FOREST HOUSE บ้านอิฐกลางป่าสน ที่ออกแบบเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้เดิม

บ้านอิฐ ที่ออกแบบกำแพงแบบฟรีฟอร์ม เพื่อหลบหลีกต้นไม้เดิมในพื้นที่ทั้งหมด โดยตัวบ้านใช้วัสดุอิฐ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาเป็นวัสดุหลัก

HOUSE TOKYO บ้านหลังเล็กพร้อมสเปซเพิ่มขึ้นสองเท่า บนที่ดินขนาดแค่ 26 ตารางเมตร

บ้านหลังเล็ก โครงสร้างไม้สน กรุผนังภายนอกด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูก ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยให้สอดรับปรับตัวเข้ากับความหนาแน่นของเมืองอย่างชาญฉลาด

HOA’S HOUSE บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาด กับการใช้งานอาคารแบบมิกซ์ยูส

Hoa’s House บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาดในเมืองไซง่อนที่พลุกพล่าน กับการออกแบบให้มีฟังก์ชันแบบมิกซ์ยูส ทั้งอยู่อาศัยและสร้างรายได้ไปพร้อมกัน หากสัญจรผ่านไปมาตรงหัวมุมสามแยกของตลาด สิ่งที่อดเหลียวมองขึ้นไปไม่ได้ คือภาพ บ้านคอนกรีต หลังใหญ่ที่ตั้งตระหง่านดูเคร่งขรึมโดดเด่นกว่าใครในย่าน โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ 113 ตารางเมตร กับขนาดความสูงถึง 6 ชั้น แสดงตัวตนผ่านงานดีไซน์ที่เน้นโชว์พื้นผิวคอนกรีตที่เรียบง่าย และปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบอกว่า สะท้อนตัวตนของเธอออกมาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเจ้าของอาคาร เธอต้องการสร้างที่นี่ให้แตกต่างจากตึกแถวหลังอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อม เพื่อให้ใครเห็นแล้วจดจำได้ง่าย บวกกับต้องการต่อยอดธุรกิจเปิดพื้นที่ชั้นล่างให้เช่า ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว H.2 ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจึงต้องคิดฟังก์ชันเผื่อสำหรับการใช้งานที่หลากหลายดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ชั้น 1ที่ออกแบบให้เป็นโรงรถ และร้านค้าให้เช่า ชั้น 2 ทำเป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก 3 ห้อง และชั้น 3 เป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ 3 ห้อง ให้เช่า ส่วนชั้น 4 ออกแบบให้มีห้องนอนใหญ่ 1 ห้อง ห้องนอนเล็ก 2 ห้อง พร้อมห้องนั่งเล่น ชั้น 5 […]

โอเอซิสส่วนตัวในบ้านโมเดิร์นของกราฟิกดีไซเนอร์ผู้รักธรรมชาติ

บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]

รีโนเวตโรงยิมเก่าให้กลายเป็น บ้านลอฟท์ สุดอบอุ่น

รีโนเวตโรงยิมกลางชุมชนเก่าในอัมสเตอร์ดัมให้กลายเป็น บ้านลอฟท์ หลังใหม่ สร้างประโยชน์ใช้สอยใหม่ให้อาคารเก่า ฝีมือการออกแบบของ Robbert de Goede สตูดิโอออกแบบชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ นอกจากบรรยากาศสุดอบอุ่น โปร่งสบาย และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลงตัวของพื้นที่พักอาศัย ที่นี่ยังเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบได้เป็นอย่างดี ภายใต้ความเคารพในสภาพแวดล้อมของชุมชนเดิม ออกแบบ: Robbert de Goede ภาพ:  Marcel van der Burg Robbert de Goede สตูดิโอออกแบบชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ สร้างประโยชน์ใหม่ให้อาคารโรงยิมเก่า ที่ถูกปล่อยทิ้งรกร้างมานานหลายปี ใจกลางพื้นที่ประวัติศาสตร์ของกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เดิมพื้นที่นี้มีลักษณะเป็นโกดังอินดัสเทรียล มีผนังรับน้ำหนักก่อทึบสูง มีเพียงหน้าต่างด้านบนที่เปิดรับแสงจากภายนอก รวมถึงเพดานสูงที่เผยให้เห็นโครงสร้างหลังคาเหล็กถักสไตล์ บ้านลอฟท์ ก่อนเริ่มกระบวนการรีโนเวต เจ้าของบ้านชักชวนให้สถาปนิกลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทโดยรอบ และหารูปแบบฟังก์ชันใหม่ที่เหมาะสมสำหรับอาคารเก่านี้ เพราะหากกำหนดทิศทางฟังก์ชันของอาคารให้เป็นไปในเชิงพาณิชย์ที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ อาจส่งผลให้ผู้คนเข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก และอาจสร้างความอึดอัดให้แก่ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ดังนั้น โรงยิมแห่งนี้จึงถูกเปลี่ยนเป็นบ้านพักอาศัย ตามข้อเสนอของสถาปนิก ที่ต้องการให้งานออกแบบอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างเป็นมิตร จากพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในโกดัง สถาปนิกได้จัดวางฟังก์ชันการใช้งานทั้งแนวราบและแนวตั้งไว้ในแต่ละตำแหน่งที่แตกต่างกันตามลำดับ ก่อนจะขมวดพื้นที่เข้าหากันด้วยคอร์ตสี่เหลี่ยมกลางบ้าน โดยมีชั้นลอยที่ต่อเติมขึ้นมาใหม่โอบรัดคอร์ตไว้ สำหรับทำหน้าที่เป็นทางสัญจรที่เชื่อมแต่ละชั้นเข้าหากัน รวมทั้งเพิ่มมิติให้กับสเปซกล่องสี่เหลี่ยมเกลี้ยง ๆ ดูเป็นสัดส่วนและน่าใช้งานมากขึ้น โดยยังคงเก็บดีเทลเหล็กของโครงสร้างหลังคาเดิมไว้ และนำมาประยุกต์ใช้กับดีเทลโครงสร้างพื้นชั้นลอยที่ต่อเติมขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างตัวอาคารเดิมกับโครงสร้างใหม่ที่คิดขึ้น ด้วยพื้นที่ภายในกว่า […]

2Hien House บ้านหน้าแคบ เด่นด้วยผนังกระเบื้องเกล็ดปลาวัสดุจากบ้านเก่าที่นำมาใช้ใหม่ได้ลุคน่ารัก

บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องที่ขอเลือกนำกระเบื้องเกล็ดปลาจากบ้านเก่า มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผนังบ้านที่มีรายละเอียดดูน่ารัก แม้จะตั้งอยู่ในที่ดินหน้าแคบและลึก แต่กลับสามารถออกแบบบ้านให้ดูปลอดโปร่ง มีช่องแสงสกายไลท์อยู่ตรงกลางระหว่างอาคารสองก้อน ช่วยให้บ้านทั้งหลังดูสว่าง ไม่มืดทึบจากผนังสูงใหญ่ซึ่งถูกขนาบข้างดูเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านรอบ ๆ จุดเริ่มต้นของการออกแบบ บ้านหน้าแคบ หลังนี้ มาจากเจ้าของบ้าน เมื่อถึงคราวต้องขยับขยายสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิมซึ่งทั้งแคบและยาว แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของคู่สามีภรรยาเจ้าของบ้าน ผู้หลงใหลในธรรมชาติและความสงบเงียบเรียบง่าย กับบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นที่ที่ให้มีความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน ด้วยผนังบ้านทั้งสองด้านที่สูงชะลูด เด่นเป็นพิเศษด้วยการนำกระเบื้องเกล็ดปลา วัสดุจากบ้านเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ ให้กลายเป็นผนังและหลังคาบ้านส่วนหน้าที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ที่นี่ออกแบบโดย CTA | Creative Architect ทีมสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม บ้านขนาดสองชั้นที่เห็น ถูดจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านหน้าที่กำหนดให้เป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ ก่อนเข้าสู่ตัวบ้านด้านในที่มีการแยกก้อนอาคารออกเป็นสองส่วน โดยมีเฉลียงขนาดกว้างสำหรับไว้ใช้นั่งเล่นพักผ่อน เชื่อมโยงสมาชิกให้ทุกคนมองเห็นกันและกันได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารว่างร่วมกัน หรืออ่านหนังสือ ชายคาที่ลดระดับลงได้โอบล้อมพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทำให้เกิดพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่ยังคงความโปร่งและยืดหยุ่นเอาไว้ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และรับแสงสว่างจากหลังคาสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บ้านมีแสงสว่างที่ทั่วถึง ลดความมืดทึบได้อย่างดี ในแง่ของวัสดุบ้านนี้เน้นใช้อิฐสีแดง และกระเบื้องเกล็ดปลาเก่า ซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ และให้ความรู้สึกที่โดดเด่น ไร้การปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเรียบง่าย แต่ยังคงสร้างอารมณ์ที่หนักแน่นและมั่นคง นอกจากวัสดุที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแล้ว มุมสวนสีเขียวเจ้าของบ้านก็เลือกให้ความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างการแบ่งพื้นที่ให้มีสวนตรงพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน ขณะที่หลังบ้านก็มีมุมนั่งเล่นพักผ่อนเช่นกัน เพื่อให้คุณสามีได้ปลูกต้นไม้ […]

