XXXYYY.OFFICIAL คาเฟ่ที่แทนสมการค่า X ด้วยดีไซน์ ค่า Y ด้วยกาแฟ

XXXYYY.OFFICIAL คาเฟ่ย่านแบริ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของพื้นที่ทดลอง โดยมีแนวคิดคือการนำสองสิ่งมาจับคู่กับ เหมือนกับที่ X ชอบอยู่คู่กับ Y แล้วเกิดสิ่งสร้างสรรค์

CHIVI HOUSE บ้านอิฐ ที่เติบโตไปพร้อมกับเรา

บ้านอิฐ หลังเล็กชานเมืองดานังของเวียดนาม ดูเป็นมิตรด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่ตอบรับกับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น อีกทั้งยังทำให้บ้านเปลี่ยนแปลงและเติบโตตามกาลเวลาไปพร้อมกับผู้อยู่อาศัย ออกแบบ: Hinz Studio, Vietnam  หากกล่าวถึงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มาแรงในบรรดาประเทศเเถบอาเซียน “ประเทศเวียดนาม” ย่อมติด 1 ใน 3 อันดับแรกอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมของเวียดนาม ยังมีรูปแบบและการใช้วัสดุใกล้เคียงกับบ้านเรา อาทิ บ้านอิฐ ซึ่งส่งผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โครงการ Chivi House บ้านสองชั้นขนาดพอเหมาะ ผลงานจาก Hinz Studio สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม ที่มีประสบการณ์การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมด้วยอิฐมาแล้วหลายโครงการ ชื่อ Chivi House เกิดจากการรวมกันของชื่อลูกสาวทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน (Chi และ Vi) ด้วยขนาดกะทัดรัดเพียง 137 ตารางเมตร เเละตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของทางสามแยกพอดี ทำให้สถาปนิกเลือกดึงประโยชน์ของที่ตั้งมาใช้กับสเปซของบ้านให้ได้มากที่สุด ด้วยการวางตำแหน่งฟังก์ชันทางสัญจรอย่างบันได และห้องน้ำให้ชิดกับผนังด้านที่อยู่ติดกับที่ดินเพื่อนบ้าน โดยให้ผนังด้านนี้เป็นผนังทึบทั้งหมด ส่วนด้านหน้าบ้านและด้านที่ติดถนนได้ออกแบบช่องเปิด และก่อผนังอิฐ ที่มีการเว้นจังหวะให้เกิดช่องลมเพื่อ ให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้ตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวให้สมาชิกในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม นับเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง […]

OKKIO CAFFE คาเฟ่สีแดงฉาบด้วยกลิ่นอายและแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง “2046”

