บ้านเยื้องทะเลสาบที่หลบเหลี่ยม รับวิว ธรรมชาติอย่างเป็นส่วนตัว

คล้ายบ้านใต้ถุนสูง แต่คือบ้านไทยในสไตล์โมเดิร์น ทั้งยังเปิด รับวิว ทะเลสาบได้อย่างไม่ทิ้งความเป็นส่วนตัวไปแม้แต่น้อย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Physicalist บ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่เหมือนกับอยู่ติดกับทะเลสาบ แต่กลับเป็นแนวเยื้องไม่ได้ติดกับทะเลสาบเสียทีเดียว การออกแบบเพื่อเชื่อมโยงเอาธรรมชาติเข้ามาสู่การอยู่อาศัยจึงเข้ามาสร้างความพิเศษให้กับบ้านหลังนี้ ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์ประกอบร่วมระหว่าง บ้านใต้ถุนสูงอย่างไทยเดิม และบ้านในยุคหนึ่งของไทยที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม และผนังหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบ้านในสไตล์ Thai-Modern บอกเลยว่าบ้านนี้ต้องโดนใจอย่างแน่นอน บ้านยกสูงอย่างไทยในจริตโมเดิร์นเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้การออกแบบใหม่ในครั้งนี้บ้านหลังจึงมีการยกสูงขึ้นไปให้พื้นที่พักอาศัยนั้นอยู่บนชั้นสอง ข้อดีก็คือสามรถรับวิวทะเลสาบได้โดยไม่ถูกบดบัง แต่การออกแบบให้สวยงามลงตัวก็เป็นอีกโจทย์ท้าทายของผู้ออกแบบ พื้นที่ชั้นล่างนั้น จะออกแบบให้เป็นลานโล่ง และห้องออกกำลังกาย และเมื่อเดินขึ้นสู่ชั้น 2 จึงจะกลายเป็นห้องรับแขกที่ดูคล้ายลอยตัวอยู่เหนือคอร์ตด้วยความบางเบา ด้วยการออกแบบโครงสร้างเหล็กในส่วนของห้องรับแขก และการเลือกใช้องค์ประกอบผนังหินที่ก่อตัวคล้ายเสารับน้ำหนักที่คอร์ตด้านล่างอาคาร ทำให้ชุดห้องที่ยื่นออกมาดูเบา และลงตัว นอกจากนี้ ห้องนอนทั้งหมดที่ชั้นบนยังหลบซ่อนอย่างเป็นส่วนตัวด้วยองค์ประกอบผนังซิกแซกที่ปิดมุมมองจากภายนอกทางหน้าบ้าน และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติวิวทะเลสาบที่ด้านหลังได้อย่างน่าสนใจ ผนังซิกแซกเปิดรับวิวอย่างเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการรับวิวทะเลสาบ การเปิดรับวิวโดยไม่ทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน จึงออกมาเป็นผนังซิกแซกอย่างที่เห็น ผนังนี้จะมีช่องหน้าต่างในทิศที่หันออกไปสู่ทะเลสาบ แต่เมื่อมองมาจากถนนใหญ่ จะไม่สามารถมองเห็นด้านในของส่วนพักอาศัยได้ จึงทำให้ห้องนอนของบ้านหลังนี้ ได้ทั้งวิว ทั้งความเปิดโล่ง แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ผลพลอยได้ของผนังซิกแซกนี้ คือการที่แสงที่ส่องผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร กลายเป็นแสงแบบ Indirec Light ที่ดูนวลตา สร้างให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ ได้อีกทาง […]

PINWHEEL HOUSE บ้านโมเดิร์นรูปห้าเหลี่ยมสีขาว ตากอากาศรับวิวทะเลสาบอิตาลี

“บ้านดอกไม้ไฟ” บ้านโมเดิร์น ทรงห้าเหลี่ยมสีขาวโพลน ตั้งเด่นบนเนินเขาเล็ก ๆ ใช้ตากอากาศและพักผ่อนชมธรรมชาตินิ่งสงบกลางป่าโอ๊ก บ้านโมเดิร์น สีขาวโพลนที่เห็นนี้ตั้งเด่นอยู่บนเนินเขาใกล้กับทะเลสาบมาจิโยเร (Maggiore) ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประเทศอิตาลี และอยู่ทางใต้ของเทือกเขาแอลป์พรมแดนติดกับสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ที่นี่ยังล้อมรอบไปด้วยป่าต้นโอ๊กเก่าแก่ สีเขียวของป่าช่วยขับเน้นให้ความเรียบง่ายของบ้านตากอากาศสีขาวนี้ ยิ่งดูสวยงามราวกับมีใครนำประติมากรรมมาจัดวาง โครงสร้างของบ้านพักตากอากาศชั้นเดียว สถาปนิกจาก JM Architecture เลือกใช้ระบบแบบสำเร็จรูป ตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหล่อในที่ โดยตำแหน่งของบ้านถูกวางตามข้อจำกัดของที่ดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินลาดเอียงเล็กน้อย บวกกับความต้องการให้หน้าบ้านหันออกสู่วิวของทะเลสาบ ตัวบ้านด้านหนึ่งจึงต้องยกขึ้นเล็กน้อยตามความชันของเนินดิน ส่วนหน้าบ้านจะเห็นว่ามีลักษณะลาดต่ำลงมาเล็กน้อย โครงสร้างของบ้านใช้วัสดุหลักเป็นไม้ที่ได้รับการประกอบขึ้นในไซต์ โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ส่วนหน้าอาคารเป็นการผสมผสานระหว่างแผงคอนกรีตสีขาวกับบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมคอมโพสิตซึ่งมีขนาดต่างกัน โดยมีช่องเปิด หรือกรอบหน้าต่างกระจกขนาดใหญ่อยู่ตรงพื้นที่แต่ละด้าน และออกแบบให้มีช่องแสงขนาดเล็กสำหรับห้องนอน และห้องน้ำ กำหนดตำแหน่งห้องนั่งเล่นให้อยู่ตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคาร มีหน้าต่างบานเลื่อนทรงสี่เหลี่ยมหันออกไปหาวิวหุบเขา และทะเลสาบ อีกด้านยังได้ออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน เพื่อเปิดออกสู่พื้นที่นั่งเล่นซึ่งเป็นลานกลางแจ้งที่โรยพื้นด้วยกรวดสีขาว ตัวอาคารเน้นดีไซน์ให้มีขอบโค้งมนต่อเนื่องกันจนครบทุกด้าน โดยมีการสลับครีบแนวตั้งฉาก ที่มองเผิน ๆ คล้ายดอกไม้ไฟ หรือตะไลยักษ์กำลังหมุนคว้าง เนื่องจากตัวบ้านอยู่ติดกับถนนชนบทสายเล็ก ๆ จึงได้ทำที่จอดรถเล็ก ๆ สำหรับจอดรถได้ 1 คัน ภายในของบ้านแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 2 ชั้น […]

BAUMAN LOFT รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ ฟังก์ชันครบด้วยพื้นที่สามระดับ

โปรเจ็กต์ปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นที่พักอาศัย ที่น่าสนใจด้วยแนวคิดการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยทางแนวตั้งพร้อมกับการ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ แห่งนี้ตั้งอยู่ในอาคารเก่าในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ที่นี่เคยเป็นโรงงานคัดแยกใบชา ซึ่งกำลังได้รับการปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นย่านที่พักอาศัยเมื่อไม่นานมานี้ ตัวอาคารสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างอิฐตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1917 และถือได้ว่าเป็นกลุ่มอาคารอุตสาหกรรม ที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งจากยุคนั้น   ในการปรับเปลี่ยนอาคารเก่าแก่ซึ่งเคยมีประโยชน์ใช้สอยอื่นให้กลายเป็นอพาร์ตเมนต์ จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับฟังก์ชันที่จำเป็นทั้งหมดในการใช้ชีวิตรวมไว้ในห้องสี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัดนี้ เนื่องจากห้องขนาด 53 ตารางเมตร นี้ มีความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน 4.30 เมตร การใช้พื้นที่แนวตั้งให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ทีมสถาปนิกจึงออกแบบโซนพื้นที่ใช้สอยที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ บริเวณโถงทางเข้า พื้นที่นั่งเล่น และครัว อยู่ระดับเดียวกับพื้นอาคาร และยกระดับโซนห้องนอนให้สูงขึ้นระดับขอบหน้าต่าง ส่วนระดับบนสุดมีบันไดขึ้นไปสู่พื้นที่แต่งตัว และห้องอาบน้ำ ซึ่งนอกจากจะแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจนแล้ว ยังเป็นการจัดสรรลำดับการเข้าถึงและความเป็นส่วนตัวอีกด้วย ในแง่ของการตกแต่ง ผู้ออกแบบเลือกใช้สีขาวเพื่อสร้างความปลอดโปร่งให้กับสเปซในภาพรวม โดยผิวสัมผัสที่แตกต่างกันของวัสดุต่าง ๆ เช่น กำแพงอิฐเปลือยผิว ฝ้าเพดานกรุแผ่นโลหะลอน พื้นไม้ทำสี ช่วยให้เฉดสีขาวมีความหลากหลายน่าสนใจ เติมความโดดเด่นด้วยโทนสีน้ำเงินของเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อมโยงกับสีฟ้าน้ำทะเลของโซนห้องน้ำ นอกจากนี้เส้นสายกราฟิกสีดำของบานประตูกระจกกั้นห้องนอน ราวบันได รวมถึงโคมไฟตกแต่งก็ช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ ในส่วนของโต๊ะรับประทานอาหารหรือเคาน์เตอร์บาร์ขนาดย่อมสั่งทำพิเศษให้เคลื่อนย้ายได้ จึงสามารถปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งยังมีฉากรับภาพแบบม้วนเก็บได้สำหรับการชมภาพยนตร์อีกด้วย อพาร์ตเมนต์ห้องนี้จึงดูเรียบง่าย โปร่งโล่ง แต่ก็มีฟังก์ชันครบครันตามที่ผู้ออกแบบที่ตั้งใจ – ออกแบบ: Nefa Architectsวิศวกรรม: Sergei Kurepinภาพ: Ilya Ivanov เรื่อง: psuw ___________________________________________________________________________________________ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์สู่บรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น

