ไม่ต้องเลิศหรู แต่อยู่ด้วย "ความพอดี"

เชื่อว่าคนในเมืองใหญ่ที่อยากหลีกหนีความสับสนวุ่นวายไปอาศัย อยู่จังหวัดอื่น เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ทุกวัน หากไม่นับเงื่อนไขด้านเงินทองแล้ว ก็คงต้องติดเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งหน้าที่การงานและการดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว การย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี จึงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก 
ทว่าสำหรับ ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์ สถาปนิก ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับ มีจังหวะชีวิตที่ลงตัว เพราะที่ตั้งของบ้านหลังใหม่นี้สอดรับกับหน้าที่การงานในตำแหน่งหัวหน้าหลัก สูตรบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังรองรับการอยู่อาศัยของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งย้ายจากกรุงเทพฯเพื่อการดูแล ได้อย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่คนวัยเกษียณท่านใดเห็นก็ต้องอิจฉา
chiengmai-baan-1-760x1024
  “บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วพยายามหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านของตัวเอง ช่วงนั้นคุณแม่เริ่มป่วยและเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย ทำให้ต้องเดินทางไป-กลับกรุงเทพฯ-เชียงใหม่อยู่เสมอ จากที่คิดจะสร้างบ้านเพื่อตัวเอง ก็เริ่มเปลี่ยนแผนว่าจะสร้างบ้านให้คุณพ่อคุณแม่ย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วย กันแทน” อาจารย์สันต์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ให้เราฟัง
chiengmai-baan-4
“จากนั้นจึงมองหาที่ดินซึ่งมีคุณสมบัติ 3 อย่าง คือ หนึ่ง ต้องอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สอง ต้องอากาศดี  สาม ราคาไม่แพงเกินไป ดูมาหลายแห่งบางที่ก็สวยมากแต่ราคาแพง บางที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านซึ่งมีเงื่อนไขในการออกแบบบ้านจุกจิก เราต้องการจะออกแบบบ้านเอง จนมีคนแนะนำให้มาดูที่ดินแถวแม่ริมตรงนี้ พอมาดูที่ปุ๊บก็รู้สึกคลิกทันที จึงตกลงซื้อที่ดินสวนลำไยเก่านี้ไว้เป็นที่ปลูกบ้านหลังใหม่เพื่ออยู่กับพ่อ แม่”
chiengmai-baan-6
เรามองไปรอบที่ดินขนาด 159 ตารางวา ซึ่งเป็นขนาดกำลังพอดีสำหรับอยู่อาศัย 3 คน คือไม่ใหญ่แบบที่ต้องเก็บกวาดจนเหนื่อย และไม่เล็กเกินไปจนรู้สึกอึดอัดไม่ต่างกับบ้านในเมือง บริเวณรอบบ้านร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่หลายต้น อาจารย์สันต์เล่าว่าพยายามจัดผังบ้านโดยเก็บต้นไม้เก่าให้มากที่สุด แต่ก็ไม่ใช่เพียงไม้เก่าอย่างเดียวเท่านั้นที่เก็บรักษาไว้
chiengmai-baan-2-760x1024
“ความพิเศษอีกอย่างของที่ผืนนี้คือมีหลองข้าวเก่าติดมากับที่ตรงด้าน หน้าด้วย ตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะเก็บไว้ และออกแบบบ้านหลังใหม่ให้ดูกลมกลืนกัน การวางผังรวมไปถึงการออกแบบสัดส่วนตัวบ้านจึงอ้างอิงจากตำแหน่งและขนาดของ หลองข้าวเดิมเป็นหลัก ทดลองจัดวางอยู่หลายแบบ จนสุดท้ายก็ได้ผังบ้านแบบที่เห็น”
chiengmai-baan-12
ตัวอาคารของบ้านใหม่วางเป็นแนวราบเตี้ยๆ ส่วนที่เป็นห้องนอนและพื้นที่ส่วนตัวจัดวางหลบอยู่ด้านหลังหลองข้าว และให้พื้นที่นั่งเล่นเพื่อการพักผ่อนสังสรรค์วางขนาบที่ว่างตรงกลางซึ่งจะ มองเห็นต้นไม้เดิมทั้งลำไย พลับพลึง มะม่วง และไม้ผลอื่นๆแผ่กิ่งก้านไปทั่ว ดูร่มรื่นสบายตา
 chiengmai-baan-8-760x1024
“บ้านหลังนี้ออกแบบโดยคำนึงถึงว่าจะมีผู้ใหญ่มาอยู่ด้วย ระยะทางระหว่างห้องต่างๆจึงต้องสั้นที่สุด จะเห็นว่าเมื่อเดินเข้าบ้านมาก็จะพบโถงทางเดินที่เชื่อมต่อกับทุกส่วน ทั้งห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ที่มีห้องน้ำในตัว บันไดทอดตัวสู่ชั้นสอง หรือจะเข้าไปสู่พื้นที่ครัว ส่วนรับประทานอาหาร และส่วนรับแขก เราสามารถเดินไปสู่ห้องต่างๆได้ด้วยระยะทางแค่ไม่กี่ก้าว”
chiengmai-baan-9
การตกแต่งภายในของบ้านใช้สีขาวดูสะอาดตา แม้จะเป็นบ้านหลังเล็กๆที่ดูเรียบง่าย แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามีการเลือกใช้วัสดุคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นวงกบหน้าต่างอะลูมิเนียมอบพ่นสีอย่างดี พื้นหินขัดเทอราซโซแบบไร้รอยต่อ หรือบานกระจกแบบพ่นทรายที่ทนทานกว่าแบบติดฟิล์ม ถือเป็นรายละเอียดที่เจ้าของบ้านไม่มองข้ามไปเลยสักจุดเดียว
chiengmai-baan-10-760x1024
เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งในบ้านหลังนี้เป็นของเก่าเสีย 95 เปอร์เซ็นต์ มาจากบ้านที่กรุงเทพฯและหอพัก ก่อนออกแบบได้วัดขนาดของเฟอร์นิเจอร์ทุกตัว รวมถึงกะขนาดพื้นที่สำหรับจัดวางข้าวของทุกชิ้น เพื่อจะได้นำไปจัดวางในแปลนได้อย่างพอดี เฟอร์นิเจอร์เก่าบางตัวก็ทำสีใหม่เป็นสีขาวบ้าง เพื่อให้ดูทันสมัยและเข้ากับบ้านมากขึ้น
chiengmai-baan-5