น่าใช้เพราะมีดีเทล

การใส่ใจกับดีเทลหรือรายละเอียดในงานตกแต่งถือเป็นสิ่งจำเป็นในการออกแบบบ้าน เช่น การลบมุมขอบท็อปเคาน์เตอร์ การออกแบบซ่อนงานระบบ ตำแหน่งสวิตช์และปลั๊กไฟ หรือการเปลี่ยนผิวสัมผัสของพื้นให้แตกต่างกัน เพื่อให้เราใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น รวมถึงให้ความสวยงามน่ามองด้วย เรามีตัวอย่างรายละเอียดงานออกแบบตกแต่งที่เจ้าของบ้านมักมองข้าม สำหรับเป็นไอเดียนำไปต่อยอดให้บ้านทุกหลังมีดี (เทล) ค่ะ

1. เก็บมิด

ไอเดียนี้เท่ตรงที่นำแผ่นเหล็กบางๆ เจียรขอบมาวางปิดส่วนรอยแตกของแผ่นไม้ธรรมชาติขนาดใหญ่โดยออกแบบให้เปิด-ปิดเป็นช่องโปร่งทะลุกับส่วนด้านล่างได้ พร้อมซ่อนงานระบบสายไฟและเต้ารับ เพื่อให้ใช้โต๊ะได้ตามปกติ และเก็บสิ่งรกสายตาได้มิดชิด

ดีเทล untitled-1

2. วางได้

ลองออกแบบท็อปหินของโต๊ะหรือเคาน์เตอร์ให้มีส่วนเว้าโค้งคล้ายถาดหรือจาน (ใช้ได้กับทั้งหินธรรมชาติและหินสังเคราะห์) นอกจากช่วยเพิ่มลูกเล่นน่ารักๆให้โต๊ะหรือเคาน์เตอร์แล้ว เวลาวางของก็ดูสวยงาม ไม่รกตา และหยิบใช้ง่ายด้วย

jj110428-069
สถานที่ : บ้าน Mr. Peter Jenny & Mr. Scott Graf

untitled-2

 3. ปกปิด

เคาน์เตอร์อ่างล้างหน้าที่ออกแบบให้ดูเหมือนโต๊ะลอยตัว ดูโปร่งบาง จนบางครั้งก็มองเห็นท่อน้ำทิ้งของอ่างและงานระบบ การเพิ่มบานไม้ทำลวดลายสีขาวหรือสีเดียวกับผนังโดยให้ต่อลงมาจากเคาน์เตอร์เลย ก็ช่วยปกปิดความไม่น่ามองเหล่านั้นได้ดี

koh110302-086
สถานที่ : บ้านครอบครัวศรีชวาลา

3

 4. เคาน์เตอร์เรืองแสง

หากคุณเป็นผู้รักงานปาร์ตี้ หรือชอบหิวช่วงดึกๆ การซ่อนแสงไฟไว้ใต้เคาน์เตอร์ครัวช่วยเพิ่มความสว่างและสร้างบรรยากาศให้บ้านได้ไม่น้อย ไอเดียนี้ทำได้ไม่ยาก แค่ใช้กระจกลามิเนตเทมเปอร์ซึ่งเป็นวัสดุโปร่งแสงที่มีความแข็งแรงและทำความสะอาดง่ายมากรุท็อปเคาน์เตอร์ พร้อมซ่อนหลอดไฟ T5 หรือหลอดไฟแอลอีดีไว้ข้างใต้ ก็ช่วยให้ครัวของเราดูสวยงามน่าใช้ไม่เหมือนใคร

koh100717-036
เจ้าของ – ออกแบบ : MR. YONG PHILIP

4

5. เจียรให้มน

อย่าลืมว่าวัสดุแข็งๆอย่างหินธรรมชาติหรือหินสังเคราะห์ที่นำมาทำท็อปเคาน์เตอร์นั้นสามารถเจียรขอบลบมุมแหลมๆคมๆให้โค้งมนได้ นอกจากช่วยลดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งานแล้ว ยังออกแบบให้ดูดีมีสไตล์ตามชอบได้อีกด้วย

koh110302-065
สถานที่ : บ้านครอบครัวศรีชวาลา

 6. หนังสือโชว์ได้

ไอเดียนี้เป็นได้ทั้งตู้โชว์และตู้เก็บหนังสือในคราวเดียวกัน โดยออกแบบให้กลายเป็นผนังของห้อง (ที่มองเห็นได้ทั้งสองฝั่ง) ฝั่งหนึ่งเป็นชั้นวางหนังสือ อีกฝั่งคือตู้หนังสือบิลท์อินดีๆนี่เอง เหมาะกับบ้านที่มีหนังสือจำนวนมาก ไม่แนะนำให้ใช้ชั้นที่เป็นแผ่นพาร์ทิเคลบอร์ด หรือแผ่นเอ็มดีเอฟ เพราะชั้นวางสวยๆอาจแอ่นได้ ควรมองหาชั้นไม้จริงหรือชั้นเหล็กที่สามารถรับน้ำหนักหนังสือได้จะดีกว่า