AIMANDA อิ่มเอมในรสอาหารใต้ เคล้ากลิ่นอายอันดามัน

เอมอันดา AimAnda l Southern Thai Cuisine ร้านอาหารอบอุ่น เสิร์ฟรสชาติจัดจ้านจากแดนใต้ เด่นด้วยงานดีไซน์สไตล์ไทยโมเดิร์น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio เอมอันดา ร้านอาหารใต้ระดับพรีเมียมเปิดใหม่ย่านถนนพระยาสัจจา-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตั้งโดดเด่นอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโกปี๊ฮับสาขา 2 ร้านติ่มซำซึ่งมีต้นตำรับมาจากหาดใหญ่ จากทำเลดังกล่าวผสานกับความต้องการของคุณณิชา จารุกิตต์ธนา ผู้เป็นเจ้าของ ร้านอาหารใต้แห่งนี้จึงมีกลิ่นอายที่เชื่อมโยงกันไปกับร้านติ่มซำ ได้รับการออกแบบโดย Does studio ทีมสถาปนิกผู้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของโกปี๊ฮับมาแล้วทั้ง 2 สาขา สำหรับการออกแบบร้านอาหารครั้งนี้ พวกเขาได้ร่วมกันคิดงานดีไซน์ของร้าน ผ่านชื่อ “เอมอันดา” อันสื่อความหมายถึงความอิ่มเอมที่ทุกคนจะได้รับผ่านมื้ออาหารแสนอร่อย และทะเลอันดามัน แหล่งอาหารรวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของผู้คน ก่อนนำมาสู่การออกแบบร้านผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายสไตล์ไทยโมเดิร์น โดยดีไซน์ขึ้นมาจากคอนเซ็ปต์ของอาหาร เพื่อสื่อถึงอาหารไทยพื้นถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการยกระดับให้มีความพรีเมียม จนมาลงตัวกับอาคารสีขาวโดดเด่นด้วยหลังคาทรงจั่ว ผสานกับเส้นโค้งที่หมายถึงเกลียวคลื่น ช่วยให้เกิดมุมมองที่ดูสมู้ธลื่นไหล โดยเป็นเส้นโค้งที่ออกแบบให้ยาวต่อเนื่องมาจากหลังคาทรงจั่ว ยาวเรื่อยไปจนรับกับพื้นที่ลานจอดรถ สิ่งที่ท้าทายครั้งนี้ คือตำแหน่งศาลพระพรหมที่ตั้งอยู่ด้านหน้า กลายเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ศาลพระพรหม และอาคารร้านอาหารเป็นเรื่องราวเดียวกัน สถาปนิกจึงเลือกผลักอาคารร้านอาหารเข้าไปด้านใน แล้วใช้แลนด์สเคปมาคั่นกลางให้มุมมองของสวนทำหน้าที่เปรียบเสมือนแบ็กกราวน์ให้แก่ศาลพระพรหม ออกแบบทางเข้าให้ลูกค้าสามารถเดินมาได้ทั้งจากพื้นที่จอดรถด้านหน้า ซึ่งต้องเดินผ่านพื้นที่แลนด์สเคปเข้ามา หรือจะเดินมาจากลานจอดรถด้านข้างของร้านโกปี๊ฮับก็ได้ โดยได้ออกแบบให้มีไฮไลต์ หรือลูกเล่นด้วยการทำช่องทางเดินวางตัวเป็นแนวยาวอยู่หลังศาลพระพรหม […]

CityFresh คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ ที่เหมือนยกเรือนเพาะชำมาไว้กลางกรุง!

ต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในไร่ผลไม้เสิร์ฟความสดใหม่และความสดชื่น หน้าร้านแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของ CityFresh ตั้งอยู่บนโลเคชั่นดีๆ อย่างปรีดีพนมยงค์ 26 บนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาที่รีโนเวทใหม่เพื่อคนรักสุขภาพและผลไม้ที่แท้จริง!

