Veggiology : Better You For The Better Planet ร้านอาหารสุขภาพในสไตล์มิดเซ็นจูรี่

Veggiology ร้านอาหารสุขภาพในสไตล์มิดเซ็นจูรี่ ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Jean Prouvé สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ที่ผสานงานโลหะและสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน

บ้านไม้ไผ่ อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติในกาลาปากอส

บ้านไม้ไผ่ รูปทรงโมเดิร์นตั้งอยู่ที่เกาะซานกริสโตบาล ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ ก่อสร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากร พลังงาน แรงงาน และการขนส่งในพื้นที่ โดยพยายามให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด Dany และ Jenny คู่สามีภรรยาเจ้าของ บ้านไม้ไผ่ ตั้งใจสร้างที่นี่ขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่มีลูกคนแรก แล้วต้องการพื้นที่พักอาศัยที่กว้างขึ้น โดยได้รับคำปรึกษาจาก ESEcolectivo ก่อนออกมาเป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่ทั้งหลัง โดยใช้แรงงานและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงนัก เพื่อให้เข้ากันดีกับบริบททางธรรมชาติอันเปราะบางของหมู่เกาะกาลาปากอส บ้านทั้งหลังจึงต้องออกแบบให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ลดการใช้พลังงาน และพึ่งพาตนเองได้ เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่รอบบ้านสำหรับทำแปลงปลูกผักใช้รับประทานในครอบครัว ขณะที่พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 120 ตารางเมตร สถาปนิกได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนห้องน้ำ ส่วนซักล้าง และห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งพื้นที่รอบแกนบันไดให้มีขนาดกว้าง เพื่อทำหน้าที่เป็นทางเดินไปขึ้นสู่ชั้นบนสุดมองเห็นวิวทะเลได้ ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนอากาศทั่วทั้งบ้าน ชั้น 2 มีห้องพัก 2 ห้อง คือ ห้องนอนใหญ่ และห้องเด็กเล่น เผื่อสำหรับในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น เขาสามารถย้ายมาพักที่ห้องนี้ได้เพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้น 3 มีห้องสตูดิโอขนาดเล็ก และจุดชมวิวที่สามารถทอดสายตาชมวิวทะเล และพระอาทิตย์ตกดินได้อย่างโรแมนติก ด้านการตกแต่งเน้นเฟอร์นิเจอร์และส่วนต่าง ๆ […]

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion จุดผสมที่ลงตัวของร้านไฟน์ไดนิ่ง และBed & Breakfast

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion คือบ้าน ร้านอาหาร และที่พักแบบ Bed and Breakfast ของเชฟแทน-ภากร โกสิยพงษ์ กับนิยาม Off–beat Asian ที่นำมาใช้ในแง่สถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายแบบชิโน-โปรตุกีส ผสมผสานความร่วมสมัยจากประสบการณ์การเดินทางในหลากหลายประเทศ แต่งแต้มเอกลักษณ์อย่างอาคารย่านเอกมัย-ทองหล่อให้โดดเด่นและแตกต่าง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Storage Studio จากจุดเริ่มต้นของการมุ่งหน้าสู่อาชีพ “เชฟ” คุณแทน-ภากร โกสิยพงษ์ เจ้าของร้าน The GOAT Greatest Of All Time และร่วมกับพี่น้องอีก 2 ท่านในการบริหาร Wanyu mansion ร่วมกัน ที่นี่เปรียบเสมือนบทใหม่ของการทำงานเลยทีเดียว เพราะก่อนหน้านี้คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งในการไปทำงานในต่างประเทศ การได้ร่วมกับเพื่อนเปิดร้านอาหาร “Ekamian” และการได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาร้านอาหารให้กับร้าน One Ounce for Onion และ OOOBKK จนวันนี้รูปแบบสไตล์ได้ลงตัวพร้อมนำเสนออย่างชัดเจนในชื่อของ […]

