ห้องเรียนพอดีพอดี บรรเทาวิกฤติด้วยโอกาส

โรงเรียนบ้านหนองบัว

ออกแบบ : Junsekino Architect and Design โดยคุณจูน เซคิโน

“อยากให้ทางโรงเรียนสามารถใช้งานห้องเรียนนี้ได้ในประโยชน์อื่นๆหลังจากที่ซ่อมแซมโรงเรียนเดิมเสร็จแล้ว จึงออกแบบให้ห้องเรียนแห่งนี้เป็นเหมือน Common Area ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้โดยง่าย” คุณจูน เซคิโน เล่าถึงความคิดเริ่มแรกของห้องเรียนพอดีพอดีแห่งนี้ให้เราฟัง อาคารโครงสร้างเหล็กที่ใช้แผ่นซีเมนต์บอร์ดเป็นวัสดุหลักและนำแผ่นหลังคาลอนใสมาใช้ทั้งในส่วนของผนังและหลังคา ด้วยการสะท้อนแสงของฉนวนกันความร้อนที่หลังคายังให้แสงสะท้อนเข้าไปสู่ส่วนใช้งานในตัวอาคารได้อีกด้วย นอกจากพื้นที่ภายในที่แบ่งออกเป็นห้องเรียนได้ถึงสี่ห้องแล้ว ชานด้านหน้าก็ออกแบบมาให้นักเรียนสามารถวิ่งเล่นและนั่งจับกลุ่มทำกิจกรรมกันได้

คุณจูนออกแบบให้ช่องหน้าต่างและรั้วด้านหน้าของอาคารใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ด้วยการที่อยากให้ช่างในท้องที่สามารถดูแลซ่อมแซมได้ง่าย ทั้งการใช้ไม้ไผ่เข้ามาผสม มีเหล็กดัด และผ้าตาข่าย สิ่งเหล่านี้ทำให้สถาปัตยกรรมแลดูกลมกลืนไปกับความเป็นอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนและอาจารย์รู้สึกว่าเป็นเจ้าของอาคารหลังนี้อย่างแท้จริง เพราะคุณจูนเชื่อว่าเราแค่มาช่วยเริ่มซ่อมในสิ่งที่พังทลายไปจากแผ่นดินไหวเพียงเท่านั้น แต่ผู้ที่จะพัฒนาและอยู่กับมันต่อไปก็คือตัวนักเรียนและทุกคนในโรงเรียนนั่นเอง

แผ่นหลังคาลอนใสสลับกับฉนวนกันความร้อน ให้ทั้งแสงโดยตรงและแสงสะท้อนเพื่อให้ภายในห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ
แผ่นหลังคาลอนใสสลับกับฉนวนกันความร้อน ให้ทั้งแสงโดยตรงและแสงสะท้อนเพื่อให้ภายในห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ
ที่วิ่งเล่นซึ่งดูเหมือนเป็นกิจกรรมหลักของเด็กๆเลยทีเดียว
ที่วิ่งเล่นซึ่งดูเหมือนเป็นกิจกรรมหลักของเด็กๆเลยทีเดียว
ผนังเบาและโครงวงกบไม้ฝีมือช่างท้องถิ่นสลับกับโครงเหล็กของอาคารทำสีน้ำตาลกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จากภาพจะเห็นว่าการสะท้อนแสงของฉนวนกันความร้อนช่วยให้แสงสว่างแก่ห้องได้เป็นอย่างดี
ผนังเบาและโครงวงกบไม้ฝีมือช่างท้องถิ่นสลับกับโครงเหล็กของอาคารทำสีน้ำตาลกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จากภาพจะเห็นว่าการสะท้อนแสงของฉนวนกันความร้อนช่วยให้แสงสว่างแก่ห้องได้เป็นอย่างดี
งานตกแต่งด้านหน้าอาคารเรียนที่ใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นรั้ว
งานตกแต่งด้านหน้าอาคารเรียนที่ใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นรั้ว