IMAGINE MONTESSORI SCHOOL เรียนเล่นแบบไร้ขีดจำกัดในสเกลสำหรับเด็กโดยเฉพาะ

IMAGINE MONTESSORI SCHOOL โรงเรียนทางเลือก ที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาเพื่อให้เด็กๆได้สัมผัสกับธรรมชาติและเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดภายใต้สเกลเด็ก

IKEA ชวนทุกคน เปลี่ยนชีวิตประจำวันสู่ความยั่งยืน

IKEA ได้เชิญชวน room ไปเยี่ยมชมพื้นที่ใหม่ๆ ณ IKEA BANGNA ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งเสริมถึงความยั่งยืนต่อโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ Circular Shop พื้นที่โซนต้นไม้จริงใหม่ และ Sustainable Weekend Market โดย room Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณวรันธร เตชะคุณากรผู้จัดการแผนก Inspiration & Communication อิเกียประเทศไทย มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดเบื้องหลัง และพาชมพื้นที่ของ IKEA จะเป็นอย่างไรนั้น ไปชมพร้อมๆกันได้เลย ในสายตาของ IKEA แล้ว ความยั่งยืนคืออะไร? “ที่ IKEA เรามองถึงความยั่งยืนตลอดมา เป็นหัวข้อสำคัญในใจอยู่แล้ว และในวันนี้เราก็อยากจะส่งผ่านความคิดเหล่านี้ออกไปให้กว้างยิ่งขึ้น เมื่อกล่าวถึงความยั่งยืนแล้ว หลายคนจะนึกไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน อย่างเรื่องมลภาวะ เรื่องการจัดการขยะ หรือแม้แต่เรื่องของนวัตกรรมต่างๆ แต่แท้จริงแล้ว ความยั่งยืนนั้นสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ในชีวิตประจำวันหรือกิจวัตรของทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ชีวิต เรื่องของอาหาร หรือแม้แต่การอยู่อาศัยภายในบ้าน ซึ่ง “เราและโลกของเรา” ก็จะเป็นหนังสือที่จะมาเล่าเรื่องการสร้าง “ชีวิตที่ยั่งยืน” ในหลากรูปแบบมากกว่านั้น เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆในชีวิตของเราเอง เพราะอิเกียนั้นเชื่อว่าเมื่อทุกๆคนมีชีวิตที่ยั่งยืนได้แล้ว […]

MAGMA FLOW PUBLIC SPACE ปะทุความสดใสด้วยสวนแมกมา กระตุ้นย่านให้คึกคักมีชีวิตชีวา

Magma Flow Public Space ขยายภาพลาวาปะทุ สู่ไอเดียการออกแบบสวนสาธารณะสีสันสดใส กระตุ้นให้ย่านถนนคนเดินในหนิงป่อ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่อันสำคัญให้คึกคัก ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโปรเจ็กต์นี้ คือการมีบันไดขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นทางเดินไปยังชั้น 2 ของอาคารที่พักอาศัยใกล้เคียง ก่อนจะถ่ายเททางเดินลงสู่พื้นที่ทางเท้าด้านล่าง ซึ่งกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบและสีสันสะดุดตา จุดไฮไลต์ของพื้นที่ คงหนีไม่พ้นภาพขั้นบันไดที่ทอดตัวจากอาคารสู่พื้นชั้นล่าง สีเหลือง สีส้ม และสีแดง สีสันโทนร้อนที่เห็นนี้ ถูกนำมาใช้เป็นธีมสีหลัก อันเป็นตัวแทนของภาพแมกมาที่ไหลปะทุลงมาจากยอดภูเขาไฟ เป็นภาพดึงดูดสายตาให้ผู้คนอยากมาใช้เวลาพักผ่อนในพื้นที่ใช้สาธารณะ แทนการเล่าเรื่องภาพภูเขาไฟและแมกมาที่ไหลนอง ด้วยเหล่าสเตชั่นสำหรับทำกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ที่สามารถใช้งานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จุดพักผ่อนในแต่ละสเตชั่นออกแบบโดยเลียนแบบการปะทุของภูเขาไฟ แม้แต่สไลด์เดอร์สำหรับเด็ก ๆ บางอันที่คล้ายกับแมกมาไหลลงไปตามเนินเขา นอกจากนี้ยังมีชิงช้า กระดานหก เนินเขาจำลอง ทางลาด อุโมงค์ ฯลฯ เป็นอีกพื้นที่สาธารณะที่ทำหน้าที่เป็นจุดไฮไลต์ของเมือง และเป็นจุดรวมความบันเทิงภายในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ออกแบบ : 100 Architects (https://100architects.com/) ภาพ : Rex Zhou เรียบเรียง : Phattaraphon