SAI SAI CAFE คาเฟ่กลางมหาวิทยาลัย ที่พรางตัวไปกับธรรมชาติ

ใสใส วัยเรียนชอบ ก็ แน่นอนเพราะคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่กลางคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั่นเอง และคาเฟ่แห่งนี้ก็ใสสมชื่อ เพราะทั่วทั้งร้านมีการตกแต่งด้วยกระจกเงา ทำให้ผนังภายนอกสะท้อนภาพของธรรมชาติ และแมกไม้ที่สวยงามดั่งคาเฟ่นั้นพรางตัวหายไป ความน่าสนใจคือคาเฟ่แห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากรของสถาบันฯ ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อคณะฯ มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องขยับขยายพื้นที่ มายังบริเวณนี้ กลุ่มบ้านพักจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยอาคารเรียนต่างๆ จนหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงสองหลัง พื้นที่โดยรอบบ้านพักทั้งสองหลังนี้มีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างที่ถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ อยู่ท่ามกลางกลุ่มอาคารเรียนที่มีนักศึกษาใช้งานจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยและการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมออกแบบจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นสาธารณะ แห่งใหม่ของนักศึกษา ไปเสียเลย เพื่อช่วยสร้างให้เกิดพื้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจประมูลอาคารหลังนี้เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ร่วมเสนอแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก ในการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ใช้จากพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นด้านหลัง ของคณะฯ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน จากอาคารเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับพักอาศัยจึงต้องการการแบ่งพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดพื้นที่ข้างหน้ากับพื้นที่ข้างหลังของอาคารที่แยกขาด เป็นอุปสรรคสำคัญในการเชื่องโยงพื้นที่รอบๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบอาคารร้านกาแฟใสใสจึงเป็นเพียงการหาวิธีทำให้อาคารเลือนหายไปในหมู่ต้นไม้ และเปิดเผยพื้นที่ร่มรื่นด้านหลังอาคารออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำไปสู่การถอดผนังอาคารออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมุมมองจากถนนหลักไปยังพื้นที่ว่างหลังอาคาร เปลี่ยนหลังคาเป็นวัสดุโปร่งใสให้แสงที่ส่องทะลุยอดไม้ตกกระทบพื้นเกิดเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ใช้การลวงตาด้วยกระจกสะท้อนเงาต้นไม้กับระนาบที่จำเป็นต้องปิดทึบ คงเหลือไว้แต่เส้นสายของโครงสร้างเพื่อระลึกถึงรูปลักษณ์เดิมที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ การจัดพื้นที่ใช้งานโดยจำกัดพื้นที่ที่จำเป็นต้องปิดล้อมให้มีขนาดเล็กที่สุดชั้นล่าง ซึ่งจะเป็นร้านค้า พื้นที่นั่ง พื้นที่เอนกประสงค์ที่รองรับความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะด้วยเช่นกัน ออกแบบ: Studio of Architecture and […]

O BUILDING รีโนเวทตึกเก่า พร้อมกับเปลี่ยนซอกตึกให้น่าเดินด้วยวิวสีเขียวสะท้อนมิติของกระจก

เมื่อถึงคราว รีโนเวทตึกเก่า ใหม่ ก็ต้องมาพร้อมการปรับปรุงพื้นที่ใช้งานทั้งภายในและภายนอกให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ กับไอเดียการเปลี่ยนมุมอับของซอกตึกให้น่าเดิน อีกหนึ่งงานดีไซน์ที่ช่วยแก้ปัญหาความอึดอัดคับแคบของพื้นที่ในเขตเมือง O Building คือผลงานการ รีโนเวทตึกเก่า ขนาด 3 ชั้น ในเมืองมูซาชิโนะ (Musashino) ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้กลายเป็นอาคารหลังใหม่ที่มาพร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานใหม่ ออกแบบโดย Yohei Kawashima architects ที่นี่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ขนาดจำกัดที่ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายการรีโนเวทอาคารของญี่ปุ่น โดยสถาปนิกได้นำแผนการถอยอาคารออกจากอาคารหลังอื่นที่อยู่ในพื้นที่ติดกัน ด้วยการออกแบบให้มีบันไดอยู่ภายนอกไว้ด้านข้าง แล้วสร้างทางเดินด้านล่าง เป็นผลพื้นที่แต่ละชันของอาคารมีองค์ประกอบที่เรียบง่ายและเท่าเทียมกันทั้ง 3 ชั้น สำหรับทางเดินด้านล่างของอาคาร ได้ออกแบบให้สามารถทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างถนน 2 สาย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเดินเข้าอาคารได้จากถนนทั้งสองฝั่ง ผ่านช่องว่าง หรือซอกตึกที่คับแคบ แต่เนื่องจากไซต์นี้อยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์และมีอาคารหลังอื่น ๆ ที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว ตั้งขนาบข้างจนชิดขอบของพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางเดินระหว่างซอกตึกที่ทั้งมืด คับแคบ และค่อนข้างอึดอัด ด้วยการสร้างกระจกครึ่งบานตามทางเดิน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวทางเดินทั้งสองฝั่ง นำพาผู้คนไปสัมผัสกับธรรมชาติและเป็นประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่สบายตาและผ่อนคลาย ท่ามกลางชุมชนและตึกสูงของเมืองใหญ่ โดยรั้วกระจกนี้จะช่วยสะท้อนมิติการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา และสะท้อนมิติด้านข้างของอาคารและด้านหลังของอาคารที่อยู่ติดกัน บางครั้งก็จะสังเกตเห็นการซ้อนทับของมุมมองทั้งสอง เป็นวิธีการง่าย ๆ แต่ได้ผล […]

