สร้างสเปซเพื่อเชื่อมต่อผู้คนผ่านสีสันในแบบของ STUDIO ACT OF KINDNESS

STUDIO ACT OF KINDNESS สตูดิโอที่สร้างสเปซเพื่อเชื่อมต่อผู้คนผ่านสีสัน เมื่อสีคือตัวกลางที่ทำให้คนต่างวัย ต่างแบ็กกราวนด์สามารถอยู่ร่วมกันได้

รังสรรค์สเปซแห่งความสมดุล ด้วยเฉดสีสไตล์ PHTAA Living Design

ภายใต้กระแสสังคมยุคใหม่ที่แสนวุ่นวาย ไม่เว้นแม้แต่บนโลกออนไลน์ มุมสงบส่วนบุคคลกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนโหยหาเพื่อเติมพลังและพักใจในแต่ละวัน ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาด ยิ่งส่งผลให้คนยุคนี้ใส่ใจดูแลสุขภาพกายและใจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ แทบทุกพื้นที่ใช้ชีวิตในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่บ้าน แต่ยังรวมถึงคาเฟ่ สปา ฟิตเนส ศูนย์สุขภาพ ฯลฯ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่สงบ และสมดุลทางอารมณ์ให้กับผู้ใช้งาน ทั้งยังนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี นอกเหนือไปจากการออกแบบสเปซ สีสันที่เลือกใช้ก็เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความรู้สึกที่สงบและสมดุลทางร่างกายและจิตวิญญาณ ตามไปพูดคุยกับ คุณหฤษฎี ลีละยุวพันธ์ คุณพลวิทย์ รัตนธเนศวิไล และคุณธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ สามนักออกแบบจาก PHTAA Living Design หนึ่งในสตูดิโอออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง ที่โดดเด่นที่สุดของยุคนี้ หลากหลายผลงานที่โดดเด่นของ PHTAA นำเสนอผ่านสถาปัตยกรรมสีขาวเรียบง่ายแต่กลับมีมิติที่แตกต่าง และเปี่ยมด้วยพลังของความสงบและสมดุล โลกยุคใหม่ที่โหยหาความสงบและผ่อนคลาย คุณหฤษฎี: “ด้วยสภาพสังคมที่บีบคั้นทุกวันนี้ ผู้คนต้องการธรรมชาติมากขึ้น มองหาความผ่อนคลาย ซึ่งสะท้อนมาสู่งานออกแบบด้วยเช่นกัน อย่างคาเฟ่ในยุคนี้ มักให้ความสำคัญกับบรรยากาศที่สงบ อบอุ่นสบายมากกว่า คาเฟ่ที่นิยมกันเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ดังนั้นการออกแบบจึงตอบสนองความต้องการของคนในแต่ละช่วงเวลา แต่ก่อนความหรูหราอาจคือสีเงินหรือทอง แต่ทุกวันนี้ New Luxury is Nature […]

ANONYM นักออกแบบที่ดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย

ช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้คนต่างโหยหาธรรมชาติเพื่อเยียวยาจิตใจ หนึ่งในนั้นคือ ANONYM นักออกแบบที่ดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย

Taya Living งานคราฟต์อเนกประสงค์ สะท้อนวิถีเรียบง่ายและยั่งยืน

Taya Living นำเสนอผลิตภัณฑ์คราฟต์ดีไซน์เรียบง่ายในหมวดโฮมโปรดักต์และแฟชั่น ที่แตกต่างด้วยฟังก์ชั่นอเนกประสงค์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ แบรนด์เล็กๆ เริ่มต้นจากตัวตนของ คุณณัฐฑยา สวาทสุต ผู้ประกอบการสาวไฟแรง ที่กลั่นกรองทั้งความหลงใหลและประสบการณ์ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เป็นเหมือนคอมมูนิตี้ของสาวๆ พร้อมกับการให้ความสำคัญกับแนวคิดด้านความยั่งยืน และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากเจ้าของร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ แอร์โฮสเตส และและนักพัฒนาธุรกิจคุณณัฐฑยานำพาประสบการณ์ทั้งหมดมาพลิกไลฟ์สไตล์ส่วนตัวให้กลายเป็น Taya Living แบรนด์ทางเลือกใหม่สำหรับสินค้าในชีวิตประจำวัน ที่ยังคงกลิ่นอายความเรียบง่าย และเสน่ห์ของงานคราฟต์ไว้อย่างกลมกลืน “แบรนด์นี้เกิดจากไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของณัฐเอง เราชอบกระเป๋าสาน ชอบไปทะเล และชอบบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน  кредитные займы онлайнถ้าเกิดจะไปเที่ยวก็จะนึกถึงเกาะไมโคนอส (Mykonos) ในกรีซ ซึ่งพอเราชื่นชอบสิ่งเหล่านี้ มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของเรา” พลิกโฉมพลาสติกใกล้ตัวสู่คราฟต์ที่แตกต่าง เมื่อตั้งใจจะสร้างแบรนด์ใหม่ นอกเหนือจากดีไซน์ วัสดุก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง คุณณัฐฑยาออกตามหาวัสดุใหม่ ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และกระบวนการผลิต ซึ่งตั้งใจให้ Taya Living คงกลิ่นอายของงานหัตถกรรมงานจักสานท้องถิ่นไว้ “ถึงจะชอบกระเป๋าสานมาก แต่ด้วยความที่มักทำมาจากวัสดุธรรมชาติเลยมีอายุการใช้งานสั้น และดีไซน์ก็ยังไม่ได้ถูกใจเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นสไตล์แฟชั่นหน่อยก็จะมีการตกแต่งที่ยังไม่ถูกใจเรา […]

“มีวนา” แบรนด์กาแฟไทยกับวิถีวนเกษตรอินทรีย์ คนกับป่าพึ่งพากันอย่างยั่งยืน

ทุกครั้งที่ยกแก้วกาแฟขึ้นดื่ม ถ้าได้รู้ถึงที่มาของความอร่อยตรงหน้า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีรึเปล่านะ? สำหรับเราความรู้สึกนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน MiVana Coffee Flagship Store  แฟล็กชิปสโตร์คาเฟ่ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย่านศรีนครินทร์ของ “ มีวนา ” โดยเปิดขึ้นเพื่อหวังให้ที่นี่เป็นโมเดลต้นแบบในการส่งต่อแนวคิดการดูแลธรรมชาติ ผ่านไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟ กระตุ้นให้คนเมืองสนใจกาแฟออร์แกนิกกันมากขึ้น ตลอดการทำงานมากว่าสิบปีของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเพื่อสังคม ผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรแบบอินทรีย์ กับการปลูกกาแฟแทรกไปกับต้นไม้ในผืนป่า แตกต่างจากการทำไร่กาแฟที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาป่าของมีวนา แม้จะไม่สามารถสู้เรื่องจำนวนการผลิตได้ แต่ในด้านคุณภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับระบบนิเวศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพและปลูกฝังความหวงแหนรักษาป่าละก็นั่นนับเป็นพันธกิจและเป้าหมายอันสำคัญกว่า เบื้องหลังแนวคิดนี้ คุณมิกิ-ชัญญาพัชญ์ โยธาธรรมสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท มีวนา จำกัด คือตัวแทนที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำงานของมีวนา ภายใต้เหตุผลของความยั่งยืนดังกล่าวว่า สิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ใดกลับคืนสู่สังคมและโลกใบนี้อย่างไร นอกเหนือจากมูลค่าทางธุรกิจ การปลูกกาแฟอินทรีย์กับการอนุรักษ์ป่าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้อย่างไร คุณมิกิ : “เนื่องจากกาแฟอาราบิก้าต้องปลูกในพื้นที่สูงมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป และต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นจึงจะได้ผลผลิตที่ดีในเชิงของพื้นที่ป่าที่เราเข้าไปทำงานในเชียงราย จะมีสองส่วนคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เราก็อนุรักษ์ไว้แล้วก็เอากาแฟไปปลูกใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่ อีกส่วนคือป่าเสื่อมโทรมหรืออาจจะถูกทำลายไปแล้วเราจะปลูกต้นกาแฟควบคู่ไปกับต้นไม้ที่มีความหลากหลายทางนิเวศ เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ “ในอดีตที่ผ่านมาคนอาจจะคุ้นเคยกับการทำไร่กาแฟแบบเป็นแปลงปลูก จะไม่ได้เป็นการปลูกแบบร่วมกันกับป่าเท่าไหร่มากนัก เขาจะมีการจัดการบริหารที่ง่ายกว่าเรา เดินตามแปลงก็จบ บริหารจัดการง่าย พอเจอศัตรูพืชก็ใช้สารเคมีเร่งดอก เร่งผล […]

ANXIETY STORAGE รสชาติปะแล่มของงานศิลป์ที่ตั้งอยู่บนความวิตก

Anxiety Storage หรือ รุ้ง-นภัสกร นิกรแสน นักออกแบบที่ผันตัวมาสร้างงานศิลปะในแบบที่ตัวเองคิดว่า “นี่แหละ…ฟิน” งานของรุ้งในคอลเล็กชั่นขนาดยาวนามว่า “Error Object” คือเหล่าอุปกรณ์ของใช้ใกล้ตัวในแบบที่ใครเห็นต้องขมวดคิ้ว ร่มที่กันฝนไม่ได้ มีดที่ด้ามเป็นคม หรือไดร์เป่าผมที่พ่นควันออกมาแทนลมร้อน ด้วยสไตล์กราฟิกเรียบเกลี้ยง ผลงานเหล่านี้กระตุกต่อมวิตกในแต่ละคนต่างกัน แต่นั่นคือการตั้งคำถามกับระบบที่ไหลลื่น สร้างจุดสะดุดเปลี่ยนกับคำถามว่า “อย่างนี้ก็ได้หรือ?” เผื่อความแตกต่างเหล่านี้ จะเป็นอีกรสชาติที่เราไม่เคยรู้มาก่อน “เพราะโลกอาจต้องการความไม่สมประกอบเสียบ้าง” รุ้งตั้งคำถามกับตัวเองจากการเลี้ยงแมลงในกล่องกระดาษและเริ่มคิดว่าจักรวาลนี้ช่างดูสมบูรณ์ ลื่นไหล และเป็นไปอย่างลงตัวเสียเหลือเกิน แบบนั้นมันง่ายดายเกินไป เรียบลื่นเกินไป ภารกิจการลุกขึ้นมาสร้างจุดบกพร่องให้กับโลกใบนี้จึงเกิดขึ้น เราทุกคนต่างเป็นมดตัวเล็ก ๆ ในจักรวาลอันสมบูรณ์แบบ “ถ้าถามว่าที่มาของ Error Object และ Anxiety Storage เริ่มต้นมายังไง รุ้งอาจต้องเท้าความกลับไปไกลสักหน่อย คือเราเป็นคนชอบตั้งคำถามกับ Human Being และการมีอยู่ของจักรวาล เราสงสัยมากว่าทำไมทุกสิ่งทุกอย่างถึงได้ลงตัวขนาดนี้ ความเป็นไปของชีวิตที่สอดคล้องเข้าด้วยกัน ทำไมถึงไม่มี Bug หรือ Error ใด ๆ เลย ใครเป็นคนสร้างขึ้นมานะ มันมีคนสร้างรึเปล่า หรืออยู่ดี […]

infinite riot ใช้ศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์สร้างความโดดเด่นในงานศิลปะ

infinite riot หรือ ปราม-หฤษฎ์ ธรรมประชา ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานจากเพลงที่ชอบประกอบกับอนิเมะ ก่อนจะถ่ายทอดเส้นสายลงสู่พื้นผิวและรูปแบบต่าง ๆ

สีสัน เส้นสาย และความหมายที่ซ่อนอยู่ ของ Naisu.chirat

Naisu.chirat นักวาดภาพประกอบและศิลปินที่มีลายเส้นเฉพาะตัว ลายเส้นที่เป็นอิสระจากรูปแบบ และกรอบความคิดใดๆ เพราะเธอเชื่อว่า ศิลปะที่แท้คืออิสระภาพที่บุคคลหนึ่งๆนั้นจะได้แสดงออก ศิลปะคือเรื่องของภายในที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ และประสบการณ์ทั้งจากตัวเองและการที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งนั่นเป็นที่มาของเส้นสายและสีสันแบบ Impressionism ที่น่าสนใจอย่างที่เห็น ซึ่งวันนี้ room ได้รับเกียรติจาก Naisu.Chirat หรือ คุณไนซ์ ปริยนาถ จิรัฐฐิติกาล มาพูดคุยถึงแนวคิด และที่มาของสไตล์งาน รวมถึงเกร็ดการทำงานอันน่าสนใจ ที่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องขอให้ทุกคนลองไปอ่านดูพร้อมๆกัน กว่าจะมาเป็น Naisu.chirat “เราวาดรูปมาตลอดเลย” คุณไนซ์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “ตั้งแต่จับดินสอได้ก็วาดรูปมาตลอด เราชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและโชคดีที่ทางบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เค้าไม่ได้มีกรอบมาว่าต้องทำอย่างนั้น หรืออย่างนี้ และเพราะอย่างนี้ ทุกๆเวลาว่างตลอดมาของเราก็จะกลายเป็นเวลาของการวาดรูปไปซะหมดเลย” “แต่ในทางตรงกันข้าม เราก็มีคำถามเหมือนกันเมื่อเป็นผลงานที่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องนึงในความทรงจำก็คือการที่ไนซ์วาดชุดนักเรียนสีดำไปส่งงานคุณครูตอนเด็กๆ คุณครูก็บอกว่าจะให้ดาวเพิ่มนะ ถ้าลบสีดำออกจากชุดนักเรียน เราก็ไม่เข้าใจ เกิดเป็นคำถามว่า ทำไมชุดนักเรียนมันจะเป็นสีดำไม่ได้ล่ะ? มันอาจเปื้อนดิน? อาจเป็นโรงเรียนที่ไม่เหมือนที่อื่น? หรือจริงๆแล้วมันจะเป็นอะไรก็ได้หรือเปล่า?” บางครั้งเวลาเราเศร้า เส้นมันก็จะออกมาเศร้า เวลาเรามีความสุข เส้นมันก็จะดูสดใสขึ้น ปล่อยให้งานเผยสิ่งที่อยู่ข้างใน “จากจุดนี้เองที่ทำให้ไนซ์เริ่มต้นค้นหาคำตอบ เรียนรู้ และทดลองเกี่ยวกับการวาดภาพ […]

ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC

คลังข้อมูลวัสดุ หรือที่หลายคนที่เคยไปจะคุ้นชื่อกับ Material ConneXion Bangkok จนกระทั่งเมื่อ TCDC ได้ย้ายมาอยู่ที่เจริญกรุงจึงได้มีการปรับเปลี่ยนขยายพื้นที่ เป็นศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC โดยมี Material ConneXion Bangkok อยู่ภายในนั้นอีกที โดยหลังจากที่ย้ายมาได้มีแนวทางการทำงาน รวมทั้งขอบเขตการทำงานที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งมีความน่าสนใจทั้งต่อผู้ประกอบการและนักออกแบบเป็นอย่างมาก โดยครั้งนี้ room magazine ได้รับเกียรติจาก ดร.ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยวัสดุจาก TCDC และเป็นผู้ดูแลศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center รวมทั้ง Material ConneXion Bangkok มาบอกเล่าถึงสิ่งที่น่าสนใจ และสิ่งที่ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ จะสามารถช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการและนักออกแบบได้อย่างไรบ้าง จาก Material ConneXion Bangkok สู่ Material & Design Innovation Center […]

103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า

คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย

“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]

VANZTER เปลี่ยนเศษไทเทเนียมเป็นของตกแต่งเปี่ยมจิตวิญญาณเด็กแว้น

VANZTER เปลี่ยนเศษไทเทเนียมให้กลายเป็นของตกแต่ง โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเด็กแว้น กับพฤติกรรมแต่งรถที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและวัฒนธรมมแบบไทย ๆ

RIPPLE  ฉากกั้นพลิ้วไหวจากไม้ผสานวัสดุรีไซเคิล

RIPPLE ฉากกั้น พลิ้วไหวที่เกิดจากไม้โอ๊คผสานเข้ากับวัสดุรีไซเคิล Coffee Ground เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดปริมาณไม้ และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ

THAIS ECOLEATHERS ความงามจากเศษหนังสู่วัสดุใหม่

THAIS ECOLEATHERS (อ่านว่า ธา-อิส) หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เราอยากแนะนำ เพราะไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายและพื้นผิวที่น่าสนใจ หรือการนำไปใช้ที่หลากหลายเพียงเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งวัสดุอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั่นก็คือ “หนังรีไซเคิล” ซึ่งเรียกได้ว่ามีความโดดเด่นและมีเพียงเจ้าเดียวในโลกที่สามารถผลิตสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เราสนใจแบรนด์เครื่องหนังที่ชูวัสดุรักษ์โลกแบรนด์นี้เป็นพิเศษของคุณธันย์-ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และคุณเม-พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล จุดเริ่มต้น ถ้าพูดถึงจุดเริ่มของTHAIS ECOLEATHERS“เราเริ่มจากเป็นคนชอบเครื่องหนัง ชอบจนถึงขนาดที่อยากจะหัดทำเครื่องหนังด้วยตัวเอง” คุณธันย์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “พอเราเริ่มทำหนังไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่าสิ่งที่กวนใจเราคือ เศษหนัง ที่เหลือจากการผลิต จะเอาไปทิ้งก็เสียดาย พอจะนำเศษเหล่านั้นมาลองเย็บเป็นกระเป๋าแล้วเอาไปวางขายในอินเทอร์เน็ตก็ค้นพบว่า มันแทบจะไม่ได้ราคา เหมือนเป็นความคาใจจนเราเริ่มศึกษาลงไปว่า คนอื่นเขาจัดการกับเศษหนังกันอย่างไร และก็ค้นพบว่าเศษเหลือเหล่านี้มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และไทยเราเองก็เป็นประเทศส่งออกหนังอันดับที่ 4 ของโลก ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ปัญหาเศษเหลือเหล่านี้ ต้องมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน“ “พอเราเริ่มสนใจในปัญหาเศษเหลือเราก็ค้นพบว่า โรงงานส่วนใหญ่ต้องจ้างให้นำไปทิ้ง เป็นมูลค่าที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว สิ่งที่ทำได้คือนำฝังกลบ หรือนำไปเผาทำลาย” คุณเมเล่าต่อ “ซึ่งเราอาจเคยได้ยินว่า มีการนำเศษหนังมาทำเป็นวัสดุใหม่ แต่นั่นไม่ใช่เศษหนังในขั้นตอนสุดท้ายแบบที่เป็นเศษเหลือแบบนี้ สิ่งเหล่านั้นคือเศษหนังที่มาจากขั้นตอนการผลิต คือหลังจากการฟอกเสียมากกว่า เราก็เลยคิดกันว่า […]

บันทึกเพื่อพิทักษ์ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในมุมมองของ วีระพล สิงห์น้อย และฤกษ์ดีโพธิวนากุล

จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ […]

10 ปี ที่ผ่านมาของ BACC สนทนากับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ถึง 10 ปี หลังจากนี้ไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เราคุ้นกันในชื่อหอศิลป์ BACC นั้น เป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนิทรรศการที่น่าสนใจอยู่เสมอ และหอศิลป์แห่งนี้ก็ได้ดำเนินการมาจนครบ 10 ปี แล้ว ด้วยพันธกิจในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก และอย่างที่เป็นข่าวในการต่อสัญญาโดยกรุงเทพมหานครไปอีก 10 ปี วันนี้ room จึงพามาพูดคุยกับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่-ผู้อำนวยการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึง 10 ปี ที่ผ่านมา และอีก 10 ปี ที่หอศิลป์ฯแห่งนี้ กำลังก้าวเดินไป ทั้งบทบาทหน้าที่ที่อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแนวโน้มของนิยามความเป็นเมืองแห่งศิลปะของกรุงเทพฯ กทม. เคาะต่อสัญญา อีก 10 ปี ให้กับหอศิลป์เกิดอะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็น? room : จากข่าวของการต่อสัญญา อีก 10 ปี โดยกรุงเทพมหานครให้กับทางหอศิลป์ฯ จริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หอศิลป์ฯ ยังดำเนินการเหมือนเดิม หรือมีอะไรเปลี่่ยนแปลงไปหรือไม่? BACC : […]