ขาของตัวเสียบปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐาน กลม หรือ แบน?

ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) นั้นกำหนดไว้ว่า ขาของตัวเสียบ ปลั๊กไฟ ต้องเป็นแบบกลมทั้ง 3 ขา ซึ่งรวมถึงขาของสายดินด้วย ด้วยมาตรฐานนี้ทำให้ปลั๊กของเราไม่เหมือนปลั๊กของประเทศไหนในโลกนี้เลย เป็นเรื่องที่ควรจะภูมิใจหรือไม่นั้นต้องลองไปตัดสินใจเอาเองนะครับ

 

ปลั๊กไฟส่วนตัว ปลั๊กไฟ นั้น มอก. ยอมให้รูเสียบปลั๊กเป็นแบบขากลมหรือขาแบนก็ได้

ถึงแม้มาตรฐานนี้จะถูกประกาศใช้มานานมากกว่าสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กแบบหัวแบนขายกันอยู่จนทุกวันนี้ สาเหตุมาจากสองสามเหตุผล คือ ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ยอมเปลี่ยนสายการผลิตเนื่องจากต้องเพิ่มต้นทุน และปลั๊กหัวแบนยังเสียบที่เต้าเสียบได้เพราะมาตรฐาน มอก. ยังอนุญาตให้มีรูไว้เสียบปลั๊กขาแบนได้อยู่ อีกทั้งปลั๊กหัวแบนนั้นสามารถพับขาเก็บได้ อุปกรณ์ชาร์ทมือถือและคอมพิวเตอร์ จึงนิยมทำเป็นหัวแบนมากกว่าหัวกลมเพื่อความกระทัดรัดและเก็บได้สะดวกกว่า

ปลั๊กไฟขากลม

เหตุผลที่ 3 ปลั๊กหัวกลมที่ผลิตมาส่วนใหญ่มีปัญหาที่เมื่อเสียบแล้วปลั๊กมักหลวม โยกเยก ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไม่สะดวก และเรื่องสุดท้าย น่าจะมีสาเหตุมาจาก มอก. เองยังไม่คิดที่จะเอาจริงเอาจังกับปัญหานี้ แม้แต่ปลั๊กพ่วงหลาย ๆ เจ้า หลาย ๆ ยี่ห้อที่โฆษณาและติดสติกเกอร์ว่าตัวเองได้มาตรฐาน มอก. นั้น กลับใช้หัวปลั๊กเป็นหัวแบน โดยหมกเม็ดให้ประชาชนเข้าผิดคิดว่าหัวปลั๊กแบบนี้คือมาตรฐาน โดยความจริงคือปลั๊กพ่วงนั้นได้มาตรฐานอย่างเดียวคือสายไฟฟ้าที่ใช้เท่านั้นเอง


เรื่อง วิญญู วานิชศิริโรจน์

ภาพประกอบ เอกรินทร์ พันธุนิล


รูเสียบปลั๊กพ่วงหลวม แก้ไขได้ไหม?

อัพเดทราคาสายไฟ เปลี่ยนซ่อมซื้อใหม่เลือกใช้ให้ถูก

ติดตามข้อมูลดีๆผ่านเฟชบุ๊คบ้านและสวนได้ที่นี่


หนังสือของผู้เขียน

99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน

เขียนโดย วิญญู วานิชศิริโรจน์ เล่มนี้จะให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา โดยนำเสนอเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาคารประเภทบ้าน คนทั่วไปที่สนใจเรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคารกำลังจะสร้างบ้านสร้างบ้านอยู่ หรือแม้แต่คนที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการดูแลและปรับปรุงบ้าน

<< สั่งซื้อได้ที่นี่ >>