IZY Kindergarten and Nursery เปลี่ยนศาลาวัดเป็นโรงเรียนอนุบาล

IZY Kindergarten and Nursery โรงเรียนอนุบาล และเนิร์สเซอรี่ที่เปลี่ยนมาจากโถงวัดเดิม เพื่อให้คนในชุมชนและเด็ก ๆ ได้กลับมาใกล้ชิดกับวัดอีกครั้ง

ขนมหม้อแกง แม่กิมไล้ จะเป็นอย่างไรเมื่อรีแบรนด์ดิ้ง

เมืองเพชร ประตูสู่ภาคใต้ที่ใคร ๆ ก็ต้องแวะ และแน่นอนว่า ร้านขนมหม้อแกงแม่กิมไล้ ไร่ส้ม ก็มักจะเป็นของฝากขึ้นชื่อที่ทุกคนต่างคุ้นเคย ผ่านวันเวลามาเนิ่นนาน แต่ขนมหม้อแกงในถาดสเตนเลสใส่ถุงกระดาษแข็งก็ถึงเวลาที่น่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้รับกับยุคสมัยกันเสียที ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กต์วิชา Corporate Identity โดย ริคกี้ – ถิรวัฒน์ น้อยทับทิม นักศึกษาภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ตั้งใจจะนำพาขนมอันโปรดปรานและคุ้นเคย สู่รูปแบบที่เข้าใจและจดจำได้มากกว่าเดิม ในการทำงาน โจทย์ของวิชาคือการรีแบรนด์ดิ้งสินค้า หรือบริการของไทย และวิเคราะห์ปัญหาในการสื่อสาร เขาจึงได้เลือกแม่กิมไล้ ซึ่งเป็นร้านขายขนมหม้อแกงแวะเวียนอยู่เป็นประจำในยามเดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคใต้ โดยนำเสนอจุดเด่นที่คนทั่วไปจะสามารถจดจำได้แตกต่างจากร้านอื่น ๆ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ใกล้เคียง จึงนำล.ลิง (ตัวย่อจากคำว่า ไล้) และรูปแบบที่อิงมาจากถาดของขนมหม้อแกง นำไปพัฒนาต่อยอดเป็นตัวไอคอนของขนมแต่ละชนิดของแบรนด์ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน ดีไซน์ทั้งหมดมีความต้องการที่จะทำให้ภาพลักษณ์ดูใหม่ขึ้น เพื่อนำเสนอให้คนที่ยังไม่เคยได้สัมผัสอยากจะลิ้มลองดูบ้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือต้องยังคงกลิ่นอายความเป็นขนมของแบรนด์แม่กิมไล้ไว้อยู่อย่างครบถ้วน แม้โปรเจ็กต์นี้จะยังเป็นเพียงแค่แนวคิด แต่การต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมในแบบ Pop Culture ก็เป็นสิ่งที่สมควรจะส่งเสริม คำว่า Soft Power นั้นถูกใช้จนเกร่อในปัจจุบัน แต่กับขนมหม้อแกงที่เคยโด่งดังนั้นกลับถูกละเลย room magazine จึงหวังว่าโปรเจ็กต์นี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ […]

SDL NURSERY ออกแบบพาร์ทิชันให้เตี้ยเพื่อเปิดจินตนาการเด็ก

SDL NURSERY เนอร์สเซอรี่ที่ออกแบบพาร์ทิชันให้เตี้ยและใช้กระจกเพื่อลดความรู้สึกกดขี่ให้เด็กรู้สึกเข้าใกล้ธรรมชาติให้ได้มากที่สุด