รีโนเวตบ้านหลังเล็กให้ ‘น้อยแต่มาก’ กลิ่นอายสแกนดิเนเวียน

บ้านหลังเล็กที่ได้รับการ รีโนเวท ให้ ‘น้อยแต่มาก’  เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศให้โปร่งสบายด้วยแสงธรรมชาติ จัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงพื้นที่ใช้สอยแทนการกั้นผนังห้องที่ทำให้อับทึบ ทั้งยังออกแบบให้ทุกพื้นที่ในบ้านสามารถใช้เป็นที่ทำงานได้ หลายครั้งที่ความท้าทายในการออกแบบของเหล่าสถาปนิกคือการ รีโนเวท บ้านเก่าที่ทรุดโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และคงท้าทายไปอีกขั้นกับการรีโนเวตบ้านเก่าอายุร่วมสิบปีที่มีสเปซที่สวยงามอยู่แล้ว ให้ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีก อย่างเช่นบ้านหลังนี้ ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยเพียง 160 ตารางเมตร จึงถือเป็นโจทย์ท้าทาย ที่ทำให้ผู้ออกแบบต้องค้นหาคำตอบของการออกแบบ โดยมีความชอบ และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านทั้งสองที่หลงรักสไตล์การตกแต่งอย่างเรียบง่ายเป็นสมการสำคัญ  เพื่อให้ทุกสเปซในบ้านขนาดกะทัดรัดนี้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เจ้าของ: คุณดุษฎี บุญชัยศรี และ คุณสริตา อุสาหพานิช ออกแบบ: คุณไธปันฬ์ นพลัดดารมย์ เเละ คุณอิทธิวัฒน์ พูนธนาทรัพย์ จาก Thaipanstudio น้อยแต่มาก ‘LESS IS MORE’ คือคำอธิบายถึงความชอบและสไตล์การตกแต่งที่เจ้าของบ้าน ส่งต่อให้กับผู้ออกแบบ เพื่อนำไปตีความให้กลายเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมที่สามารถอยู่อาศัยได้ โดยผู้ออกแบบเริ่มจากศึกษา และค้นหาจุดเด่นเดิมของบ้านไปพร้อมกับการเปลี่ยนให้คำว่า “น้อยแต่มาก” เป็นรูปธรรมด้วยแนวคิดการออกแบบ จนมาลงตัวกับสไตล์ “สแกนดิเนเวียน” ที่เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศการใช้พื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยมด้วยแสงธรรมชาติ และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงฟังก์ชันแทนการกั้นผนังห้องแบบอับทึบ ช่วยให้พื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายโถงขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นทุกพื้นที่ถึงกันทั้งหมด โดยมีห้องครัวขนาดใหญ่แยกออกไปชัดเจนด้วยบานประตูกั้น ช่วยป้องกันกลิ่นและควันจากการทำอาหาร ทุกพื้นที่พร้อมสำหรับทำงาน พื้นที่อื่น ๆ ของบ้านมีหัวใจสำคัญของการออกแบบอยู่ที่ […]