รถเกษตรอเนกประสงค์ไฟฟ้าพลัง Ai ลุคมินิมัล KIBB BY CAKE

เกษตรสายเท่เตรียมรับแรงกระแทก! เพราะนี่คือรถอเนกประสงค์ไฟฟ้าที่จะมาเขย่าวงการรถไถ! เพราะนี่คือรถเกษตรอเนกประสงค์ มันใช้ไฟฟ้า และมันมีระบบ ai อัตโนมัติ และนี่คือ “Project Kibb”งานออกแบบรถอเนกประสงค์ไฟฟ้าที่ตั้งใจให้สามารถเดินทางได้ในทุกสภาวะเพื่อส่งเสริมการทำงานเกษตรในที่ทุรกันดารได้มากกว่าที่เคย “ความยั่งยืนทางอาหาร และการทำเกษตรกรรมนั้นเป็นอีกสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม และแม้แต่บริษัทรถไฟฟ้าอย่างเรา ก็มีส่วนช่วยให้สิ่งเหล่านี้ยั่งยืนขึ้นได้เช่นกัน”- Stefan Ytterborn, CEO and founder of CAKE ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ที่ดูสมบุกสมบัน และการเชื่อมต่อปรับแต่งการใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะใช้นั่ง ใช้ลาก หรือขนของแบบกระบะบรรทุก แต่ Kibb ยังมาพร้อมกับฮาร์ดแวร์ที่สามารถอัพเดตการทำงานร่วมกับการทำเกษตร ทั้งวิธีการหว่าน ไถ และเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันไป ถ้ายังนึกไม่ออกให้นึกว่าเรามีโดรนอัตโนมัติที่สามารถช่วยเราทำงานเกษตรได้นั่นเอง ใกล้เคียงมาก! จากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาฝึกงานที่บริษัท Fanny Jonsson สู่การได้รับโอกาสในการเป็นดีไซเนอร์ ของ Cake และสานต่อโครงการที่น่าสนใจนี้ “มันเป็นเหมือนการทดแทนความเป็นไปได้ที่ดีกว่า สู่อนาคตที่ดีกว่าด้วยเทคโนโลยี และการคิดคำนึงถึงวันข้างหน้าที่จะลดการเผาไหม้ และมลพิษลง รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของความยั่งยืนทางการเกษตรไปพร้อมกัน” แน่นอนว่า Kibb มาพร้อมกับระบบไฟฟ้า และการชาร์จทั้งแบบ On-Grid และ Off-Grid Solarcell จาก […]

LITTLE STOVE & LITTLE STUMP คาเฟ่และเพลย์กราวด์บรรยากาศราวกับอยู่ในโลกนิทาน

Little Stove & Little Stump อีกสถานที่พักผ่อนดี ๆ ในย่านพระราม 2 ซอย 33 หรือวัดยายร่ม ที่มีทั้งคาเฟ่และสถานที่เล่นของเด็ก ๆ ตอบโจทย์คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่กำลังมองหาพื้นที่สำหรับมาใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในวันหยุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: NITAPROW Architects คุณพราว-พราว พุทธิธรกุล สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Little Stove & Little Stump จาก NITAPROW Architects และคุณพีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ สองพาร์ตเนอร์จากทั้งหมด 5 ท่าน เล่าถึงที่มาของที่นี่ให้ฟังว่า เริ่มต้นมาจากครอบครัวของทั้งคุณพราวและคุณพีชที่ต่างก็เป็นคุณแม่ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีพื้นที่สาธารณะที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัวที่มีลูกเล็ก ๆ จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำมาคุยกันในกลุ่มพาร์ตเนอร์ว่า เมื่อเด็ก ๆ อ่านหนังสือ พวกเขามักจินตนาการเป็นเรื่องราวต่าง ๆ จึงเห็นว่า “นิทาน” เป็นการสื่อสารที่ดีสำหรับเด็ก เกิดเป็นแนวคิดการสร้างนิทานที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ ด้วยการติดต่อไปยังสำนักพิมพ์สานอักษร แล้วเล่าไอเดียให้แก่นักเขียนนิทานและนักวาดภาพประกอบฟัง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากสถานที่จริง จนเกิดหนังสือนิทานเรื่อง “บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม” […]