ร้านกาแฟและบาร์สีแดงริมถนน Xuan Thuy Street ของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม แห่งนี้ เป็นร้านในเครือสาขาที่ 2 ของแบรนด์ Okkio Caffe ที่ขอสร้างความแตกต่าง ด้วยแรงบันดาลใจที่มาจากหนังเรื่อง “2046” โดยเน้นใช้สีแดงที่ดูสดใสกระปรี้กระเปร่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์เป็นหลัก ตัดสลับกับบรรยากาศของแสงไฟสลัวลางในเวลากลางคืน เพื่อบอกถึงอารมณ์แบบเหงา ๆ ดูย้อนยุค อันเป็นสไตล์ที่มักพบเห็นได้ในหนังของหว่องกาไว Red5Studio ทีมออกแบบผู้รับหน้าที่ออกแบบโปรเจ็กต์นี้เล่าให้ฟังว่า หง่องกาไวเป็นผู้กำกับที่มีอิทธิพลและสร้างแรงบันดาลใจให้กับ Okkio Caffe ดังนั้นเรื่องราวการออกแบบจึงเน้นนำฉากและบรรยากาศที่เคยเห็นในหนัง มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของร้าน ไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารที่ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนหน้าต่างรถไฟที่มีลูกกรงเหล็กเป็นจุดเด่น นอกจากนี้เพดานด้านในยังสร้างขึ้นโดยมีรูปทรงโค้งเหมือนกับตัวรถไฟ เปิดรับแสงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหามืดทึบในเวลากลางวันด้วยผนังกระจกหน้าร้าน และช่องเพดานวงกลมเหนือประตู เพื่อดึงแสงให้ตกกระทบลงที่พื้นคล้ายกำลังถูกส่องด้วยไฟสปอร์ตไลท์เฉพาะจุด สร้างความโดดเด่นให้พื้นที่ภายในร้านได้อย่างดี ในส่วนของวัสดุที่เลือกใช้ ประกอบด้วยวัสดุแบบดั้งเดิม เช่น อิฐเก่า ทองแดง และหินขัด นำมาซึ่งสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและอบอุ่นเหมือนเช่นเคยกับสาขาแรก นอกจากนั้นยังมีการแนะนำวัสดุอื่น ๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น เอฟเฟ็กต์การไล่ระดับสี และรูปแบบเพดานจากวัสดุพอลิคาร์บอเนต เพื่อให้สะท้อนแสงไฟที่ทีมผู้ออกแบบได้ติดตั้งไว้ โดยให้ความสำคัญกับระบบไฟ LED Hue ซึ่งติดไว้ที่มุมบาร์ […]

ชวน JAIME HAYON คุยเรื่องดีไซน์ วิถีชีวิต และ FRITZ HANSEN

เมื่อปีกลาย Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) ดีไซเนอร์ระดับโลกสัญชาติสเปน แปลงโฉมบ้านเก่าอายุกว่า 70 ปี ในซอยสมคิด ย่านชิดลม ให้กลายเป็น House of Fritz Hansen Bangkok โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังจากเดนมาร์ก และในโอกาสที่เขาเยี่ยมเยือนไทยเพื่อเปิดนิทรรศการ Jaime Hayon Design Showcase  เราจึงขอชวนคุณไปพูดคุย พร้อมทำความรู้จักกับดีไซเนอร์คนดังแบบเจาะลึก ทั้งแนวคิดงานดีไซน์ การใช้ชีวิตและการทำงานกับ Fritz Hansen (ฟริตซ์ ฮานเซ่น) หากใครได้พูดคุยกับ Jaime Hayon สักครั้ง เชื่อว่าต้องสัมผัสได้ถึงพลังงานแห่งการสร้างสรรค์อันเต็มเปี่ยม สำหรับ room เขาคือนักออกแบบผู้ไม่เคยกลัวที่จะทำทุกอย่างตามความคิด ไม่เคยยินยอมทำอะไรซ้ำสอง ไม่เชื่อเรื่องการหยุดพักเพื่อเฉลิมฉลองกับความสำเร็จ และปัญหาใหญ่สำหรับเขาคือ การมีเวลาที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับการออกเดินทางเพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และใช้ชีวิต “ผมพยายามเป็นผู้กำหนดเทรนด์อยู่เสมอ ผมชอบออกนอกกรอบ เล่นนอกกฎ อย่างงานออกแบบเก้าอี้ดีไซน์แรก ๆ ของผม ผมเลือกใช้พลาสติก ใช้แม่สีอย่างไม่ลังเล เป็นเก้าอี้สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง เพราะตอนผมได้เข้ามาสัมผัสโลกดีไซน์ใหม่ […]

AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม

อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

บ้านโมเดิร์น สีขาว ที่ ออกแบบ ผัง วางสเปซแนวทะแยง และพรางตาด้วย ฟาซาด

บ้านโมเดิร์นสีขาว รูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวที่เกิดจากแนวคิดอันเรียบง่าย การออกแบบผังบ้านในลักษณะของรูปโดนัท มีคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของที่ดิน และสร้างสเปซที่เปิดมุมมองสู่ธรรมชาติ และสร้างบรรยากาศน่าสบายให้กับทุกมุมบ้าน เจ้าของ Gems Heritage Co., Ltd. ออกแบบ Archive Studio โทร. 0-2235-6695 แม้ภายนอกของ บ้านโมเดิร์นสีขาว ย่านลาดพร้าวหลังนี้จะดูมีเส้นสายโฉบเฉี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกรายละเอียดและทุกเส้นสายที่เกิดขึ้นล้วนมาจากเหตุและผลที่แสนเรียบง่าย  ซึ่งเป็นงานถนัดของ Archive Studio กับการออกแบบบ้านขนาด 2 ชั้นพร้อมพื้นที่ใช้สอยกว่า 533 ตารางเมตรของเจ้าของบ้านคู่แต่งงานใหม่ที่วางแผนจะมีลูกสองคนในอนาคต  โดยสร้างอยู่บนที่ดินว่างเปล่าใกล้กันกับบ้านเดิมของครอบครัว  ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ และฝ่ายภรรยามักอยู่บ้านเป็นหลัก  ทีมสถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบสเปซที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยให้กับเจ้าของบ้านในทุกมิติ  ทั้งงานสถาปัตยกรรม  งานตกแต่งภายใน  และภูมิสถาปัตยกรรม  เพื่อให้ทุกองค์ประกอบของบ้านเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน โดยทีมสถาปนิกได้คิดและออกแบบอย่างตรงไปตรงมา  ซึ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงกายภาพกับพื้นที่ข้างเคียง  ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบตำแหน่งและขนาดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ จนพัฒนาเป็นบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน   ด้วยลักษณะอันจำกัดของที่ดิน  จึงต้องสร้างอาคารให้ประชิดติดที่ดิน  เกิดเป็นการบังคับมุมมองให้เหลือเพียงด้านหลังที่ติดกับบึงน้ำทางทิศตะวันตก ผู้ออกแบบจึงตั้งใจเปิดมุมมองฝั่งนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับเจ้าของบ้าน โดยร่นระยะจากขอบที่ดินมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด  ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอย (Minimum Setback) แล้วออกแบบแปลนบ้านให้มีลักษณะคล้ายโดนัทหรือการมีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางบ้าน  นอกจากจะลดความอึดอัดจากการถูกปิดล้อมแล้ว  ยังทำให้ทุกฟังก์ชันในบ้านสามารถมองเห็นวิวคอร์ตยาร์ดได้  รวมถึงทำหน้าที่กระจายแสงธรรมชาติให้สามารถเข้ามาในบ้านได้อย่างทั่วถึง  ช่วยให้เกิดบรรยากาศชวนผ่อนคลายและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวความพิเศษของบ้านหลังนี้ นอกจากเรื่องฟังก์ชันทั่วไปแล้ว  ยังมีโชว์รูมจิเวลรี่ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฟังก์ชันพิเศษอันมีผลต่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม  เนื่องจากผู้ออกแบบต้องจัดวางฟังก์ชันเพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งานและการเข้าถึงอย่างชัดเจน  โดยไม่ทำให้เจ้าของบ้านต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว ฉะนั้นด้านขวามือของบ้านจึงถูกกำหนดให้เป็นส่วนของโชว์รูมจิเวลรี่  โดยสามารถเข้าถึงคอร์ตยาร์ดกลางบ้านได้เช่นเดียวกันส่วนเรื่องมุมมองความเป็นส่วนตัวนั้น ผู้ออกแบบได้ออกแบบฟาซาดจากคานเหล็กขนาดใหญ่ความยาวกว่า […]

