T-HOUSE NEW BALANCE STORE รื้อโกดังเก่ามาประกอบร่างใหม่ซ่อนไว้หลังผนังสีขาว

พาไปสำรวจโครงการ T-HOUSE ซึ่งเป็นสโตร์ของ New Balance ในญี่ปุ่น ที่รื้อโกดังเก่ามาประกอบร่างใหม่ซ่อนไว้หลังผนังสีขาว

ATHLETIA แฟล็กชิพสโตร์ที่ใช้วัสดุย่อยสลายง่ายและไม้เบิร์ชจากป่าปลูกมาตกแต่ง

เจาะแนวคิดแฟล็กชิพสโตร์ของแบรนด์ Athletia ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบรนด์ใหม่ในเครือ e’quipe ที่ตกแต่งด้วยวัสดุย่อยสลายง่าย และใช้ไม้เบิร์ชคัดสรรจากป่าปลูก

YASU HOUSE บ้านหน้าต่างยาวที่ออกแบบไว้นั่งมองเขาและทิวไม้จากมุมนั่งเล่น

บ้านญี่ปุ่น หลังนี้แค่มองผ่านหน้าต่างก็สร้างความสดชื่นได้ เพราะสถาปนิกใช้หน้าต่างเป็นตาของบ้าน และอาศัยบริบทโดยรอบที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติมาเป็นองค์ประกอบ

TIAM COFFEE SHOP & HOME รีโนเวตตึกแถวเก่าให้เป็นบ้านที่มีคาเฟ่อยู่ชั้นล่าง

รีโนเวตตึกแถว เก่าสภาพทรุดโทรมที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกใจกลางเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัว 3 รุ่น ที่มีสมาชิก 7 คน! ความพิเศษของที่นี่ นอกจากการ รีโนเวตตึกแถว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ชั้นแรกของที่นี่ยังเปิดเป็นคาเฟ่ดำเนินการโดยเจ้าของเอง และส่วนที่เหลือของอาคารมีไว้สำหรับนั่งเล่น บานเกล็ดแนวตั้งและผนังกระจกทำหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกอาคาร ปกคลุมบ้านเป็นเหมือนฉากกั้นที่สร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอก ช่วยให้คนในบ้านใกล้ชิดกับธรรมชาติและบริบทภายนอกได้มากขึ้น บานเกล็ดนี้ไม่เพียงช่วยลดการแผ่รังสีความร้อน แต่ยังสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงเงา และจังหวะของเส้นสายแบบเรขาคณิต เพิ่มความรู้สึกสะดุดตาทุกครั้งของผู้คนที่ได้มองเห็น “เราใช้เวลาในการพูดคุยและทำความเข้าใจกับความต้องการของเจ้าของบ้าน เพื่อมอบประสบการณ์อันมีค่าสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยได้ออกแบบที่นี่ให้มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 3 ชั้น ห้องใต้หลังคา 1 ห้อง และเฉลียงสำหรับออกมาชมวิวรอบ ๆ” ทีมออกแบบจาก Nguyen Khai Architects & Associates เล่ารายละเอียดการทำงานให้ฟัง แนวคิดหลักอีกอย่างของการออกแบบก็คือการสร้างสรรค์พื้นที่ให้น่าอยู่ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ แม้จะอยู่ในพื้นที่ขนาดแคบก็ตาม เห็นได้จากการออกแบบพื้นที่ที่ต่อเนื่องและเปิดโล่ง เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดกัน แต่ยังคงสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวได้หากจำเป็น ขณะที่บันไดวนเก่าและใช้งานไม่ได้แล้วถูกแทนที่ด้วยบันไดแบบตรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่และทำให้การไหลเวียนดีขึ้น ส่วนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเน้นทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมีลักษณะเด่นบางประการที่เหมาะสำหรับใช้ในสภาพอากาศที่รุนแรงในเว้ ขณะคาเฟ่ที่ชั้นหนึ่งได้รับการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบและวัสดุเดียวกันกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน เช่น โต๊ะโค้งยาว […]

ร้านกาแฟข้างตึกของ BLUE BOTTLE COFFEE ที่แก้ข้อจำกัดพื้นที่แคบและยาวด้วยการออกแบบ

Blue Bottle Coffee NEWoManYOKOHAMA Cafe Stand ร้านกาแฟในรูปแบบ Grab and Go สาขาใหม่ล่าสุดจาก Blue Bottle Coffee ในประเทศญี่ปุ่น ที่เพิ่งเปิดบริการไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

TLALPUENTE บ้านสีทึมที่ซ่อนอยู่กลางผืนป่าเขียวชอุ่ม

นี่คือบ้านเดี่ยวที่ตั้งอยู่เดียวดายโดยไม่มีเพื่อนบ้าน ตัวอาคารภายนอกมีสีทึมดำ ภายในขาวนวล ถูกซ่อนไว้อยู่กลางผืนป่าเขียวชอุ่มที่รู้จักกันในชื่อ Tlalpuente ทางตอนใต้ของกรุงเม็กซิโก ซิตี

บ้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ออกแบบมาให้พร้อมรื้อถอนและโยกย้าย

MU50 House โดย Teke Architects Office แบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบโดยใช้ระบบโมดูลาร์ มาให้พร้อมรื้อถอน โยกย้าย แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

DEGUCHISHOTEN ปรับปรุงโรงเก็บของเสื่อมโทรมให้กลับมาสวยด้วยสังกะสี

Deguchishoten เป็นโครงการปรับปรุงโรงเก็บของเก่าของร้านขายส่งสุราในเขตโอะฮะระ เมืองอิสุมิ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร้านค้าแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1911 ก่อนถูกปล่อยทิ้งร้างมานานนับตั้งแต่เจ้าของอาคารเสียชีวิตลง จนมีสภาพเสื่อมโทรมตามกาลเวลา

HAPPYNEST OFFICE ออฟฟิศน่าใช้งานที่ปรับปรุงจากอาคารที่เคยสร้างไม่เสร็จ

แม้ไม่ใช่ผู้ออกแบบตั้งแต่ต้น  ทว่า FATTSTUDIO ผู้รับหน้าที่ออก แบบออฟฟิศ “Happynest Office” ก็อธิบายถึงแนวคิดเบื้องหลังการปรับปรุงอาคารที่เป็นผลงานล่าสุดของพวกเขา ซึ่งเคยเริ่มสร้างไปแล้วบางส่วน ก่อนพวกเขาจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบและฟังก์ชันใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้งานจริงไว้อย่างน่าสนใจ

CHICKENVILLE หมู่บ้านที่สร้างขึ้นมาเพื่อการศึกษาโดยมีประชากรทั้งหมดเป็นไก่

Chickenville หรือ Kokošvaroš ตั้งอยู่ใน Rakov Potok หมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้กับเมือง Samobor ประเทศโครเอเชีย โครงการนี้ไม่เพียงแต่เป็นฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาเพื่อการศึกษาอีกด้วย

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]

ถอดรหัสความละเมียดในงานดีไซน์ของสถาปัตยกรรมสไตล์ชาโตว์ ที่คฤหาสน์สุดหรู โครงการใหม่ “LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ”

ไปสำรวจความละเมียดของงานดีไซน์ที่โครงการ “LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ” ซึ่งมีจุดเด่นในสไตล์ชาโตว์ ตามแบบฉบับฝรั่งเศส

CAFÉ NAKHONNAYOK คาเฟ่เรียบง่ายที่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น

คาเฟ่นครนายก กำเนิดขึ้นจากไอเดีย “อยากกลับบ้านไปเปิดคาเฟ่” ที่เน้นร้านไซซ์เล็ก ดีไซน์เรียบง่าย แต่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects ตัวคาเฟ่ทำจาก สังกะสี กระจก และกรอบไม้ นั่นคือภาพที่โดดเด่นของ คาเฟ่นครนายก ริมทางหลวงที่ใครผ่านไปผ่านมาต้องต่างสะดุดตา กับการออกแบบที่มีการนำโครงสร้างเหล็กเดิมมาใช้ ก่อนที่จะเพิ่มเติมวัสดุให้ดูกลมกลืนกับพื้นที่อย่าง ไม้ และสังกะสีลงไปเพื่อให้เข้ากับร้านอาหารและสวนเดิมของเจ้าของ การออกแบบนั้นได้ออกแบบให้ตัวคาเฟ่นั้นเหมือนเป็นกล่อง 2 กล่อง ที่สอดเข้าไปภายในโครงสร้างเก่า พื้นที่ด้านนอกทั้งหมดถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นสังกะสี และปล่อยให้เป็นบานกระจกใสในส่วนที่ต้องการเปิดรับทัศนียภาพรอบ ๆ โดยเฉพาะความสดชื่นของเหล่าต้นไม้ที่อยู่รอบพื้นที่นั้น เจ้าของมีความตั้งใจให้เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ตามธรรมชาติ และกลายเป็นสวนของคาเฟ่ไปในที่สุด สิ่งที่เด่นชัดที่สุดของคาเฟ่แห่งนี้ ก็คือการออกแบบให้เกิดความแตกต่างแต่ลงตัวระหว่างรูปแบบ Modernism ของอาคารกับการเลือกใช้วัสดุในท้องที่เข้ามาผสมกัน จนเกิดเป็นอาคารที่มีความน่าสนใจภายใต้ความเรียบง่ายขึ้นเช่นนี้ ออกแบบ : OPH Architects  ภาพ : Napat Pattrayanond เรื่อง : Wuthikorn Sut  