WORKPLACE Saimai-Phaholyothin โฮมออฟฟิศตอบโจทย์ธุรกิจคนรุ่นใหม่

WORKPLACE Saimai-Phaholyothin คืออีกหนึ่งโครงการภายใต้แบรนด์โครงการโฮมออฟฟิศโดย SC Asset รองรับทั้งการอยู่อาศัยและการประกอบธุรกิจ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้านักธุรกิจรุ่นใหม่ เจ้าของกิจการที่ต้องการขยายสาขา หรือกำลังมองหากิจการใหม่ ๆ เช่น คลินิก ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ รวมถึงกลุ่มนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์  โครงการ WORKPLACE Saimai-Phaholyothin ทำเลติดถนนสายไหม ต่อเนื่องกับโครงการทาวน์โฮม เวิร์ฟ สายไหม-พหลโยธิน เนื่องจากมีจำนวนยูนิตน้อย รวมถึงทุกยูนิตหันหน้าเข้าถนน จึงพร้อมรองรับทั้งลูกค้าจากภายนอก และสมาชิกในหมู่บ้าน โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์เรียบเท่สไตล์ Modern Loft  ที่เพิ่มเส้นสายสร้างชีวิตชีวา และความสนุกสนานแบบ Festival ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ทั้งยังมีการออกแบบให้เชื่อมโยงกับโครงการทาวน์โฮมด้านหลัง เพื่อสร้างความเป็นต่อเนื่องของภาพรวม  โฮมออฟฟิศแบบไหนตอบโจทย์ธุรกิจคนรุ่นใหม่ คุณภาณุ พิศาลกิจวนิช ตำแหน่ง  Marketing Manager Low Rise และ คุณภาณุพงษ์ ชินมหาวงศ์  Senior Manager Project Architect ของโครงการ เวิร์คเพลส สายไหม–พหลโยธิน บอกเล่าถึงแนวโน้มความนิยมที่อยู่อาศัยประเภทโฮมออฟฟิศในตลาดคนรุ่นใหม่ ที่มองหาพื้นที่ธุรกิจพร้อมๆ กับที่อยู่อาศัย “แนวโน้มของโฮมออฟฟิศกำลังเริ่มดีขึ้น คนรุ่นใหม่เริ่มทำธุรกิจเร็วขึ้น […]

PROTAGONIST BAR คาเฟ่กึ่งบาร์ที่มี “สัจวัสดุ” เป็นพระเอก

คาเฟ่กึ่งบาร์ ที่แปลชื่อได้ว่า “ตัวเอก” มีโจทย์อยู่ที่การสร้างพื้นที่โดยใช้ “สัจวัสดุ” ซึ่งได้กลายมาเป็นงานออกแบบตัวเอกของสถานที่นี้ พื้นที่ภายในเน้นบรรยากาศเผยให้เห็นความเป็น สัจวัสดุ ซึ่งเป็นร่องรอยโครงสร้างดั้งเดิม ทั้งการฉาบฝ้าเพดาน พื้นผิวคอนกรีตมองเห็นรอยที่เคยปูกระเบื้อง เเละเนื้อปูนที่เชื่อมประสานอิฐแต่ละก้อน แล้วจัดสรรสเปซเพื่อให้สอดรับกับฟังก์ชันการใช้งานมากที่สุด เพราะให้ความสำคัญกับเสียงเพลงและดีเจเป็นพิเศษ นอกจากจะออกแบบระบบเสียงอย่างดีแล้ว บู๊ธดีเจของที่นี่ยังแสดงถึงกลิ่นอายวินเทจนิด ๆ ด้วยการนำสเตอริโอโบราณจากยุคโซเวียตมาตัดครึ่งแล้วขยายออก ก่อนเติมดีเทลความเป็นโมเดิร์นลงไป จนกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเอกของพื้นที่ส่วนที่เป็นจุดโฟกัสของสเปซอย่างพื้นที่รับประทานอาหารส่วนกลาง เลือกใช้โต๊ะอาหารแบบยาววางกลางห้อง เปิดมุมมองออกสู่หน้าต่างบานกว้างแบบพานอรามา เหนือโต๊ะเป็นประติมากรรมโคมไฟขนาดยักษ์ตีกรอบล้อมรอบด้วยผิวเมทัลลิกมันวาว พื้นที่ส่วนกลางนี้ประกบข้างด้วยบาร์เต็มรูปแบบอยู่ฝั่งซ้ายมือของโต๊ะ และผืนผนังบล็อกแก้วที่สะท้อนความเป็นไปภายในร้านผ่านแสงและสีสัน ทั้งหมดนี้สามารถมองเห็นรายละเอียดการตกแต่งที่เรืองรองออกมาจากกล่องหน้าตาธรรมดาตรงบริเวณหัวมุมถนนโดดเด่นกว่าใคร    Idea to Steal เปลี่ยนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าวินเทจให้กลายเป็นพร็อปส์ตกแต่งสุดเก๋ด้วยการทดลองตัด ต่อ และเติม ข้อมูล ที่ตั้ง เมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน ออกแบบ : belbek bureau เวลาทำการ : ทุกวัน 10.00 น. – 02.00 น. IG: prtgnst.bar    

ออฟฟิศ ม่านไม้เลื้อยเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน A&P OFFICE BUILDING

