วิธีสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่

วิธีการนำไม้ไผ่มาทำเสา ผนัง หลังคา และวิธีการมัดไม้ไผ่เข้าด้วยกัน มาดู วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ และการทำเป็นส่วนประกอบอาคาร การตั้งเสา วิธีการคล้ายการตั้งเสาไม้จริง อาจใช้ไม้ไผ่ลำเล็กหลายลำมัดรวมกัน หรือไม้ลำใหญ่ 5-7 นิ้ว แล้วทำฐานรากและตอม่อคอนกรีตหรือหินเพื่อความแข็งแรงและป้องกันไม้จากความชื้นในดิน หากเสาอยู่ใกล้ชายคา แนะนำให้ทำตอม่อสูงป้องกันฝนและแดดโดนเสา วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ การกรอกปูนเกราต์ ปูนเกราต์ คือ ปูนซิเมนต์สำเร็จรูปชนิดหนึ่งที่สามารถไหลไปตามซอกมุมต่างๆ ได้ดี มีการหดตัวน้อย มีกำลังอัดสูงและแข็งตัวเร็ว ใช้เสริมความแข็งแรงและเพิ่มแรงยึดเกาะกับโครงสร้างที่เสริมในปล้องไม้ไผ่ โดยเจาะรูกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร กรอกปูนเกราต์ลงไป แล้วปิดรูด้วยไม้ให้สนิท การมัดไม้ไผ่ การมัดเป็นภูมิปัญญาแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้ประกอบไม้ไผ่ได้เช่นกัน แต่ถ้าจะให้โครงสร้างแข็งแรง ควรยึดด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ตามวิธีข้างต้นก่อน แล้วจึงมัดเพื่อช่วยให้ข้อต่อแน่นขึ้น ลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ หรือเป็นการตกแต่งให้สวยงาม และยังใช้การมัดช่วยในการประกอบโครงไม้ โดยใช้ยางในรถหรือยางเส้นมัดชั่วคราว แล้วจึงยึดด้วยวัสดุต่างๆ ผนังไม้ไผ่ ผนังไม้ไผ่สามารถใช้ไม้ไผ่ลำ ไม้ไผ่สาน หรือผสมกับวัสดุอื่นๆ ได้ ซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ หลังคา การมุงหลังคาไม้ไผ่เหมือนกับการมุงหลังคาชิงเกิล คือ รองใต้หลังคาด้วยแผ่นกันซึมอีกชั้น หรืออาจมุงด้วยหลังคาปกติแล้วมุงหลังคาไม้ไผ่ทับอีกชั้นก็ได้เช่นกัน ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วซึม […]

ประกอบไม้ไผ่อย่างไรให้สวยและแข็งแรงทนทาน

ไม้ไผ่แต่ละลำไม่ตรง หัวและปลายไม่เสมอกัน มีความโค้งงอ แอ่นตัว ซึ่งเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นในตัวเอง การตัดและ การประกอบไม้ไผ่ จึงต้องมีเทคนิค การตัดไม้ไผ่ ก่อน การประกอบไม้ไผ่ หากต้องตัดและเจาะ ควรมีระยะห่างจากข้อไม้ไม่เกิน 8 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรง การประกอบไม้ไผ่ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้นอต (Nut) และสลักเกลียว (Stud Bolt) โดยใช้สว่านเจาะรูนำก่อนเพื่อป้องกันไม้แตก ทั้งยังใช้ปืนลมในการยึดกับวัสดุต่างๆ ได้ แต่ไม่ควรใช้การตอกตะปูเพราะไม้จะแตก โดยมีตัวอย่างการประกอบไม้ไผ่ดังนี้ การประกบไม้ เนื่องจากลำไม้ไผ่มีโคนใหญ่ปลายเล็กและมีความโค้งงอ จึงมีวิธีการประกบไม้ที่แตกต่างจากไม้จริง สลับด้านหัวและปลายไม้เพื่อให้สมดุลกัน เลือกไม้ที่โค้งงอในทิศทางตรงข้ามเพื่อดึงรั้งกัน มัดและจัดให้ตรง ตอกลิ่มไม้ไผ่แนวทแยงทุกระยะ 50-60 เซนติเมตร เมื่ออยู่ดีแล้วสามารถแก้มัดได้ หมายเหตุ : เนื้อไม้ไผ่แข็งแรงน้อยกว่าไม้จริง ความสามารถในการรับแรงอัดน้อยกว่าวัสดุอื่น แต่รับแรงดึงได้มากกว่าเหล็ก การนำไปใช้งานสามารถใช้วิธีการก่อสร้างคล้ายงานไม้จริง แต่ต้องปรับเทคนิคการตัดและ การประกอบไม้ไผ่ ไปตามแต่ละกรณี ขอขอบคุณ บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด โทรศัพท์ 08-4100-0233   นิตยสารบ้านและสวน ฉบับเมษายน 2562 […]

