“3 โรคพืช ยอดฮิต” ปัญหาหนักใจของคนรักต้นไม้

ถ้าพูดถึงศัตรูของต้นไม้ในสวนบ้านเรา แม้จะดูไม่มีความสำคัญอะไร แต่จริงๆแล้ว หากเรามองข้ามปัญหานี้ไป อาจทำให้ต้นไม้ในสวนเกิดความเสียหายได้  ศัตรูพืชที่ว่า แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ โรคพืช แมลง และวัชพืช วิธีง่ายๆที่จะทำให้ต้นไม้ในบ้านปลอดจากศัตรูดังกล่าว คือ พยายามคุมสภาพแวดล้อมภายในสวนให้เชื้อโรคและแมลงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งวันนี้บ้านและสวนมีวิธีจัดการกับ 3 โรคพืช ฮิตๆ มาฝากกัน ดังนี้ โรคใบไหม้เฟินข้าหลวง,โรคใบจุดกุหลาบ , โรคใบจุดกล้วยไม้

 

โรคพืช

โรคใบไหม้ (จากเชื้อราในเฟินข้าหลวงโอซาก้า) โรคพืช

อาการที่พบ : ยอดอ่อนเหี่ยวเฉา ขอบใบและปลายใบไหม้ แต่ดินมีความชื้นสูง
สาเหตุ : เนื่องจากวางเฟินไว้ในที่แสงแดดจัดเกินไป ประกอบกับวัสดุปลูกหมดอายุและมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย

โรคพืช โรคใบไหม้

ขั้นตอนแก้ไข

โรคพืช ขั้นตอนแก้ไขโรคใบไหม้

1.นำเฟินออกจากกระถาง แกะเอาวัสปลูกเก่าที่ตุ้มรากออก เพื่อเปลี่ยนวัสดุปลูกให้โปร่งและระบายน้ำดีขึ้น

โรคพืช ขั้นตอนแก้ไขโรคใบไหม้

2.ตัดแต่งใบและส่วนที่แสดงอาการทิ้ง หรือเผาทำลาย

โรคพืช ขั้นตอนแก้ไขโรคใบไหม้

3.ผสมวัสดุใหม่ ได้แก่ กาบมะพร้าว(หั่นเป็นชิ้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 4 เซนติเมตร) และใบไม้ผุอย่างละส่วน

โรคพืช ขั้นตอนแก้ไขโรคใบไหม้

4.ปลูกลงในกระถางใบใหม่ที่มีขนาดพอเหมาะกับต้นเฟิน และมีรูระบายน้ำเพียงพอ เพื่อป้องกันน้ำขัง

โรคพืช ขั้นตอนแก้ไขโรคใบไหม้

5.ใช้สารป้องกันเชื้อราจำพวกเบนเลท(Benlaate)หรือแคปเทน(Captan)ผสมน้ำตามอัตราส่วนข้างขวดแล้วนำไปวางไว้ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทสะดวก

 

โรคพืช

โรคใบจุดกุหลาบ

โรคพืช โรคใบจุดกุหลาบ

อาการที่พบ : ในระยะแรกปรากฎจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กด้านบนของใบ ต่อมาจุดนี้จะขยายกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว อาจพบมีเส้นใยบางๆแผ่กระจายเป็นรัศมีวงกลมอยู่ทั่วบริเวณแผล มีเนื้อเยื่อโดยรอบเป็นสีเหลือง จึงทำให้ใบหลุดร่วงเร็วขึ้น มักพบมากในช่วงฤดูฝน
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อราชื่อ “Marssonina rosae [Lib.] Died”
ขั้นตอนแก้ไข

โรคพืช ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุดกุหลาบ

1.ตัดใบและกิ่งก้านที่เป็นโรคทิ้งและนำไปเผาทำลาย

 ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุดกุหลาบ

2.นำต้นกุหลาบจากออกจากกระถางและเปลี่ยนดินปลูกใหม่ที่มีส่วนผสมของเศษใบไม้ผุ

ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุดกุหลาบ

3.ผสมดินร่วนกับกาบมะพร้าวสับและปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มการระบายน้ำและอากาศให้ดีขึ้น

 ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุดกุหลาบ

4.หลังย้ายปลูก 1-2 สัปดาห์ จะเริ่มแตกยอดอ่อน ควรผสมสารป้องกันเชื้อราลุกลามทุก 7-10 วัน แต่ถ้าเกิดอาการในช่วงที่ฝนตกชุกควรเก็บใบที่แสดงอาการออกแล้วฉีดสารป้องกันกำจัดทุก 5-7 วัน นำไปวางในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ และอากาศถ่ายเทสะดวกเกิดจากเชื้อไวรัส

โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

โรคใบจุด

โรคใบจุด

อาการที่พบ : ด้านบนใบมีแผลสีน้ำตาล ตรงกลางเป็นจุดสีดำ เกิดกระจายทั่วผิวใบ ระบาดทั้งปี โดยเฉพาะในกล้วยไม้สกุลคัทลียา ออนซิเดียม เข็ม และรองเท้านารี ยกเว้นสกุลแวนดาจะระบาดมากในฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp. แพร่ระบาดได้โดยสปอร์ที่เกิดในจุดเล็กๆบนแผลแตกปลิวกระจายไปตามลมหรือผสมกับน้ำที่ใช้รด

ขั้นตอนแก้ไข

ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุด

1.ย้ายกล้วยไม้มาแขวนในบริเวณที่มีแสงแดดรำไรและอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อแยกต้นที่เป็นโรคออกจากต้นอื่น ป้องกันการติดเชื้อ

ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุด

2.ตัดใบที่เป็นโรคออก และนำไปเผาทำลาย พร้อมกับตัดแต่งลำเก่าที่แห้งและรากแห้งออก อาจทาบาดแผลด้วยปูน แล้วผึ่งให้แห้ง

ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุด

3.นำกาบมะพร้าวที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว 5 – 7 วันมาวางในกระถาง นำกล้วยไม้ที่เตรียมไว้วางให้ลำต้นเก่าชิดขอบกระถางด้านหนึ่ง ลำใหม่อยู่กลางกระถาง อัดกาบมะพร้าวสับรอบต้น รดน้ำให้ชุ่ม

ขั้นตอนแก้ไขโรคใบจุด

4.หลังปลูก 1-2 สัปดาห์ ผสมสารป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น แคปแทน 50, เมนโคเซบ,คาร์บอกซิน,โปรคลอราท แล้วฉีดพ่นทุกเดือนเพื่อป้องกันการลุกลามของโรค


หนังสือดูแลต้นไม้ด้วยตัวเอง โดย อิศรา แพงสี
นังสือดูแลต้นไม้ด้วยตัวเอง โดย อิศรา แพงสี

ข้อมูล : หนังสือดูแลต้นไม้ด้วยตัวเอง 
โดย อิศรา แพงสี