A Conversation with TIDA สนทนากับนายกสมาคมมัณฑนากรฯ คุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล

วันนี้ บ้านและสวน ได้มีโอกาสสนทนากับมัณฑนากรมากฝีมือผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมานาน นั่นคือคุณเป้า-วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท P49 Deesign and Associates และนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) ในปัจจุบัน โดยสิ่งที่ได้พูดคุยนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพของวงการที่คุณเป้าได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงมาตลอด เรื่องของรางวัล TIDA Awards ที่ได้กลับมาจัดอีกครั้งในรอบ 10 ปี ไปจนถึงเรื่องของผลกระทบจาก Covid-19 ที่มีต่อวงการมัณฑนากร รวมไปถึงบทบาทของ TIDA ว่าอะไรคือสิ่งที่สมาคมมัณฑนากรฯ ตั้งใจพัฒนาและผลักดันต่อไปในอนาคต อ่าน : TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย “สำหรับ TIDA Awards ในอนาคต  เราได้ขยายสาขารางวัลขึ้นมาเพิ่มเติม เพราะอยากให้ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ตาม อยากให้เขามีเป้าหมาย ได้รับการพูดถึงมากขึ้น มีรางวัลให้กับเขา ในทางกลับกันพอประเภทของรางวัลมีเยอะขึ้น ความหลากหลายของงานที่จะเข้ามาและความน่าสนใจดี ๆ ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน” Q. อยากให้พี่เป้าช่วยเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการมัณฑนากรที่มองเห็นจากสายตาของพี่ ว่ามีอะไรที่แตกต่างไปบ้างจากอดีตจนถึงปัจจุบัน? คุณเป้า […]

we!park แพลทฟอร์มที่ชวนให้ทุกคนเป็นเจ้าของสวนในเมือง

we!park องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วยการหยิบพื้นที่ว่าง หรือยกพื้นที่รกร้างในเมืองกรุงมาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า เมืองนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่?  แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก หรือ Pocket Garden ได้ในทุก ๆ 400 เมตร โดยแพลตฟอร์มนี้เกิดจาก คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า หากเรามีองค์ความรู้เรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และความรู้สึกอยากช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการสร้างสวน หรือพื้นที่สาธารณะ จะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร หรือหากองค์กรไหนมีเงินทุนที่สนใจจะสร้างสวนสาธารณะ เขาต้องเดินเข้าไปติดต่อหน่วยงานไหน  นำมาสู่การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเชื่อม “หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน” เข้าหากัน โดยปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหลัก wepark “เราทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการเชื่อม เช่น ใครมีที่ดินว่างเอามา เดี๋ยวเราเชื่อมกับหน่วยงานรัฐให้ หานักออกแบบมาให้ หรือใครมีเงินอยากบริจาคเพื่อทำสวน เราก็ดูว่าทางกทม.กำลังมีโครงการแบบนี้อยู่ไหม กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการช่วยดึงทรัพยากร โดยเราใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคือคุยกับชุมชน คุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำความรู้กลางมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ” เริ่มต้นจากสวนขนาดเล็ก “ตอนนี้เราเน้นขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สวนขนาดเล็ก หรือ Pocket Park […]

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

ฮ่องเต้ กนต์ธร พิธีกรช่างประจำบ้านที่เริ่มวาดรูปตั้งแต่สองขวบ จวบจนมีนิทรรศการเป็นของตัวเอง

ฮ่องเต้ กนต์ธร ทำความรู้จักชายมากความสามารถที่เป็นทั้งศิลปิน นักออกแบบนิทรรศการ พิธีกร ภัณฑารักษ์ และอีกหลายบทบาท ผ่านงานศิลปะที่บอกเล่าเรื่องความเท่าเทียม

แก่นแท้ทางความคิด และสนามซ้อมใหญ่ของ TRIMODE

ชินภานุ อธิชาธนบดี, ภิรดา และภารดี เสนีย์วงษ์ ณ อยุธยา ตัดสินใจย้ายสำนักงานของ Trimode Studio ออกจากบ้านพักอาศัยในซอยลึกมาอยู่บนตึกริมถนนเจริญกรุง ช่วงบรรจบระหว่างถนนตก และถนนพระรามที่ 3 ซึ่งไม่ไกลนักจากละแวกของบ้านและย่านที่พวกเขารู้สึกผูกพันด้วยหลายปัจจัย

BAMBUNIQUE แบรนด์ไทยที่พาไม้ไผ่ก้าวข้ามขีดจำกัดไปสู่เฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งระดับลักชัวรี่

“ไม้ไผ่เป็นวัสดุใช้งานชั่วคราว ราคาถูก มอดกิน” กลายเป็นความท้าทายของ อมรเทพ คัชชานนท์ แห่ง Bambunique พัฒนาวัสดุให้ตอบโจทย์ด้านคุณภาพ ทนทาน และใช้งานได้ดี

ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio กับ 7 ปีของบทบาทที่มากกว่าการเป็นนักออกแบบ

ทำความรู้จักการทำงานของ ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio ให้มากขึ้น รวมถึงแนวคิดต่อแนวทางการออกแบบที่ไม่เหมือนใครกับ 7 ปี ที่เขานำงานออกแบบสีสันจัดจ้าและรูปลักษณ์สุดแสบ และทำงานสร้างสรรค์อื่น ๆ อย่างการสร้างแบรนด์ สไตลิ่ง หรือออกแบบภาพลักษณ์ มาผลักดันวงการออกแบบให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น

กาแฟไทย AKHA AMA COFFEE สาขาใหม่ที่โตเกียว

กาแฟไทย Akha Ama Coffee สาขาใหม่ ที่โตเกียว กาแฟอาข่าอาม่ากับการเดินทางครั้งใหม่ของการเปิดร้านที่โตเกียวร่วมกับหุ้นส่วนชาวญี่ปุ่น

เรียนรู้จาก Covid19 กับแนวทางวางผังพื้นที่อาหารของเมือง โดย UDDC

Covid19 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน และไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกนั้นต้องบอกเลยว่าทุกๆคนต่างก็รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก อ่าน :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มดีขึ้น  เราก็ได้เห็นว่ามีหน่วยงานหนึ่งได้นำเสนอ “มาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง” ให้ร้านอาหารและแหล่งอาหารได้นำไปใช้ ด้วยรูปแบบและวิธีคิดที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงได้ขอพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ Covid19 โดย คุณปูน ปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย urban design and development ของ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center) หรือที่เรามักจะได้ยินในชื่อ UDDC นั่นเอง room : จากตัวอย่างแนวทางมาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง 4 รูปแบบนั้น อยากทราบถึงแนวคิดเบื้องหลัง หลักคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นแนวทางทั้ง 4 ของ UDDC UDDC : ต้องเกริ่นก่อนว่า UDDC นั้นมีความสนใจในการออกแบบเมืองอยู่แล้ว  มันคือการออกแบบเพื่อคนที่อยู่อาศัยในนั้นจริงๆ […]

NPDA STUDIO เมื่อสถาปนิกเชื่อว่าสถาปัตยกรรมต้อง “ไม่ดัดจริต”

ตามไปรู้จัก npda Studio สตูดิโอออกแบบขนาดย่อมเจ้าของผลงานการออกแบบที่ได้รับการยอมรับในเวทีระดับสากล ซึ่งมาพร้อมแนวคิดที่เชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับสถาปัตยกรรม

SALT AND PEPPER นักสำรวจงานดีไซน์ที่มองหาความเป็นไปได้ใหม่อยู่เสมอ

Salt and Pepper Studio สตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

ศุภพงศ์ สอนสังข์ ดีไซเนอร์ผู้หักดิบจากโลกของดีไซน์ มาลงมือปลูกป่าด้วยตัวเองกว่า 70 ไร่

เยี่ยมห้องทำงานกลางป่าของ คุณตั้ม-ศุภพงศ์ สอนสังข์ นักออกแบบมือรางวัล DEmark และ Designer of the Year ผู้หันหลังให้วงการออกแบบมาปลูกป่าเป็นฐานผลิตให้กับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ Jird Design Gallery

กระตุ้นเศรษฐกิจ (ความคิด) เมือง และผู้คน ด้วยทางเดินสีเขียวจากพื้นที่รกร้างไร้ประโยชน์ในกทม.

เดินคุยกับ ยศพล บุญสม ที่ใต้ทางด่วน ซึ่งเขาเป็นผู้ริเริ่มโครงการ “BKK Green Link ทางเชื่อมสีเขียวมหานคร” พลิกโฉมพื้นที่รกร้างกลางกรุงให้น่าเข้ามาใช้งาน ปลอดภัยขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้คนในชุมชนในพื้นที่โดยรอบเข้ามามีส่วนในการดูเเล พัฒนา และกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่ย่านเหล่านั้นไปพร้อมกัน

คุยกับ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย ใน 6 ประเด็นคัดค้านทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

room ขอร่วมไขประเด็นการคัดค้านโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คุยกับรศ.ดร.พนิต ภู่จินดา เพื่อหาคำตอบว่าเหตุใดเราจึงไม่ควรสร้างทางเลียบฯ แท้จริงแล้วทางเลียบฯ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้จริงหรือไม่ รวมถึงคำถามที่ไร้คนตอบว่าทำไมไม่เริ่มต้นจากการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ของรัฐที่อยู่ริมแม่น้ำให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวที่ดีเสียก่อน

ประภากร วทานยกุล การได้ทำงานคือความสุข และความสนุกทำให้ A49 ไม่หยุดนิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดของ A49 และ 49Group จากปากของสถาปนิกรุ่นใหญ่ ผู้เชื่อว่าบ้านหลังหนึ่งไม่ว่าจะใช้เวลาสร้างนานแค่ไหน หรือจะทำกำไรแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับผู้ออกแบบทำบ้านด้วยความตั้งใจและออกมาจากแพสชั่นจริง ๆ

คุยเฟื่องเรื่องฝันกับรชยา วัฒนศิริชัยกุล เจ้าของนามปากกา SHERRAE ผู้วาดฝันผ่านลายเส้นลงในสมุดสเก็ตช์

รชยา วัฒนศิริชัยกุล เจ้าของนามปากกา SHERRAE สถาปนิกสาวผู้ร่างเส้นเป็นความฝันที่จับต้องได้ รังสรรค์สถาปัตยกรรมมากแรงบันดาลใจลงบนสมุดสเก็ตช์

คุยกับ ธนพัฒน์ บุญสนาน แห่ง ธ.ไก่ชน ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ใน ROOM DESIGN ISLAND งานบ้านและสวนแฟร์ MIDYEAR 2019

room Design Island เกาะส่วนตัวใจกลางงาน บ้านและสวนแฟร์ Midyear 2019 ที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศแห่งการพักร้อน มาพร้อมความร่วมมือทางการออกแบบจากหลากหลายพันธมิตร ที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ไม่รู้จบ โดยเฉพาะในด้านของงานสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนในการเล่าแนวความคิดในการออกแบบ และแสดงตัวตนที่ชัดเจนของ room เสมอมา จึงเกิดเป็น room x ธ.ไก่ชน สตูดิโอออกแบบที่มีความโดดเด่นด้านการใช้ไม้ไผ่ในงานสถาปัตยกรรมมากที่สุดในยุคนี้ room Design Island เกิดขึ้นจากการนำแรงบันดาลใจจากงานสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ โดยนำไม้ไผ่มาผสมผสานกับผ้าเอ๊าต์ดอร์เพื่อสร้างสรรค์เป็นวัสดุตกแต่งผนังแบบโมดูลาร์รูปทรงสามเหลี่ยม แสดงให้เห็นถึงงานฝีมือและนวัตกรรมการออกแบบที่น่าสนใจผ่านแนวความคิดในการออกแบบและวิสัยทัศน์ของ คุณตั๊บ-ธนพัฒน์ บุญสนาน ผู้ก่อตั้ง ธ.ไก่ชน และผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่บนพื้นที่ของ room ในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2019 ในครั้งนี้ “เมื่อก่อนผมจะเน้นเรื่องโครงสร้างมาก ยิ่งใหญ่ยิ่งเท่ แต่พอถึงจุดหนึ่งเราจะฝืนไม่ได้เนื่องจากการนำไม้ไผ่มาใช้กับงานดีไซน์ก็ยังมีบางอย่างที่เทคโนโลยียังไม่รองรับ ฝืนไปมันไม่เกิดประโยชน์” ถ้าเปรียบ ธ.ไก่ชน เป็นเพื่อนสนิท ช่วยเล่าเรื่องของเพื่อนสนิทคนนี้ให้เราฟังหน่อย ธนพัฒน์: “ธ.ไก่ชน ก็ตัวผมเองนี่แหละ และก็ทำงานเกี่ยวกับไม้ไผ่ แต่ทุกครั้งของการให้สัมภาษณ์คำตอบของผมจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยตามมุมมองและประสบการณ์ในชีวิตที่มากขึ้น แต่ใจความสำคัญของ ธ.ไก่ชน ก็ยังคงเหมือนเดิม คือ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การเป็นผู้รับเหมา […]

เยือน 3 สตูดิโอผู้อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากผ้าเอ๊าต์ดอร์ ‘ROOM X SOL OUT COLLABORATIVE COLLECTIONS’

ก้าวสำคัญของวงการผ้าของไทยและแบรนด์ SOL OUT ในเครือ Gold House Decor กับการผลิตผ้าเอ๊าต์ดอร์ทุกขั้นตอนร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นครั้งแรกในไทย ด้วยการนำเส้นด้ายที่เรียกว่า Solution-Dyed Acrylic ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อแสงแดดและน้ำทะเล มาถักทอออกมาเป็นผ้าหลากสีสันและลวดลาย แล้วส่งต่อให้กับ CAMP STUDIO, Mitr. และ Palini Bangkok ซึ่งเป็น 3 ดีไซเนอร์ที่ room ชักชวนมาร่วมกันถ่ายทอดแนวคิด นำผ้าที่ได้ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ ร่มชายหาด, ตะกร้า, เปล, ทาร์ป, ชุดเสื้อคลุม และหมวก ดังที่ปรากฏในภาพแฟชั่นเซ็ตริมชายหาดนี้