ไอเดียบันไดในสวน แก้ปัญหาระดับความสูงของพื้นที่รอบบ้านที่ไม่เท่ากัน

พื้นที่ลาดชัน หรือมีระดับ อาจเป็นบ้านที่อยู่ตามพื้นที่ใกล้เนินเขา ตั้งอยู่บนเนิน หรือบนพื้นที่ลาดเอียง  รวมถึงบ้านทั่วไปที่มีระดับความสูงของพื้นที่รอบบ้านไม่เท่ากัน เช่น หน้าบ้านสูงกว่าหลังบ้าน ตัวบ้านที่มีการยกระดับจากพื้นที่โดยรอบ ซึ่งยากที่จะปรับหรือถมดินให้เป็นพื้นที่ราบได้เท่ากันทั้งหมด การจัดสวนอย่างมีระดับ จึงมักใช้การเล่นระดับชั้นของขั้นบันได โดยค่อย ๆ เพิ่มสเต็ปการเดินให้ลื่นไหล เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมหรือเปลี่ยนถ่ายระดับพื้นที่ภายในสวนได้อย่างแนบเนียน อีกทั้งยังทำหน้าที่คล้ายกับกำแพงกันดิน กันไม่ให้ดินไหล รวมถึงช่วยให้การออกแบบสวนน่าสนใจและดูมีมิติมากขึ้น แต่ทั้งนี้ บันไดในสวน ควรออกแบบขั้นบันไดให้มีขนาดกว้างขวางเพื่อไล่ระดับ ค่อย ๆ ลดความชัน มีความสูงและระยะที่พอดีจังหวะก้าวเพื่อไม่ให้สะดุด และควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้สวนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือการจัดการทางระบายน้ำ เพราะบริเวณจุดต่ำสุดของพื้นที่อาจมีปัญหาเกิดน้ำท่วมขังเป็นแอ่ง ทำให้รากของต้นไม้เน่าได้ 

ไอเดียมุมนั่งเล่นดีไซน์พิเศษ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่จำกัด

เฟอร์นิเจอร์แบบบิ้วท์อิน (Built-in Furniture) เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้ติดผนัง ขอบกระบะปลูก หรือที่นั่งที่มีรูปทรงพิเศษ โดยจะถูกออกแบบมาให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ สไตล์ การใช้งานของเจ้าของบ้านและสวน เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้ได้มากที่สุด จึงช่วยในการประหยัดพื้นที่และใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ภาพรวมของสวนเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นสัดส่วนมากขึ้น เหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือบ้านที่มีพื้นที่จำกัด แต่ข้อจำกัดของเฟอร์นิเจอร์แบบบิ้วท์อินคือ ต้องว่าจ้างนักออกแบบและช่างฝีมือในการสร้างเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นสำหรับแต่ละพื้นที่ จึงทำให้การก่อสร้างมีราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแบบสำเร็จรูป และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เพราะโครงสร้างที่ยึดติดกับพื้นที่ ดังนั้น หากต้องการที่จะเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายจะต้องทำรื้อถอนเท่านั้น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่ชอบการปรับเปลี่ยน

วิธีใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างถูกต้อง และอยู่ร่วมกับน้ำอย่างมีความสุข

ทุกวันนี้สภาพดินฟ้าอากาศค่อนข้างแปรปรวนและสร้างผลกระทบที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่การดำเนินชีวิตไปจนถึงสวนในบ้าน โดยเฉพาะเรื่อง “น้ำ” ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำหลาก หรือน้ำกัดเซาะ การเตรียมรับมือปัญหาดังกล่าวด้วยความเข้าใจจึงน่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้การอยู่ร่วมกันระหว่างคน สวน และน้ำ เป็นไปได้ด้วยดีและมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันกับน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสวน การทำความเข้าใจว่าที่ตั้งของสวนหรืออาณาเขตของบ้านอยู่ในบริเวณไหน ก็ช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้อย่างถูกต้อง และอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างมีความสุข ในที่นี้ขอแบ่งพื้นที่อย่างง่ายออกเป็นพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 1.ป่าฝน ต้นน้ำ แม้ว่าป่าต้นน้ำจะเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนเป็นเจ้าของได้ แต่ที่ราบสูงและภูเขาที่เป็นพื้นที่ของเอกชนซึ่งมีบริเวณติดต่อกับป่าธรรมชาติก็ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์และเกี่ยวพันกับพื้นที่ต้นน้ำ ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรมโดยดึงน้ำไปใช้รดพืชพรรณและเป็นที่ระบายน้ำในสวนออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง จึงควรงดใช้สารเคมีหรือจัดทางระบายน้ำให้น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมได้รับการบำบัดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย  นอกจากนี้ควรอนุรักษ์ต้นไม้บริเวณรอบ ๆ โดยเฉพาะริมน้ำ  ทั้งไม้ยืนต้นและไม้ชายน้ำ เนื่องจากมีส่วนในการยึดเกาะตลิ่งและดูดซับน้ำ จึงช่วยชะลอความรุนแรงของน้ำและลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มได้ รวมถึงไม่ควรสร้างศาลาหรือสิ่งก่อสร้างที่ขวางทางน้ำ ซึ่งอาจก่อปัญหาเรื่องทิศทางการไหลและความแรงของน้ำในบริเวณดังกล่าว ส่วนการทำฝายชะลอน้ำก็ควรศึกษาความสมดุลของแหล่งน้ำว่ามีความจำเป็นหรือไม่  เพราะในพื้นที่บางแห่งมีน้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง  การสร้างฝายมากเกินไปจะเป็นการขังน้ำให้เน่าเสียและทำให้น้ำไหลไปยังพื้นที่ด้านล่างได้น้อยกว่าปกติสำหรับวัสดุที่ใช้ก่อสร้างฝายควรเป็นหินหรือไม้ไผ่ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าการสร้างฝายคอนกรีตถาวร ซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำตามธรรมชาติได้ 2.กลางน้ำ ใกล้ชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่มีคนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จึงได้รับผลกระทบจากน้ำได้ง่าย ควรสังเกตปริมาณน้ำในที่ดินและบริเวณรอบ ๆ ว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงซึ่งน้ำท่วมถึงหรือไม่ นอกจากนี้การออกแบบบ้านในลักษณะยกใต้ถุนสูงหรือปลูกไม้พื้นถิ่น ซึ่งทนน้ำท่วมขังได้ดี ก็ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ในบ้านและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วมได้ หรือหากจำเป็นต้องนำดินจากภายนอกมาถมควรตักเอาหน้าดินเดิมออก แล้วถมดินใหม่ลงไปก่อน จากนั้นจึงนำหน้าดินเดิมมาถมทับด้านบนอีกที เนื่องจากมีสารอาหารมากกว่าและดูดซึมน้ำได้ดีกว่าดินถมใหม่ ซึ่งส่วนมากเป็นดินเหนียวในชั้นดินดาน ในกรณีที่อยู่บริเวณพื้นที่ต่ำและมีที่ดินกว้างมากควรทำบ่อเก็บน้ำ สำหรับเป็นแก้มลิงรับน้ำในฤดูน้ำหลาก รวมถึงยังเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อีกด้วย ส่วนพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองควรสังเกตทิศทางการไหลของน้ำว่าอยู่ในจุดที่เป็นส่วนโค้งส่วนเว้าหรือไม่ รวมถึงทิศทางลมที่ทำให้เกิดคลื่นมากระทบริมตลิ่งว่ามีมากน้อยเพียงใด หากมีคลื่นแรงมากหรืออยู่บริเวณส่วนเว้าของแม่น้ำลำคลองอาจต้องทำตลิ่งให้แข็งแรง เนื่องจากอาจจะเกิดแรงน้ำกัดเซาะตลิ่งภายในที่ดินเรา แต่หากอยู่ในส่วนโค้งหรือริมฝั่งน้ำที่อยู่ในแนวตรง ควรหลีกเลี่ยงการทำตลิ่งด้วยคอนกรีตหรือโครงสร้างที่แข็งจนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำไหลแรงขึ้น เป็นผลให้น้ำกัดเซาะตลิ่งรุนแรงมากขึ้น อาจทำตลิ่งไม้ไผ่ แล้วปลูกไม้ชายน้ำหรือถมหินให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของพืชพรรณพื้นถิ่นและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำจะดีกว่า 3.ปลายน้ำ ชายทะเล ที่ดินซึ่งอยู่บริเวณปากแม่น้ำและริมทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศป่าชายเลนและป่าชายหาด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำค่อนข้างรุนแรง โดยพื้นที่สวนที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำหรือพื้นที่ชายทะเลจะมีลักษณะเป็นดินเลน จึงมักพบพรรณไม้ชายเลน เช่น โกงกาง แสม ลำพู และเสม็ดขาวขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ต้นไม้เหล่านี้ ถือเป็นตัวช่วยไม่ให้พื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเสียหาย เพราะหากต้นไม้ถูกตัดหรือมีการถมดินใหม่ทับมากเกินไป ไม่นานพื้นที่ดังกล่าวก็จะถูกน้ำทะเลกัดเซาะและพังทลายในที่สุด แม้จะมีการตอกเสาเข็มหรือเตรียมงานโครงสร้างไว้อย่างแข็งแรงแล้วก็ตาม ส่วนสวนริมทะเลที่มีลักษณะเป็นหาดทราย […]