INSIDE-OUT HOUSE โลกกลับด้านที่จับสเปซภายนอกมาไว้ในบ้าน

บ้านโมเดิร์นที่ออกแบบภายนอกทึบตันให้ตัดขาดจากโลกภายนอก ป้องกันเสียงรบกวนจากทางด่วน แต่สเปซภายในกลับเสมือนเป็นพื้นที่ภายนอก ด้วยการเปิด 5 คอร์ตเชื่อมต่อสเปซแนวตั้งและแนวนอน ให้แสงแดด สายลม และท้องฟ้าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านแบบเป็นส่วนตัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Krubka หากมองจากภายนอกบ้านจะเห็นแต่กรอบผนังทึบตันสีเข้มที่ดูตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง เพราะพื้นที่ตั้งของบ้านอยู่ท่ามกลางย่านที่พักอาศัยหนาแน่นมาก มีบ้านพักอาศัยล้อมรอบอาคารทั้ง 3 ด้าน ด้านหน้าบ้านเป็นถนนซอยแคบ อีกทั้งหลังบ้านยังอยู่ใกล้กับทางด่วนที่มีเสียงรบกวนสูง โจทย์จากเจ้าของบ้านที่ให้ไว้กับสถาปนิก – คุณดนัย สุราสา แห่ง Studio Krubka Co.,Ltd. คือต้องการความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด ไม่อยากให้คนภายนอกมองเข้ามาเห็นการใช้ชีวิตภายในบ้านได้เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่ชอบเสียงดัง แต่กลับชอบการใช้ชีวิตกลางแจ้ง และชอบระเบียงที่มีลมพัดผ่านตลอดเวลา ซึ่งมีความขัดแย้งค่อนข้างสูงกับบริบทที่ตั้งอาคาร การวางผังเรือนไทยจึงถูกนำมาพิจารณา และใช้เป็นแนวคิดตั้งต้นในการออกแบบวางผังบ้านหลังนี้ บ้านโมเดิร์นมีคอร์ต แนวคิดผังเรือนไทยในบ้านทึบ แน่นอนว่าไม่สามารถนำการวางผังแบบเรือนไทยมาใช้ได้แบบตรงไปตรงมา ผู้ออกแบบสังเกตว่าการวางผังเรือนไทยนั้น เป็นการจัดวางกลุ่มอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง โดยมีชานเป็นตัวเชื่อมกิจกรรมและกลุ่มอาคารต่างๆเข้าด้วยกัน การจัดวางตำแหน่งของอาคารแต่ละหลังนั้น เป็นการจัดวางที่คำนึงถึงทิศทางแดดและการระบายอากาศเป็นสำคัญ บ้านนี้ได้นำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการวางผังและการออกแบบรูปตัดของอาคาร เพื่อกำหนดการวางตัวของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง 5 คอร์ตเล็กใหญ่ที่สัมพันธ์กับแรงลม ออกแบบสเปซภายในบ้านให้กลุ่มของกิจกรรมแต่ละก้อนวางตัวเหลื่อมล้ำ สลับกันไปมาทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยคำนึงถึงทิศทางลมเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดคอร์ตขนาดน้อยใหญ่ขึ้นจำนวน 5 […]

CHIVI HOUSE บ้านอิฐ ที่เติบโตไปพร้อมกับเรา

บ้านอิฐ หลังเล็กชานเมืองดานังของเวียดนาม ดูเป็นมิตรด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่ตอบรับกับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น อีกทั้งยังทำให้บ้านเปลี่ยนแปลงและเติบโตตามกาลเวลาไปพร้อมกับผู้อยู่อาศัย ออกแบบ: Hinz Studio, Vietnam  หากกล่าวถึงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มาแรงในบรรดาประเทศเเถบอาเซียน “ประเทศเวียดนาม” ย่อมติด 1 ใน 3 อันดับแรกอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมของเวียดนาม ยังมีรูปแบบและการใช้วัสดุใกล้เคียงกับบ้านเรา อาทิ บ้านอิฐ ซึ่งส่งผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โครงการ Chivi House บ้านสองชั้นขนาดพอเหมาะ ผลงานจาก Hinz Studio สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม ที่มีประสบการณ์การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมด้วยอิฐมาแล้วหลายโครงการ ชื่อ Chivi House เกิดจากการรวมกันของชื่อลูกสาวทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน (Chi และ Vi) ด้วยขนาดกะทัดรัดเพียง 137 ตารางเมตร เเละตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของทางสามแยกพอดี ทำให้สถาปนิกเลือกดึงประโยชน์ของที่ตั้งมาใช้กับสเปซของบ้านให้ได้มากที่สุด ด้วยการวางตำแหน่งฟังก์ชันทางสัญจรอย่างบันได และห้องน้ำให้ชิดกับผนังด้านที่อยู่ติดกับที่ดินเพื่อนบ้าน โดยให้ผนังด้านนี้เป็นผนังทึบทั้งหมด ส่วนด้านหน้าบ้านและด้านที่ติดถนนได้ออกแบบช่องเปิด และก่อผนังอิฐ ที่มีการเว้นจังหวะให้เกิดช่องลมเพื่อ ให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้ตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวให้สมาชิกในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม นับเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง […]

บ้านโมเดิร์น สีขาว ที่ ออกแบบ ผัง วางสเปซแนวทะแยง และพรางตาด้วย ฟาซาด

บ้านโมเดิร์นสีขาว รูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวที่เกิดจากแนวคิดอันเรียบง่าย การออกแบบผังบ้านในลักษณะของรูปโดนัท มีคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของที่ดิน และสร้างสเปซที่เปิดมุมมองสู่ธรรมชาติ และสร้างบรรยากาศน่าสบายให้กับทุกมุมบ้าน เจ้าของ Gems Heritage Co., Ltd. ออกแบบ Archive Studio โทร. 0-2235-6695 แม้ภายนอกของ บ้านโมเดิร์นสีขาว ย่านลาดพร้าวหลังนี้จะดูมีเส้นสายโฉบเฉี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกรายละเอียดและทุกเส้นสายที่เกิดขึ้นล้วนมาจากเหตุและผลที่แสนเรียบง่าย  ซึ่งเป็นงานถนัดของ Archive Studio กับการออกแบบบ้านขนาด 2 ชั้นพร้อมพื้นที่ใช้สอยกว่า 533 ตารางเมตรของเจ้าของบ้านคู่แต่งงานใหม่ที่วางแผนจะมีลูกสองคนในอนาคต  โดยสร้างอยู่บนที่ดินว่างเปล่าใกล้กันกับบ้านเดิมของครอบครัว  ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ และฝ่ายภรรยามักอยู่บ้านเป็นหลัก  ทีมสถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบสเปซที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยให้กับเจ้าของบ้านในทุกมิติ  ทั้งงานสถาปัตยกรรม  งานตกแต่งภายใน  และภูมิสถาปัตยกรรม  เพื่อให้ทุกองค์ประกอบของบ้านเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน โดยทีมสถาปนิกได้คิดและออกแบบอย่างตรงไปตรงมา  ซึ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงกายภาพกับพื้นที่ข้างเคียง  ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบตำแหน่งและขนาดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ จนพัฒนาเป็นบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน   ด้วยลักษณะอันจำกัดของที่ดิน  จึงต้องสร้างอาคารให้ประชิดติดที่ดิน  เกิดเป็นการบังคับมุมมองให้เหลือเพียงด้านหลังที่ติดกับบึงน้ำทางทิศตะวันตก ผู้ออกแบบจึงตั้งใจเปิดมุมมองฝั่งนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับเจ้าของบ้าน โดยร่นระยะจากขอบที่ดินมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด  ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอย (Minimum Setback) แล้วออกแบบแปลนบ้านให้มีลักษณะคล้ายโดนัทหรือการมีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางบ้าน  นอกจากจะลดความอึดอัดจากการถูกปิดล้อมแล้ว  ยังทำให้ทุกฟังก์ชันในบ้านสามารถมองเห็นวิวคอร์ตยาร์ดได้  รวมถึงทำหน้าที่กระจายแสงธรรมชาติให้สามารถเข้ามาในบ้านได้อย่างทั่วถึง  ช่วยให้เกิดบรรยากาศชวนผ่อนคลายและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวความพิเศษของบ้านหลังนี้ นอกจากเรื่องฟังก์ชันทั่วไปแล้ว  ยังมีโชว์รูมจิเวลรี่ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฟังก์ชันพิเศษอันมีผลต่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม  เนื่องจากผู้ออกแบบต้องจัดวางฟังก์ชันเพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งานและการเข้าถึงอย่างชัดเจน  โดยไม่ทำให้เจ้าของบ้านต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว ฉะนั้นด้านขวามือของบ้านจึงถูกกำหนดให้เป็นส่วนของโชว์รูมจิเวลรี่  โดยสามารถเข้าถึงคอร์ตยาร์ดกลางบ้านได้เช่นเดียวกันส่วนเรื่องมุมมองความเป็นส่วนตัวนั้น ผู้ออกแบบได้ออกแบบฟาซาดจากคานเหล็กขนาดใหญ่ความยาวกว่า […]

บ้านทรงกล่องจากอิฐบล็อก เล็ก กะทัดรัด อยู่สบาย

การมีบ้านสักหลังอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าลองพิจารณาองค์ประกอบดูดีๆแล้ว ด้วยการออกแบบที่ดี บ้านขนาดเล็กราคาประหยัดและวัสดุที่ใช้งานได้ดีในราคาย่อมเยาก็อาจจะทำให้การมีบ้านสักหลังเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่คิดไว้ บ้านทรงกล่อง เรียบง่าย อยู่สบาย ราคาประหยัด คือคอนเซ็ปต์ของ Box House ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้ต่ำในโครงการ Vivex Community พูดง่ายๆก็คือเหมือนเป็นบ้านการเคหะบ้านเรานั่นเอง การออกแบบจึงต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่เรียบง่าย สามารถยืดหยุ่นต่อการใช้งาน และต่อยอดการใช้งานได้ในอนาคต วัสดุที่ถูกเลือกมาใช้จึงเป็นวัสดุอิฐบล็อก หรือคอนกรีตบล็อกนั่นเอง จากขนาดที่ดินมาตรฐานของโครงการ นั่นคือ 7×15 เมตร การออกแบบจึงเป็นการจัดการกับพื้นที่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แม้ว่าที่ดินจะมีหน้ากว้างเพียง 7 เมตร แต่ด้วยการออกแบบผังให้เป็นอาคารหน้ากว้าง 5 เมตร ทิ้งพื้นที่ 2 เมตรเอาไว้ที่ข้างบ้านก็ทำให้บรรยากาศของบ้านนั้นดูโปร่งโล่งมากยิ่งขึ้น ภายนอกนั้น ส่วนพื้นที่ด้านข้างสามารถเป็นพื้นที่หย่อนใช้ ทำงานช่าง และเป็นซักล้างที่ด้านใน ส่วนทานข้าวและนั่งเล่นนั้นมีผนังกระจกขนาดใหญ่เพื่อทำให้บรรยากาศภายในดูโปร่งโล่ง และรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเป็นการประหยัดพลังงานไปในตัว แม้ว่าจะเปิดผนังกระจกจากพื้นจรดเพดาน แต่ด้วยทิศที่ไม่รับแดดบ่าย แสงที่ได้จึงไม่ทำให้บ้านร้อนเท่าใดนัก ด้านในของชั้นล่างจะเป็นพื้นที่ห้องนอนที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกเดินขึ้นบันได เมื่อเดินขึ้นไปยังชั้นสองจะเป็นห้องนอนอีกสองห้องซึ่งสามารถปรับการใช้งานห้องนอนชั้นล่างให้กลายเป็นห้องทำงานได้ อาคารทั้งหลังนั้นใช้การก่อสร้างโดยมีองค์ประกอบหลักคืออิฐบล็อก ส่วนหนึ่งเพราะจุดประสงค์ในการสร้างโอกาสในการมีบ้านให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นช่างก่อสร้าง ให้สามารถจัดการก่อสร้างบ้านของตัวเองได้ และนั่นจะทำให้บ้านหลังนี้มีต้นทุนที่ถูกลงไปอีกมาก ทั้งจากวัสดุก่อสร้างที่ได้รับการสนับสนุนมา แรงงานที่จัดการก่อสร้างด้วยตนเอง และแบบบ้านที่ออกแบบมาเพื่อให้สร้างได้สะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าจะเป็นบ้านขนาดย่อมราคาประหยัด แต่ก็ดูดีมากเลยทีเดียว […]

GARAGE HOUSE บ้านกึ่งอู่รถยนต์ที่สร้างการอยู่ร่วมแบบตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง

พื้นที่ซึ่งสะท้อนความชื่นชอบในเรื่องรถยนต์อย่างแจ่มแจ้งของผู้เป็นเจ้าของ ที่ได้รับการออกแบบโดยแบ่งแยกส่วนพักอาศัย กับพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์ความฝันในวัยเด็กอย่างเป็นสัดส่วนลงบนที่ดินผืนเดียวกันอย่างลงตัว

SHADE HOUSE บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่สร้างสรรค์โดยธรรมชาติ

เมื่อมองจากภายนอก อาจเห็นเป็นเพียง บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่โดดเด่นจากบริบทรอบ ๆ ทว่าในความเป็นจริง  ใจความสำคัญของที่นี่คือ การสร้างคุณภาพชีวิตของเจ้าของบ้านให้ดียิ่งขึ้นในทุกวัน โดยให้สถาปัตยกรรมทำหน้าที่หลอมรวมระบบนิเวศเข้ามาทีละน้อย ๆ จนถึงวันหนึ่งที่ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน นั่นจึงเป็นความสมบูรณ์แบบของการอยู่อาศัยที่แท้จริง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design  บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่ภายในอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดการออกแบบที่น่าสนใจ มีจุดเริ่มต้นมาจากเจ้าของบ้านที่ต้องการสร้างบ้านสำหรับใช้ชีวิตในวัยเกษียณ โดยมีโจทย์ว่าบ้านต้องมีความโมเดิร์น และอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ คุณอยุทธ์ มหาโสม จาก Ayutt and Associates design (AAd) จึงออกแบบบ้านหลังนี้ให้มีความถ่อมตน และน้อมรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสถาปัตยกรรม วางแผนให้บ้านขาวกลายเป็นสีเขียว บ้านหลังนี้ได้รับการวางแผนให้มีพื้นที่สีเขียวถึง 150 เปอร์เซ็นต์ในอนาคต ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายอาคารกำหนดไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์เสียอีก ด้วยการเพิ่มต้นไม้ลงไปในแทบทุกส่วนของบ้าน เช่น การเปลี่ยนพื้นที่ดาดฟ้าไว้ปลูกต้นไม้ รวมถึงพื้นที่สีเขียวแนวตั้งที่เข้ามาเติมบรรยากาศให้บ้านสีขาว เปรียบเสมือนตัวบ้านเป็นผ้าแคนวาสขนาดใหญ่ที่ถูกแต่งแต้มด้วยสีเขียวหลากหลายเฉดสีจนเต็ม “ผมมีหน้าที่ออกแบบบ้านให้ดีที่สุด ส่วนบ้านจะเติบโตหรือเปลี่ยนเฉดสีไปอย่างไร หลังจากนี้ ให้เป็นเรื่องราวของเจ้าของบ้านกับระบบนิเวศ สำหรับงานส่วนใหญ่ของ AAd นั้น […]

WHITE SKUBE HOUSE พื้นที่น้อย ฟังก์ชันเยอะ แต่ลงตัวด้วยการแบ่งสัดส่วนพื้นที่

แบบบ้านโมเดิร์น ตัวอาคารถูกทาทับด้วยสีขาวอย่างประณีตเพื่อให้ความรู้สึกสงบ เรียบง่าย ท่ามกลางบริบทโดยรอบที่มีความสับสบวุ่นวายและกลบความไม่สมบูรณ์ที่เกิดขึ้น

รีโนเวททาวน์เฮ้าส์เป็น โฮมออฟฟิศ เก๋กลางกรุง

โฮมออฟฟิศ ของสตูดิโอออกแบบ Top-notch Designer ที่โปร่งโล่งและตอบโจทย์ทั้งการใช้ชีวิต และการทำงาน เกิดจากการรีโนเวททาวน์เฮ้าส์ใจกลางกรุง โดยรื้อผนังเดิมของแต่ละชั้นออก พื้นที่ภายในบ้านจึงกลายเป็นเหมือนสตูดิโอขนาดย่อม ที่แบ่งฟังก์ชั่นใช้สอยสำหรับแต่ละชั้นอย่างชัดเจน พร้อมตกแต่งให้มีบรรยากาศที่แตกต่างกัน หลังจากคลุกคลีและสั่งสมประสบการณ์อยู่ในวงการงานออกแบบภายในและเฟอร์นิเจอร์มานาน ในที่สุดก็ถึงจังหวะเวลาที่จะได้ออกแบบบ้านของตนเอง คุณนลินี เธียรศิริพิพัฒน์ อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ และเจ้าของบริษัท Topnotch Designer ที่ใช้ชีวิตอยู่คอนโดมิเนียมมาโดยตลอด เธอได้ตัดสินใจแปลงโฉมทาวน์เฮ้าส์หลังใหม่ใจกลางเมืองให้กลายเป็น โฮมออฟฟิศ หลังแรกสำหรับการใช้ชีวิตและเป็นสถานที่ทำงานไปในเวลาเดียวกัน  “ก่อนจะมีบ้านหลังนี้ก็ใช้ชีวิตอยู่คอนโดมาตลอด พอเริ่มขยับขยายก็ลังเลว่าจะเลือกซื้อเป็นบ้านหรือคอนโดดี ด้วยงบประมาณที่ตั้งไว้เราสามารถมีคอนโดขนาด 50 ตารางเมตร ที่ทองหล่อได้ แต่ถ้าเป็นบ้านหลังนี้ เราจะได้พื้นที่ 3 ชั้น ตกชั้นละ 50 ตารางเมตร จึงน่าจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์เรื่องพื้นที่ได้มากกว่า เพราะเราเป็นคนของเยอะ อีกอย่าง ทำเลของบ้านก็ไม่ได้ไกลจากเอกมัย และทองหล่อมากนักก็เลยมาลงตัวที่โครงการนี้ค่ะ” ยกเครื่องทาวน์เฮ้าส์ เมื่อได้โครงการบ้านที่สามารถตอบโจทย์เรื่องไลฟ์สไตล์ได้แล้ว งานยากลำดับถัดมาคือ การรีโนเวตทาวน์โฮมขนาด 3 ชั้น ซึ่งคำว่า “ยกเครื่อง” ใหม่ดูเหมือนจะไม่ได้เกินจริงเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากทันทีที่ตัดสินใจรีโนเวตบ้าน คุณนลินีได้ทำการรื้อผนังบ้านทั้ง 3 ชั้นออก เหลือไว้แต่เพียงโครงสร้างเพื่อให้บ้านโปร่งโล่งสบายและมีฟังก์ชันตรงกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด ภายใต้แนวคิดการออกแบบว่า […]

บ้านหน้าแคบ เล็ก(สวน)ภายในใหญ่ เปิดรับธรรมชาติแบบทอปปิคัลด้วยบล็อกช่องลม ในประเทศเวียดนาม

บ้านหน้าแคบ ที่มีหน้าบ้านเล็ก แต่สวนภายในเปิดกว้างสอดรับกับห้องรับแขกหลังนี้ มีการเปิดรับธรรมชาติแบบทอปปิคัลด้วยบล็อกช่องลมจากภายใน สร้างความเป็นไปได้ในการให้ธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสภาวะสบายให้กับบ้าน ลงตัวทั้งทิศแดด ลม และการกันฝนไปพร้อมๆกัน ออกแบบ : 90°design ประเทศเวียดนาม บ้านหน้าแคบ หลังนี้สร้างขึ้นบนที่ดินเดิมของเจ้าของบ้านซึ่งมีลักษณะหน้าแคบแต่เปิดกว้างในส่วนท้าย นี่จึงเป็นโจทย์ท้าทายให้สถาปนิก 90odesign ต้องออกแบบบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่โดดเด่นด้วยบรรยากาศแบบทรอปิคัลโดยซ่อนสวนอยู่ด้านใน ด้วยต้องการความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน บ้านหลังนี้จึงมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่ภายในและสวนข้างบ้าน อันถือเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับสร้างความผูกพันของคนครอบครัว ให้สามารถออกมาใช้เวลาว่างพักผ่อนร่วมกันได้ บรรยากาศแบบทรอปิคัลของประเทศเวียดนาม รวมถึงการเลือกวางตัวบ้านให้เป็นแนวยาว จึงสามารถเปิดพื้นที่ด้านข้างที่ค่อย ๆ ขยายจากพื้นที่ด้านหน้าให้กลายเป็นสวนได้ ช่วยสร้างความสดชื่นให้กับพื้นที่นั่งเล่น โต๊ะรับประทานอาหารครัว และห้องนอนใหญ่ไปพร้อม ๆ กัน จากนั้นจึงเผื่อพื้นที่ด้านหลังเป็นห้องนอน ห้องน้ำ และลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ โดยสามารถเข้าถึงได้จากทางสัญจรข้างบ้าน นอกจากใช้เป็นวิวให้กับบ้านแล้ว แสงธรรมชาติที่ส่องผ่านสวนเข้ามา ยังเติมเต็มพลังงานดี ๆ ให้ไหลเวียนไปยังทุกพื้นที่.และอีกสิ่งหนึ่งที่เด่นชัดของบ้านหลังนี้ก็คือ การเลือกใช้ “บล๊อกช่องลม” เป็นวัสดุกรุผนังหน้าบ้าน ยอมให้ลมสามารถพัดผ่านจากหน้าบ้านเข้าไปยังสวน และเข้าสู่ตัวบ้านผ่านบานเปิดกระจกตลอดแนวอาคาร เป็นความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเสน่ห์ของภูมิอากาศแบบร้อนชื้นแสนชุ่มฉ่ำ เติมเต็มความสุขให้กับบ้านอย่างที่ภูมิประเทศแถบอื่นให้ไม่ได้ บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการพื้นที่เเบบแคบยาว และอาจจะรวมถึงที่ดินที่มีรูปทรงไม่ปกติ ทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากภูมิอากาศและเปิดรับธรรมชาติในจังหวะที่น่าสนใจ เหมาะกับใครที่กำลังมีแผนจะรีโนเวต หรือสร้างบ้านในพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างยิ่ง ภาพ : Cung […]

MT HOUSE บ้านหลังเล็ก แต่จัดสรรพื้นที่ใช้สอย 100 ตารางเมตร อย่างชาญฉลาด

บ้านหลังเล็ก หลังนี้มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการของผู้อาศัย ซึ่งอยากมีพื้นที่ใช้งานขนาดกะทัดรัดสำหรับสองชีวิตที่ครบถ้วนและสะดวกสบาย โดยมีโจทย์สำคัญสำหรับสถาปนิกในการออกแบบและจัดสรรพื้นที่อย่างชาญฉลาดและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

เมื่อคู่สามีภรรยาลุกมาทำบ้านให้เป็นที่ที่สามารถรกและเลอะเทอะได้

ห้องสุดเท่ที่อนุญาตให้รกและเลอะเทอะได้อย่างมีสไตล์ กับ Dwelling With Independent Concrete Block Wall  ห้องพักที่ Asano – Izue Architect Office ออกแบบให้คู่สามีภรรยาได้ทำตามใจปรารถนาด้วยแนวคิดที่แยบยล