รู้หลักฮวงจุ้ยในห้องนอน

ตำแหน่ง ฮวงจุ้ยห้องนอน ที่ดีที่สุดของเตียงนอนก็ควรอยู่ในตำแหน่งทแยงมุมกับประตู ชิดกับผนังด้านใดด้านหนึ่ง เพราะสามารถเห็นคนที่เดินเข้ามาในห้องได้ ติดกับผนัง

ห้องครัวปูนเปลือยใช้งานได้จริง ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย

ไอเดีย ห้องครัวปูนเปลือย ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย กับห้องครัวไม่ว่าจะเป็นแพนทรี่ขนาดเล็กสำหรับเตรียมอาหาร หรือครัวครบครันสำหรับเชฟนอกเวลา

ซื้อ บ้านน็อคดาวน์ – บ้านสำเร็จรูปต้องรู้อะไร

การซื้อ บ้านน็อคดาวน์ หรือสร้างบ้านสำเร็จรูป เจ้าของบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง มีข้อจำกัดเรื่องใด ข้อสัญญาส่วนไหนที่ควรรอบคอบ

กำจัดยุง ด้วยวิธีชีวภาพและเคมีอย่างปลอดภัย

ยุงเป็นต้นเหตุของโรคระบาด รบกวนการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของคนมาอย่างต่อเนื่อง เราไม่อาจ กำจัดยุง ให้หมดสิ้นได้ แต่สามารถควบคุมปริมาณยุงได้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาวิธีการ กำจัดยุง และควบคุมประชากรยุงในหลายมิติทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมแต่ละกรณีได้อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยสร้างคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยให้มีสุขภาวะที่ดี ยุงต้นเหตุโรคระบาด ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้าน ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตทุกปี เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เชื้อไวรัสซิกา โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และโรคไข้สมองอักเสบ ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในหลายปีที่ผ่านมาจำนวนมาก จากข้อมูลงานวิจัยของสำนักระบบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ในปี 2557- 2561พบผู้ป่วยไข้เลือดอออก ประมาณ 390,848 ราย เสียชีวิต 438 ราย พบผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2558 ทั้งหมด147 ราย รองลงมาในปีพ.ศ. 2561 ทั้งหมด 115 […]

บ้านและอาคารเขียวสำคัญอย่างไร? พูดคุยกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจาก TGBI

บ้านและอาคารเขียว เป็นเรื่องไกลตัวจริงหรือไม่ และเราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาคารเขียวไทย หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินคำว่า อาคารเขียว และมีความเข้าใจต่อคำคำนี้ในภาพที่แตกต่างกันออกไป บ้างอาจเข้าใจว่าเป็นอาคารที่เน้นประหยัดพลังงาน บ้างอาจนึกภาพถึงอาคารที่ปกคลุมด้วยสวนแนวตั้งจนดูเป็นสีเขียวไปทั้งตึก บ้างอาจเข้าใจว่าเป็นอาคารที่มีค่าดำเนินการสูงจนยากที่คนทั่วไปจะเอื้อมถึงได้ แต่จริงๆ แล้วอาคารเขียวหมายถึงอะไร มีความสำคัญแค่ไหน แล้วบ้านของเราจะสามารถมีส่วนร่วมกับเทรนด์อาคารเขียวที่กำลังเป็นที่สนใจนี้ได้อย่างไรบ้าง คราวนี้ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันอาคารเขียวไทย หรือ TGBI เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ที่จะทำให้ บ้านและอาคารเขียว ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป อาคารเขียวคืออะไร อาคารเขียว คือ อาคารที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ตามที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิกานต์ ยิ้มประยูร หัวหน้าภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า “เน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยและเกิดคุณค่ามากที่สุดค่ะ ทั้งพลังงาน น้ำ วัสดุก่อสร้าง และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังมีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมรอบข้าง และความเป็นไปได้ในการลงทุนควบคู่กันด้วย” […]

