10 ข้อ การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ

สัตว์เลี้ยงทุกตัวเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก ดังนั้น การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ จึงเป็นพื้นฐานของทุกคนที่ตัดสินใจอยากเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงสักหนึ่งตัว เพราะหนึ่งชีวิตของพวกเขาจะผูกพันอยู่กับเจ้าของไปอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ

ปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์เป็นกระแสที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นทั่วโลก ผู้คนต่างหาเหตุผลมากมายที่อยากรับสัตว์เลี้ยงที่ตัวเองชื่นชอบเข้ามาเป็นสมาชิกในบ้าน เพื่อหวังจะให้พวกเขาเป็นความสุขทางใจของตนเอง

อย่างไรก็ตาม การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ ได้กลายเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจจากสังคม เนื่องจากจำนวนผู้เลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น บางครั้ง สัตว์เลี้ยงก็ถูกปล่อยปะละเลย จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคม

ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย สัตว์เลี้ยงหลายล้านตัวต้องเผชิญกับการกลายเป็นสัตว์จร เนื่องจากเจ้าของไม่สามารถเลี้ยงดูได้ตลอดอายุขัย โดยปัจจัยหลักเกิดจากการแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยงไม่ไหว และอีกปัจจัยหนึ่งคือ เกิดประชากรไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดการทิ้งภาระการดูแลจนกลายเป็นสัตว์จร

ดังนั้น การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบจึงช่วยส่งเสริมสวัสดิภาพที่ดีแก่ตัวสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ นอกจากนี้ยังช่วยส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมรอบข้าง

เหล่านี้คือคำแนะนำที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถปฏิบัติตามได้ทุกวัน เพื่อการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบ

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ, การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ, ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์
  1. นำสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

สัตว์แพทย์เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญตลอดอายุขัยของสัตว์เลี้ยง การได้รับคำแนะนำจากสัตว์แพทย์อย่างถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของดูแลสัตว์เลี้ยงได้อย่างเหมาะสม และการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงเป็นประจำยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับสัตว์เลี้ยงได้ในอนาคต

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ, การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ, ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์
  1. นำสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนตามกำหนด

การทำวัคซีนในสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญมากของการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยง และช่วยส่งเสริมให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยง่าย ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถลดค่าใช้จ่ายการรักษาความเจ็บป่วยของสัตว์ได้ในระยะยาว

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ, การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ, ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์
  1. สร้างอัตลักษณ์ให้สัตว์เลี้ยงของคุณ

การสร้างอัตลักษณ์ให้สัตว์เลี้ยง เช่น การใส่ปลอกคอที่ระบุข้อมูลของสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ หรือการฝังไมโครชิปใต้ผิวหนังของสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันวงจรการเกิดสัตว์จร เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราหลุดหายออกจากบ้าน ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนตัวสัตว์จะทำให้ผู้พบเห็นสามารถติดตามหาเจ้าของได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ, การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ, ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์
  1. นำสัตว์เลี้ยงไปทำหมันเมื่อถึงอายุที่เหมาะสม

สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดมีช่วงวัยการเจริญพันธ์ที่แตกต่างกัน การทำหมันจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดประชากรไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การจ่ายเงินค่าทำหมันจึงเป็นทางเลือกที่ดี หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงหลายตัวได้ และสัตวแพทย์ส่วนใหญ่ยังแนะนำให้ทำหมันสัตว์เลี้ยง เนื่องจากส่งผลดีต่อทั้งสัตว์เลี้ยงและเจ้าของในหลายประการ

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ, การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ, ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์
  1. มอบโภชนาการที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงแต่ละตัว

โภชนาการสำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องพื้นฐานที่เจ้าของทุกคนต้องพิจารณาอย่างใส่ใจ ความเข้าใจผิดเรื่องอาหารสัตว์ เช่น การเตรียมอาหารมนุษย์ให้กับสัตว์เลี้ยง อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในสัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้น ก่อนรับสัตว์เลี้ยงเข้าบ้าน ควรพิจารณาเรื่องโภชนาการเป็นอันดับแรกว่า เรามีความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับโภชนาการที่เหมาะสมต่อสัตว์เลี้ยงหรือไม่ อะไรที่สัตว์ควรกิน และไม่ควรกิน

การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบ, การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ, ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์
  1. ดูแลภายในบริเวณบ้านให้ปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยง

เก็บรักษาอุปกรณ์ และสารเคมี ที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงให้มิดชิด รวมไปถึงรักษาความสะอาดภายในบ้านให้มีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของสัตว์เลี้ยง และสมาชิกภายในบ้าน

  1. จัดเตรียมพื้นที่ส่วนตัวในบ้านสำหรับสัตว์เลี้ยง

สัตว์เลี้ยงก็คล้ายกับมนุษย์ คือต้องการมุมสงบส่วนตัวเพื่อพักผ่อน หรือใช้เวลาส่วนตัวระหว่างวัน ดังนั้น เจ้าของควรจัดหาพื้นที่ภายในบ้านให้สัตว์ได้อยู่ตามลำพัง เป็นมุมที่สงบ และสัตว์เลี้ยงรู้สึกปลิดภัย เพื่อให้สัตว์เลี้ยงคลายความกังวล และช่วยลดความเครียดของสัตว์ได้

  1. ฝึกสัตว์เลี้ยงให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

การนำสุนัขออกไปในที่สาธารณะ เจ้าของต้องแน่ใจว่า สัตว์เลี้ยงของเราจะไม่ทำอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง และบุคคลอื่นๆ ดังนั้น การฝึกสัตว์เลี้ยงตั้งแต่อายุที่สามารถฝึกควบคุมได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นพื้นฐานที่ควรพิจารณา โดยการนำสัตว์เลี้ยงไปฝึกตามสถาบันฝึกพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง หรือพบสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องพฤติกรรม

  1. เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ เมื่อนำสัตว์เลี้ยงไปในสถานที่สาธารณะ

ปัจจุบัน สถานที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และสวนสาธารณะ ได้เปิดพื้นที่ที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สัตว์เลี้ยงของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่นั้น ๆ อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้สัตว์เลี้ยงไม่รบกวนผู้อื่นที่มาใช้บริการ

  1. มีเวลาสร้างความสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงของคุณ

สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดต้องการความเอาใจใส่และดูแลที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดและสายพันธุ์เดียวกัน ก็มีนิสัยเฉพาะของสัตว์ตัวนั้นๆ ดังนั้น การใช้เวลาร่วมกับสัตว์เลี้ยงของคุณ จะช่วยให้คุณเข้าใจสัตว์เลี้ยงมากขึ้น และยังช่วยส่งเสริมอารมณ์เชิงบวกในสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี

ข้อปฏิบัติทั้งหมดเป็นแนวทางสากลที่ผู้เลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบปฏิบัติอย่างเป็นปกติ เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อครอบครัว สัตว์เลี้ยง และสังคม อีกทั้งยังทำให้เกิดความสุขกับทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยงด้วย

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.durvet.com/…/top-10-responsibilities-of…/
https://www.avma.org/…/pet…/responsible-pet-ownership
https://www.azpetvet.com/top-10-responsibilities-of-a…/
https://www.cdc.gov/…/responsible-pet-ownership.html


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์ มีอะไรบ้าง