Oliver Lin พานักออกแบบไทยเจาะตลาดเอเชียด้วย Golden Pin Design Award

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นเดียวกันกับที่ไต้หวัน สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน หรือ Taiwan Design Research Institute (TDRI) ได้รับการก่อตั้งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไต้หวันผ่าน “พลังแห่งการออกแบบ” ที่เข้มแข็ง รวมถึงเป็นแพลตฟอร์ม ที่สร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนผ่านการเป็นผู้จัดการมอบรางวัลด้านการออกแบบระดับนานาชาติอย่าง Golden Pin Design Award (GPDA) ตามไปฟัง Oliver Lin รองประธาน TDRI เชิญชวนนักออกแบบไทยก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติกับ Golden Pin Design Award เวทีประกวดที่ได้จัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 40 ปี พร้อมบอกเล่าถึงการมาเยือนกรุงเทพฯในครั้งนี้ นำทีมนักออกแบบที่ได้รับรางวัล GPDA ในปีก่อนมาร่วมนำเสนอแนวคิดด้านการออกแบบที่น่าสนใจในงานสัมมนา Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2023 “การจัด Salon หรืองานสัมมนาในครั้งนี้ เรามุ่งไปที่ประเทศที่นักออกแบบมีศักยภาพสูง มีกระแสความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าไทยคือหนึ่งในนั้น เรามองว่าไทยมีศักยภาพทั้งในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงานโฆษณา […]

Ashui Pavilion พาวิเลียนผ้า บอกเล่าจิตวิญญาณแห่งสายน้ำ

Ashui Pavilion 2023 พาวิเลียนผ้า สื่อความหมายสถาปัตยกรรมความเป็นเมืองจากแม่น้ำสายชีวิตของชาวโฮจิมินห์ เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ของเมืองโฮจิมินห์และแม่น้ำไซง่อนผ่านความงามของพาวิเลียนผ้าพลิ้ว

SWENSEN’S สเวนเซ่นส์กลิ่นอายโรงเตี๊ยม สัมผัสบรรยากาศเมืองเก่าหาดใหญ่

หน้าร้อนแบบนี้ สิ่งแรกที่นึกถึงเมื่อมองหาความสดชื่น คลายร้อนคงเป็นไอศกรีมรสโปรด เมื่อ” สเวนเซ่นส์ “แบรนด์ไอศกรีมชื่อดัง ที่มีสาขาทั่วโลกได้เปิดบริการที่ประเทศไทยมามากกว่า 30 ปี สาขาใหม่ที่เปิดบริการที่หาดใหญ่วิลเลจนี้ ได้นำวัฒนธรรมผนวกเข้ากับสถาปัตยกรรมเป็นสาขาแฟล็กชิบสโตร์เพื่อเน้นสื่อสารและสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าทั้งความสวยงามและบริการที่คงมาตรฐานของสเวนเซ่นส์

12 FEB HOMEY CAFE คาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่น ฟีลลิ่งอบอุ่นเหมือนบ้านน้อยริมธาร

12 Feb Homey Café คาเฟ่เชียงใหม่ ที่พาเราหวนนึกถึงวัยเด็ก เมื่อคุณครูให้วาดภาพ หลายคนเลือกวาดภาพบ้านหลังเล็กหลังคาทรงจั่ว มีธารน้ำไหลผ่านข้าง ๆ บ้าน ก่อนเพิ่มเติมด้วยต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์เลี้ยงตัวน้อย และรูปของพ่อ แม่ ลูก จากภาพที่แสนอบอุ่นนั้น ได้กลายเป็นที่มาของการออกแบบคาเฟ่แห่งนี้ ที่ให้บรรยากาศราวกับเป็นบ้านไม้หลังน้อย โดยมีงานแลนด์สเคปเข้ามาเติมเต็มให้เรื่องราวยิ่งสวยงามดุจภาพวาด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: pommballstudio 12 Feb Homey Café ตั้งอยู่ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มต้นมาจากคู่สามีภรรยาเจ้าของร้านที่ฝันอยากมีคาเฟ่เป็นของตัวเองไว้นั่งจิบกาแฟชิล ๆ ในบรรยากาศที่แสนอบอุ่น โดยตั้งชื่อคาเฟ่ให้จดจำง่าย และมีความหมายลึกซึ้งตามวันเกิดของภรรยา มาพร้อมโจทย์การออกแบบที่ทั้งคู่อยากได้คาเฟ่ไซซ์เล็ก มีมู้ดแอนด์โทนแบบโฮมมี่ สถาปนิกจาก pommballstudio จึงนำความต้องการนั้น มาต่อยอดสู่คาเฟ่ที่ดีไซน์ให้เหมือนบ้านสไตล์ Japandi โดยผสมสไตล์ญี่ปุ่นและนอร์ดิกเข้าด้วยกัน ตัวอาคารของคาเฟ่ตั้งอยู่ในที่ดินที่มีลักษณะลึกยาว โดยออกแบบให้ตัวอาคารอยู่ด้านในสุดของที่ดิน เลี่ยงที่จะสร้างแบบเต็มพื้นที่เพราะต้องการเผื่อสเปซด้านหน้าไว้สำหรับสร้างอาคาร หรือแลนด์สเคปเพิ่มเติมในอนาคต ดีไซน์ของอาคารมีรูปทรงเป็นแนวยาวตรงกับทิศเหนือ มีโครงสร้างทำจากคอนกรีตและเหล็ก ผนังด้านนอกกรุด้วยไม้เทียมเพราะทนทานต่อสภาพอากาศ แสงแดด และความชื้น โดยเลือกใช้ไม้เทียมไบโอวู้ดผ่านการขัดผิวหน้าให้มีสีอ่อนลง ส่วนหลังคามุงด้วยเมทัลชีทลอนเรียบ พื้นที่ส่วนที่เป็นระเบียงโรยกรวดล้าง-ทรายล้าง เพื่อให้มู้ดความเป็นพื้นที่พับลิกที่ไม่ใช่บ้านเสียทีเดียว […]