รวม 12 ปัญหาสวน ที่พบบ่อยในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน

สวนหรือพื้นที่สีเขียวในบ้าน นอกจากจะช่วยให้ความร่มรื่น ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจและใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัวได้อีกด้วย แต่หลายบ้านก็มักจะประสบกับ ปัญหาสวน ไม่สวย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและช่วงหน้าร้อนที่สภาพอากาศและอุณหภูมิ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืชพรรณเปลี่ยนแปลงอย่างมากจนเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นไม้ตามมาได้ เช่น ใบไม้ไม่เขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล หญ้าและวัชพืชขึ้นรกจนเป็นป่า ดังนั้น เจ้าของบ้านจึงต้องเตรียมรับมือและหมั่นสังเกตดูแลอยู่เสมอ เพื่อให้สวนสวยทุกฤดูกาล ปัญหาสวนหน้าร้อนช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ซึ่งจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป อีกทั้งยังร้อนอบอ้าว จนส่งผลให้ทั้งเราและบ้าน รวมถึงสวนต้องเผชิญกับแสงแดดตลอดทั้งวัน ซึ่งถึงแม้ว่าแสงแดดจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แต่แสงแดดที่มากจนเกินไปก็ทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ในสวนตามมาได้เช่นเดียวกัน • ต้นไม้ได้รับน้ำไม่เพียงพอเนื่องจากในช่วงหน้าร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนจัด ต้นไม้จะเกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำได้ง่าย จึงแนะนำให้หมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่มากเป็นเท่าตัวของช่วงเวลาปกติ โดยเฉพาะสนามหญ้าที่ต้องมั่นใจได้ว่าพื้นดินชุ่มจริง ๆ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำต้นไม้คือ ช่วงเวลาไม่เกิน 6-9 โมงเช้า ที่อากาศกำลังดีและเป็นเวลาที่ต้นไม้เริ่มสังเคราะห์แสง หรือช่วงเวลาประมาณ 5 โมง ไม่มีแสงแดดแรงจัดจนเกินไป เพราะหากรดน้ำในช่วงเวลาประมาณหลังเที่ยงเป็นต้นไป แทนที่ต้นไม้จะสามารถดูดน้ำจากใต้ดินไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้นได้มากขึ้น น้ำที่รดไปอาจไม่ได้ถูกต้นไม้นำไปใช้ นอกจากนี้ การรดน้ำควรรดบริเวณโคนไปจนถึงราก และหลีกเลี่ยงบริเวณดอกและใบ เพราะจะทำให้ดอกร่วง และยิ่งถ้าน้ำไม่ระเหยบวกกับแสงแดดที่ส่องมาอาจทำให้เกิดอาการใบเน่า หรือใบไหม้ตามมาได้ […]

การจัดสวน สำหรับสาวโสด ที่อยู่ในโหมดสุดสตรองค์

การจัดสวน เมื่อสถิติของผู้หญิงวัยทำงานเลือกที่จะครองตัวเป็นโสดมากกว่าการแต่งงานสร้างครอบครัว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ลานรูปวงกลม สำหรับนั่งเล่นรับลม ชมสวน