ออกแบบ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน หากใครมีโอกาสผ่านเข้าไปในซอยประชาชื่น 31 จะพบอาคารคอนกรีตสูง 5 ชั้นที่ตั้งใจเลือกใช้ฟาซาดจากธรรมชาติ เป็นม่านไม้เลื้อย ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอ แอนด์ พี เมนทิแนนซ์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ในแวดวงธุรกิจจะรู้จักกันดีในชื่อ A&P ซึ่งเป็นบริษัทรับคลีนนิ่งระดับประเทศ ที่รับทำความสะอาดทั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า สนามบิน ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ โดยอาคารสำนักงานดังกล่าวเป็นการออกแบบและสร้างใหม่บนที่ดินขนาด 1.5 ไร่ ออกแบบโดยคุณ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน ภายใต้แนวความคิดการหลอมรวมธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อสร้างความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอย่างยั่งยืน อาคารสำนักงานแห่งนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ออกแบบไม่น้อย เนื่องจากต้องทำการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด ในการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้ตัวอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. วางไว้ด้านในของที่ดิน เนื่องจากทางเจ้าของโครงการมีแผนจะสร้างอาคารเพิ่มเติมยังบริเวณด้านหน้าที่ดินในอนาคต อีกทั้งด้วยตำแหน่งของที่ตั้งทำให้จำเป็นต้องหันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นด้านที่จะได้รับความร้อนตลอดทั้งวัน ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้มีชุดผนังกระจกบานเลื่อนซ้อนในทุกๆ ฟังก์ชันเผื่อในกรณีที่ต้องการเปิดรับลมได้มากสุด ก็จะทำให้อากาศนั้นหมุนเวียนไปได้ทั่วอาคาร เสริมกับการเลือกใช้ต้นลีกวนยูมาเป็นฟาซาดด้านหน้าอาคารก็เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์บังแดดทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมให้กับอาคารอีกชั้นหนึ่งด้วย ทั้งนี้ตัวอาคารยังออกแบบพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการกำหนดผนังทั้ง 2 ด้านของอาคารนั้นเป็นผนังทึบ ทำให้ระยะร่นระหว่างจากอาคารถึงแนวเขตกำแพงนั้นมีน้อยลงตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนด ส่งผลให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเพื่อช่วยกันความร้อนและเพื่อย่นระยะเวลาในการก่อสร้าง […]

“มีวนา” แบรนด์กาแฟไทยกับวิถีวนเกษตรอินทรีย์ คนกับป่าพึ่งพากันอย่างยั่งยืน

ทุกครั้งที่ยกแก้วกาแฟขึ้นดื่ม ถ้าได้รู้ถึงที่มาของความอร่อยตรงหน้า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีรึเปล่านะ? สำหรับเราความรู้สึกนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน MiVana Coffee Flagship Store  แฟล็กชิปสโตร์คาเฟ่ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย่านศรีนครินทร์ของ “ มีวนา ” โดยเปิดขึ้นเพื่อหวังให้ที่นี่เป็นโมเดลต้นแบบในการส่งต่อแนวคิดการดูแลธรรมชาติ ผ่านไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟ กระตุ้นให้คนเมืองสนใจกาแฟออร์แกนิกกันมากขึ้น ตลอดการทำงานมากว่าสิบปีของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเพื่อสังคม ผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรแบบอินทรีย์ กับการปลูกกาแฟแทรกไปกับต้นไม้ในผืนป่า แตกต่างจากการทำไร่กาแฟที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาป่าของมีวนา แม้จะไม่สามารถสู้เรื่องจำนวนการผลิตได้ แต่ในด้านคุณภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับระบบนิเวศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพและปลูกฝังความหวงแหนรักษาป่าละก็นั่นนับเป็นพันธกิจและเป้าหมายอันสำคัญกว่า เบื้องหลังแนวคิดนี้ คุณมิกิ-ชัญญาพัชญ์ โยธาธรรมสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท มีวนา จำกัด คือตัวแทนที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำงานของมีวนา ภายใต้เหตุผลของความยั่งยืนดังกล่าวว่า สิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ใดกลับคืนสู่สังคมและโลกใบนี้อย่างไร นอกเหนือจากมูลค่าทางธุรกิจ การปลูกกาแฟอินทรีย์กับการอนุรักษ์ป่าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้อย่างไร คุณมิกิ : “เนื่องจากกาแฟอาราบิก้าต้องปลูกในพื้นที่สูงมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป และต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นจึงจะได้ผลผลิตที่ดีในเชิงของพื้นที่ป่าที่เราเข้าไปทำงานในเชียงราย จะมีสองส่วนคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เราก็อนุรักษ์ไว้แล้วก็เอากาแฟไปปลูกใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่ อีกส่วนคือป่าเสื่อมโทรมหรืออาจจะถูกทำลายไปแล้วเราจะปลูกต้นกาแฟควบคู่ไปกับต้นไม้ที่มีความหลากหลายทางนิเวศ เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ “ในอดีตที่ผ่านมาคนอาจจะคุ้นเคยกับการทำไร่กาแฟแบบเป็นแปลงปลูก จะไม่ได้เป็นการปลูกแบบร่วมกันกับป่าเท่าไหร่มากนัก เขาจะมีการจัดการบริหารที่ง่ายกว่าเรา เดินตามแปลงก็จบ บริหารจัดการง่าย พอเจอศัตรูพืชก็ใช้สารเคมีเร่งดอก เร่งผล […]

GOOP HQ ออฟฟิศแบรนด์ไลฟ์สไตล์ ที่มีเป้าหมายเป็นความสุขของผู้หญิง

Goop คือแบรนด์ไลฟ์สไตล์ของกวินเนท ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้หญิงเลือกสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองตั้งแต่สไตล์ การท่องเที่ยว งาน อาหาร ความงาม

MIVANA COFFEE FLAGSHIP STORE ดื่มกาแฟไปพร้อมการอนุรักษ์ป่า ในคาเฟ่บรรยากาศธรรมชาติ

พาไปเยี่ยมเยือนแฟล็กชิบสโตร์ของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” กับ MiVana Coffee Flagship Store  คาเฟ่สไตล์กลาสเฮ้าส์ที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรีเมียร์คอร์เปอเรทปาร์ค ย่านถนนศรีนครินทร์ ที่ MiVana Coffee Flagship Store คุณจะได้สัมผัสกับบรรยากาศเย็นสดชื่น แวดล้อมด้วยกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีวนาต้องการสื่อสารไปยังลูกค้า เพื่อบอกถึงที่มาของกาแฟรสชาติดีในมือว่า ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำได้ ผ่านกาแฟที่ค่อย ๆ บรรจงดื่มด่ำนี้ไปพร้อมกันมีป่า มีน้ำ มีกาแฟ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ตรงตัวของแบรนด์ กับการส่งเสริมกระบวนการปลูกกาแฟอาราบิก้าอย่างเป็นระบบ ด้วยวิถีวนเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทีมส่งเสริมของมีวนากับเกษตรกรท้องถิ่นกว่า 7 หมู่บ้าน ไปพร้อมกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำแม่สรวย แม่กรณ์ และแม่ลาว เรียกง่าย ๆ หากไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ และพื้นที่สำหรับปลูกกาแฟอินทรีย์คุณภาพดีดังนั้น เมื่อตั้งใจเปิดคาเฟ่เพื่อส่งต่อถ้อยความนี้ คุณณรงค์ จันทรมาศ สถาปนิกผู้ออกแบบ จึงเลือกถ่ายทอดผ่านการออกแบบตัวอาคารให้เป็นกลาสเฮ้าส์ เพื่อให้ได้ร่มเงาของไม้ใหญ่ที่ปลูกอยู่โดยรอบ เผยให้มองเห็นภาพของความอุดมสมบูรณ์และความชุ่มชื้นของสวน สะท้อนเรื่องราวของกาแฟมีวนาที่ปลูกและเติบโตใต้ร่มเงาป่าต้นน้ำ  ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์และของประดับงานแฮนด์เมดจากวัสดุธรรมชาติ สื่อถึงกลิ่นอายความเป็นท้องถิ่น และวิถีชาวบ้านภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้าที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ โคมไฟ […]

CHURN BUTTERY คาเฟ่สไตล์นอร์ดิก ที่สายละมุนคนชอบเบเกอรี่ห้ามพลาด!!