โกปี๊ฮับ ร้านติ่มซำ-ชาชัก กับบรรยากาศใหม่ในร้านเก่า ตกแต่งสไตล์จีน-ไทยอย่างลงตัว

โกปี๊ฮับ l KopiHub คาเฟ่ติ่มซำ-ชาชักเจ้าดังสาขาบางแสน กับการพลิกโฉมร้านเก่าในอาคารพาณิชย์อายุกว่า 40 ปี ให้กลับมาเล่าเรื่องราวผ่านงานดีไซน์ที่สื่อถึงความพิเศษของสาขาออริจินัลที่เปิดมานานกว่า 6 ปี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio หลังจากเปิดกิจการมานานกว่า 6 ปี สำหรับสาขาแรกที่บางแสน หรือต้นตำรับของ โกปี๊ฮับ ก็ถึงคราวต้องรีโนเวตใหม่ เปลี่ยนบรรยากาศบ้านไม้สไตล์แอนทีคผสมสภากาแฟในอาคารพาณิชย์อายุกว่า 40 ปี ให้กลายเป็นร้านใหม่ที่สะดุดตาด้วยฟาซาดอาร์กโค้ง (Arch) จัดเต็มด้วยเรื่องราวการสร้างแบรนด์ดิ้งผ่านงานดีไซน์ ที่กลายเป็น Corporate Identity หรือ Ci ของร้านอย่างชัดเจน โดยมีสถาปนิกจาก Does studio มารับหน้าที่ออกแบบ เพื่อให้ทุกสาขาของโกปี๊ฮับเป็นที่น่าจำจด ขยับลุคร้านติ่มซำให้เป็นมากกว่าแค่ร้านอาหาร จากที่ Does studio เคยฝากผลงานไว้กับการออกแบบโกปี๊ฮับสาขา 2 พระยาสัจจา-อ่างศิลา กับอาคารรูปแบบสแตนอโลนเด่นด้วยสถาปัตยกรรมทรงโค้งที่ถอดแบบมาจากเข่งติ่มซำ มาคราวนี้พวกเขาได้รับหน้ารีโนเวตร้านสาขา 1 ซึ่งถือเป็นสาขาออริจินอล โดยเจ้าของร้านมีโจทย์ว่าอยากให้โกปี๊ฮับไม่ใช่ร้านติ่มซำทั่วไป แต่อยากเล่าเรื่องผ่านงานดีไซน์ที่สะท้อนถึงท้องถิ่นภาคใต้ ต้นตำรับติ่มซำของร้านที่มีสูตรมาจากหาดใหญ่ โดยมีความเป็นจีนเข้ามาผสมแต่ไม่ใช่สไตล์จีนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่อยากให้เป็นร้านอาหารของครอบครัวเหมาะกับคนทุกวัย โดยมี Ci […]

บ้านสีขาว กะทัดรัด ออกแบบพื้นที่ให้เอ็นจอยกับการพักผ่อน

HIPPOCACTUS HOUSE บ้านแห่งการพักผ่อนและหลากพื้นที่งานอดิเรก บ้านสีขาว สบายตาขนาด 200 ตารางเมตรหลังนี้ขนาดกะทัดรัดสำหรับอาศัยกับเจ้าของบ้าน 2 ท่านที่เป็นทันตแพทย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับพื้นที่พักผ่อนและทำงานอดิเรกอย่างพื้นที่ทำงานไม้ โดยมี Pommballstudio x Blank Studio เป็นผู้ออกแบบ “ HIPPOCACTUS HOUSE” ที่มาช่วยเติมเต็มงานอดิเรก และพื้นที่พักผ่อนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บ้านโมเดิร์น สีดำที่เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

ความอบอุ่นของคำว่าบ้านทั้งสภาวะน่าสบายจากการออกแบบพื้นที่ที่สอดรับกับบริบทภูมิอากาศอย่างไทย และการใส่ใจในความเป็นพื้นที่ส่วนตัวของครอบครัว “Warmblack House” บ้านหลังนี้มีครบในทุกมิติของความอบอุ่น จากการออกแบบสเปซเรียบง่ายแต่ได้ผล ที่เชื่อมปฏิสัมพันธ์ในหลากมิติเข้าด้วยกันอย่างลงตัว