DTF : THE FAMILY HUNGRY PLACE ร้านอาหารจีนแบบฟิวชั่น จำลองกลิ่นอายยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ร้านอาหารจีนแบบฟิวชั่นที่มีกลิ่นอายย้อนยุคแห่งนี้มีชื่อว่า DTF : THE FAMILY HUNGRY PLACE ดูโดดเด่นกับการจำลองภาพบรรยากาศของร้านให้เหมือนอยู่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมมุมถ่ายรูปเก๋ ๆ ที่รายล้อมไปด้วยของสะสมสไตล์วินเทจ และโครงสร้างอาคารเก่าที่ยังคงเก็บรักษาองค์ประกอบที่มีเสน่ห์แห่งวันวานเอาไว้ จากชื่อร้านที่เห็นนั้น มีชื่อย่อจากอักษรจีน 3 คำ คือ DAO刀 TU 涂 และ FOOK 福 ซึ่งหมายถึง 3 สิ่ง คือ กระบี่ (หรือนัยหนึ่งคืออาวุธในการทำอาหาร) การประยุกต์แนวทางของศิลปะและการภาวนาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และรวมไปถึงเป็นการย่อคำแบบภาษาอังกฤษจากคำว่า “Down To Food” ที่ต้องการสื่อถึงภาพลักษณ์อันถ่อมตน และการใส่ใจกับคุณภาพอาหารในบรรยากาศแบบเอเชีย DTF : THE FAMILY HUNGRY PLACE เบื้องต้นอาคารแห่งนี้เป็นบ้านเดิมของครอบครัวเจ้าของร้าน ถูกบูรณะโดยสร้างภาพลักษณ์ของร้านให้ย้อนยุค เป็นดั่งภาพของร้านอาหารในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง โดยโครงสร้างทั้งหมดเกิดจากการปล่อยโครงสร้าง ผนัง เพดาน พื้น ให้เป็นของเดิมของอาคารนี้ทั้งหมด เพิ่มเติมเพียงเคาน์เตอร์บาร์หน้าบันไดซึ่งออกแบบใหม่ให้เหมาะกับการใช้งาน โดยก่อล้อมเสาเดิมและกรุกระเบื้องสีเขียว ซึ่งก็เป็นกระเบื้องเดิมที่พบอยู่กับตัวบ้านเช่นกัน ด้านหน้าร้านถูกทุบผนังใส่โครงสร้างเหล็กติดกระจกบานใหญ่ แต่บังสายตาเพิ่มความเป็นส่วนตัวด้วยรางม่านสไตล์ย้อนยุค […]

BASIC SPACE COFFEE การเปลี่ยนผ่านที่เลือกเก็บความทรงจำเดิมไว้ใต้หลังคาสังกะสี

งานออกแบบชิ้นล่าสุดของ BodinChapa Architects กับการเลือกเก็บและนำความทรงจำทรงคุณค่าของร้านกาแฟเจ้าเก่าเจ้าเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาตีความหมายผ่านการประยุกต์ใช้สิ่งเดิมในบทบาทหน้าที่ใหม่ ซึ่งกลายมาเป็นภาพปัจจุบันอันร่วมสมัยของ Basic Space Coffee