แบบแปลนห้อง และการวางเฟอร์นิเจอร์ ทำเองได้

มาจัดแปลนเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับจำนวนคน และขนาดพื้นที่ไซส์ S M L โดยยกตัวอย่าง แบบแปลนห้อง 5 ห้องหลักในบ้าน

แต่งบ้านตามจิตวิทยาสี สร้างสุขภาวะที่ดี

ใครๆก็ทราบว่าสีสันมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเรา อีกทั้งสีสันยังมีผลกับสุขภาพ และพัฒนาการของเด็กด้วย จิตวิทยาสี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการใช้สีที่ส่งผลต่อความรู้สึก พฤติกรรม ระบบการทำงานของร่างกาย ตลอดจนการนำมาใช้กับห้องต่างๆ เพื่อช่วยในการเลือกใช้สีที่สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย เป็นอีกวิธีง่ายๆที่ทำให้เรามีสุขภาพกายดีและมีความสุขขึ้น จิตวิทยาสี มนุษย์รู้สึกเมื่อเกิดการรับรู้ ความรู้สึกของมนุษย์จะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า (แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส) และจากกฎของเฟชเนอร์ (Fechner’s law) พบว่า ระดับความเข้มของสิ่งเร้าภายนอกมีผลต่อระดับของการรับรู้ภายในของมนุษย์ โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มีความสามารถในการรับรู้แตกต่างกัน ดังนี้ การออกแบบบ้านเพื่อสุขภาพจิตที่ดี จึงสามารถสร้างการกระตุ้นได้ทั้งทางตา หู ผิวหนัง และจมูก ให้มีอิทธิพลต่อผู้อยู่อาศัยได้ตามลำดับ และจะเห็นว่าการรับรู้ทางตา มีสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสต่างๆ ของร่างกาย (ส่วนลิ้น เป็นประสาทรับรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ) สีมีผลต่อความรู้สึกได้อย่างไร สิ่งที่กระตุ้นการมองเห็นทางตาก็คือแสง โดยตาคนสามารถมองเห็นคลื่นแสงเป็นสีต่างๆ 7 สี […]

ภูมิปัญญาไทย ในบ้านยุคใหม่

ดีไซน์ดีๆจาก ภูมิปัญญาไทย มาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่ มาดู ๙ ลักษณะของบ้านไทยที่ช่วยให้บ้านอยู่สบาย ๑.ชานเชื่อมพื้นที่ ภูมิปัญญาไทย ของเรือนไทยที่ยกพื้นสูง จึงมีการทำพื้นเป็นทางสัญจรภายในบ้าน และใช้เชื่อมระหว่างเรือนเพื่อขยายจากเรือนเดี่ยวเป็นเรือนหมู่ และการขยายเรือนแบบล้อมชาน ก็จะเกิดพื้นที่เปิดโล่งที่มีการโอบล้อมแบบคอร์ตยาร์ด ชานยังเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งพักผ่อน นั่งเล่น และจัดงานประเพณี เช่น ทำบุญ เลี้ยงพระ เรือนขนาดใหญ่อย่างเรือนคหบดีมักปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้กลางชานที่ช่วยให้บรรยากาศร่มรื่น แล้วยังนิยมปลูกไม้ประดับ เช่น บอน ว่าน ตะโกดัด กระถางบัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกเขา นกดุเหว่า ปลากัด และปลาเข็ม การทำชานบ้านยังนำมาใช้ได้ดีกับบ้านยุคปัจจุบัน โดยออกแบบอาคารให้มีพื้นที่โล่งในลักษณะคอร์ตยาร์ด ที่อาจทำเป็นทางเดิน ชาน และจัดสวน ที่ทั้งสร้างความร่มรื่น และเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างกันได้ ๒.การยกพื้นบ้านสูง บ้านยกพื้นสูงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ยังพบเห็นได้ในบ้านเรือนแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมอยู่เสมอ “ใต้ถุนเรือน” ของบ้านไทย เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่มักทำเกษตรกรรม สภาพภูมิประเทศที่มีน้ำหลาก และภูมิอากาศร้อนชื้นที่มีฝนตกมาก ใต้ถุนจึงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้น มักใช้เป็นพื้นที่เก็บของ อุปกรณ์การเกษตรและประมง เลี้ยงสัตว์ ใช้เป็นพื้นที่ทำงานหัตถกรรม หรือใช้หลบร้อนในช่วงกลางวัน […]