พื้นที่แห่งความสุขที่สะท้อนออกมาจากภายใน ด้วยเฉดสีที่เลือกสรรโดย Tastespace

ณ ห้วงความคิดของการค้นหาความหมายในความสงบของจิตใจ เรามักพบความสุขเมื่อค้นลึกลงไปสู่ตัวตนภายใน ก่อนจะกลายเป็นความปิติยินดีเอ่อล้นออกมา การสร้างช่วงเวลาแห่งการแบ่งปัน จึงนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างให้ความสุขนั้นคงอยู่ตลอดไป เช่นเดียวกับการทำงานของ Tastespace หนึ่งในออฟฟิศออกแบบที่ชำนาญการออกแบบร้านอาหาร คาเฟ่ และบาร์ ที่ใช้วิธีสร้างความสุขผ่านงานออกแบบ ในฐานะผู้ทำหน้าที่มอบบรรยากาศ และช่วงเวลาดี ๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะสังสรรค์ กินดื่ม และรับประทานอาหาร ภายในร้านต่าง ๆ ที่ Tastespace เป็นผู้ออกแบบ วันนี้ room ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับคุณฮิม– กิจธเนศ ขจรรัตนเดช ดีไซน์ ไดเรกเตอร์ แห่ง Tastespace ถึงเคล็ดลับการออกแบบ และวิธีคิดในการเลือกสรรองค์ประกอบต่าง ๆ ให้แก่พื้นที่ สำหรับช่วงเวลาอันพิเศษเหล่านั้น “ยกตัวอย่าง ร้าน Maré Seafood ที่เชียงใหม่ เราเลือกช่วงเวลาอาทิตย์ตก ซึ่งมีภาพคนหาปลากำลังเดินเรือกลับเข้าสู่ฝั่งมาใช้เป็นธีมหลักในการสร้างสรรค์บรรยากาศ ด้วยความที่เป็นร้านอาหารทะเล การนำพาเรื่องราวจากทะเลสู่ฝั่ง ก่อนนำมาสู่จานอาหารตรงหน้า สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยสร้างบรรยากาศให้แก่ผู้มารับประทานอาหารทั้งสิ้น เพราะการรับประทานอาหารไม่ใช่แค่เรื่องของการกิน แต่ยังเป็นประสบการณ์ที่จะสร้างความทรงจำให้แก่ลูกค้าทุกคน โดยร้านนี้มีการเลือกใช้สีน้ำเงิน และสีทองแดง เป็นภาพตัวแทนของท้องทะเล และพระอาทิตย์ […]

KRISP CAFÉ รีโนเวตบ้านเก่ายุค 70’s ให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ครัวซองต์

ชุบชีวิตบ้านเก่ายุค 70’s กลางเมืองเชียงใหม่ ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในฐานะคาเฟ่ ร้านอาหาร และแกลเลอรี่ KRISP CAFÉ ที่มีบรรยากาศสบาย ๆ โดยยังคงเสน่ห์ของวัสดุและรายละเอียดของการตกแต่งยุคก่อนที่มีสภาพดีและหาชมได้ยากเอาไว้ ช่วยทำหน้าที่เชื่อมโยงบรรยากาศระหว่างความเก่ากับความใหม่เข้าด้วยกัน  เดิมทีที่นี่คือบ้านพักอาศัยสองชั้นของคุณอุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ตั้งอยู่กลางตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ตัวบ้านออกแบบในลักษณะสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก โดยรอบมีพื้นที่สวนและสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ ด้วยอายุเกือบครึ่งศตวรรษ และถูกปล่อยทิ้งร้างมานาน สภาพของบ้านจึงทรุดโทรมลงตามกาลเวลา เจ้าของโครงการซึ่งเป็นหลานของคุณอุดรพันธ์ จึงเล็งเห็นศักยภาพของบ้านเก่าเปี่ยมเสน่ห์หลังนี้ และตั้งใจชุบชีวิตบ้านให้กลับมามีชีวิตและประโยชน์ใช้สอยใหม่อีกครั้ง เจ้าของตั้งใจทำให้ที่นี่ให้เป็นทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และอาร์ตแกลเลอรี่ ที่มีบรรยากาศสบาย ๆ เข้าถึงง่ายสำหรับคนส่วนใหญ่ โดยกลางวันจะให้บริการในรูปแบบคาเฟ่ ส่วนช่วงเย็นไปจนถึงค่ำจะเสิร์ฟอาหารสไตล์ยุโรปที่เข้ากับบรรยากาศบ้าน เพื่อให้กลิ่นของอาหารจานหลักไม่รบกวนคอกาแฟ โดยทั้งเจ้าของโครงการ และผู้ออกแบบ มีความเห็นตรงกันว่า สภาพโดยรวมของตัวบ้านเดิมยังใช้งานได้ดี และมีองค์ประกอบหลายอย่างที่มีสภาพดีเป็นทุนเดิม ผู้ออกแบบจึงมีแนวคิดจะปรับปรุงให้บ้านได้สะท้อนตัวตน และรื้อฟื้นบรรยากาศเก่าช่วงยุค 1970 อันมีเสน่ห์หาชมยาก โดยไม่จำเป็นต้องเติมเรื่องราวใหม่เข้าไปมากมาย เน้นการนำเสนอวัสดุดั้งเดิมที่ยังคงสภาพดี ไม่ว่าจะเป็นศิลาแลง กระเบื้องดินเผา ไม้ปาร์เกต์ ตลอดจนรูปลักษณ์ของหน้าต่างทรงโค้ง องค์ประกอบเหล่านี้บางส่วนได้รับการนำมาตีความใหม่ในขั้นตอนการออกแบบให้กลายเป็นรูปลักษณ์ที่ทันสมัยขึ้นด้วย ตัวบ้านเดิมมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นห้องต่าง ๆ อย่างชัดเจน […]