เอาใจคนชานเมืองย่านถนนร่มเกล้า กับคาเฟ่บรรยากาศดีน่านั่ง CHURN Buttery ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “Churn” ในภาษาอังกฤษ หมายถึงเครื่องตีเนย และปั่นนม เพื่อบอกเล่าจุดเด่นของร้านที่เน้นเมนูเบเกอรี่สูตรโฮมเมด อร่อยจนลืมอ้วน กินคู่กับกาแฟออสเตรเลียรสละมุน เป็นสองความอร่อยที่ลงตัว ผสมผสานอยู่ในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น ตกแต่งเรียบง่ายสไตล์นอร์ดิก CHURN Buttery มีจุดเริ่มต้นมาจากแพสชั่นความหลงใหลของคู่สามีภรรยา คือคุณนที เตชะอาภรณ์กุล สัตวแพทย์ผู้หลงใหลเรื่องราวของกาแฟ และคุณจุฑาภัค สีตบุตร ที่ชื่นชอบการทำเบเกอรี่ โดยมีสูตรขนมอร่อย ๆ จากคุณแม่ แม้ทั้งคู่จะมีงานประจำกันอยู่แล้ว แต่ก็เลือกนำความชอบส่วนตัวของแต่ละคนมาสร้างสรรค์เป็นคาเฟ่ โดยเลือกทำเลย่านถนนร่มเกล้าเพราะเห็นว่าถนนสายนี้แทบไม่มีคาเฟ่สำหรับนั่งพักผ่อน หรือหาที่นั่งคุยกันค่อนข้างยาก นำมาสู่การออกแบบคาเฟ่ผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารทรงจั่วที่ให้อารมณ์เหมือนบ้านหลังใหญ่ คุณกฤติน เจริญพรวรนาม สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่า “ตอนดีไซน์เราอยากให้ที่นี่มีความรู้สึกสบาย ๆ ลักษณะของร้านจึงมีความเป็นนอร์ดิกขาว ๆ มีจั่วและหลังคาทรงสูง แทรกความอบอุ่นด้วยงานไม้ นอกจากนี้ยังนำเส้นสายของซุ้มโค้งมาใช้ในส่วนของกรอบหน้าต่าง ต่อเนื่องไปยังกำแพงฝั่งที่จอดรถ แล้วไปจบที่มุมซุ้มกำแพงสีขาวดูคล้ายสตูดิโอถ่ายรูปตรงโซนด้านหลัง ส่วนช่องเปิดได้ติดตั้งกระจกขนาดใหญ่ และมีช่องแสงสกายไลท์อยู่ด้านบน เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้ามาในร้านได้ทั่วถึง ให้มิติของแสงเงาและบรรยากาศที่ดูอบอุ่นอย่างเต็มที่ และยังเป็นเหมือนการโฆษณาตัวร้านได้ด้วย” นอกจากความละมุนละไมของบรรยากาศภายในแล้ว จุดเด่นที่ถือเป็นไฮไลต์คืองานออกแบบแลนด์สเคปที่มีสระน้ำอยู่ทั้งสองฝั่งทางเข้า “การออกแบบให้มีสระน้ำ ผมอยากให้มีบรรยากาศแบบ Stepping stone […]

CHIA TAI FARM จากฟาร์มสู่โต๊ะกับร้านอาหารดีไซน์เฉียบกลางกรุง

CHIA TAI FARM จากฟาร์มสู่โต๊ะกับร้านอาหารดีไซน์เฉียบกลางกรุง

Chewa Heart Sukhumvit 62/1 ทาวน์โฮมรองรับการอยู่อาศัยและสร้างรายได้

Chewa Heart Sukhumvit 62/1 เป็นโครงการทาวน์โฮมระดับลักชัวรี่จาก บริษัท ชีวาฮาร์ท จำกัด ได้รับการพัฒนาและต่อยอดมาจากแนวคิดที่ต้องการผสมผสานการอยู่อาศัยแบบคนรุ่นใหม่ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้งานอย่างชัดเจนเพื่อความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังคงตอบโจทย์ด้านการสร้างสรรค์พื้นที่สำหรับครอบครัวขยายในอนาคต ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนห้องให้เกิดรายได้ในรูปแบบ Passive income เช่นเดียวกับคอนโดมิเนียม บ้านในโครงการ Chewa Heart Sukhumvit 62/1 มีรูปแบบเดียว และมีเพียง 9 ยูนิต โดยแต่ละหลังมีขนาดพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้นที่ 210 ตารางเมตร ตัวบ้านมีความสูง 3 ชั้นครึ่ง ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ และจอดรถได้ 2 คัน พื้นที่ใช้สอยสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระตามความต้องการ มีการจัดสรรพื้นที่ของแต่ละห้องนอนอย่างเป็นสัดส่วนสามารถปรับให้เชื่อมต่อหรือแยกออกจากกันได้ชัดเจน พร้อมรองรับกรณีที่มีผู้เช่าที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัว หากมองภาพรวมอาจดูคล้ายเป็นการจัดวางห้องรูปแบบคอนโดมิเนียมในพื้นที่ทาวน์โฮม ซึ่งช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยให้แก่เจ้าของบ้าน โถงบันไดกลางบ้าน ที่เปิดโล่งจากชั้นล่างถึงชั้นบนสุด คือหัวใจสำคัญที่ช่วยเปิดรับลมและแสงธรรมชาติจากช่องเปิดบนหลังคาให้ลงมาสู่ทางเดินส่วนกลางชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง ขั้นบันไดทำจากแผ่นอะลูมิเนียมเจาะรูพับยิ่งช่วยให้สเปซดูโปร่งมากขึ้น นอกจากนี้ ผนังกระจกรอบโถงบันไดบนชั้น 2 และ 3 ยังติดตั้งบานหมุนกระจกนิรภัย หมุนปรับระดับองศาได้ ช่วยส่งต่อลม และแสงธรรมชาติเข้ามาภายในพื้นที่ใช้งานได้เต็มที่ […]