ป้องกันอันตรายในบ้านผู้สูงอายุ

เพราะผู้สูงอายุคือผู้ใช้งานในบ้านที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การออกแบบบ้านจึงควรรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุด้วย มาดู 7 จุดที่ควรระวังในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรทำ และไม่ควรทำบ้าง ทางลาดไม่อันตราย ทางลาดเป็นองค์ประกอบแรกที่ควรรู้ในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ การทำทางลาดอาจทำให้เปลืองพื้นที่บ้านไม่น้อย แต่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อมีผู้สูงอายุที่เดินขึ้นลงบันไดลำบาก หรือมีการใช้รถเข็น โดยมีหลักการทำทางลาดที่ปลอดภัยดังนี้ แบบบ้านผู้สูงอายุ มีความลาดเอียงที่สามารถขึ้นลงได้ปลอดภัย โดยมีอัตราความลาดเอียงดังนี้ อัตราความลาดเอียงน้อยกว่า 1 : 10  ลาดชันเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายได้ อัตราความลาดเอียง 1 : 10  ต้องมีผู้ช่วยเข็นรถเข็น อัตราความลาดเอียง 1 : 12  – 1 : 20 ผู้นั่งรถเข็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทางลาดมีความยาวไม่เกิน 6 เมตร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากทางลาดมีความยาวเกิน 6 เมตร ต้องมีชานพักยาว 1.50 เมตร และถ้าทางลาดทุกช่วงยาวรวมกันมากกว่า 6 เมตร ทางลาดต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 […]

แต่งบ้านฟีลคาเฟ่ ใช้ชีวิตชิลๆได้ทั้งวัน

มาดู ไอเดียแต่งบ้านให้เหมือนคาเฟ่ กันดีกว่า หากปรับแต่งให้สไตล์ตรงกับใจ การอยู่บ้านก็ดูเป็นเรื่องน่ารื่นรมย์เลยทีเดียว

Health & Well-being Materials วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย

การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอยู่บ้านอย่างมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้แนะนำหลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดีใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสียหรือต้องซ่อมบ่อย เป็นบ้านที่อยู่แล้วเย็นสบาย ไม่ลื่นล้ม ไม่รั่วซึม ไม่สะสมฝุ่น ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านทุกคนมีความสุข มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจด้วยเช่นกัน มาดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี และตัวอย่างคุณสมบัติวัสดุกัน 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี ( Well-Being Materials ) วัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco- Friendly Materials) ได้แก่ วัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือ วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้เทียม หินเทียม เพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วัสดุที่สามารถลดการใช้พลังงาน (Energy Saving Materials) ได้แก่ หลอดไฟประหยัดพลังงาน  กระจกประหยัดพลังงาน เป็นต้น วัสดุรีไซเคิล และวัสดุ Upcycling (Recycle & Upcycling Materials) […]

มุมหมาแมวดีไซน์ดี ทำตามได้

8 ตัวอย่างการออกแบบสำหรับน้องแมวน้องหมา สามารถนำไปเป็นไอเดียปรับใช้กับพื้นที่บ้านและ บ้านหมาบ้านแมว ได้ มุมนั่งเล่นคนละชั้น ออกแบบมุมนั่งเล่นให้ทั้งคนและเหล่าน้องแมวอยู่ด้วยกันคนละชั้น ด้วยการทำชั้นล่างเป็นที่นั่งบิลท์อินสำหรับคน และทำตู้ติดผนังด้านบน ให้เป็นพื้นที่สำหรับน้องแมว แล้วทำตู้เก็บของเป็นบันไดให้เดินขึ้นไปได้ ทั้งยังทำเสาพันเชือกมนิลาทะลุจากชั้นล่างถึงชั้นบน พร้อมแท่นปีนสำหรับปีนป่ายและฝนเล็บที่ดีไซน์เป็นก้านเหล็กดัดโค้งดูน่ารัก เป็นไอเดียที่เห็นแล้วอยากทิ้งตัวไปนั่งเล่นนอนเล่น แถมยังเป็นการใช้พื้นที่แนวตั้งอย่างคุ้มค่า บ้านหมาบ้านแมว สถานที่ : บ้านคุณบดินทร์ หลักทอง / ฟาร์มแมวพันธุ์ Exotic Shorthair ออกแบบ : Ponna Studio โทรศัพท์ 06-4924-9154 ตู้ติดผนัง โครงคร่าวไม้ กรุไม้อัด ปิดผิวลามิเนต แท่นไม้ตัดเป็นวงกลม ปิดผิวลามิเนต ยึดกับโครงท่อเหล็กกลมดัดโค้ง พ่นสี เสาเหล็กกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 มิลลิเมตร พันเชือกมนิลา ที่นั่งชั้นบนทำโครงเหล็กรับน้ำหนัก และทำเป็นตู้ลิ้นชักโครงคร่าวไม้ กรุไม้อัด ปิดผิวลามิเนต เบาะใยสังเคราะห์หนา 10 เซนติเมตร หุ้มปลอกผ้าเคลือบกันน้ำ ถอดซักได้ ที่นั่งชั้นล่างทำเป็นลิ้นชัก โครงคร่าวไม้ กรุไม้อัด […]

ราวกันตกที่ปลอดภัยกับเด็ก ผู้สูงอายุ สัตว์เลี้ยง

ราวกันตกเตี้ย ระยะซี่ห่าง หรือมีขั้นให้ปีนป่ายได้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในบ้านได้ มาดูการออกแบบ ราวกันตกปลอดภัย สำหรับทุกชีวิตในบ้านกัน การพลัดตกจากที่สูง การล้มเสียหลัก เป็นอุบัติเหตุในบ้านที่เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กและผู้สูงอายุ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการออกแบบราวกันตกและราวจับ เพื่อลดอุบัติเหตุภายในบ้าน แต่ก่อนที่จะออกแบบราวกันตกให้ปลอดภัยให้กับคนทั้งบ้าน (ครอบครัว) ได้ ต้องมาดูว่าใครในบ้านที่มีความเสี่ยงสูงในการใช้งานราวกันตกกันบ้างราวกันตกปลอดภัย   เด็กในบ้านเสี่ยงพลัดตกมากที่สุด อุบัติเหตุในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน สรุปปัจจัยสำคัญได้ดังนี้ สรีระของเด็กและพัฒนาการตามวัย อยู่ในช่วงวัยที่อยากรู้อยากเห็น เด็กจึงชอบสำรวจ สัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งสภาพร่างกายของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ร่างกายจึงยังไม่สมดุล ความประมาท หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ที่ดูแลเด็ก สิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ และสิ่งแวดล้อมด้านสังคม เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในเด็กได้ (อ้างอิง : สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, 2551; อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2550; Morrongiello, Ondejko & Littlejohn, […]

10 เรื่องต้องรู้ ก่อนทำโรงเรือนข้างบ้าน

อยากมี โรงเรือนข้างบ้าน สักหลัง จะเริ่มออกแบบอย่างไร? เลือกใช้วัสดุแบบไหนดี? มีข้อควรรู้อะไรบ้าง? เชื่อว่าหลายคนที่ชื่นชอบการจัดสวน คงเคยนึกอยากทำโรงเรือนสวยๆ ไว้ในสวนข้างบ้านของตัวเองสักหลัง ไว้เป็นเรือนเพาะชำไม้ประดับยามว่าง ปลูกผักกินเองในบ้าน หรือเป็นมุมพักผ่อนส่วนตัว แต่อาจยังลังเลว่าหากตัดสินใจทำแล้ว ควรเริ่มออกแบบอย่างไร บ้านและสวน จึงขอนำเอา 10 เรื่องต้องรู้ก่อนทำ โรงเรือนข้างบ้าน มาฝากกัน 1 | “โรงเรือน” คืออะไร โรงเรือน เป็นอาคารที่มุงด้วยวัสดุโปร่งแสง พื้นที่ภายในใช้สำหรับปลูกพืช เพื่อปกป้องและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกได้ โดยในยุคแรกๆ จะใช้กระจกเป็นวัสดุกรุผิว เมื่อมองจากด้านนอกจะเห็นพืชสีเขียวอยู่ภายใน จึงทำให้มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Greenhouse หรือ Glasshouse นั่นเอง ปัจจุบัน โรงเรือนถูกพัฒนาไปจนมีลักษณะรวมถึงการใช้วัสดุหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน ทั้งเพื่อผลิตในเชิงการค้า การเพาะปลูกภายในครัวเรือน หรือการใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจในสวนข้างบ้าน 2 | โรงเรือนดีอย่างไร ทำไมต้องมี ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ การเพาะปลูกพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของโรงเรือน ทั้งความเข้มและระยะเวลาของแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีความแปรปรวน ทำให้สามารถปลูกพืชนอกฤดูได้ตลอดทั้งปี เหมาะสำหรับทำงานเพาะปลูก ภายในโรงเรือนสามารถจัดสรรพื้นที่ได้อย่างเป็นสัดส่วน […]

