GRILLICIOUS ร้านยากินิคุสไตล์ญี่ปุ่นกลางเมืองพัทยา ภายใต้สถาปัตยกรรมเฉียบเรียบ

Grillicious ร้านยากินิคุกลางเมืองพัทยา โดดเด่นด้วยเส้นสายสถาปัตยกรรมเฉียบเรียบ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการก่อกองไฟ สำหรับประกอบอาหารประเภทบาร์บีคิวที่มักต้องมีผนังกันลมสองด้านล้อมกองไฟไว้ ผู้ออกแบบจาก ForX Design Studio ได้นำรูปแบบของผนังดังกล่าวมาตีความใหม่ ให้ร้าน Grillicious กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจากชุดผนังที่วางตัวขนานกันในแนวยาว โดยพื้นที่ระหว่างผนังแบ่งออกเป็นโซนการใช้งานที่ชัดเจน ได้แก่ โซนต้อนรับ โซนรับประทานอาหาร โซนครัว และคอร์ตกลาง ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพื้นที่ร้าน แนวผนังจากวัสดุเลียนแบบปูนขัดที่ทอดยาวนั้นยังทำให้เกิดเส้นทางลมธรรมชาติที่เข้าถึงในทุกพื้นที่ของอาคาร เมื่อผนวกกับร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่และสวนสีเขียวในคอร์ตที่แทรกอยู่ระหว่างโซนต่าง ๆ จึงช่วยลดทอนความแข็งกระด้างของตัวอาคาร และสร้างภาวะน่าสบาย ตอบโจทย์สภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเมืองพัทยาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผนังกระจกขนาดใหญ่ในส่วนต่าง ๆ ยังเชื่อมต่อมุมมองของแต่ละโซนเข้าด้วยกัน พื้นที่นี้จึงสามารถประยุกต์ใช้จัดงานอีเว้นต์ได้อีกด้วย หลังคาโครงสร้างเหล็กแบบลาดเอียงส่งผลให้รูปลักษณ์ภายนอกของอาคารดูโฉบเฉี่ยว และระดับความสูงเป็นพิเศษของหลังคาก็ช่วยสร้างสเปซแนวตั้งภายในที่โปร่งโล่ง นอกจากนี้ช่องเปิดระหว่างแนวหลังคากับผนังอาคารยังเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในทำให้ร้านสว่างไสวตลอดวัน ที่ตั้ง Grillicious ซอยบงกช 3 พัทยาใต้ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พิกัด https://goo.gl/maps/AaCEXJQWzpNDWC5Q7 เปิดทุกวัน 12.00 – 21.00 น. โทร.08-3224-4665 ออกแบบ : ForX Design Studio ภาพ : […]

BURNT CORK เฟอร์นิเจอร์ไม้คอร์ก ที่ฟื้นคืนชีพจากเถ้าถ่าน

จากครั้งหนึ่งที่เคยเป็นฉนวนกันไฟให้ต้นไม้รอดจากไฟป่า เศษไหม้ดำของเปลือกต้นคอร์กโอ๊กกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ด้วยฝีมือของ MADE IN SITU ดีไซน์สตูดิโอจากโปรตุเกส “ไม้คอร์ก” ที่เรารู้จักกันนั้นคือเปลือกไม้ชั้นนอกของต้นโอ๊ก ซึ่งเมื่อลอกออกจากต้นโอ๊กแล้ว เปลือกชั้นนอกก็จะเติบโตขึ้นใหม่ในรอบระยะเวลา 9-10 ปี และโปรตุเกสก็คือประเทศที่ส่งออกไม้คอร์กเป็นอันดับต้นๆ ของโลก 

ต้นคอร์กโอ๊ก (Quercus suber) หรือที่เรียกกันว่า “sobreiro” ในภาษาโปรตุกีส นั้นมักตกอยู่ในอันตรายจากไฟป่า และในช่วงหน้าร้อนปี 2017 Noé Duchaufour-Lawrance นักออกแบบชาวฝรั่งเศสกำลังเดินทางมาโปรตุเกส เขาขับผ่าน Pedrógão Grande เส้นทางใกล้เคียงกับพื้นที่ไฟป่าครั้งใหญ่ที่รุนแรงอย่างมาก ซึ่งกลายเป็นประสบการณ์ฝังใจ และนำไปสู่จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่น Burnt Cork แรงบันดาลใจ ตั้งแต่ปี 2018 เขาและทีมงานเริ่มทำการการสำรวจ พบปะกับช่างฝีมือในชุมชนที่ยังทำอุตสาหกรรมไม้คอร์กของโปรตุเกส พวกเขาได้พบกับ Tania และ Nuno ผู้สืบทอดกิจการ NF Cork หัตถอุตสาหกรรมผลิตบล็อกไม้คอร์กสำหรับเป็นฉนวนในงานสถาปัตยกรรม ในระหว่างการเยี่ยมชมโรงงาน และกระบวนการแปรรูปไม้คอร์ก Noé สังเกตเห็นเปลือกไม้คอร์กโอ๊กไหม้ดำมากมายที่ถูกกองทิ้งไว้ เศษซากไม้คอร์กเหล่านี้ ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มกันไฟให้กับต้นคอร์กโอ๊กในช่วงไฟป่า และเมื่อถึงช่วงเวลาลอกเปลือกมาทำไม้คอร์ก ส่วนเปลือกที่ไหม้ดำก็จะถูกลอกแยกทิ้ง […]

SAN YONG CAFÉ เปลี่ยนตึกแถวเป็นคาเฟ่สไตล์จีนร่วมสมัย

เปลี่ยนอาคารพาณิชย์เป็นคาเฟ่สไตล์จีนร่วมสมัย SAN YONG CAFÉ ที่โดดเด่นสะดุดตาด้วยฟาซาดกระเบื้องดินเผาแบบจีน และการใช้วัสดุแบบดั้งเดิมมาตกแต่ง

DJ House แบ่งบ้านเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ

รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ โดยยังคงรูปแบบเดิมของตัวบ้านเอาไว้แล้วเพิ่มความดึงดูดใจด้วยฟาซาดอิฐที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ

โฉมใหม่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมเปิดให้บริการกันยายนปี 65

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โฉมใหม่พร้อมเปิดตัว ขยายพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ตอกย้ำการเป็นศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของไทย

ARTISAN DIGITAL OFFICE BUILDING บริษัทที่สร้างงานดิจิทัลในวิถีของศิลปิน

ARTISAN DIGITAL OFFICE BUILDING บริษัทที่สร้างงานดิจิทัลในวิถีของศิลปิน เพื่อให้เป็นที่จดจำในฐานะของงานศิลปะแห่งโลกดิจิทัล

REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง

โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน   ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย    ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง  นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]

กากกาแฟ สู่แก้วดีไซน์สวย KAFFEEFORM

จาก “กาก” สู่ “แก้ว” ใช้ซ้ำดี รีไซเคิลได้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่รู้กันว่าในทุก ๆ เช้า ชาวโลกไม่ว่าจะชาติใดต่างก็ต้องการ “กาแฟ” แก้วแรกกันอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดผลสืบเนื่องอันเป็นขยะปริมาณมหาศาลในทุกเช้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น หลอด และไม้คนกาแฟ KAFFEEFORM บริษัทจากประเทศเยอรมนี จึงเกิดความคิดที่จะสร้างแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น และผลิตจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมร้านกาแฟ เพื่อให้เกิด Close Loop หรือการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ใน Circular Economy และสิ่งที่ถูกเลือกมาใช้เป็นวัสดุนั่นก็คือ “กากกาแฟ” นั่นเอง กว่า 3 ปี ที่ KAFFEEFORM ได้ทดลองสูตรลับเฉพาะในการขึ้นรูปแก้วกาแฟจากกากกาแฟให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ น่าใช้ และดูดีเป็นมิตรต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายมาเป็นแก้วที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียนแต่ผสมไปด้วยเส้นใยจากกากกาแฟ สามารถฉีดขึ้นรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่แก้วที่ล้อเลียนมาจากแก้วใช้แล้วทิ้ง แก้ว Espresso แก้ว Cappucino และ แก้ว Latte มีความทนทาน ทั้งสามารถใส่ของร้อนได้ และตกไม่แตกอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ใช้สูตรลับที่เป็น Plant […]

BURGER BROS DA NANG รีโนเวตบ้านเก่าให้เป็นร้านเบอร์เกอร์ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ตริมชายหาด