ลานนั่งเล่นรูปวงกลมเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจและนิยมใช้ในการออกแบบพื้นที่ สำหรับนั่งชมธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ซึ่งเราได้รวบรวมไอเดียแต่งมุมนั่งเล่นในสวนสวย ๆ มาให้ดูกัน

อุปกรณ์รดน้ำในสวน ผู้ช่วยดูแลต้นไม้ที่ควรมีติดบ้าน

หากเราจะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของการดูแลต้นไม้ แน่นอนว่า “น้ำ”คือสิ่งที่เราจะพูดถึงมากกว่าสิ่งใด

โครงสร้างเฉลียงและชนิดของไม้ปูพื้นภายนอกอาคาร

นอกชานหรือชานบ้าน คือ พื้นที่เรือนที่ยื่นพ้นชายระเบียงออกมา มักพบได้ในบ้านไทยสมัยก่อน ลักษณะเป็นพื้นไม้กว้างขวาง อาจมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาโผล่ขึ้นมาที่กลางลาน ประดับด้วยไม้ดัดในกระถางสวยงาม ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนหรือเป็นที่พูดคุย นั่งรับประทานอาหารรวมไปถึงใช้รับแขก โครงสร้างและการทำเฉลียงไม้ การออกแบบเฉลียงไม้ควรคำนึงถึงก่อนว่า จะใช้พื้นที่นี้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ใช้งานพร้อมกันกี่คน มีเฟอร์นิเจอร์สนามอะไรบ้างที่จะตั้งอยู่บนเฉลียง วิธีการก่อสร้างทำอย่างไร และกระทบต่อสิ่งก่อสร้างข้างเคียงเดิมหรือไม่ การทำเฉลียงไม้สามารถใช้ไม้จริงประเภทไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ หรืออื่นๆ ที่มีความแข็งและทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โดยเลือกใช้ไม้ที่มีขนาดตั้งแต่หน้ากว้าง 4-6 นิ้ว และมีความหนาตั้งแต่ 1.25-2 นิ้ว โดยไม้พื้นดังกล่าวจะต้องยึดติดกับโครงสร้างด้านล่าง (ตง) ที่เป็นเหล็กกล่องหรือไม้ 1.ไม้เนื้อแข็งที่นำมาใช้งานต้องเคลือบน้ำยากันปลวกแบบใสและเคลือบทับด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้หรือสีย้อมไม้อื่น ๆ 2.หากเป็นพื้นไม้เทียม ควรเลือกใช้สีเคลือบแข็ง อีพ็อกซี่ หรือสีอะคริลิกชนิดใช้กับพื้นไม้เทียม ซึ่งจำหน่ายโดยผู้ผลิตพื้นไม้เทียมเท่านั้น 3.ควรติดตั้งพื้นไม้จริงและไม้เทียมให้มีระดับลอยสูงจากพื้นดินปกติอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความชื้นและน้ำ 4.ทั้งพื้นไม้จริงและไม้เทียม ควรติดตั้งบนตงเหล็กกล่องหรือไม้ ซึ่งระยะห่างของตงนั้น หากเป็นไม้จริงมีระยะห่างตงที่ไม่เกิน 60 เซนติเมตร และสำหรับไม้เทียมให้ดูรายละเอียดในคู่มือของผู้ผลิต ซึ่งจะบ่งบอกระยะห่างของตงตามขนาดพื้นไม้เทียมชนิดต่าง ๆ […]

การสร้างรั้วและ กำแพง สีเขียวในสวน ให้สวยชวนมอง

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วสำหรับหน้าที่ของ กำแพง และรั้วบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อบ่งบอกอาณาเขตของผู้ที่อยู่อาศัย

ไอเดียจัดสวนไม้ฟอร์มเท่จากแคคตัสและไม้อวบน้ำ

ไอเดียจัดสวน สำหรับผู้ที่ชอบสวนแต่ไม่มีเวลาดูแล….ชอบต้นไม้แต่ไม่อยากรดน้ำ….อยากได้สวนดูแลง่ายและสวยตลอดทั้งปี