สร้างสเปซเพื่อเชื่อมต่อผู้คนผ่านสีสันในแบบของ STUDIO ACT OF KINDNESS

STUDIO ACT OF KINDNESS สตูดิโอที่สร้างสเปซเพื่อเชื่อมต่อผู้คนผ่านสีสัน เมื่อสีคือตัวกลางที่ทำให้คนต่างวัย ต่างแบ็กกราวนด์สามารถอยู่ร่วมกันได้

รังสรรค์สเปซแห่งความสมดุล ด้วยเฉดสีสไตล์ PHTAA Living Design

ภายใต้กระแสสังคมยุคใหม่ที่แสนวุ่นวาย ไม่เว้นแม้แต่บนโลกออนไลน์ มุมสงบส่วนบุคคลกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนโหยหาเพื่อเติมพลังและพักใจในแต่ละวัน ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาด ยิ่งส่งผลให้คนยุคนี้ใส่ใจดูแลสุขภาพกายและใจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ แทบทุกพื้นที่ใช้ชีวิตในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่บ้าน แต่ยังรวมถึงคาเฟ่ สปา ฟิตเนส ศูนย์สุขภาพ ฯลฯ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่สงบ และสมดุลทางอารมณ์ให้กับผู้ใช้งาน ทั้งยังนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี นอกเหนือไปจากการออกแบบสเปซ สีสันที่เลือกใช้ก็เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความรู้สึกที่สงบและสมดุลทางร่างกายและจิตวิญญาณ ตามไปพูดคุยกับ คุณหฤษฎี ลีละยุวพันธ์ คุณพลวิทย์ รัตนธเนศวิไล และคุณธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ สามนักออกแบบจาก PHTAA Living Design หนึ่งในสตูดิโอออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง ที่โดดเด่นที่สุดของยุคนี้ หลากหลายผลงานที่โดดเด่นของ PHTAA นำเสนอผ่านสถาปัตยกรรมสีขาวเรียบง่ายแต่กลับมีมิติที่แตกต่าง และเปี่ยมด้วยพลังของความสงบและสมดุล โลกยุคใหม่ที่โหยหาความสงบและผ่อนคลาย คุณหฤษฎี: “ด้วยสภาพสังคมที่บีบคั้นทุกวันนี้ ผู้คนต้องการธรรมชาติมากขึ้น มองหาความผ่อนคลาย ซึ่งสะท้อนมาสู่งานออกแบบด้วยเช่นกัน อย่างคาเฟ่ในยุคนี้ มักให้ความสำคัญกับบรรยากาศที่สงบ อบอุ่นสบายมากกว่า คาเฟ่ที่นิยมกันเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ดังนั้นการออกแบบจึงตอบสนองความต้องการของคนในแต่ละช่วงเวลา แต่ก่อนความหรูหราอาจคือสีเงินหรือทอง แต่ทุกวันนี้ New Luxury is Nature […]

ANONYM นักออกแบบที่ดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย

ช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้คนต่างโหยหาธรรมชาติเพื่อเยียวยาจิตใจ หนึ่งในนั้นคือ ANONYM นักออกแบบที่ดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย

BOGOR CREATIVE HUB ครีเอทีฟฮับของคนรักงานสร้างสรรค์ ศูนย์กลางช่วยส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำเมือง

ครีเอทีฟฮับ ดีไซน์โดดเด่นรูปตัวซี (C) สีขาว ที่เปิดให้เหล่านักคิดนักสร้างสรรค์ รวมถึงชาวเมืองทุกคน ได้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน และระดมความคิด เพื่อช่วยการส่งเสริมและพัฒนาเมือง Bogor Creative Hub ครีเอทีฟฮับ แห่งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารประวัติศาสตร์เก่าแก่ประจำเมือง Bogor ประเทศอินโดนีเซีย เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน และระดมความคิด เพื่อช่วยการส่งเสริมและพัฒนาเมือง ผ่านพื้นที่ที่ได้รับการออกแบบฟังก์ชันการใช้งานเพื่อกระตุ้นไอเดียไว้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ฮอลล์สำหรับจัดงานประชุม ห้องเวิร์กชอป และแกลเลอรี่แสดงงานศิลปะ โดดเด่นด้วยตัวอาคารรูปตัวซี (C) สีขาว เปิดโล่งเพื่อเชื่อมต่อกับลานกลางแจ้งที่ขยายไปยังสวนสาธารณะที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ มองไปด้านหน้าจะเห็นอาคารเก่าสไตล์โคโลเนียลซึ่งยังคงอยู่ในสภาพดี จากทำเลที่ตั้งที่เปรียบเสมือแลนด์มาร์กหนึ่งของเมือง Local Architecture Bureau จึงหยิบองค์ประกอบอย่างซุ้มโค้งของอาคารเก่ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารครีเอทีฟฮับแห่งนี้ด้วย เห็นได้จากการออกแบบทางเข้าอาคารที่มีลักษณะเป็นซุ้มโค้งแบบซ้อนเลเยอร์ เปลี่ยนภาพประตูทางเข้าอาคารที่ซ้ำซากให้มีมิติสวยงาม ระเบียงทางเดินภายในอาคารเปิดมุมมองออกสู่สวนสาธารณะ รองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น อาทิ การเปิดเป็นเวทีกลางแจ้งสำหรับแสดงงานศิลปะ แสดงดนตรี งานเสวนา ฯลฯ   “เราพยายามให้ความเคารพต่อสถานที่ตั้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนระหว่างอาคารประวัติศาสตร์กับอาคารหลังใหม่ นอกจากนี้ยังเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น รองรับทุกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์” สถาปนิกผู้ออกแบบอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดที่ต้องการให้ที่นี่เป็นครีเอทีฟฮับประจำเมือง ช่วยสนับสนุนเหล่านักคิดที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไอเดีย ได้มีพื้นที่แสดงผลงานและความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งช่วยขับเคลื่อนสังคมในแง่มุมต่าง ๆ […]

Taya Living งานคราฟต์อเนกประสงค์ สะท้อนวิถีเรียบง่ายและยั่งยืน

Taya Living นำเสนอผลิตภัณฑ์คราฟต์ดีไซน์เรียบง่ายในหมวดโฮมโปรดักต์และแฟชั่น ที่แตกต่างด้วยฟังก์ชั่นอเนกประสงค์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ แบรนด์เล็กๆ เริ่มต้นจากตัวตนของ คุณณัฐฑยา สวาทสุต ผู้ประกอบการสาวไฟแรง ที่กลั่นกรองทั้งความหลงใหลและประสบการณ์ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เป็นเหมือนคอมมูนิตี้ของสาวๆ พร้อมกับการให้ความสำคัญกับแนวคิดด้านความยั่งยืน และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากเจ้าของร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ แอร์โฮสเตส และและนักพัฒนาธุรกิจคุณณัฐฑยานำพาประสบการณ์ทั้งหมดมาพลิกไลฟ์สไตล์ส่วนตัวให้กลายเป็น Taya Living แบรนด์ทางเลือกใหม่สำหรับสินค้าในชีวิตประจำวัน ที่ยังคงกลิ่นอายความเรียบง่าย และเสน่ห์ของงานคราฟต์ไว้อย่างกลมกลืน “แบรนด์นี้เกิดจากไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของณัฐเอง เราชอบกระเป๋าสาน ชอบไปทะเล และชอบบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน  кредитные займы онлайнถ้าเกิดจะไปเที่ยวก็จะนึกถึงเกาะไมโคนอส (Mykonos) ในกรีซ ซึ่งพอเราชื่นชอบสิ่งเหล่านี้ มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของเรา” พลิกโฉมพลาสติกใกล้ตัวสู่คราฟต์ที่แตกต่าง เมื่อตั้งใจจะสร้างแบรนด์ใหม่ นอกเหนือจากดีไซน์ วัสดุก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง คุณณัฐฑยาออกตามหาวัสดุใหม่ ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และกระบวนการผลิต ซึ่งตั้งใจให้ Taya Living คงกลิ่นอายของงานหัตถกรรมงานจักสานท้องถิ่นไว้ “ถึงจะชอบกระเป๋าสานมาก แต่ด้วยความที่มักทำมาจากวัสดุธรรมชาติเลยมีอายุการใช้งานสั้น และดีไซน์ก็ยังไม่ได้ถูกใจเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นสไตล์แฟชั่นหน่อยก็จะมีการตกแต่งที่ยังไม่ถูกใจเรา […]

JETTY GARDEN สวนสาธารณะริมท่าเทียบเรือ ที่ส่งเสริมทั้งการพักผ่อนและภูมิทัศน์อันสวยงามในประเทศอินเดีย

สวนสาธารณะ ริมท่าเทียบเรือ Nani Daman ในเมือง Daman ประเทศอินเดีย อยู่ใกล้กับป้อมปราการ St. Jerome ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ย้อนไปแต่เดิมที่นี่เคยเป็นพื้นที่สวนสาธารณะมาก่อน แต่กลับถูกเลิกใช้และปล่อยให้เสื่อมโทรมอยู่เป็นเวลานาน เพราะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชาวบ้านเท่าไหร่นัก กระทั่งมีนโยบายให้ฟื้นฟูและออกแบบใหม่ โดยครั้งนี้เป็นหน้าที่ของทีมออกแบบจาก ARUR, KTA ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งาน และบริบทที่ตั้งเป็นสำคัญ การออกแบบ สวนสาธารณะ นี้ เรียกว่าถูกกำหนดด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ปัจจัย นอกจากโจทย์ด้านการใช้งานแล้ว ยังต้องตอบโจทย์ด้านภูมิทัศน์ด้วย เนื่องจากทำเลสามารถมองเห็นความสวยงามของวิวริมน้ำ โดยเฉพาะฝั่งตรงข้ามที่มองเห็นป้อมปราการ St. Jerome และภาพเรือประมงหลากสีสันที่สัญจรผ่านไปมาบนผิวน้ำ ซึ่งเหมาะแก่การมาพักผ่อนชมวิวเป็นอย่างมาก взять автокредит онлайн เพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานดังกล่าว จึงออกแบบอาคารพาวิเลียนให้ขนานไปกับแนวถนนชายฝั่ง แล้วทำทางเดินชั้นบนให้เชื่อมต่อถึงกันได้ แบบยาว ๆ ให้เดินเล่นชมวิวมุมสูงได้แบบจุใจ โดยพาวิเลียนแต่ละหลังจะไม่บดบังกัน หลังคาด้านบนทำจากไม้ระแนงเพื่อช่วยกรองแสงเท่านั้น จึงเป็นภาพโครงสร้างที่ดูโปร่งเบา ขณะที่ชั้นล่างก็ได้ร่มเงาจากใต้ท้องอาคาร ช่องว่างด้านล่างของพาวิเลียนที่สร้างแบบสับหว่างกัน ทำพื้นที่เป็นคอร์ตสวนขนาดเล็ก ปลูกไม้ยืนต้นที่ขุดล้อมมาจากสวนเก่ากว่า 20 ต้น เติมด้วยไม้พุ่มทรงเตี้ยที่มีใบสีสันสดใสช่วยเพิ่มความสดชื่น และเมื่อยอดไม้แผ่กิ่งก้านเติบโตเต็มที่ก็จะกลายเป็นร่มเงาแผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งบริเวณ ช่วยให้อาคารไม่ร้อนจนเกิน […]

FUJITA COFFEE คาเฟ่ญี่ปุ่น สไตล์อินดัสเทรียล เรียบง่ายเปิดเผย มองเห็นทุกการเคลื่อนไหวภายใน

Fujita Coffee คาเฟ่ญี่ปุ่น ในเมืองฮิกาชิโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่เน้นโชว์โครงสร้างสุดเท่ มองเห็นพื้นที่และการใช้งานภายในอย่างปลอดโปร่ง สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเปิดเป็นศูนย์รวมธุรกิจที่เกี่ยวกับกาแฟแบบครบวงจร ด้วยรูปทรงที่แปลกตาผสมกลิ่นอายของความเป็นอินดัสเทรียลเท่ ๆ สไตล์ญี่ปุ่น  ภาพที่ชวนสะดุดตานั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นทางเดินในอาคารที่ยื่นออกมาเป็นทั้งฟาซาดและชายคาลาดเอียงลดหลั่นกันเป็นเกลียวไล่ระดับจากต่ำไปหาสูง ชวนให้ผู้คนต้องเหลียวมอง คาเฟ่ญี่ปุน ความโดดเด่นของ คาเฟ่ลอฟต์ญี่ปุ่น แห่งนี้ เรียกว่ามาจากจุดประสงค์ของการใช้งาน โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นดังศูนย์กลางของทุก ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับกาแฟ ทั้งในฐานะของคาเฟ่ที่มีโรงคั่วขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณชั้นหนึ่ง รวมถึงมีพื้นที่เวิร์กชอปทำเบเกอรี่ และเคาน์เตอร์จำหน่ายกาแฟที่ตั้งอยู่บนแกนสี่เหลี่ยมตรงกลางของอาคาร เปิดให้ชาวเมืองและพนักงานออฟฟิศในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาลิ้มลองรสชาติ และมีปฏิสัมพันธ์กับพนักงานอย่างเป็นกัน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่คึกคักเต็มไปด้วยพลังงานดี ๆ ทุก ๆ การเคลื่อนไหวจะปรากฏอยู่ภายในอาคารโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยยิ้มแย้มกันตรงที่นั่งริมผนังกระจก หรือการเดินขึ้นลงไปมาตามชั้นต่าง ๆ ที่มีการออกแบบทางลาดและทางชันในระดับที่ต่างกันไปตามพื้นอาคาร (อย่างที่เรามองเห็นเป็นเส้นเกลียวพันรอบอาคาร) เป็นภาพที่หมุนเวียนกันไปเช่นนี้ จวบจนถึงเวลาเย็นย่ำ ความหมุนวนของพลังงานที่เกิดจากกิจกรรมของผู้คนภายในอาคารหลังนี้ มาจากไอเดียของทีมสถาปนิก Osamu Morishita Architect & Associates ที่ออกแบบความสูงของพื้นแกนกลางและทางลาดแต่ละชั้นอยู่ที่ 4.5 เมตร และ 3.0 เมตร และกำหนดอัตราส่วนของความชันเป็น 1/12 ความลาดเอียงจากแกนกลางที่ปรับความกว้าง และการไล่ระดับตามฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น […]

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion จุดผสมที่ลงตัวของร้านไฟน์ไดนิ่ง และBed & Breakfast

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion คือบ้าน ร้านอาหาร และที่พักแบบ Bed and Breakfast ของเชฟแทน-ภากร โกสิยพงษ์ กับนิยาม Off–beat Asian ที่นำมาใช้ในแง่สถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายแบบชิโน-โปรตุกีส ผสมผสานความร่วมสมัยจากประสบการณ์การเดินทางในหลากหลายประเทศ แต่งแต้มเอกลักษณ์อย่างอาคารย่านเอกมัย-ทองหล่อให้โดดเด่นและแตกต่าง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Storage Studio จากจุดเริ่มต้นของการมุ่งหน้าสู่อาชีพ “เชฟ” คุณแทน-ภากร โกสิยพงษ์ เจ้าของร้าน The GOAT Greatest Of All Time และร่วมกับพี่น้องอีก 2 ท่านในการบริหาร Wanyu mansion ร่วมกัน ที่นี่เปรียบเสมือนบทใหม่ของการทำงานเลยทีเดียว เพราะก่อนหน้านี้คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งในการไปทำงานในต่างประเทศ การได้ร่วมกับเพื่อนเปิดร้านอาหาร “Ekamian” และการได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาร้านอาหารให้กับร้าน One Ounce for Onion และ OOOBKK จนวันนี้รูปแบบสไตล์ได้ลงตัวพร้อมนำเสนออย่างชัดเจนในชื่อของ […]

ออฟฟิศ ม่านไม้เลื้อยเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน A&P OFFICE BUILDING

ออกแบบ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน หากใครมีโอกาสผ่านเข้าไปในซอยประชาชื่น 31 จะพบอาคารคอนกรีตสูง 5 ชั้นที่ตั้งใจเลือกใช้ฟาซาดจากธรรมชาติ เป็นม่านไม้เลื้อย ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอ แอนด์ พี เมนทิแนนซ์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ในแวดวงธุรกิจจะรู้จักกันดีในชื่อ A&P ซึ่งเป็นบริษัทรับคลีนนิ่งระดับประเทศ ที่รับทำความสะอาดทั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า สนามบิน ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ โดยอาคารสำนักงานดังกล่าวเป็นการออกแบบและสร้างใหม่บนที่ดินขนาด 1.5 ไร่ ออกแบบโดยคุณ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน ภายใต้แนวความคิดการหลอมรวมธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อสร้างความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอย่างยั่งยืน อาคารสำนักงานแห่งนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ออกแบบไม่น้อย เนื่องจากต้องทำการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด ในการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้ตัวอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. วางไว้ด้านในของที่ดิน เนื่องจากทางเจ้าของโครงการมีแผนจะสร้างอาคารเพิ่มเติมยังบริเวณด้านหน้าที่ดินในอนาคต อีกทั้งด้วยตำแหน่งของที่ตั้งทำให้จำเป็นต้องหันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นด้านที่จะได้รับความร้อนตลอดทั้งวัน ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้มีชุดผนังกระจกบานเลื่อนซ้อนในทุกๆ ฟังก์ชันเผื่อในกรณีที่ต้องการเปิดรับลมได้มากสุด ก็จะทำให้อากาศนั้นหมุนเวียนไปได้ทั่วอาคาร เสริมกับการเลือกใช้ต้นลีกวนยูมาเป็นฟาซาดด้านหน้าอาคารก็เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์บังแดดทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมให้กับอาคารอีกชั้นหนึ่งด้วย ทั้งนี้ตัวอาคารยังออกแบบพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการกำหนดผนังทั้ง 2 ด้านของอาคารนั้นเป็นผนังทึบ ทำให้ระยะร่นระหว่างจากอาคารถึงแนวเขตกำแพงนั้นมีน้อยลงตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนด ส่งผลให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเพื่อช่วยกันความร้อนและเพื่อย่นระยะเวลาในการก่อสร้าง […]

“มีวนา” แบรนด์กาแฟไทยกับวิถีวนเกษตรอินทรีย์ คนกับป่าพึ่งพากันอย่างยั่งยืน

ทุกครั้งที่ยกแก้วกาแฟขึ้นดื่ม ถ้าได้รู้ถึงที่มาของความอร่อยตรงหน้า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีรึเปล่านะ? สำหรับเราความรู้สึกนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน MiVana Coffee Flagship Store  แฟล็กชิปสโตร์คาเฟ่ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย่านศรีนครินทร์ของ “ มีวนา ” โดยเปิดขึ้นเพื่อหวังให้ที่นี่เป็นโมเดลต้นแบบในการส่งต่อแนวคิดการดูแลธรรมชาติ ผ่านไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟ กระตุ้นให้คนเมืองสนใจกาแฟออร์แกนิกกันมากขึ้น ตลอดการทำงานมากว่าสิบปีของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเพื่อสังคม ผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรแบบอินทรีย์ กับการปลูกกาแฟแทรกไปกับต้นไม้ในผืนป่า แตกต่างจากการทำไร่กาแฟที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาป่าของมีวนา แม้จะไม่สามารถสู้เรื่องจำนวนการผลิตได้ แต่ในด้านคุณภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับระบบนิเวศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพและปลูกฝังความหวงแหนรักษาป่าละก็นั่นนับเป็นพันธกิจและเป้าหมายอันสำคัญกว่า เบื้องหลังแนวคิดนี้ คุณมิกิ-ชัญญาพัชญ์ โยธาธรรมสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท มีวนา จำกัด คือตัวแทนที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำงานของมีวนา ภายใต้เหตุผลของความยั่งยืนดังกล่าวว่า สิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ใดกลับคืนสู่สังคมและโลกใบนี้อย่างไร นอกเหนือจากมูลค่าทางธุรกิจ การปลูกกาแฟอินทรีย์กับการอนุรักษ์ป่าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้อย่างไร คุณมิกิ : “เนื่องจากกาแฟอาราบิก้าต้องปลูกในพื้นที่สูงมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป และต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นจึงจะได้ผลผลิตที่ดีในเชิงของพื้นที่ป่าที่เราเข้าไปทำงานในเชียงราย จะมีสองส่วนคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เราก็อนุรักษ์ไว้แล้วก็เอากาแฟไปปลูกใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่ อีกส่วนคือป่าเสื่อมโทรมหรืออาจจะถูกทำลายไปแล้วเราจะปลูกต้นกาแฟควบคู่ไปกับต้นไม้ที่มีความหลากหลายทางนิเวศ เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ “ในอดีตที่ผ่านมาคนอาจจะคุ้นเคยกับการทำไร่กาแฟแบบเป็นแปลงปลูก จะไม่ได้เป็นการปลูกแบบร่วมกันกับป่าเท่าไหร่มากนัก เขาจะมีการจัดการบริหารที่ง่ายกว่าเรา เดินตามแปลงก็จบ บริหารจัดการง่าย พอเจอศัตรูพืชก็ใช้สารเคมีเร่งดอก เร่งผล […]