MOUNTAIN HOUSE IN MIST บ้านจีนโบราณ ที่กลายมาเป็นห้องสมุดของชุมชน

บ้านจีนโบราณ ที่กลายมาเป็น ห้องสมุดชุมชน กับการเปลี่ยนพื้นที่ว่างใกล้จัตุรัสของหมู่บ้านในเมืองจินหัว ประเทศจีน ให้กลายเป็นอาคารสไตล์จีน

T-HOUSE NEW BALANCE STORE รื้อโกดังเก่ามาประกอบร่างใหม่ซ่อนไว้หลังผนังสีขาว

พาไปสำรวจโครงการ T-HOUSE ซึ่งเป็นสโตร์ของ New Balance ในญี่ปุ่น ที่รื้อโกดังเก่ามาประกอบร่างใหม่ซ่อนไว้หลังผนังสีขาว

ATHLETIA แฟล็กชิพสโตร์ที่ใช้วัสดุย่อยสลายง่ายและไม้เบิร์ชจากป่าปลูกมาตกแต่ง

เจาะแนวคิดแฟล็กชิพสโตร์ของแบรนด์ Athletia ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบรนด์ใหม่ในเครือ e’quipe ที่ตกแต่งด้วยวัสดุย่อยสลายง่าย และใช้ไม้เบิร์ชคัดสรรจากป่าปลูก

DEGUCHISHOTEN ปรับปรุงโรงเก็บของเสื่อมโทรมให้กลับมาสวยด้วยสังกะสี

Deguchishoten เป็นโครงการปรับปรุงโรงเก็บของเก่าของร้านขายส่งสุราในเขตโอะฮะระ เมืองอิสุมิ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร้านค้าแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1911 ก่อนถูกปล่อยทิ้งร้างมานานนับตั้งแต่เจ้าของอาคารเสียชีวิตลง จนมีสภาพเสื่อมโทรมตามกาลเวลา

HAPPYNEST OFFICE ออฟฟิศน่าใช้งานที่ปรับปรุงจากอาคารที่เคยสร้างไม่เสร็จ

แม้ไม่ใช่ผู้ออกแบบตั้งแต่ต้น  ทว่า FATTSTUDIO ผู้รับหน้าที่ออก แบบออฟฟิศ “Happynest Office” ก็อธิบายถึงแนวคิดเบื้องหลังการปรับปรุงอาคารที่เป็นผลงานล่าสุดของพวกเขา ซึ่งเคยเริ่มสร้างไปแล้วบางส่วน ก่อนพวกเขาจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบและฟังก์ชันใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้งานจริงไว้อย่างน่าสนใจ

CHICKENVILLE หมู่บ้านที่สร้างขึ้นมาเพื่อการศึกษาโดยมีประชากรทั้งหมดเป็นไก่

Chickenville หรือ Kokošvaroš ตั้งอยู่ใน Rakov Potok หมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้กับเมือง Samobor ประเทศโครเอเชีย โครงการนี้ไม่เพียงแต่เป็นฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาเพื่อการศึกษาอีกด้วย

HOUSE VISION บ้านทดลองที่ให้ “หน้าต่าง” ทำหน้าที่แทน “ประตู”

HOUSE VISION TOKYO คือนิทรรศการงานออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม สำหรับครั้งนี้มาภายใต้โจทย์ “ Co-Dividual: Split and Connect / Separate and Come Together” โดยมีความมุ่งหวังที่จะเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม และจุบรรจบของอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดผลงานออกแบบ HOUSE VISION ที่ถูกสร้างจริงคือผลงานการออกแบบนาม “Between Inside and Outside / Between Furniture and a Room” โดย TOTO · YKK AP × Atsushi Igarashi Taiji Fujimori กับรูปแบบบ้านแปลกตาที่แตกแขนงพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากจุดศูนย์กลาง เวลานึกถึง “หน้าต่าง” เราจะพยายามหาดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ให้กับความเป็นหน้าต่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับ “ภาพตัดขวาง” ของหน้าต่าง […]

FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”

ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง  ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]

THE COMMONS SALADAENG สถาปัตยกรรมที่ดึงผู้คนให้ออกมาใช้ชีวิตแบบคอมมูนิตีใจกลางกรุง

สถาปัตยกรรมคอมมูนิตีมอลล์สีแดง ที่ยืดหยุ่นและถ่อมตัวเข้าหากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจากผู้คน สอดคล้องกับคำว่า Space for Community อย่างแท้จริง

CENTRAL: THE ORIGINAL STORE ย้อนตำนานร้านค้าปลีกแห่งแรกของเซ็นทรัล

CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  กับการชุบชีวิตอาคารหลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ให้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวของเซ็นทรัล เมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจร้านค้าปลีกเล็ก ๆ  เพื่อให้ที่นี่เป็นดังไทม์แมชชีนพาย้อนเวลาไปยังตำนานก้าวแรกของเซ็นทรัล เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่21 นับเป็นเวลากว่า 73 ปี ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปดำเนินกิจการในฐานะห้างสรรพสินค้าชั้นนำของเมืองไทย โดยในระหว่างทางหากย้อนไปในช่วงปีพ.ศ.2493 ความรุ่งเรืองของเซ็นทรัลเริ่มก่อรูปร่างขึ้นภายในอาคาร 2 ชั้น 1 คูหา ริมถนนเจริญกรุง กับกิจการร้านขายหนังสือและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ชื่อว่า “ห้างเซ็นทรัล เทรดดิ้ง” ก่อนปีพ.ศ.2499 จะขยายธุรกิจก่อตั้งห้างสรรพสินค้าในชื่อ “เซ็นทรัล” ขึ้นในย่านวังบูรพา ซึ่งนับเป็นห้างสรรพสินค้าที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในไทยเวลานั้น พร้อมยกระดับการบริการลูกค้าแบบเป็นสากล ซึ่งมีทั้งการติดป้ายราคา การทำบาร์โค้ด รวมถึงการทำโฆษณา พร้อมปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนครอบครัวจิราธิวัฒน์สามารถขยายสาขาครอบคลุมทั่วทั้งประเทศในทุกวันนี้ CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  และสำหรับปี พ.ศ.2563 สินทรัพย์ชิ้นแรกของกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลอย่างบ้านเลขที่ 1266 หลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ได้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในรูปแบบดีไซน์ที่ร่วมสมัย บนโครงสร้างของตัวอาคารเก่าดั้งเดิม ในนาม CENTRAL: THE ORIGINAL STORE […]

ชมศิลป์ในถิ่นกลางเมืองก่อนงาน BAB 2020

เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นี้มีกำหนดจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี และสำหรับครั้งนี้ BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 ได้กลับมาปลุกความอาร์ตให้กรุงเทพฯ ที่กำลังเผชิญหลายวิกฤตให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง พร้อมสร้างความอลังการและความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะไทยกับแนวคิดหลักสุดท้าทาย “Escape Routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” อ่าน : 3 ภัณฑารักษ์ไทย เปิดตัวรายชื่อ 16 ศิลปินกลุ่มแรกที่พร้อมมาจัดแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ BANGKOK ART BIENNALE 2020 โดยมีหัวเรือใหญ่อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ผสานความร่วมมือครั้งกับภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย บอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมาเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก กำหนดเวลาการจัดงาน ผู้สนใจสามารถมาเยี่ยมชมได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มกราคม […]

MARSOTTO MILAN SHOWROOM โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์หินอ่อนที่เหมือนหลุดเข้าไปในอีกมิติ

ร้านเฟอร์นิเจอร์ ที่เหมือนหลุดเข้าไปในอีกมิติ ที่นี่คือ Marsotto Milan Showroom โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์หินอ่อนจากอิตาลี Marsotto Edizioni ที่ออกแบบโดย Nendo

เสพศิลป์กินอร่อยที่ Thai Taste Hub – Mahanakhon Cube

พื้นที่ทางอาหารตาและอาหารใจแห่งใหม่ในย่านสีลมและสาทร ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์ (Thai Taste Hub Mahanakhon CUBE) เปิดประสบการณ์ใหม่ความอร่อยของสุดยอดร้านอาหารที่คัดสรรแล้ว กับสุดยอดร้านดังระดับตำนานที่พร้อมเสิร์ฟความอร่อยสูตรต้นตำรับ พร้อมเมนูเด็ดจากร้านที่ได้รับการการันตีความอร่อยจาก Michelin Guide ที่รวบรวมไว้ในที่เดียว โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 อ่าน : มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ และมากกว่านั้น ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์ ยังนำเสนองานศิลปะที่น่าสนใจจาก 5 ศิลปินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โลเล พิม ก้องกาน เบนซิลล่า และเบียร์พิช ที่มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทั้งบนกำแพง พื้นทางเดิน หรือบนโต๊ะอาหาร ของการออกแบบสไตล์ ชิโนโปรตุกีสขนาด 640 ตารางเมตรที่ดูคล้ายย่านเมืองเก่า เพื่อให้ผู้มาเยือนได้อิ่มเอมไปกับทั้งศาสตร์ของอาหารควบคู่งานศิลปะร่วมสมัย ตอกย้ำการเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ที่เหล่านักชิมและคนเมืองไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง BENZILLA ประเภท Street Art […]

THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง

ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]

TARA VILLA การตีความใหม่ของเสน่ห์เมืองกาญจนบุรี

Tara Villa โรงแรมที่จะลบภาพจำเดิม ๆ เมื่อพูดถึงกาญจนบุรีออกไป “เที่ยวเมืองกาญฯ” คำ ๆ นี้ หลายท่านมักจะนึกถึงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ทางรถไฟสายมรณะ และช่องเขาขาด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่โด่งดัง อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีเสน่ห์ชวนหลงใหล โดย Tara Villa โรงแรมที่ออกแบบโดย เป้ จีรเวช หงสกุล แห่ง IDIN Architects เลือกที่จะเล่าเรื่องราวของห้วงเวลาแห่งการเดินทาง กลิ่นอายบรรยากาศธรรมชาติและแม่น้ำแคว ให้แปรเปลี่ยนไปในรูปของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมอันน่าสนใจ ผลงานอื่นๆ : CHUI FONG TEA-CAFÉ จิบชากลางไร่ที่ไร่ชาฉุยฟง จากด้านหน้าของโรงแรมจะเริ่มที่โถงทางเข้า และบริเวณต้อนรับในรูปแบบที่แปลกตา สถาปนิกออกแบบแนวกำแพงจากวัสดุผนังดินอัด ซึ่งก่อสร้างจากดินที่ขุดขึ้นมาระหว่างปรับพื้นที่ในบริเวณโรงแรมนี้เอง สีของผนังดินอัด และลักษณะลวดลายที่เกิดขึ้น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่จะเห็นได้เฉพาะที่ Tara Villa แห่งนี้ เท่านั้น “ดินที่นี่จะมีสีออกเหลืองนวลกว่าที่อื่น​ ไม่ใช่เพียงการใช้ประโยชน์จากดินที่ขุดขึ้นมา แต่กำแพงดินอัดนี้จะกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนที่ไหนเป็นสตอรี่เฉพาะของที่นี่ไปด้วยในตัว” คุณเป้ได้บอกกับเรา “ด้วยคุณสมบัติที่แตกต่าง​กันของดินแต่ละที่ ชั้นดินอัดที่เหมาะสมของที่นี่จะบางกว่าที่อื่น คือชั้นละ​ 5-7 เซนติเมตร​ ซึ่งกว่าจะได้ผนังทั้งหมดมา ต้องผ่านการทดลองอยู่นานทำให้งานล่าช้าออกไปเป็นปี […]

ORGANICARE SHOWROOM โชว์รูมขายน้ำปลาที่ชูคุณค่าผลิตภัณฑ์และวัสดุดั้งเดิมของเวียดนาม

โชว์รูมขายน้ำปลาที่ไม่ธรรมดาแห่งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ Tropical Space ที่มีสไตล์การออกแบบที่ชัดเจนอย่างการเน้นใช้ “อิฐ” มาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างอาคารหลาย ๆ แห่ง เพราะอิฐถือเป็นวัสดุดั้งเดิมที่มักนำมาสร้างที่พักอาศัยของเวียดนาม จนนำมาสู่การออกแบบ Organicare Showroom ซึ่งมีวัตถุประสงค์เปิดเป็นโชว์รูมขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ผลิตจากธรรมชาติ อิฐจึงกลายเป็นตัวแทนเพื่อบอกเล่าความหมายเชิงนัยเช่นเดียวกันนี้ไปพร้อมกัน จากอาคารเก่าที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2518 ในย่านถนนเลอวานซี สตรีท (Le Van Sy Street) กลางกรุงโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่นี่เคยได้รับการเปลี่ยนมือและต่อเติมแก้ไขใหม่อยู่หลายครั้ง กระทั่งล่าสุดกับการรีโนเวตใหม่เป็นโชว์รูมแห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นอาคารที่โดดเด่นกว่าใครในย่าน ด้วยฟาซาดที่ทำจากก้อนอิฐเรียงซ้อนกันขึ้นไปอยู่บนโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะพาทุกคนเข้าสู่พื้นที่ภายในซึ่งใช้วัสดุชนิดเดียวกันในการจัดวางสินค้า O rganicare Showroo ภายใต้โจทย์ที่ต้องการยกย่องคุณค่าผลิตภัณฑ์อย่าง น้ำปลา ซึ่งมีที่มาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของเวียดนาม นอกจากนั้นทีมสถาปนิกยังต้องการยกย่องคุณค่าของอิฐมอญวัสดุแบบดั้งเดิมไปพร้อมกันด้วย นั่นจึงนำมาสู่การออกแบบร้านค้าที่ผสมผสานระหว่างอิฐกับโครงสร้างเหล็กที่ดูแข็งเเรง สำหรับทำเป็นชั้นโชว์สินค้า ขณะที่ด้านหน้าก็กลายเป็นส่วนตกแต่งอาคาร หรือฟาซาดไปในตัว m โดยระบบเฟรมที่เห็นนี้ สามารถถอดออก หรือปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับขนาดของผลิตภัณฑ์ที่นำมาวางจำหน่ายนั้น ๆ และในช่องว่างบางส่วนยังใช้วางกระถางต้นไม้ ช่วยประดับตกแต่งร้านให้มีบรรยากาศสดชื่น เบรกความดิบกระด้างของโครงสร้างทั้งหมดได้เป็นอย่างดี     ออกแบบสถาปัตยกรรม […]

CAPELLA UBUD HOTEL เต็นท์กลางป่าฝนลึกลับจากตำนานของนักเดินทางชาวดัทช์

แคปแพลล่าคือเครือโรงแรมที่ดีเป็นอันดับที่สองของโลก โดย CAPELLA UBUD HOTEL สาขานี้ตั้งอยู่ในเมืองอูบุด บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ถูกโหวตให้เป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในโลก หรือ ‘No. 1 Hotel in the World’ โดยนิตยสารท่องเที่ยว Travel + Leisure จากตำนานเรื่องเล่าของกลุ่มผู้บุกเบิกชาวดัทช์ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล และเกิดอุบัติภัยทางน้ำทำให้เรือแตก และทำการตั้งแคมป์บนดินแดนเกาะบาหลีแห่งนี้เมื่อสมัยคริสต์ศตวรรษ 1800 สู่โรงแรมสุดหรู CAPELLA UBUD HOTEL ที่ออกแบบเสมือนเต็นท์ 22 หลังที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าฝนลึกลับผืนนี้ ที่สุดของความท้าทายในการออกแบบที่นี่ คือการวางตำแหน่งของเต็นท์แต่ละหลังอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการทำลายป่าให้น้อยและเเตะผืนดินอย่างแผ่วเบาที่สุด โดยผู้ออกแบบอย่าง Bill Bensley นักออกแบบที่ควบตำแหน่งสถาปนิก อินทีเรียร์ และภูมิสถาปนิก ซึ่งมีออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยของเรานี้เอง โดยในงานนี้ Bill ได้โน้มน้าวให้เจ้าของเปลี่ยนจากสร้างอาคารมาเป็นเต็นท์ขนาดเล็กที่แทรกตัวอยู่ในป่าแทน ทำให้ท้ายที่สุดไม่มีต้นไม้ต้นใดถูกตัดโค่นแม้แต่ต้นเดียว ทุกหลังจึงยังคงมองเห็นทัศนีภาพของราวป่าที่สวยงาม ซึ่งผืนป่าแห่งนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิดที่จะมาส่งเสียงเจื้อยเเจ้วในตอนเช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุนทรียภาพให้กับคุณ ขณะกำลังพักผ่อน หรือแหวกว่ายอยู่ในสระว่ายน้ำส่วนตัว เต็นท์ทั้ง 22 หลังได้รับการออกแบบให้ไม่เหมือนกันสักหลังตามคาแร็กเตอร์ของนักเดินทาง เช่น […]

OIKUMENE CHURCH โบสถ์ไม้ในคราบโรงนาสุดโมเดิร์น

โบสถ์ไม้โมเดิร์น หรือคริสตจักร OIKUMENE แห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นอย่างกะทันหันเพื่อรองรับคริสตศาสนิกชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะกาลิมันตัน หรือเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนงานในไร่และมีบ้านเรือนข้างเคียง โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในงาน CSR ของบริษัท PT. KMS ที่ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร แนวทางการออกแบบ โบสถ์ไม้โมเดิร์น แห่งนี้เริ่มต้นมาจากความต้องการสร้างอาคารโดยใช้วัสดุเพียงชนิดเดียวเท่านั้น และ “ไม้” คือคำตอบของวัสดุหลักดังกล่าว เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่เป็นไม้ Bengkirai, Kapur และ Meranti ซึ่งเป็นเศษไม้ที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่วนฟาซาดอาคารเลือกใช้ไม้ Rimba และใช้ไม้ Meranti ในการตกแต่งภายใน โดยแนวคิดนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก Rumah Betang บ้านแบบดั้งเดิมที่มีลักษณะเป็นอาคารแนวยาวที่ใช้วัสดุท้องถิ่นมาก่อสร้าง และในเชิงปรัชญาโบสถ์นี้ออกแบบเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า พระเจ้าช่วยมวลมนุษย์ให้หลุดพ้นจากบาปได้อย่างไร ผ่านงานสถาปัตยกรรมนี้ ด้วยการออกแบบหลังคาให้มีความลาดเอียงที่ถูกค้ำจุนไว้ด้วยผนังของโบสถ์ การตกแต่งภายในคำนึงถึงการใช้งานของโบสถ์เป็นหลัก รวมไปถึงพื้นที่ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ที่สำคัญคือการออกแบบให้อิงกับสภาพอากาศในท้องถิ่นของที่ตั้ง ซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงในช่วงเวลากลางวัน โดยออกแบบหลังคาให้มีลักษณะซ้อนกันเเบบมีช่องว่าง เพื่อให้ความร้อนลอยตัวขึ้นที่สูง และระบายออกไปได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้อากาศภายในโบสถ์เย็นสบาย แทบไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเลย ความท้าทายของโปรเจ็กต์นี้ที่อดกล่าวถึงไม่ได้ คือรายละเอียดกระบวนการเลือกใช้ไม้และดีเทลของงานไม้ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการคัดเเยกเเละเลือกไม้ Bengkira ให้เหมาะสมกับการใช้งานเเต่ละส่วนค่อนข้างนาน […]