ต้นไม้ประจำจังหวัด

61.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้นเกด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara hexandra Dubard วงศ์ : SAPOTACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นเกดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ โดยเฉพาะกิ่งมักหักงอเป็นข้อศอก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบสีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบสีขาวหรือนวล ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ผล รูปกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองแสด

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

62.จังหวัดเพชรบุรี ต้นหว้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (Linn.) Skeets วงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นหว้าเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ เกสรยาวเป็นพู่ ผลเป็นผลสดรูปรี

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

63.จังหวัดราชบุรี ต้นโมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tomentosa Roem. & Schult. วงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นโมกมันเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาอ่อนและมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีป้อม หรือเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบเนื้อใบบาง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบรองดอกและโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ ดอกแรกบานจะมีสีขาวอมเหลือง ข้างนอกเป็นสีเขียวอ่อน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวฝักขรุขระ ฝักแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นร่อง เมล็ดเป็นรูปยาว

ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด

64.จังหวัดกระบี่ ต้นทุ้งฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrohpylla Wall วงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นทุ้งฟ้าเป็นไม้ยืนสูง 15–25 เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีขาวอมเทามีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อทีปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลเป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

65.จังหวัดชุมพร ต้นมะเดื่อชุมพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa Linn. วงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไปต้นมะเดื่อชุมพรเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ ต่อมาจะหลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึงกลม ออกดอกเป็นกระจุก ดอกขนาดเล็ก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงม่วง

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง

66.จังหวัดตรัง ต้นศรีตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia D. Don. วงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นศรีตรังเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกดอกช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

67.จังหวัดนครศรีธรรมราช ต้นแซะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia atropurpurea Benth. วงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไปต้นแซะเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ รูปดอกถั่ว สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นฝัก สีน้ำตาล กลมรี

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

68.จังหวัดนราธิวาส ต้นตะเคียนชันตาแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balanocarpus heimii King วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นตะเคียนชันนตาแมวเป็นไม้ยืนต้นสูง 30–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มล่อนเป็นสะเก็ด มียางชันสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอกหรือรูปดาบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

69.จังหวัดปัตตานี ต้นตะเคียนทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb. วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นตะเคียนทองเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกหรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผล รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ต้นไม้ประจำจังหวัด

70.จังหวัดพังงา ต้นเทพทาโร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum Kosterm. วงศ์ : LAURACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นเทพทาโรเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด