯ ล้วนสร้างความปวดหัวชวนให้หัวเสียไปจนถึงขวัญผวา ไล่สัตว์ไม่พึงประสงค์ สามารถทำได้ เราได้หยิบยกเอาคำแนะนำอ่านสนุกจากในคอลัมน์ฮิตของนิตยสารบ้านและสวนอย่าง “รู้เหนือรู้ใต้” ที่มีสโลแกนว่า “อยากรู้แต่ไม่รู้จะค้นที่ไหน อยากถามแต่ไม่รู้จะถามใคร สงสัยแต่เกรงใจ อย่าลืมว่าคุณมีเพื่อนชื่อ ‘บ้านและสวน’ เราคงไม่รู้ไปทุกเรื่อง แต่ที่แน่ๆคือเราชอบหาคำตอบ ถึงไม่มีคำถามเราก็จะบอก” เอาล่ะ…ไปอ่านวิธีจัดการปัญหากันเลยเถอะ 1.”หนอนปลอก” ดัชนีวัดความสกปรกภายในบ้าน เจอแมลงประหลาดอยู่ที่พื้นและกำแพงบ้าน เหมือนหนอนที่มีกระดองเป็นของตัวเอง ด้านนอกเป็นสีเทาๆ น้ำตาลๆ รูปทรงหมือนใบไม้อ้วนๆ ข้างในเป็นหนอนยืดๆ หดๆ เข้าออกจากปลอกได้ มีขนาดตั้งแต่ 2-3 มิลลิเมตรไปจนถึงประมาณ 1 เซนติเมตร มันคือตัวอะไรเนี่ย ไปสืบค้นมาจึงรู้ว่าเป็น “หนอนปลอก” ชนิดหนึ่ง เมื่อโตเต็มที่จะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน ซึ่งไม่ได้สร้างอันตรายอะไรกับเรา เพียงหยิบไปทิ้งหรือกวาดออกไปก็พอแล้ว (ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงให้เกิดสารตกค้างในบ้าน) แต่ถ้าอยากกำจัดหนอนเหล่านี้ที่ต้นตอ ก็ต้องหมั่นหันมาทำความสะอาดบ้านกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาหารโปรดของหนอนเหล่านี้คือฝุ่นทั้งหลายในบ้านนั่นเอง ถ้ามีหนอนเหล่านี้มากๆก็แสดงว่าบ้านเรามีฝุ่นมาก เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของเจ้าน้องหนอน แต่ถ้ามีน้อยแสดงว่าฝุ่นขาดแคลน ดังนั้นถ้าเริ่มเห็นเจ้าตัวเหล่านี้หนาตาขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าถึงเวลาต้องเก็บกวาดบ้านกันแล้วล่ะ 2. วิธีกำจัดแมงมุม ที่บ้านมีใยแมงมุมและหยากไย่เต็มไปหมด จิ้งจกก็มีเยอะนะ […]

เหตุผลที่ควรมี ” เครื่องล้างจาน ” แบบตั้งโต๊ะของ Bosch ติดบ้าน

วันนี้บ้านและสวนมีสุดยอดเทคโนโลยีที่จะมาช่วยทุ่นแรงทุกคนมาแนะนำกัน ซึ่งก็คือ ” เครื่องล้างจาน ” แบบตั้งโต๊ะของ Bosch

เลือกทำเลบ้านผิด เสี่ยงอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การเลือกทำเลบ้านที่ดีและปลอดภัย ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้าน และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร ใครจะรู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นและอยู่ใกล้ตัวอย่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาการศึกษาผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อผลกระทบด้านสุขภาพของ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งนำไปสู่การเลือกทำเล สร้างบ้าน ที่ดีและปลอดภัยสำหรับบ้านยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากข้อพิจารณาพื้นฐานอย่าง การจราจร อาคารข้างเคียง และสาธารณูปโภคแล้ว ก็ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้านซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร มาดูกันว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง ระวัง! ต้องเว้นระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง แน่นอนว่าระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เราต้องการ แต่เราทราบหรือไม่ว่า การเลือกทำเลที่ตั้งและ สร้างบ้าน ควรต้องคำนึงถึงระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงด้วย โดยการไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้านหรือระเบียงส่วนยื่นไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร และระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับตัวบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร (อ้างอิงขนาดแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าแรงสูง 230,000 โวลต์) ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราควรหลีกเลี่ยงการเลือกบ้านหรือทำเลอาคารที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง สายส่งไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าเหล่านี้ มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างสิ่งปลูกสร้างกันสายไฟฟ้าแรงสูง ระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา หมายเหตุ : […]

ปัญหากับเพื่อนบ้านที่ป้องกันและแก้ไขได้

บ้านที่อยู่ดีมีสุข นอกจากจะขึ้นอยู่กับการจัดการภายในบ้านแล้ว สภาพแวดล้อมและเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย มีปัญหากระทบกระทั่งมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้ชีวิตในบ้านขาดความสุขไปเลย มาดูกันว่าปัญหาเหล่านั้นคืออะไร และมีวิธีจะรับมือกับเรื่องเหล่านั้นอย่างไรบ้าง ปัญหาเพื่อนบ้าน ต่อเติมตามใจ เพราะบ้านใครบ้านมัน “ข้างบ้านต่อเติมจนบ้านเราอึดอัด ดูแล้วต้องผิดกฎหมายแน่ อยากทราบว่าการต่อเติมที่ถูกต้องเป็นอย่างไร” ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากแต่ละบ้านศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายในการก่อสร้างอย่างถูกต้อง นอกจากจะต่อเติมได้อย่างสบายใจแล้วก็จะไม่รบกวนเพื่อนบ้านของเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างหรือดัดแปลง เราต้องขออนุญาตในการกระทำดังกล่าวก่อน โดยต้องขออนุญาตเมื่อ 1. สร้างอาคารใหม่ทั้งหมด 2. ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วเกินกว่า 5 ตารางเมตร 3. ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต 4. รื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนการใช้งานอาคาร เช่น เปลี่ยนจากบ้านเป็นหอพัก จริงๆแล้วต่อเติมห้องต่างๆ ออกมาจากอาคารเดิม ต้องมีระยะถอยร่นจากรั้วด้วยนะ – ชั้น 1 ผนังด้านติดรั้วเป็นผนังทึบ ต้องห่างจากรั้วอย่างน้อย 0.50 เมตร – ชั้น 1 ผนังด้านติดรั้วมีหน้าต่าง ประตู หรือช่องเปิดต้องห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร – ชั้น 2 ผนังด้านติดรั้วมีหน้าต่าง […]

7 แนวทาง WFH ไม่ป่วยจากการอยู่บ้านนานๆ

เมื่อคนเลือก Work From Home กันมากขึ้น แล้วบ้านของเราปลอดภัยจริงๆ แล้วหรือยัง การอยู่บ้านนานๆ ก็อาจทำให้ป่วยด้วยสาเหตุอื่นอย่างไม่รู้ตัวได้ มาดูวิธีทำให้บ้านปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งกายและใจกัน

Green Building / Green Façade ออกแบบบ้านและต้นไม้ให้เป็นอยู่ร่วมกัน

มาออกแบบให้ต้นไม้เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ทำได้หลายวิธี ทั้งสวนดาดฟ้า ผนังต้นไม้ สวนแนวตั้ง มาดู 7 เรื่องควรรู้ในการออกแบบกัน 1. ต้นไม้อยู่ตรงไหนของบ้านได้บ้าง บ้านปกติมักจะออกแบบให้มีสวนอยู่ล้อมรอบ แต่ถ้าไม่มีพื้นที่รอบบ้าน มาดูกันว่าจะสามารถออกแบบต้นไม้หรือจัดสวนให้อยู่ตรงไหนได้บ้าง อาคารเขียว สวนบนอาคาร ได้แก่ สวนบนดาดฟ้า สวนบนระเบียง และสวนที่อยู่บนโครงสร้างอาคาร ควรเตรียมโครงสร้างในการรับน้ำหนักไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างและทำระบบกันซึมปัองกันโครงสร้างเสียหายจากความชื้น ผนังอาคารต้นไม้ อาศัยผนังอาคารหรือโครงสร้างของอาคารในการปลูกหรือให้ต้นไม้เกาะเกี่ยว เช่น การปลูกไม้เลื้อยเกาะผนังโดยตรง การปลูกไม้เลื้อยเกาะโครงสร้างเสริม หรือทำผนังอาคารเป็นกระบะปลูก ผนังสวนแนวตั้ง เป็นการนำแผ่นหรืออุปกรณ์ที่บรรจุวัสดุปลูกไปติดตั้งบนผนังอาคารอีกชั้นหนึ่ง สวนในบ้าน โดยออกแบบพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นกระบะปลูกต้นไม้หรือพื้นที่จัดสวน ซึ่งอาจเป็นสวนภายในบ้านหรือสวนกึ่งภายนอก 2. การทำสวนบนหลังคา ระเบียง การทำกระบะหรือพื้นที่ปลูกต้นไม้บนหลังคา ระเบียง และบนโครงสร้างอาคาร ควรเตรียมระบบกันซึมเพื่อป้องกันความชื้นที่มากับต้นไม้และดิน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย รวมถึงเตรียมชั้นดินและระดับความลึกของดินให้เหมาะกับการปลูกพืชพรรณแต่ละชนิด 3. การออกแบบผนังอาคารต้นไม้ การออกแบบฟาซาดบ้านให้ประกอบด้วยด้วยต้นไม้ หรือ อาคารเขียว เป็นแนวคิดที่สร้างความกลมกลืนกับธรรมชาติที่เห็นผลชัดเจนที่สุด โดยปลูกต้นไม้ปกคลุมอาคารทั้งหมดหรือบางส่วน ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้แม้ในพื้นที่จำกัด และเป็นอีกวิธีในการสร้างสภาพแวดล้อมของบ้านให้ดี สามารถออกแบบร่วมกับผนังอาคารประเภทต่างๆเพื่อช่วยให้เมืองมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น การปลูกต้นไม้ให้เป็นฟาซาดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปลูกให้ต้นไม้เติมโตจากด้านล่าง เป็นการปลูกต้นไม้บนพื้นดินให้เติบโตไปบนผนังอาคาร สามารถทำได้ทั้งการให้ต้นไม้เกาะกับผนังโดยตรง […]

ออกแบบบ้านให้รู้สึกโปร่งสบาย ด้วยหลักวิทยาศาสตร์

ทุกคนอยากทำบ้านให้ ”โล่ง โปร่ง สบาย” แต่จะทำ ความสูงฝ้าเพดาน เท่าไรจึงรู้สึกว่าโปร่งโล่ง คนส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึก แต่เรามีคำตอบที่มาจากหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาโดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้พบคำตอบว่า ความสูงฝ้าเพดาน 2.70 เมตร ทำให้รู้สึกไม่อึดอัด และฝ้าเพดานสูง 3.40 เมตร ทำให้รู้สึก โล่ง โปร่ง สบาย มาดูที่มาของคำตอบนี้กัน การรับรู้ของมนุษย์ ก่อนจะเข้าใจว่าทำไมคนเราจึงรู้สึก “โล่ง โปร่ง สบาย” เพื่อมากำหนด ความสูงฝ้าเพดาน ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า มนุษย์จะเกิดความรู้สึกตามสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส ถ้าไม่อยู่ใน “เขตการรับรู้” จะไม่เกิดความรู้สึก เขตการรับรู้จึงเป็นเสมือนเส้นแบ่งระหว่างความรู้สึกกับความไม่รู้สึก และจาก “กฎของเฟชเนอร์” (Fechner’s law) […]

มารู้จักหลังคารูปแบบต่างๆกัน

มาดูกันว่าหลังคามีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร เพื่อเลือกใช้ รูปแบบหลังคา ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการได้มากที่สุด หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean-to or Pitched Roof) หลังคารูปแบบเรียบง่ายมีความลาดเอียงด้านเดียว เป็นแบบหลังคาที่เกิดจากการสร้างบ้านหรือที่พักชั่วคราวแบบง่ายๆ การใช้หลังคาเพิงหมาแหงนต้องออกแบบให้ด้านที่ลาดเอียงหันไปหาแสงแดดหรือทิศที่มีฝนสาด แต่อย่างไรก็ดี หลังคาประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีเท่าไรนัก สำหรับบ้านที่ใช้หลังคาเพิงหมาแหงนอาจแก้ปัญหาเรื่องแดดด้วยการทำแผงกันแดดด้านข้างเพิ่ม รูปแบบหลังคา หลังคาจั่ว (Gable Roof) เป็นหลังคาที่เกิดจากการนำด้านสูงของหลังคาเพิงหมาแหงนมาชนกันให้เกิดสันหลังคา (Ridge) สามารถกันแดดกันฝนได้ดีในด้านที่มีชายคายื่น ส่วนหน้าจั่วหรือด้านสกัดมักมีปัญหาเรื่องการป้องกันแดดและฝน ซึ่งเราอาจทำชายคาเฉพาะจุดเพิ่มบริเวณเหนือหน้าต่างและประตูเพื่อป้องกันแดดและฝน หลังคาจั่วนิยมใช้กับบ้านในเมืองไทยและบ้านเมืองร้อนทั่วไป การสร้างหลังคาจั่วควรออกแบบให้มีความลาดชันที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำฝนไหลลงได้สะดวก และควรระวังรอยต่อบริเวณสันหลังคา เพราะเป็นจุดที่น้ำฝนรั่วซึมได้ง่าย หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) เป็นหลังคาที่พัฒนามาจากหลังคาจั่ว แต่มีชายคาลาดเอียงทั้งสี่ด้าน สามารถกันแดดกันฝนได้รอบ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทยที่ร้อนและมีฝนตกชุก การก่อสร้างหลังคาปั้นหยาจะยุ่งยากกว่าหลังคาจั่ว เพราะมีรอยต่อของสันหลังคาหรือตะเข้สันมากกว่า หลังคามนิลา (Hip Gable Roof) คือหลังคาปั้นหยาที่ปรับให้ด้านสกัดมีหน้าจั่วทั้งสองด้านบริเวณช่วงบนของหลังคา เพื่อรูปทรงที่สวยงามและการระบายอากาศใต้หลังคาที่ดี หลังคาชนิดนี้เป็นแบบหลังคาของบ้านเรือนไทยภาคกลาง เนื่องจากเหมาะกับภูมิประเทศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก หลังคามนิลา นอกจากจะมีชายคากันแดดกันฝนทั้งสี่ด้านแล้ว ยังสามารถระบายอากาศร้อนใต้หลังคาออกทางหน้าจั่วได้ด้วย หลังคาสวิส (Gable Hip Roof)   หลังคาลูกผสมระหว่างหลังคาจั่วกับหลังคาปั้นหยา […]

Rapid Antigen Test Kit ตรวจโควิดใช้งานอย่างไร

เพื่อการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างเร่งด่วนในสถานการณ์ปัจจุบัน เราจึงต้องเรียนรู้ว่า Rapid Antigen Test Kit ใช้งานอย่างไร เมื่อไรที่จะพบเชื้อ ยี่ห้อไหนที่อย.รับรอง และอ่านผลอย่างไรให้ถูกต้อง   Rapid Antigen Test คือการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ โดยหาส่วนประกอบของเชื้อไวรัสที่มีอยู่ภายในโพรงจมูกหรือลำคอ ซึ่งการตรวจแบบนี้ใช้ได้กับทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนมาแล้วและผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เป็นการตรวจที่ทราบผลอย่างรวดเร็วได้ด้วยตัวเอง มีความต่างจากการเจาะเลือดหา Antibody ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากภูมิของผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วได้ การตรวจโดยใช้ชุดตรวจโควิดแบบรวดเร็วนี้ จะตรวจพบเชื้อไวรัส หลังจากรับเชื้อมาประมาณ 3-5 วัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการ (ดีที่สุดในช่วง 5-14 วัน จากนับจากวันรับเชื้อ) หากพ้นระยะ 14 วันและหายป่วยแล้วก็จะไม่สามารถตรวจหาเชื้อเจอ   วิธีตรวจโควิด Rapid Antigen Test ด้วยตัวเอง ก่อนอื่นเตรียมพื้นที่ซึ่งไม่มีการปนเปื้อน ล้างมือให้สะอาด หากมีน้ำมูกควรเคลียร์จมูกก่อน ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ แกะบรรจุภัณฑ์ออก โดยปกติชุดตรวจจะประกอบด้วย ก้านสำลีสำหรับ Swab หลอดใส่น้ำยาตัวอย่าง ฝาหยด ตลับทดสอบ และเอกสารกำกับ ทำการอ่านเอกสารกำกับอย่างถี่ถ้วน แต่ละยี่ห้ออาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง […]

สร้างบ้านชิดที่ดินด้านไหนดีที่สุด

การสร้างบ้าน สักหลังถือเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องทิศทางการวางตำแหน่งในการสร้างบ้านนั้นมีความสำคัญมาก ครั้งนี้เรามาดูตัวอย่าง 6 ไอเดียในการสร้างบ้านชิดที่ดินด้านไหนจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เพื่อให้ได้บ้านที่อยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายที่สุดกัน การสร้างบ้าน 1. หากข้างบ้านเป็นตึกสูง มีความพลุกพล่าน ไม่น่ามอง แนะนำให้ทำบ้านชิดด้านนั้นและวางแปลนให้เป็นส่วนบริการ ที่จอดรถ หรือโถงบันได เพื่อบล็อกมุมมอง และสร้างความเป็นส่วนตัวให้ในบริเวณบ้าน 2. วางบ้านชิดที่ดินด้านที่โดนแดดแรง คือด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เพื่อให้เหลือที่ว่างด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือซึ่งโดนแดดน้อย แล้ววางแปลนด้านนี้เป็นส่วนพักผ่อนที่ต้องการมุมมองที่ดี 3. สร้างบ้านชิดด้านหน้าบล็อกความวุ่นวายจากถนน สร้างพื้นที่เปิดโล่งและเป็นส่วนตัวไว้หลังบ้าน 4. สร้างบ้านชิดด้านหลังจะเห็นตัวบ้านชัดเจน เหมาะกับบ้านที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี แต่กรณีนี้จะต้องทำถนนตามเข้าไปด้วย ซึ่งต้องใช้งบประมาณและเสียพื้นที่จัดสวน 5. โดนล้อมด้วยตึกหรือต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ทำได้ด้วยการสร้างขอบเขตโดยรอบ จึงนิยมสร้างบ้านเกือบทุกด้านให้ชิดขอบเขตที่ดินมากที่สุด โดยทำผนังทึบรอบบ้าน เพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับเปิดคอร์ตในบ้านที่เป็นส่วนตัว 6. สร้างบ้านชิดด้านซ้ายหรือด้านขวา เพื่อเหลือที่ว่างอีกด้านที่เข้าถึงจากถนนหน้าบ้านได้ง่าย เหมาะกับการวางแผนต่อเติมในอนาคต    การสร้างบ้าน ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การสร้างบ้าน ที่ควรรู้อีกมากมาย  ซึ่งนำเสนอใน 100 เรื่องต้องรู้ในการสร้างบ้านและจัดสวน ตีพิมพ์ลงในนิตยสารบ้านและสวน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564  มีหลากหลายหมวด เช่น นักออกแบบและผู้รับเหมา งานโครงสร้าง การตรวจหน้างาน วัสดุก่อสร้าง พรรณไม้ในสวน การดูแลสวน เรียกได้ว่าจบครบในเล่มเดียวสำหรับคนรักบ้านตัวจริง […]

บ้านผู้สูงอายุ ควรใช้พื้นไม้ ช่วยป้องกันเจ็บป่วยได้เพราะอะไร

ทำไมผู้สูงอายุจึงชอบอยู่บ้านที่ปูพื้นไม้ และรู้ไหม พื้นไม้ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ป่วยง่าย บ้านผู้สูงอายุ บางคนอาจมีประสบการณ์ตรงที่ตอนวัยรุ่นชอบพื้นกระเบื้อง พื้นหิน เพราะอากาศร้อนจึงชอบพื้นเย็นๆ แต่พออายุมากขึ้นกลับมาชอบพื้นไม้ นอกจากเรื่องสไตล์ส่วนตัวแล้ว ก็เป็นเพราะการรับความรู้สึกร้อน-หนาวของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและมีคำตอบมาไขข้อสงสัย เพื่อให้ลูกหลานเตรียมพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม บ้านผู้สูงอายุ ความรู้สึกร้อน-หนาวเกิดจากอะไร ความรู้สึกร้อนหรือหนาวนั้นเกิดจากประสาทสัมผัส โดยภายใต้ผิวหนังของเรามีเซลล์ประสาทหลายชนิด ทำหน้าที่ “รับสิ่งเร้า” และเซลล์ประสาทเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นกิ่งก้านย่อยๆจำนวนมาก เพื่อนำความรู้สึกที่ได้รับไปสู่สมองในการรับสัมผัสทางผิวหนังนั้น เชื่อกันว่าร่างกายมีจุดรับสัมผัสจำนวนมาก โดยมีปลายประสาท 4 ชนิดกระจายอยู่ทั่วไป และแต่ละจุดจะมีหน้าที่รับความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ได้แก่ การรับสัมผัสทางผิวหนัง การรับความเจ็บ การรับอุณหภูมิร้อน การรับอุณหภูมิเย็น โดยอุณหภูมิปกติของร่างกายเราอยู่ที่ 36.4 – 37.7 องศาเซลเซียส และเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของห้อง พื้นผิว และสภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะพยายามรักษาอุณหภูมิภายในไว้ที่แกนร่างกาย แต่ผิวของร่างกายภายนอกจะเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับตัวมากน้อยต่างกันตามช่วงอายุ  บ้านผู้สูงอายุ อุณหภูมิส่งผลกับร่างกายอย่างไร เมื่ออุณหภูมิรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายจะปรับตัวเพื่อรักษาสมดุล และเกิดการตอบสนองในแบบต่างๆกัน […]

ข้อปฏิบัติสำหรับการแยกรักษาตัวที่บ้านแบบ Home Isolation

Home Isolation คือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน เป็นอีกแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้น ๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อยๆดีขึ้นจนหายสนิท มาดูเกณฑ์การพิจารณาและการปฏิบัติตัวเมื่อต้องแยกรักษาตัวที่บ้านกัน ระยะการแพร่เชื้อ Home isolation คือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยโควิด-19 จะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วยนับจากวันที่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว อาจจะยังมีเชื้อไวรัสที่ยังแพร่ไปสู่ผู้อื่นอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย หากครบ 14 วัน แล้วยังมีอาการควรแยกตัวจนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ได้หากไม่มั่นใจระยะเวลาที่เหมาะสมในการหยุดแยกตัว หลังจากนั้น แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อไปตามมาตรฐานวิถีใหม่ (new normal) แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีอาการหนักในช่วงแรก อาจจะแพร่เชื้อได้นานถึง 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่ออาการดีขึ้นจนกลับบ้านได้แล้วมักจะพ้นระยะแพร่เชื้อแล้วจึงไม่ต้องแยกตัว ผู้ที่อยู่ในช่วงระยะที่แพร่เชื้อได้ […]