การจัดสวนตู้ปลาและตู้ไม้น้ำ โลกใต้น้ำขนาดเล็กที่สัมผัสได้

การจัดสวนตู้ปลา ทำให้บรรยากาศโดยรอบดูสดชื่นมีชีวิตชีวา เกิดมุมมองที่สบายตา รู้สึกผ่อนคลาย สงบ และรู้สึกเครียดน้อยลง

10 ข้อควรรู้ ออกแบบสวน ให้ดูแลง่าย ไม่สร้างภาระ

หลายคนที่ต้องการจัดสวน แต่ห่วงเรื่องการดูแล สามารถเตรียมการได้ตั้งแต่ช่วง ออกแบบสวน เพื่อลดขั้นตอนต่าง ๆ

การถมดินปรับที่ ให้เหมาะสมก่อนลงมือจัดสวน

การถมดินปรับที่ มีความสำคัญต่อการปลูกต้นไม้มาก เนื่องจากดินในแต่ละบริเวณมีความสมบูรณ์แตกต่างกัน ความเหมาะสมในการเลือกปลูกจึงต่างกันไปด้วย

ไอเดียมุมนั่งเล่นใต้ต้นไม้ พื้นที่อันแสนร่มรื่นเพื่อการพักผ่อน

การมี มุมนั่งเล่น ใต้ต้นไม้ สำหรับนั่งนอกบ้านในช่วงที่อากาศดี และลมพัดเย็นสบาย เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชวนให้ฟินไม่น้อย

การจัดสวนถาด สำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัดและชื่นชอบสวนขนาดจิ๋ว

การจัดสวนถาด เป็นรูปแบบการจัดที่จำลองสวนขนาดใหญ่มาย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง เช่น การจำลองทิวทัศน์น้ำตก ภูเขากลางน้ำ เกาะแก่งชายน้ำ เหมาะมากสำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัดและชื่นชอบการจัดสวนขนาดจิ๋วเป็นงานอดิเรก การจัดสวนถาด คือสวนขนาดเล็ก (Miniature garden) เป็นการนำลักษณะของการปลูกต้นไม้คลุมดิน มอสส์ ต้นไม้จิ๋ว หรือบอนไซมาผสมผสานกัน เพื่อให้บรรยากาศภายในสวนถาดมีสัดส่วนที่ดูสมจริงมากที่สุด รวมถึงการใช้วัสดุตกแต่ง เช่น บ้านจำลองหรือฟิกเกอร์รูปคนและสัตว์ตามความชอบและจินตนาการของผู้แต่งสวน ช่วยเติมเต็มเรื่องราวและส่งเสริมให้สวนถาดดูมีชีวิตชีวาน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยภาชนะปลูกควรมีปากกว้าง มีความสูงเหมาะสมกับให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ขนาดพอเหมาะ ที่สำคัญต้องสามารถยกไปตั้งในบริเวณต่าง ๆ ได้ การดูแลสวนถาดจะไม่ต่างจากการดูแลต้นไม้กระถางจิ๋วทั่วไปมากนัก ซึ่งต้องดูแลรดน้ำอย่างน้อยวันละครั้งและหมั่นคอยตัดแต่งสวนถาดให้มีขนาดเหมาะสมอยู่เสมอ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงหรือศัตรูพืช เพราะสวนถาดเหมาะสำหรับวางประดับไว้ในบ้านใกล้กับคน และเป็นสวนที่เด็กชอบมาเล่นอยู่เสมอ สามารถวางประดับได้ทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน โดยต้องคำนึงถึงชนิดพรรณไม้ที่ปลูกว่าต้องการแสงแดดแค่ไหน หากต้นไม้ที่อยู่ภายในเริ่มแน่นเกินไป ควรเปลี่ยนเอาพรรณไม้บางชนิดออกและปลูกต้นใหม่ทดแทน ต้นไม้สายย่อ ความงามแบบย่อส่วนเพื่อตอบโจทย์คนเมืองพื้นที่น้อย ไอเดียจัดสวนตู้กระจก ไว้เป็นงานอดิเรกก็ได้ จัดประดับบ้านก็ดี เตรียมความพร้อมก่อนจัดสวนถาด 1.เตรียมอุปกรณ์อุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น ถาด ซึ่งถาดก็มีหลายชนิด มีทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ รูปทรงก็มีตั้งแต่สี่เหลี่ยม วงกลม ไปจนถึงรูปทรงธรรมชาติ ขนาดไม่ต้องใหญ่มาก เมื่อได้ถาดมาแล้ว เราก็ต้องนำถาดมาทำความสะอาดก่อนเพื่อความปลอดภัยของต้นไม้ เพราะถ้าถาดไม่สะอาดพออาจเกิดเชื้อราขึ้นกับต้นไม้ได้ง่าย 2.การเตรียมดิน ดินที่เรานำใช้ในการจัดสวนถาดควรเป็นดินร่วน ซึ่งเราสามารถซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด ดินบางชนิดจะมีกากของต้นไม้ปนอยู่บ้าง เราก็ควรเลือกส่วนที่เป็นกากออกก่อน เพื่อจะได้สะดวกในเวลาที่เราปลูกต้นไม้และปูหญ้ามอสส์ 3.การเตรียมต้นไม้ ก่อนที่เราจะเตรียมต้นไม้ […]

ระบบระบายน้ำในสวน แนวทางการรับมือและป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง

โดยปกติบ้านพักอาศัยทั่วไปต้องมีเรื่องระบบการระบายน้ำทิ้งอยู่แล้ว คือ น้ำทิ้งจากครัว น้ำทิ้งจากห้องน้ำ และน้ำทิ้งจากรางน้ำฝน ซึ่งระบบทั้งหมดที่กล่าวมาจะเชื่อมต่อกับบ่อพัก แล้วค่อยระบายสู่ท่อน้ำสาธารณะต่อไป แต่ถ้าเป็น ระบบระบายน้ำในสวน คงจะเป็นเรื่องการระบายน้ำฝนและการระบายน้ำจากผิวดินในสวนมากกว่า เพราะฉะนั้นการวางระบบระบายน้ำที่ดีภายในสวนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตสวยงาม สวนบางแห่งมีสภาพพื้นที่เป็นดินเหนียว ระดับน้ำใต้ดินสูง เพราะ ดินที่นำมาถมบ้านมักมีดินเหนียวปะปนมาด้วย ทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ดังนั้นการระบายน้ำในสวนจะช่วยแก้ปัญหาได้ ซึ่งมีทั้งหมด 3 วิธี 10 พรรณไม้ทนน้ำ ปลูกประดับสวนบนบกได้ แต่ถ้ามีน้ำท่วมก็ไม่ตาย ฟื้นฟูสวนและดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม 1.ระบบระบายน้ำบนผิวดิน ปัจจุบันโครงการที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีการถมที่ดินสูงขึ้นจากเดิมมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราแค่ปรับระดับความชันของดินให้มีความลาดเอียงของพื้นที่ประมาณ 1–10 เปอร์เซ็นต์ เช่น ระยะห่างแนวราบ 100 หน่วย ควรมีความสูงระหว่างพื้นที่ในจุดที่สูงที่สุดไปถึงจุดที่ต่ำที่สุด 8 หน่วย เรียกว่ามีความชัน 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้น้ำไหลไปยังบ่อพักภายในบริเวณบ้าน นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นพื้นไม้ระแนง พื้นซีเมนต์ หรือพื้นวัสดุอื่น ๆ เป็นตำแหน่งที่ต้องตรวจดูระดับความลาดชันให้ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง หากจำเป็นอาจต้องติดตั้งช่องระบายน้ำที่พื้นเพิ่มแล้วฝังท่อเชื่อมออกสู่ทางระบายน้ำรวมต่อไป• ถนน 0.5-8 เปอร์เซ็นต์• ลานจอดรถหรือลานกิจกรรม 0.5-5 เปอร์เซ็นต์• […]