รีโนเวตบ้านเก่า ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นร้านเบอร์เกอร์สไตล์บีชเฮ้าส์ โดยตั้งใจให้ลูกค้าได้สัมผัสและอิ่มเอมไปกับบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมกับเบอร์เกอร์แสนอร่อยในมือ ขั้นตอนการ รีโนเวตบ้านเก่า สองคูหาขนาดสองชั้นนี้ เรียกว่าสถาปนิกจาก Studio anettai ได้ลอกคราบหน้าตาของอาคารเดิมออกจนเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็นผนังด้านนอกอาคาร และห้องต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน ได้ถูกทุบและปรับผังการใช้งานใหม่ เหลือไว้แต่โครงสร้างหลัก ซึ่งต้องการโชว์เนื้อแท้ของพื้นผิวอันเปลือยเปล่า เช่น เสา คาน และโดยเฉพาะผนังอิฐที่ทาทับด้วยสีขาวบาง ๆ โดยมีมุมไฮไลท์อยู่ที่ผนังอิฐด้วยการนำหลอดไฟนีออนสีชมพูมาขดเป็นรูปเบอร์เกอร์ขนาดยักษ์ ประดับด้วยรูปกิจกรรมริมชายหาด ช่วยสร้างกิมมิกน่ารัก ๆ เข้ากับคอนเซ็ปต์ของร้าน ที่ต้องการให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศสบาย ๆ ยามไปเที่ยวทะเล ร่วมด้วยของตกแต่งอย่าง ไม้เนื้อแข็ง เฟอร์นิเจอร์และโคมไฟหวายสไตล์ทรอปิคัล พรรณไม้เขตร้อน ตลอดจนถึงฝ้าไม้ไผ่สำหรับตกแต่งใต้ท้องพื้นและฝ้าเพดาน โซนที่นั่งชั้นล่างนี้ สถาปนิกได้เจาะพื้นที่ทำเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซทะลุขึ้นไปถึงชั้นสอง เพื่อสร้างบรรยากาศให้ที่นั่งรับประทานเบอร์เกอร์ชั้นล่าง และชั้นลอยดูโปร่งสบาย ขณะที่ชั้นสองสถาปนิกได้เปลี่ยนช่องแสงด้านหน้าให้เป็นกระจกใสสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ช่วยเปิดรับแสงให้สามารถส่องลงมาถึงด้านล่างได้ในช่วงกลางวัน ลูกค้าสามารถนั่งชมวิวถนนด้านนอกได้เต็มสายตา เป็นการเชื่อมต่อมุมมองและความรู้สึกถึงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน โดยลูกค้าที่อยู่ชั้นบนสุดนี้ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสีสันและความคึกคักของร้านไม่ถูกตัดขาด เชื้อเชิญให้อยากแวะเวียนมานั่งพูดคุย และกินเบอร์เกอร์อร่อย ๆ ดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งความสุขได้แบบยาว ๆ ตั้งแต่ช่วงเวลากลางวัน […]

YERM CHOCOLATE ถ่ายทอดความเยิ้มของช็อกโกแลตผ่านรูปแบบของคาเฟ่ย่านเมืองทองธานี

Yerm Chocolate ลดทอนความเยิ้มของช็อกโกแลตเวลาละลายไหลชวนฝันแบบวัยเด็ก ให้มาอยู่ในรูปแบบคาเฟ่สุดชิล ในบรรยากาศดิบเท่พร้อมแฝงความหมายของพื้นที่

T-SL บ้านในเวียดนาม ที่มอบความอบอุ่นให้ครอบครัวด้วยการปลูกต้นไม้

ตึกแถว ที่สมาชิกอยากให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่อาศัย นำไปสู่ฟาซาดอาคารที่สามารถปลูกต้นไม้ได้อย่างเต็มที่รวมถึงแทรกเข้าไปยังภายใน

THE VIOLET OFFICE ออฟฟิศแบบดับเบิ้ลสเปซห้องเดียวที่สร้างปฏิสัมพันธ์ได้จากทุกมุม

ออฟฟิศสถาปนิก ที่ออกแบบภายใต้แพลทฟอร์มที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิด ส่งเสริมการเรียนรู้ การพักผ่อน การรวมตัว การทำงานและการใช้ชีวิต

THD.HOUSE สร้างบ้านใหม่ให้คุณแม่ได้มีสวนผักไว้ทำยามว่าง

รีโนเวทตึกแถว อายุ 30 ปี สำหรับรองรับชีวิตประจำวันที่เอื้อต่อการใช้งานของผู้สูงอายุไปพร้อม ๆ กับการสร้างความเชื่อมโยงของฟังก์ชันแต่ละห้อง

Caffettiera Caffé Bar นั่งไทม์แมชชีนไปนั่งจิบกาแฟในร้านคาเฟ่อิตาลีสไตล์ 90’s

Caffettiera Caffé Bar คาเฟ่ย้อนยุคเอาใจสายคลาสสิกที่จะพาคุณนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปดื่มด่ำกับบรรยากาศในวันวานสไตล์คาเฟ่อิตาลียุค 90’s

Tsingtao 1903 Taproom บาร์เบียร์ในบรรยากาศเป็นกันเอง

Tsingtao 1903 Taproom บาร์เบียร์ ที่ยกเบียร์ระดับตำนานอย่าง Tsingtao 1903 มาใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้นในรูปแบบของบาร์บรรยากาศเป็นกันเอง

Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน

ในเมื่อผืนน้ำกินพื้นที่กว่า 70% ของโลก ถ้าเรามองหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในเขตเมืองนับวันยิ่งมีอัตราการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ Schoonschip จึงเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ออกแบบทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตบนน้ำของผู้คนสำหรับโลกยุคอนาคต Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ตั้งอยู่ในคลอง Johan van Hasselt ทางเหนือของกรุงอัมสเตอร์ดัม ออกแบบโดย Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบผังเมืองที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ พวกเขาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย 30 ยูนิตลอยน้ำ โดยแต่ละยูนิตอยู่ร่วมกัน 2 ครอบครัว รวมบ้าน 46 หลังสำหรับสมาชิกชุมชนกว่าร่วม 100 คน โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2011 และบ้านหลังสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปีนี้ เจ้าของบ้านสามารถร่วมออกแบบกับสถาปนิกที่ตนเลือก ส่งผลให้บ้านแต่ละหลังแตกต่างกัน ทั้งด้วยวัสดุ และรูปแบบเฉพาะตัว นอกจากนี้ แต่ละยูนิตของบ้านลอยน้ำ Schoonschip สามารถใช้เรือเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่น โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง รบกวนเพื่อนบ้านรอบข้าง Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ที่ทำงานออกแบบมากกว่าแค่งานสถาปัตยกรรม แต่ยังรวมไปถึงงานผังเมือง และการวางแผนพัฒนา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น […]

MASA ร้านอาหารคอนกรีตลายลูกฟูก แทรกรูปเรขาคณิตเป็นลูกเล่นให้งานตกแต่ง

MASA ร้านอาหารในเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย สร้างสรรค์ขึ้นเป็นสถาปัตยกรรม คอนกรีตลายลูกฟูก และการเชื่อมโยงรูปทรงสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อบ่งบอกถึงอักษรรูปตัวเอ็ม (M) ซึ่งเป็นชื่อของร้าน ภายใต้บรรยากาศของร้านที่ดูสอดคล้องไปกับบริบทแวดล้อมเดิม บวกกับความสมดุลระหว่างแสงกับเงาอันมีเอกลักษณ์ ปรากฏเป็นผลลัพธ์ของอาคารที่ดูคล้ายงานประติมากรรม ทว่ากลมกลืนท่ามกลางบ้านเรือนแบบ Low-rise ในย่านที่อยู่อาศัยของเมือง ตัวร้านตั้งอยู่โดดเด่นบริเวณหัวมุมถนนอย่างพอดิบพอดี โดดเด่นด้วยช่องเปิดรูปสามเหลี่ยมตรงฟาซาดหน้าร้านที่ช่วยนำแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในตลอดวัน ทั้งยังเป็นกิมมิกที่สื่อถึงเอกลักษณ์เเละชื่อของร้านอย่างอักษรตัวเอ็ม (M)ภายในวางผังแบบเปิดโล่งทำให้เกิดอิสระทางสายตาเเละการใช้พื้นที่ ภายในพื้นที่ใช้สอย 700 ตารางเมตร โดยประกอบด้วยฟังก์ชันหลัก 3 ส่วน คือ คาเฟ่อยู่บริเวณหัวมุมถนน ส่วนต้อนรับเเละร้านเบเกอรี่อยู่ตรงกลาง เเละร้านอาหารซึ่งอยู่ด้านข้าง แต่นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ร้านค้าปลีกเล็ก ๆ อยู่ด้วย โดยช่องแสงรูปทรงสามเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ ทำให้มองเห็นกิจกรรมภายในร้านได้อย่างชัดเจน  แรงบันดาลใจจากรูปทรงและเส้นสายทางเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม เส้นตรง เเละเส้นโค้ง ได้รับการนำมาใช้ออกแบบได้อย่างน่าสนใจ ภายใต้ภาษาของงานกราฟิกดูสนุกสนานผ่านพื้นผิววัสดุที่แตกต่าง เช่น ผนังคอนกรีตลายลูกฟูก พื้นหินขัดลาย ตกแต่งด้วยกระเบื้องหินขัดที่มีแพตเทิร์นน่ารัก ๆ  ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเทคนิคทำพื้นที่ใช้กันทั่วไปในโบโกตา ใต้หลังคาสกายไลท์ตกแต่งด้วยแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกดัดโค้งช่วยกรองแสงด้านล่างให้นุ่มนวล ท่ามกลางความสดชื่นของพืชพรรณที่ปลูกอยู่รายล้อม แลดูกลมกลืนกับเฟอร์นิเจอร์ไม้และของตกแต่งต่าง ๆ […]

baan puripuri: Courtyard Pattanakarn ทาวน์โฮมตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง

baan puripuri : Courtyard Pattanakarn โครงการทาวน์โฮมที่มาพร้อมแนวคิดการออกแบบที่คงให้ความสำคัญกับการสร้างภาวะน่าสบายให้กับพื้นที่อยู่อาศัยในบริบทเมือง โดดเด่นด้วยคอร์ตกลาง ที่ทำให้ภายในบ้านโปร่งโล่ง ทลายข้อจำกัดของบ้านทาวน์โฮมได้อย่างน่าสนใจ บ้านทาวน์โฮม 3 ชั้น ขนาด 3 ห้องนอน โครงการใหม่ล่าสุดจากบ้านภูริปุรี – baan puripuri โดดเด่นด้วยสวนคอร์ตกลางบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบรรยากาศโปร่งโล่ง ลดความทึบตัน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งมักเป็นปัญหาหลักของบ้านแบบทาวน์โฮม ด้วยเหตุนี้ คอร์ตกลางจึงได้รับการออกแบบให้มีขนาดเกือบหนึ่งในสามของบ้าน โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ห้องนั่งเล่นด้านหน้า และพื้นที่ใช้สอยอื่นทางด้านหลัง   คอร์ตยาร์ดเปิดโล่งไม่มีหลังคา ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน พร้อมเปิดรับแสงธรรมชาติได้ตลอดวัน บริเวณพื้นที่ใช้งานออกแบบให้เป็นโครงสร้างทางภูมิสถาปัตยกรรมในรูปแบบขั้นบันไดที่มีความลาดชันต่ำ มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้หรือทำเป็นบ่อปลา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหลต่อเนื่องจากห้องครัวชั้นล่างไปสู่ห้องนั่งเล่นบนชั้นลอย และเมื่อเปิดบานเลื่อนกระจก จะทำให้เกิดสเปซขนาดใหญ่ที่หลอมรวมพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ทุกพื้นที่ของบ้านยังเปิดมุมมองสู่พื้นที่สีเขียวบริเวณคอร์ตกลาง จึงช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานที่อยู่คนละบริเวณของบ้าน โดยยังคงมีความเป็นส่วนตัวเอาไว้ แนวคิดในการสร้างพื้นที่สีเขียวยังสะท้อนผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมภายนอก ต้นไม้ใหญ่ในกระถางลูกบาศก์บนระเบียงดูโดดเด่นจนเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของโครงการ ส่วนเปลือกอาคารด้านหน้าติดตั้งตะแกรงเหล็กสำหรับเป็นที่เกาะเกี่ยวของไม้เลื้อย ตอบโจทย์การสร้างพื้นที่สีเขียวแนวตั้งในอนาคต และในวันที่ไม้เลื้อยเติบโตเต็มพื้นที่ แนวกำแพงครีบที่ยื่นออกมาเหนือแนวระนาบเปลือกอาคาร จะช่วยสร้างการรับรู้และการมีตัวตนของงานสถาปัตยกรรม สันของกำแพงนั้นถูกออกแบบให้เอียงทำมุมที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดมิติตามแสงตกกระทบ เสริมกลิ่นอายวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วยการประดับโมเสกกระจกสี ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากงานประดับกระจกในสถาปัตยกรรมไทย โครงการนี้ประกอบด้วยทาวน์โฮมทั้งหมด 37 […]