บ้านทรงกล่องจากอิฐบล็อก เล็ก กะทัดรัด อยู่สบาย

การมีบ้านสักหลังอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าลองพิจารณาองค์ประกอบดูดีๆแล้ว ด้วยการออกแบบที่ดี บ้านขนาดเล็กราคาประหยัดและวัสดุที่ใช้งานได้ดีในราคาย่อมเยาก็อาจจะทำให้การมีบ้านสักหลังเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่คิดไว้ บ้านทรงกล่อง เรียบง่าย อยู่สบาย ราคาประหยัด คือคอนเซ็ปต์ของ Box House ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้ต่ำในโครงการ Vivex Community พูดง่ายๆก็คือเหมือนเป็นบ้านการเคหะบ้านเรานั่นเอง การออกแบบจึงต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่เรียบง่าย สามารถยืดหยุ่นต่อการใช้งาน และต่อยอดการใช้งานได้ในอนาคต วัสดุที่ถูกเลือกมาใช้จึงเป็นวัสดุอิฐบล็อก หรือคอนกรีตบล็อกนั่นเอง จากขนาดที่ดินมาตรฐานของโครงการ นั่นคือ 7×15 เมตร การออกแบบจึงเป็นการจัดการกับพื้นที่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แม้ว่าที่ดินจะมีหน้ากว้างเพียง 7 เมตร แต่ด้วยการออกแบบผังให้เป็นอาคารหน้ากว้าง 5 เมตร ทิ้งพื้นที่ 2 เมตรเอาไว้ที่ข้างบ้านก็ทำให้บรรยากาศของบ้านนั้นดูโปร่งโล่งมากยิ่งขึ้น ภายนอกนั้น ส่วนพื้นที่ด้านข้างสามารถเป็นพื้นที่หย่อนใช้ ทำงานช่าง และเป็นซักล้างที่ด้านใน ส่วนทานข้าวและนั่งเล่นนั้นมีผนังกระจกขนาดใหญ่เพื่อทำให้บรรยากาศภายในดูโปร่งโล่ง และรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเป็นการประหยัดพลังงานไปในตัว แม้ว่าจะเปิดผนังกระจกจากพื้นจรดเพดาน แต่ด้วยทิศที่ไม่รับแดดบ่าย แสงที่ได้จึงไม่ทำให้บ้านร้อนเท่าใดนัก ด้านในของชั้นล่างจะเป็นพื้นที่ห้องนอนที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกเดินขึ้นบันได เมื่อเดินขึ้นไปยังชั้นสองจะเป็นห้องนอนอีกสองห้องซึ่งสามารถปรับการใช้งานห้องนอนชั้นล่างให้กลายเป็นห้องทำงานได้ อาคารทั้งหลังนั้นใช้การก่อสร้างโดยมีองค์ประกอบหลักคืออิฐบล็อก ส่วนหนึ่งเพราะจุดประสงค์ในการสร้างโอกาสในการมีบ้านให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นช่างก่อสร้าง ให้สามารถจัดการก่อสร้างบ้านของตัวเองได้ และนั่นจะทำให้บ้านหลังนี้มีต้นทุนที่ถูกลงไปอีกมาก ทั้งจากวัสดุก่อสร้างที่ได้รับการสนับสนุนมา แรงงานที่จัดการก่อสร้างด้วยตนเอง และแบบบ้านที่ออกแบบมาเพื่อให้สร้างได้สะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าจะเป็นบ้านขนาดย่อมราคาประหยัด แต่ก็ดูดีมากเลยทีเดียว […]

GARAGE HOUSE บ้านกึ่งอู่รถยนต์ที่สร้างการอยู่ร่วมแบบตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง

พื้นที่ซึ่งสะท้อนความชื่นชอบในเรื่องรถยนต์อย่างแจ่มแจ้งของผู้เป็นเจ้าของ ที่ได้รับการออกแบบโดยแบ่งแยกส่วนพักอาศัย กับพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์ความฝันในวัยเด็กอย่างเป็นสัดส่วนลงบนที่ดินผืนเดียวกันอย่างลงตัว

SHADE HOUSE บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่สร้างสรรค์โดยธรรมชาติ