Arpo Pool Villa Riverside พูลวิลล่า ริมน้ำ หมุดหมายใหม่ staycation ย่านฝั่งธนฯ

พักผ่อน ณ พูลวิลล่า ริมน้ำ Arpo Pool Villa Riverside สถาปัตยกรรมซุ้มโค้งอย่างยุโรป เด่นตระหง่านริมคลองบางกอกใหญ่ บ้านสีขาวโดดเด่นไปด้วยซุ้มโค้งติดริมคลอง จนใคร ๆ ที่ผ่านไปผ่านมาต้องหยุดมอง! คือที่พักบรรยากาศดีที่เปิดบริการแบบ Staycation ให้เช่าทั้งหลัง กับชื่อ Arpo (อาโป) ซึ่งแปลว่า “น้ำ” สอดคล้องกับทำเลซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง โดยสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวกสบาย เดินเพียงแค่ 3 นาที จากรถไฟฟ้า BTS สถานีบางไผ่ คุณก็จะได้สัมผัสกับประสบการณ์การพักผ่อนที่หาได้ยากในกรุงเทพฯ พร้อมกับชื่นชมวิถีชีวิตชุมชนที่เงียบสงบ ให้ความรู้สึกถึงการมาพักผ่อนแบบไพรเวต เหมือนที่นี่เป็นบ้านพักส่วนตัวอย่างแท้จริง

InJoy Snow Hotel Bangkok วิลล่ากลางม่านหมอกหิมะในบรรยากาศทรอปิคัล

แปลงโฉมบ้านหลังเก่าสู่โรงแรมกลางกรุง InJoy Snow Hotel Bangkok นำเสนอความงามแห่งสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่แฝงตัวหลังม่านหมอกหิมะและธรรมชาติเมืองร้อน เนื่องจากเจ้าของโครงการใช้ชีวิตในกรุงปารีสมายาวนาน และด้วยความหลงใหลในสภาพอากาศ และภูมิประเทศอันสวยงามของฝรั่งเศส เมื่อมีโอกาสสร้างสรรค์โปรเจ็คต์โรงแรมแห่งใหม่ InJoy Snow Hotel Bangkok จึงตั้งใจถ่ายทอดแรงบันดาลใจของทิวทัศน์ท่ามกลางหิมะของฝรั่งเศส ผสานกับองค์ประกอบของธรรมชาติเขตร้อน ภายใต้แนวคิดการบูรณะสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน งานออกแบบนำเสนอแนวคิดที่แตกต่างเฉพาะตัวของ “หิมะ” ในบริบทไทย เพื่อเชื่อมต่องานสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์โดยรอบเข้าด้วยกัน รวมถึงตอบรับกับลักษณะสภาพภูมิอากาศของที่ตั้งโครงการ เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง แยกตัวจากความหนาแน่นจอแจของเมืองใหญ่ จากภายนอก แผงอะลูมิเนียมเจาะรูพับที่สลับลดหลั่นต่อเนื่องกันไปมาได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนรั้ว ที่แบ่งกั้นความวุ่นวายของบริบทภายนอกออกจากพื้นที่ภายใน ขณะเดียวกันช่องเปิดที่เกิดจากการเจาะรูจำนวนมากบนแผงอะลูมิเนียมก็ได้สร้างภาพความงามอันเลือนลางของสถาปัตยกรรมคล้ายกับแฝงตัวอยู่ท่ามกลางหมอกยามเช้า คลื่นแผงอะลูมิเนียมที่พับบิดไปมาหลายร้อยชุดนั้น นอกจากจะมีขนาดสัดส่วนเชื่อมโยงกับผู้คนที่สัญจรไปมาบนท้องถนนของกรุงเทพฯ แล้ว ยังช่วยกรองแสงแดด และเปิดรับลมธรรมชาติ เพื่อให้บรรยากาศภายในอาคารสดชื่น และโปร่งสบายตลอดวันด้วย จากแผงอะลูมิเนียมภายนอก เชื่อมต่อสู่พื้นที่ภายในผ่านการพลิ้วไหวของม่านเส้นด้ายสีขาวบริเวณโถงทางเข้า สร้างการรับรู้ให้นึกถึงหิมะที่โปรยปราย ช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับสเปซ เส้นด้ายกว่าพันเส้นยังเชื่อมต่อสเปซแนวตั้งของชั้นบนและชั้นล่าง และในขณะเดียวกันก็แบ่งกั้นพื้นที่ต่างๆ ในแนวราบด้วย แต่ละห้องพักมีการใช้สิ่งทอเป็นองค์ประกอบในรูปแบบ และความหนาแน่นที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เปิดรับปริมาณของแสงธรรมชาติได้พอดีกับการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ และเพื่อให้ตอบรับกับแนวคิดของ “ห้องพักตามฤดูกาล” จึงเน้นการใช้สิ่งทอแทนผนังเพื่อแบ่งกั้นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ และพื้นที่ที่มีการสัญจร ช่วยให้สามารถจัดวางห้องพักได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เปิด-ปิดได้ตามสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล นอกจากนี้ […]