koh110603-018
สถานที่ : บ้านครอบครัวศรีชวาลา

koh110603-032

7. เปิดที่มุม

ตู้เก็บของแบบวางลอยที่พอมีพื้นที่ด้านข้างเหลือ สามารถออกแบบการเปิดตู้ใหม่ เพื่อเพิ่มพื้นที่การหยิบและเก็บของบริเวณมุมตู้ได้สะดวกขึ้น เพียงเปลี่ยนการติดตั้งบานพับถ้วยจากด้านหน้าเป็นด้านข้างแทน ช่วยให้เปิดหาและหยิบของได้ง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

koh110723-133
สถานที่ : บ้านแพทย์หญิงศรัณยา – นายแพทย์วิศิษฎ์ ประสิทธิศิริกุล

koh110723-132

8. โชว์แผ่นหลัง

สำหรับบ้านที่ต้องการความโปร่งและสว่าง ลองออกแบบให้ตู้บิลท์อินลอยจากพื้นและยึดเข้ากับโครงผนังซึ่งเลือกใช้แผ่นพอลิคาร์บอเนตใสติดกับโครงไม้เพื่อรับน้ำหนักและยึดโครงตู้ไว้ ความเก๋อยู่ตรงที่การโชว์ด้านหลังตู้สีแดง ดูสะดุดตา

jj110504-035
สถานที่ : บ้าน Mr. Jason Langkammerer

jj110504-036

9. สวิตช์กลับหัว

หลายครั้งที่ตำแหน่งสวิตช์หรือปลั๊กไฟดูไม่ลงตัวกับการตกแต่งภายในห้อง แต่ส่วนใหญ่เจ้าของบ้านมักมองข้าม ดังนั้นแทนที่เราจะติดตั้งสวิตช์หรือปลั๊กไฟแบบลอยๆบนผนัง อาจกำหนดตำแหน่งให้อยู่ภายในตู้หรือติดกลับหัวด้านล่างของตู้ลอยก็ดูเข้าท่าอยู่ อย่างไรก็ตามควรออกแบบตำแหน่งที่จะติดตั้งไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เก็บซ่อนสายไฟไว้ภายในเฟอร์นิเจอร์หรือผนังให้เรียบร้อย

koh110603-041
สถานที่ : บ้านครอบครัวครูทรงธรรม

10. เครื่องปรุงข้างเตา

ตำแหน่งที่เหมาะสมในการเก็บเครื่องปรุงต่างๆคือพื้นที่ใกล้เตา แต่ถ้าวางไว้เฉยๆ ไม่นานขวดเครื่องปรุงอาจเปรอะคราบน้ำมัน การออกแบบพื้นที่เล็กๆข้างเตา พร้อมทำบานเลื่อนเปิด-ปิดได้ด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่ายและทนความร้อนได้ดี ก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจ

koh110302-056
สถานที่ : บ้านครอบครัวศรีชวาลา

koh110302-055

11. ขยายพื้นที่

เพิ่มดีเทลให้ตู้เก็บของธรรมดาด้วยการออกแบบให้ส่วนบนของตู้เปิดกว้างได้จนสุด จึงกลายเป็นโต๊ะวางของเล็กๆได้ เพียงแต่ต้องอาศัยความเนี้ยบในการวัดและตัดไม้ให้พอดี รวมถึงการเลือกบานพับที่แข็งแรง รับน้ำหนักได้

jj110502-062
สถานที่ : บ้าน Mr. Peter Jenny & Mr. Scott Graf

jj110502-064 11

12. พรม + กระเบื้องดินเผา

บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องปูพรมเต็มพื้นบ้านก็ได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการใช้งานหนักๆ หรือวางของที่มีน้ำหนัก อาจใช้การติดตั้งร่วมกับวัสดุอื่น เช่น กระเบื้องดินเผา เพื่อการดูแลและทำความสะอาดได้ง่าย โดยทั่วไปพื้นที่เลือกใช้วัสดุต่างกันจะต้องมีตัวต่อและตัวจบวัสดุ เพื่อความต่อเนื่องในการใช้งาน เนื่องจากวัสดุแต่ละประเภทก็มีขนาดและผิวสัมผัสต่างกัน แต่กรณีนี้ใช้การปรับระดับพื้นของวัสดุทั้งสองประเภทให้แตกต่างกัน เพื่อที่เวลาติดตั้งจริงแล้วพื้นผิวจะเสมอกันพอดี แต่อาจต้องใช้ช่างหรือผู้ออกแบบที่มีความชำนาญ

jj110502-073
สถานที่ : บ้าน Mr. Peter Jenny & Mr. Scott Graf

12

13. พื้นไม้ระบายน้ำ

แม้ห้องน้ำห้องนี้จะเลือกปูพื้นไม้ดูสวยงามกลมกลืนกัน แต่หากสังเกตดีๆจะพบดีเทลการแบ่งพื้นที่เล็กๆ โดยในส่วนที่มีโอกาสเปียกน้ำจะปูพื้นไม้ระแนงแบบเว้นร่อง เพื่อให้น้ำไม่ขัง จนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม

koh100716-048 koh120626-057 13

เรื่อง : “รนภา นิตย์”

ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน, นิตยสาร room และสำนักพิมพ์บ้านและสวน