เมื่อมองจากภายนอก อาจเห็นเป็นเพียง บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่โดดเด่นจากบริบทรอบ ๆ ทว่าในความเป็นจริง  ใจความสำคัญของที่นี่คือ การสร้างคุณภาพชีวิตของเจ้าของบ้านให้ดียิ่งขึ้นในทุกวัน โดยให้สถาปัตยกรรมทำหน้าที่หลอมรวมระบบนิเวศเข้ามาทีละน้อย ๆ จนถึงวันหนึ่งที่ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน นั่นจึงเป็นความสมบูรณ์แบบของการอยู่อาศัยที่แท้จริง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design  บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่ภายในอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดการออกแบบที่น่าสนใจ มีจุดเริ่มต้นมาจากเจ้าของบ้านที่ต้องการสร้างบ้านสำหรับใช้ชีวิตในวัยเกษียณ โดยมีโจทย์ว่าบ้านต้องมีความโมเดิร์น และอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ คุณอยุทธ์ มหาโสม จาก Ayutt and Associates design (AAd) จึงออกแบบบ้านหลังนี้ให้มีความถ่อมตน และน้อมรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสถาปัตยกรรม วางแผนให้บ้านขาวกลายเป็นสีเขียว บ้านหลังนี้ได้รับการวางแผนให้มีพื้นที่สีเขียวถึง 150 เปอร์เซ็นต์ในอนาคต ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายอาคารกำหนดไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์เสียอีก ด้วยการเพิ่มต้นไม้ลงไปในแทบทุกส่วนของบ้าน เช่น การเปลี่ยนพื้นที่ดาดฟ้าไว้ปลูกต้นไม้ รวมถึงพื้นที่สีเขียวแนวตั้งที่เข้ามาเติมบรรยากาศให้บ้านสีขาว เปรียบเสมือนตัวบ้านเป็นผ้าแคนวาสขนาดใหญ่ที่ถูกแต่งแต้มด้วยสีเขียวหลากหลายเฉดสีจนเต็ม “ผมมีหน้าที่ออกแบบบ้านให้ดีที่สุด ส่วนบ้านจะเติบโตหรือเปลี่ยนเฉดสีไปอย่างไร หลังจากนี้ ให้เป็นเรื่องราวของเจ้าของบ้านกับระบบนิเวศ สำหรับงานส่วนใหญ่ของ AAd นั้น […]

SATTAHIPTALE BOUTIQUE GUESTHOUSE & HOSTEL โฮสเทลธีมทหารเรือที่สัตหีบ

โฮสเทลแสนอบอุ่น SATTAHIPTALE BOUTIQUE GUESTHOUSE & HOSTEL ที่ตกแต่งภายใต้ธีม Navy ให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้งที่สัตหีบ โดยรีโนเวตมาจากอาคารพาณิชย์

CERULEAN COFFEE SHOP คาเฟ่มินิมัลที่เข้ากันดีกับฮันอกแห่งย่านอินซาดง

ตีความฮันอกจากความเป็นบ้าน สู่ Cerulean Coffee Shop คาเฟ่รูปลักษณ์ทันสมัย เพื่อทำให้ที่นี่เป็นสถานที่เชื่อมโยงผู้คนกับสถาปัตยกรรม โดยใช้กาแฟเป็นตัวประสาน

PIZZA 4P’S RESTAURANT LANDMARK 72 นั่งกินพิซซ่าใต้โคมไฟไม้จำลองจากเตาเผาอิฐแบบโบราณ

PIZZA 4P’S RESTAURANT สาขา LANDMARK 72 คือร้านพิซซ่ากลางกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ที่สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยการสร้างระนาบเหนือศีรษะรูปทรงกระบอกทำจากไม้

PONT COFFEE SHOP กาแฟสถานย่านยงซานที่มีสะพานเป็นจุดเชื่อม

คาเฟ่ของ Pont แบรนด์เครื่องคั่วกาแฟสัญชาติเกาหลี ที่ปรับปรุงจากบ้านไม้เก่าย่านยงซาน กรุงโซล ซึ่งพื้นที่เดิมของอาคารเคยเป็นสำนักงานการรถไฟ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1940 อาคารทั้งสองด้านหันหน้าไปทางถนนแต่ละด้าน และมีประตูซึ่งดูเหมือนทางลัดไปยังพื้นที่ใกล้เคียง

โรงเรียนอนุบาล OB KINDERGARTEN AND NURSERY กับห้องเรียนวิวทะเลและภูเขา

โรงเรียนอนุบาลในเมืองนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro ตั้งใจเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ สัมผัสวิวธรรมชาติภายนอกจากภายในอาคารได้ตลอดวัน

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

ตึกแดง-ตึกขาว สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟฯ

บันทึกภาพ อาคารพัสดุยศเส – อาคารตึกบัญชาการ สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนบางส่วนจะย้ายไปสู่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่จะเปิดให้บริการปลายปีนี้