SHERLOFT HOUSE AND HOSTEL ที่พักเชียงใหม่ในบ้านเก่าอายุ 50 ปีพร้อมพื้นที่สีเขียวกลางคู

อบอุ่นด้วยความเป็นบ้านและได้รับการดูแลอย่างดีเสมือนคนในครอบครัว นี่คือคอนเซ็ปต์และความตั้งใจของ Sherloft Home and Hostel โฮสเทลที่กล้าให้พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กับแขกที่มาพัก เพื่อคงความร่มรื่นเหมือนบรรยากาศสบาย ๆ ของบ้านอายุ 50 ปีอย่างที่เคยเป็นมา แม้บ้าน Sherloft Home and Hostel  สไตล์โมเดิร์นยุคแรกของเชียงใหม่หลังนี้จะได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นโฮสเทลแล้ว แต่เจ้าของยังคงอยากเก็บรักษาความคลาสสิกและเสน่ห์ของตัวบ้านไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบและวัสดุดั้งเดิมอย่างอิฐและไม้ เพิ่มเติมเพียงฟังก์ชันของห้องพัก ห้องน้ำ และส่วนต้อนรับเพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่เป็นโฮสเทล ด้านการตกแต่งได้มีการนำวัสดุจากการรีโนเวตมาปรับใช้ตามส่วนต่าง ๆ เช่น การนำผนังมาทำบานประตู นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ร่องรอยการใช้งานที่ปรากฏบนผิววัสดุ ยังมีคุณค่าช่วยส่งต่อเรื่องราวความทรงจำแห่งวันวาน พื้นที่ภายในมีบรรยากาศดูโปร่งโล่งสบายตาจากแสงธรรมชาติที่ส่องเข้ามาอย่างทั่วถึง ลดความอึดอัด และเปิดมุมมองสำหรับชมวิวสีเขียวของสวนและต้นไม้บริเวณด้านหน้าโฮสเทลได้เต็มที่ ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองเสมือนที่นี่เป็นบ้านอีกหลัง ที่ตั้ง: 7 ถนนราชมรรคา ซอย 7 พระสิงห์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อ : โทร.08-2448-4777 Facebook: sherloft.homeandhostel เจ้าของ-ออกแบบ: ดร.ดวงนภา สุขะหุต ภาพ : ศุภกร SHER LOFT […]

บ้านไม้มินิมัลออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ

บ้านไม้ ภายใต้ในแนวคิด Passive Design ที่สถาปนิกออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ ตั้งอยู่บนที่ดินติดถนนสายหลัก กลางย่านที่มีบ้านพักอาศัยสร้างขึ้นเพื่อปล่อยขายตลอดแนวถนนในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น Mushono House คือผลงานการออกแบบของสถาปนิก Yoshitaka Kuga ด้วยการนำแนวคิด Passive Design มาใช้ออกแบบ บ้านไม้ หลังนี้ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยรวม 119.529 ตารางเมตร ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม โดยวางผังอาคารให้ด้านหน้าของบ้านหันออกสู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านหลังออกแบบให้ตั้งอยู่ติดกับถนนสายหลัก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้หน้าบ้านดูกว้างเเละโปร่งโล่งยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับสร้างแนวป้องกันความร้อนด้วยการปลูกต้นไม้เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้าน ด้วยความตั้งใจที่อยากให้เจ้าของบ้านอยู่สบายด้วยการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก สถาปนิกจึงสร้างห้องนั่งเล่นให้เกิดบรรยากาศโล่งกว้างขนาดใหญ่ เด่นด้วยพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซ และออกแบบช่องเปิดให้เกิดแสงและเงา ช่วยสร้างความละมุนให้กับพื้นที่ทั้งสองชั้น เเถมยังมีมุมมองเปิดออกไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวนอกบ้านผ่านหน้าต่างบานใหญ่ทางทิศใต้ เเละสร้างพื้นที่นั่งเล่นเป็นชานเล็ก ๆ โดยออกแบบให้ชายคามีระยะยื่นคลุมพื้นที่ชานทั้งหมดไว้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันแสงแดดยามออกมานั่งเล่น สถาปนิกยังระบุอีกว่าด้วยวิธีการออกแบบนี้จะช่วยให้ภายในบ้านเย็นในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว ซึ่งผู้อาศัยจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจากฟังก์ชันต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ได้พักผ่อนสายตาไปกับวิวสวน พร้อมร่มเงาและความสดชื่นจากเหล่าไม้ใบสีเขียว เปิดรับอากาศดี ๆ ได้ในทุกวัน ออกแบบ: Yoshitaka Kuga HEARTH ARCHITECTS http://hearth-a.com ภาพ: Yuta […]

HOUSE IN KYOTO บ้านไม้สไตล์มินิมัล แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียวมีจำกัด ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในห้องนั่งเล่น

บ้านไม้ สไตล์มินิมัลสำหรับสองสามีภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารักทั้งสามคนของพวกเขา ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

CASA DE MADERA บ้านหลังคาซิกแซกสำหรับแปลงผักสวนครัว

บ้านไม้ สำหรับพักตากอากาศในช่วงสุดสัปดาห์ ที่ Estudio Borrachia ออกแบบมาสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน ประกอบด้วยคู่สามีภรรยา พร้อมลูกเล็กสองคน ตั้งอยู่ใน Exaltación de la Cruz ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

KOKA HOUSE บ้านไม้กึ่งคาเฟ่สีดำทะมึนที่ซ่อนความละมุนไว้ภายใน

บ้านไม้ กึ่งคาเฟ่ ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น หลังนี้เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของบ้านที่วางแผนจะเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ไปพร้อมกับการสร้างบ้านพักอาศัยส่วนตัว หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว Yoshitaka Kuga สถาปนิกซึ่งมีสตูดิโอออกแบบตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ จึงได้ลงมือออกแบบ บ้านไม้ สีดำทะมึนหลังนี้ให้มีพื้นที่รองรับกับความต้องการ ก่อนจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น กลายเป็นอาคารรูปทรงสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น  เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดทางแยกบนที่ดินที่ล้อมรอบด้วยถนนทั้งสามด้าน เด่นด้วยผนังโทนขรึมดำจากไม้ซีดาร์เผาผิว  มีมุมมองคล้ายกับอาคารสองหลังวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้บ้านดูเหมือนกับร้านกาแฟในกระท่อมบนภูเขา เป็นเหตุผลทำให้บ้านหลังนี้มีหลังคาที่ดูโดดเด่นจนกลายเป็นไอค่อนของย่านไปโดยปริยาย   เเละอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวให้แยกส่วนกับพื้นที่สาธารณะ โดยไม่รู้สึกถึงการตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ภายใต้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 104.95 ตารางเมตร สามเหลี่ยมก้อนแรกที่อยู่ด้านหน้าจึงถูกแบ่งเป็นส่วนการใช้งานหลักบนชั้น 1 ของบ้าน ประกอบด้วยมุมรับประทานอาหาร ซึ่งออกแบบพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อกับครัวเปิด เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ เพื่อรองรับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็แยกส่วนพื้นที่พักอาศัยจริงที่มอบความเป็นส่วนตัว ไว้ภายในก้อนสามเหลี่ยมก้อนที่สองซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง โดยพื้นที่ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ห้องนอนใหญ่ของเจ้าของบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ (ใช้ครัวกับมุมรับประทานอาหารร่วมกับส่วนคาเฟ่) ส่วนบนชั้นสอง เป็นห้องของเด็ก ๆ จำนวน 2 ห้อง พร้อมระเบียงเล็ก ๆ ไว้ออกไปยืนสูดอากาศในวันฟ้าแจ่มใส โดยมีสวนเล็ก ๆ […]