คำนวณการใช้ไฟบ้านเบื้องต้น เพื่อติดโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid

ใครอยากรู้ว่าบ้านเราต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid ขนาดเท่าไร สามารถ คำนวณการติดโซล่าเซลล์ เบื้องต้นเองได้จากการใช้ไฟในช่วงกลางวัน (8.00-17.00 น.) ด้วย 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 การดูหน่วยการใช้ไฟจริงที่มิเตอร์ คำนวณการติดโซล่าเซลล์ จากการไปจดหน่วยการใช้ไฟจริง 3-7 วัน เพื่อหาค่าเฉลี่ย 1.หาค่าเฉลี่ยการใช้ไฟช่วงกลางวัน โดยไปจดที่เวลา 8.00 และ 17.00 น. เช่น วันที่ 1 ใช้ไฟไป 20 kWh วันที่ 2 ใช้ไฟไป 25 kWh วันที่ 3 ใช้ไฟไป 20 kWh ตัวอย่างการคำนวณ    20+25+20 หาร 3 วัน  =  21.6 kWh 2.ใช้แผงโซลาร์เซลล์กำลังผลิตเท่าไร แผงโซลาร์เซลล์ 1 วัน […]

ออกแบบบ้านให้สัตว์เลี้ยงรู้สึกสบาย แฮปปี้ ปลอดภัย

RISC ศึกษาการออกแบบบ้านที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง และแนะนำแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในบ้านสำหรับ สัตว์เลี้ยงในบ้าน อันตรายหรือโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์เลี้ยงจากปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก เช่น โรคติดต่อ หรือพาหะนำโรคที่มากับธรรมชาติ แต่สภาพแวดล้อมภายในบ้านเป็นเรื่องที่เราสามารถออกแบบได้เอง ซึ่งจะช่วยให้ สัตว์เลี้ยงในบ้าน ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีได้อย่างแน่นอน ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการออกแบบบ้านที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง และแนะนำแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อความสบาย ปลอดภัยและห่างไกลโรคของสัตว์เลี้ยง โดยมีหลักเกณฑ์ที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ ความรู้สึกสบาย การจัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวมีคุณภาพ และ การเลือกวัสดุที่เหมาะสมต่อสัตว์เลี้ยง มีรายละเอียดอะไรบ้างมาดูกัน ออกแบบอย่างไรให้น้องๆ รู้สึกสบาย ความสบายของสัตว์เลี้ยงขั้นพื้นฐาน สามารถออกแบบได้ 4 ด้าน คือ 1.ไม่ร้อน-หนาวเกินไป มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เราทุกคนต้องการอยู่อย่างสบาย ไม่รู้สึกร้อนหนาวจนเกินไป สัตว์เลี้ยงของเราก็เช่นกัน ช่วงอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ที่สัตว์เลี้ยงรู้สึกสบายจะต่างกับเราเพียงเล็กน้อย หากเราสบาย สัตว์เลี้ยงก็สบายด้วย แต่ทั้งนี้เราต้องรู้จักลักษณะพิเศษตามสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดีด้วย เช่น มีต้นกำเนิดสายพันธุ์จากที่ใด ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด ทนความร้อนของอากาศบ้านเราได้ดีมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องใส่ใจไม่ละเลย ไม่ปล่อยให้อยู่ในพื้นที่กลางแดดหรือที่อับอากาศนานจนเกินไป […]