Citizen Tea Canteen of Nowhere คาเฟ่ชาไทยในโชว์รูมหัตถกรรม

ตึกแถวในตรอกเล็กซอยน้อยคือวิถีชีวิตอันคุ้นเคยและเปี่ยมเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ​ เช่นเดียวกันกับที่ “ย่านตลาดน้อย” แม้วันนี้เราจะมีร้านชาเปิดใหม่อย่าง Citizen Tea Canteen of Nowhere เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่ไม่ไกลข้างหน้านี้ แต่ก่อนเลี้ยวเข้าร้าน ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าสุดปลายตรอกนี้จะมีอะไร และทะลุไปเดินเล่นที่ไหนต่อได้อีกบ้าง ช่วงสองสามปีนี้มานี้ คนรักงานออกแบบรับรองว่าต้องคุ้นเคยกันดีกับชื่อ Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์สุดป็อปแห่ง 56thStudio ผู้มุ่งมั่นปลุกวิญญาณศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชายขอบที่ถูกลืมเลือนหรือด้อยค่า ให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยุคใหม่ และคอลเล็กชั่นหัตถกรรมของเขา ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่นี้ Citizen Tea Canteen of Nowhere ยังมาพร้อมคาเฟ่ชาไทยสีส้มหน้าตาคุ้นเคย ที่นำเสนอในภาษาใหม่ที่ละเมียดละไมขึ้น  “หลังจากแบรนด์เข้าสู่ปีที่สาม เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะขึ้น เลยรู้สึกว่างานหัตถกรรมมันจะน่าสนใจและน่าซื้อมากขึ้นถ้าเราสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ เลยเกิดเป็นโชว์รูมที่มีคาเฟ่ในตัว คนจะได้มอง ได้สัมผัส ได้สำรวจข้าวของได้แบบเพลิน ๆ” จากแกนหลักของแบรนด์หัตถกรรมที่ต้องการอุ้มชูวัฒนธรรมชายขอบ สวมเข้ากันพอดีกับคอนเซ็ปต์ของสภากาแฟหรือสภาชาแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการร่วมวงชวนคนใกล้เคียงมาสังสรรค์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านเครื่องดื่มคาเฟอีนในมือ งานทั้งสองแบบแม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการ Deconstruction – รื้อ ถอด ประกอบ […]

THE YARD RESTAURANT อิ่ม อร่อย อบอุ่น ในบรรยากาศบ้านไม้เก่า

The Yard Restaurant ร้านอาหารบรรยากาศฟีลกู้ด ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านไม้เก่าอายุร่วม 80 ปี ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง มาพร้อมสวนสีเขียวเติมความสดชื่นให้เเก่ย่านสาทรที่เต็มไปด้วยตึกสูง โดยผู้ออกแบบ The Yard Restaurant ได้พยายามเก็บโครงสร้างและรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผนังไม้เก่า ลายฝ้าเพดาน ลูกฟักหน้าต่าง ไปจนถึงโคมไฟ ด้วยความเก่าแก่ที่ยังคงสมบูรณ์แบบ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนการเก็บประวัติศาสตร์เเละความเป็นอยู่ของคนสาทรในยุคก่อนเอาไว้ หลังจากการสำรวจพื้นที่ผู้ออกแบบพบว่าภายในโครงการประกอบด้วยอาคารไม้เก่า กับที่ว่างรอบบ้านซึ่งปกคุลมไปด้วยไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ จึงเล็งเห็นความสำคัญด้านการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า และการสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งปลูกสร้างกับธรรมชาติรอบ ๆ  เพื่อคงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมและเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินไปในตัว “เราเริ่มจากการออกแบบตัวบ้านเดิมกับพื้นที่ว่าง เพราะมองว่าบริเวณสาทรมีแต่ตึกกับคอนกรีต พื้นที่ว่างและสวนเป็นของมีค่ามากในย่านนี้ เราจึงออกแบบโครงการให้เป็นเสมือนปอดไว้หายใจและพักผ่อน สำหรับคนเมืองที่อาศัยอยู่ในสาทร จึงเกิดเป็นคอนเซ็ปต์ Hidden Yard ขึ้นมา”จากแนวคิดดังกล่าวนำมาสู่การผสมผสานงานออกแบบรีโนเวตลงไปในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติเเบบไม่รบกวนกัน  สร้างการรับรู้เเละเปลี่ยนผ่านความรู้สึกจากบรรยากาศภายนอกที่เเสนวุ่นวาย  ด้วยทางเดินเข้าร้านที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนระเบียงบ้าน นำทางมายังคอร์ตยาร์ดขนาดย่อมที่ทุกคนจะต้องเซอร์ไพร้ส์ไปกับบรรดาต้นไม้เขียวชอุ่ม ก่อนจะเชื้อเชิญทุกคนให้เข้ามายังพื้นที่ภายในบรรยากาศร้านด้านในยังคงความเป็นบ้านไม้โบราณ โชว์โครงสร้างหลังคาให้เห็นจันทันและแปไม้ แล้วเสริมให้ดูร่วมสมัยด้วยการเลือกของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์สไตล์คอมเทมโพรารีสีสด โดยใช้สีไม้เก่าจากพื้นและผนัง รวมถึงผนังปูนขัดสีให้ดูเก่า ผสมผสานกับการเน้นกรอบหน้าต่างและขาเก้าอี้ด้วยอะลูมิเนียมทำสีโรสโกลด์ ข้อมูล เจ้าของ : คุณญาณี องค์วัฒนกุล ออกแบบ : Arch+Brand Design ภาพ : […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