ไอเดียรูปแบบลำธารจากสวนสวย พร้อมรายละเอียดการสร้างเบื้องต้น

สวนเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนตัวตนของผู้เป็นเจ้าของ เจ้าของบ้านหลายคนมักจำลองภาพความงามของธรรมชาติที่ตนเองหลงใหลมาไว้ในสวน ที่พบเห็นได้บ่อยก็ คือ การสร้างลำธารในสวน สายน้ำมักเป็นองค์ประกอบที่บอกเล่าเรื่องราว และแสดงถึงรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ บ้างอาจจัดเป็นน้ำตกไว้คอยฟังเสียงน้ำกระทบหินแตกเป็นละออง แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ชอบเพียงสายน้ำที่ค่อย ๆ ไหลผ่านกอไม้และทุ่งหญ้าไปอย่างเรียบง่าย ครั้งนี้ บ้านและสวน จึงอยากนำเสนอวิธี การสร้างลำธารในสวน พร้อมไอเดียรูปแบบลำธารจากสวนสวยแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปทำตามหรือประยุกต์ใช้ได้ไม่ยาก การเลือกวัสดุ เนื่องจากการสร้างลำธารจำเป็นต้องทำโครงสร้างยกระดับพื้นให้เกิดความแตกต่าง เพื่อให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จึงควรตกแต่งขอบบ่อ เพื่อให้ลำธารดูเป็นธรรมชาติ เกิดความสวยงามและเข้ากับบรรยากาศของสวน วัสดุที่นิยมนำมาใช้ตกแต่งก็มีดังนี้ หินประดับผนัง เช่น หินกาบ หินทราย ใช้ปิดทับโครงสร้างคอนกรีตด้านใน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดูเป็นธรรมชาติและช่วยให้ผนังแข็ง ๆ ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เลือกใช้หินประดับที่มีรูปทรงใกล้เคียงกับหินธรรมชาติก็จะดูไม่หลอกตา โขดหินธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ลำธารดูไม่แปลกแยกจากส่วนอื่นๆ ในสวนช่วยลดความแข็งของผนังหินให้มีขนาดที่หลากหลายเลียนแบบธรรมชาติ และอาจใช้เป็นวัสดุปิดผนังได้ ในบางจุด ปัจจุบันมีหินให้เลือกหลากหลายขนาดและรูปแบบ ทั้งโขดหินธรรมชาติและโขดหินสังเคราะห์ เจ้าของสวนจึงเลือกตกแต่งได้ตามความชอบและความเหมาะสม กรวดแม่น้ำ เป็นวัสดุหลักที่ใช้ในหลายจุด ทั้งใช้โรยเชื่อมต่อระหว่างขอบหินประดับผนังกับโขดหินขนาดใหญ่ และใช้เป็นวัสดุปูพื้นในลำธาร เพื่อให้ดูสมจริง หินกรวดมีให้เลือกใช้หลายขนาดและสีสันตามความเหมาะสม แต่ควรใช้หินเบอร์ 3 – 5 หรือหินกรวดที่มีน้ำหนักพอสมควร เพื่อป้องกันหินกรวดไหลไปกับน้ำ โดยอาจโรยทรายหยาบในบางจุด […]

การปลูกป่านิเวศ (Eco-Forest) ตามหลักทฤษฎีของศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ

การปลูกป่านิเวศ (Eco-Forest) ตามหลักทฤษฎีของศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ (Prof. Dr.Akira Miyawaki) ช่วยร่นระยะเวลาการเจริญเติบโตของป่าธรรมชาติ จาก 100 ปี ให้เหลือเพียง 10 ปี เท่านั้น หนึ่งในทฤษฎีการทดแทนสังคมพืชแนวใหม่ (New succession theory) คือ ทฤษฎีของศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ (Prof. Dr.Akira Miyawaki) นักพฤกษศาสตร์และนักนิเวศวิทยาพืชที่มีความเชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์และการศึกษาป่าธรรมชาติ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮามา (Yokohama National University) ประเทศญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าธรรมชาติ (Restoration) บนพื้นที่เสื่อมโทรม โดยเน้นการปลูกป่าเลียนแบบโครงสร้างป่าในธรรมชาติ ด้วยพรรณไม้พื้นเมืองหรือพรรณไม้ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดินคละชนิดกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและทำให้พื้นที่สีเขียวของป่ากลับมาอีกครั้ง ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าวิธีอื่น ๆ สูงสุดมากถึง 10 เท่า  หลักการ การปลูกป่านิเวศ (The Principal & Methodology) • […]