ANXIETY STORAGE รสชาติปะแล่มของงานศิลป์ที่ตั้งอยู่บนความวิตก

Anxiety Storage หรือ รุ้ง-นภัสกร นิกรแสน นักออกแบบที่ผันตัวมาสร้างงานศิลปะในแบบที่ตัวเองคิดว่า “นี่แหละ…ฟิน” งานของรุ้งในคอลเล็กชั่นขนาดยาวนามว่า “Error Object” คือเหล่าอุปกรณ์ของใช้ใกล้ตัวในแบบที่ใครเห็นต้องขมวดคิ้ว ร่มที่กันฝนไม่ได้ มีดที่ด้ามเป็นคม หรือไดร์เป่าผมที่พ่นควันออกมาแทนลมร้อน ด้วยสไตล์กราฟิกเรียบเกลี้ยง ผลงานเหล่านี้กระตุกต่อมวิตกในแต่ละคนต่างกัน แต่นั่นคือการตั้งคำถามกับระบบที่ไหลลื่น สร้างจุดสะดุดเปลี่ยนกับคำถามว่า “อย่างนี้ก็ได้หรือ?” เผื่อความแตกต่างเหล่านี้ จะเป็นอีกรสชาติที่เราไม่เคยรู้มาก่อน “เพราะโลกอาจต้องการความไม่สมประกอบเสียบ้าง” รุ้งตั้งคำถามกับตัวเองจากการเลี้ยงแมลงในกล่องกระดาษและเริ่มคิดว่าจักรวาลนี้ช่างดูสมบูรณ์ ลื่นไหล และเป็นไปอย่างลงตัวเสียเหลือเกิน แบบนั้นมันง่ายดายเกินไป เรียบลื่นเกินไป ภารกิจการลุกขึ้นมาสร้างจุดบกพร่องให้กับโลกใบนี้จึงเกิดขึ้น เราทุกคนต่างเป็นมดตัวเล็ก ๆ ในจักรวาลอันสมบูรณ์แบบ “ถ้าถามว่าที่มาของ Error Object และ Anxiety Storage เริ่มต้นมายังไง รุ้งอาจต้องเท้าความกลับไปไกลสักหน่อย คือเราเป็นคนชอบตั้งคำถามกับ Human Being และการมีอยู่ของจักรวาล เราสงสัยมากว่าทำไมทุกสิ่งทุกอย่างถึงได้ลงตัวขนาดนี้ ความเป็นไปของชีวิตที่สอดคล้องเข้าด้วยกัน ทำไมถึงไม่มี Bug หรือ Error ใด ๆ เลย ใครเป็นคนสร้างขึ้นมานะ มันมีคนสร้างรึเปล่า หรืออยู่ดี […]

MP HOUSE บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ฟาซาดสวยด้วยบล็อกช่องลม

บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ส่วนผสมระหว่างออฟฟิศกับบ้านของคู่รักนักออกแบบ ปลอดโปร่งด้วยเพดานสูง และฟาซาดบล็อกช่องลม MP HOUSE หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองตาเงรัง (Tangerang) ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันในบ้านที่นี่จึงได้รับการออกแบบให้มี 2 หน้าที่หลัก โดยแบ่งเป็นสำนักงานที่อยู่ชั้นหนึ่งและกึ่งชั้นใต้ดิน ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขาและพ่อแม่อยู่ชั้นบน ในส่วนของพื้นที่อยู่อาศัยมวลอาคารถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยพื้นที่กึ่งส่วนตัว ซึ่งรวมถึงมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร โดยออกแบบให้อยู่ด้านหน้าของบ้าน ขณะที่พื้นที่ส่วนตัวอย่าง ห้องนอน จะอยู่ที่ด้านหลังของอาคาร ทั้งสองส่วนถูกคั่นด้วยสวนหิน ซึ่งมีการระบายอากาศที่เพียงพอ และได้รับแสงธรรมชาติจากฟาซาดบล็อกช่องลม ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีหน้าที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและโฮมออฟฟิศ แยกส่วนพักผ่อนให้อยู่ชั้นบน ดังนั้นผู้สูงอายุในบ้านที่มีปัญหาการเดินขึ้นบันไดจึงอาจเกิดความยุ่งยากได้ เจ้าของจึงออกแบบให้มีทางลาดเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นแทนบันได สิ่งท้าทายและน่าสนใจที่สุดของบ้านหลังนี้ คือบริเวณมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สมาชิกในบ้านมักมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้เอื้อต่อการใช้งานจึงต้องออกแบบให้มีขนาดกว้างขวาง และมีเพดานยกสูงดูสว่างปลอดโปร่ง ช่วยระบายอากาศได้ดี การออกแบบบ้านให้มีหลังคาทรงจั่ว และใช้บล็อกรับลมสร้างลวดลายฟาซาดให้กับบ้าน ได้เอื้อให้พื้นที่พักผ่อนส่วนหน้าบ้านนี้ มีบรรยากาศที่ปลอดโปร่งจากฝ้าเพดานขนาดสูง และแสงแดดสามารถส่องเข้ามาถึงภายในได้อย่างเพียงพอผ่านบล็อกช่องลม ผลพลอยได้ที่ตามมาคือเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาที่ลอดผ่านบล็อกช่องลม ช่วยตกแต่งให้ห้องดูสวยงามระหว่างวัน ขณะที่การตกแต่งใช้ธีมสีขาว เทา และดำ ล้อไปกับวัสดุส่วนใหญ่ที่ไร้การปรุงแต่ง ดูเป็นธรรมชาติ ก่อนสร้างมิติของบรรยากาศด้วยการออกแบบไลท์ติ้งตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการขับเน้นและนำสายตา เป็นอีกดีเทลที่ช่วยให้บ้านบรรยากาศเรียบนิ่งดูมีชีวิตชีวาขึ้น   ออกแบบ […]

“CDC Designer Workplace” ซัพพอร์ตดีไซเนอร์ให้งานนี้ไม่มีสะดุด จุดประกายความคิด “แดน ศรมณี” ร่วมแชร์ทริคครีเอทีฟไม่มีกั๊ก

ด้วยประสบการณ์ที่โลดแล่นอยู่ในสายงานออกแบบ อีกทั้ง CDC ยังเป็นดีไซน์เซ็นเตอร์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จึงเข้าใจความรู้สึกของสถาปนิกและนักออกแบบทุกคน ที่อยากมีพื้นที่ที่ตอบโจทย์ในการทำงาน ได้ใช้สมองปล่อยไอเดียได้ไม่รู้จบ แถมยังสบายตา สบายใจ ให้สมองได้โลดแล่นทำงานอย่างราบรื่น CDC Designer Workplace KE Group จึงเนรมิตพื้นที่ทำงาน “CDC Designer Workplace” ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้มาเอ็นจอยในการทำงาน ผ่าน Co-Working Space ซึ่งเป็นพื้นที่ในการหาแรงบันดาลใจและศูนย์รวมข้อมูลในทุกเรื่องดีไซน์ เรียกว่าเป็น Workplace, Designer และ Creative Community มาครบจบที่เดียวได้ทั้งาน และได้แชร์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในวงการเดียวกัน ไม่เพียงแค่พร้อมต้อนรับนักออกแบบที่จะมาเอ็นจอยในการทำงานไปด้วยกัน ในงานกิจกรรม Opening เปิดตัวสุดปังเชิญ Guest พิเศษ “แดน ศรมณี” Former Global Brand Lead จาก LINE Company (Thailand) มาแชร์ประสบการณ์เรื่อง Branding Creative Branding แบบไม่มีกั๊ก ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้ฟังเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานออกแบบ […]